นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดพังงา กล่าวอภิปรายว่า วันนี้ตนมี 4 ประเด็น ประเด็นที่ 1 คือ เรื่องงบสมดุลย์ ประเด็นที่ 2 งบกลาง ประเด็นที่ 3 ความไร้ประสิทธิภาพ ในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล ประเด็นที่ 4 คือการทุจริต และความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณแผ่นดิน
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายว่า สำหรับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ในประเด็นงบสมดุลนั้น หากดูลงไปในรายละเอียดของงบทั้งหมด จะเห็นว่าสมดุลไม่จริง เพราะเป็นการสร้างภาพมากกว่า เป็นเพียงความพยายามทำให้ตัวเลขรายได้ เท่าตัวเลขรายจ่าย รัฐบาลชุดนี้ทำงบประมาณปี2548 ก็มีลักษณะคล้ายๆกัน งบประมาณ 2549 ซึ่งในรายละเอียดมีการตกแต่งตัวเลข ที่จะทำให้รายได้เกินกว่าความเป็นจริง เช่นรายได้ของกรมสรรพากร รัฐบาลบอกว่าปีนี้จะทำรายได้ของกรมสรรพากรโตขึ้น 13 .4 % ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ และรัฐบาลบอกว่าปี2549 เศรษฐกิจจะโต 4.5-5.0 % ก็แปลว่าจะโตประมาณ 5.0% ดังนั้นหากทำรายได้ของกรมสรรพากรโตขึ้น 13 .4 % ก็เท่ากับว่ามากกว่าอัตราการเติบโตของประเทศสองเท่า แต่คนที่เจ็บปวดที่สุดกับการเข้าถึงเป้าทางเศรษฐกิจของรัฐบาลคือประชาชน
เพราะเมื่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโต 5 % รัฐบาลก็บอกว่าจะเก็บภาษีให้ได้โตขึ้นจากกรมสรรพากร ก็จะต้องมีการรีดภาษีครั้งมโหราฬ ถึงขนาดตั้งเป้าให้แต่ละจังหวัดเก็บให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ตนไม่โทษเจ้าหน้าที่เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐบาลมอบให้เจ้าหน้าที่เป็นคนทำ แต่ประชาชนจะเดือดร้อนเพราะต้องถูกรีดภาษี
สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตคือตัวเลขทางเศรษฐกิจจะถูกตกแต่ง เพื่อให้รายจ่าย เท่ารายได้ เพื่อจะใช้คำว่างบประมาณสมดุล ซึ่งมีข้อสังเกต 2 ประการ คือมีการซุกรายจ่ายไว้ ในรูปของงบประมาณผูกพัน เอกสารบอกชัดเจนว่ามีเงิน 14,840.4 ล้านบาท ตั้งไว้เป็นหัวเชื้อไปผูกพันงบประมาณในอนาคต จนถึงปี 2553 และปีต่อๆไป รวมแล้วเราต้องผูกพันอนาคตไว้ 73,924 ล้านบาท
ประการที่สอง คือรายจ่ายในการชำระต้นเงินกู้ ซึ่งปี 2549 ลดลงกว่าปี 2548 ลดทั้งสัดส่วนและปริมาณ เงินงบประมาณ ปี 2548 รายจ่ายชำระต้นเงินกู้ 4 % ของเงินงบประมาณ แต่มาปีนี้เหลือ 3.2 % ปี 2548 ชำระคืนต้นเงินกู้เป็นเงิน 50,076.3 ล้าน ปีนี้เหลือ 43,187.2 ล้านบาท หากมีการชำระคืนต้นเงินกู้เพิ่มขึ้นอีก 1 บาท รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น 1 บาท รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น 1 บาท งบประมาณก็ไม่สมดุลย์
คำว่าสมดุลของงบประมาณของรัฐบาลนี้ ไม่ได้สมดุลในภาวะของความเป็นจริงในทางเศรษฐกิจ แต่สมดุลเพราะตกแต่งตัวเลขเศรษฐกิจ
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายถึงประเด็นงบกลางว่า โดยปกติงบกลางในประวัติศสาสตร์ที่ผ่านมา จะมีการตั้งงบกลางไว้ในกรณีใช้เพื่อสำหรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการเจ้าหน้าที่ หรือกรณีของการเลื่อนขั้นขึ้นเงินเดือน หรือกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน หรือเป็นไปเพื่อความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น
แต่เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มมีการจัดงบใหม่ ตั้งแต่ ปี 2545 เป็นต้นมา มีการเอางบที่ควรเป็นงบปกติ ไปไว้ในงบกลาง หมายความว่าเมื่อเอางบที่ควรเป็นงบปกติ ซึ่งจะมีการบอกรายละเอียด กลับนำไปใส่ไว้ในงบกลางในรูปของยอดเงินอย่างเดียว โดยให้เหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการอธิบายเหตุผล ไม่มีรายละเอียด ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินในวาระที่ 1ได้
และที่น่าสังเกตคือหากเป็นงบกลาง อำนาจในการใช่งบประมาณแผ่นดินส่วนนี้ที่สุดจะตกอยู่ในมือของคนๆ เดียว ในทางปฏิบัติจริง คือนายกรัฐมนตรี เช่นการใช้เงินในโครงการทัวร์นกขมิ้น การนำเงินไปซื้อเครื่องบินให้คณะรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องอันตรายในการจัดงบกลางที่ไม่เป็นกลาง
และการจัดงบประมาณปี 2549 มีการจัดงบกลางไว้สูงสุดในประวัติศาสตร์ 256,220 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นความไม่เกรงใจในการใช้เงินภาษีประชาชน
ในปี 2549 เฉพาะในส่วนงบกลางจาก 19 รายการอย่างน้อยจับผีได้ 4 ตัวที่ไม่มีรายละเอียด ผีตัวที่หนึ่งระบุว่าเป็นงบใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน และชุมชนเมือง (SML) มียอดเงิน 19,100 ล้านบาท ไม่มีรายละเอียด ผีตัวที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาชายแดนภาคใต้ 5,000 ล้านบาท ตนเห็นด้วยกับงบดังกล่าวนี้ แต่ตนไม่เห็นด้วยที่นำมาระบุในงบกลาง เพราะมีเพียงตัวเลขยอดเงิน ซึ่งตนตั้งข้อสังเกตว่า 5,000 ล้าน ตั้งไว้เพื่อนำไปใช้ในโครงการจัดโซนนิ่ง หมู่บ้าน 3 สีหรือไม่
ส่วนผีตัวที่ 3 โครงการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (งบผู้ว่าซีอีโอ) ปีนี้ตั้งไว้ 40,000 ล้านบาท โดยไม่มีรายละเอียด รวมงบผีทั้งหมด 91,300 ล้านบาท
**การอภิปรายของ นายจุรินทร์ ได้ชะงักเป็นช่วงๆ เนื่องจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลลุกขึ้นประท้วง**
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายต่อถึงการไร้ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณแผ่นดินว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคืองบลงทุนปี 2548 ซึ่งเดือนพฤษภาคม 2548 งบลงทุนซึ่งถือว่าเป็นงบประมาณที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีเงินจำนวน 298,144 ล้านบาท ซึ่งมีการเบิกใช้ไป เพียง 134,054 ล้านบาท ตีเป็น 45 % ซึ่งเหลือเวลา 4 เดือน
ตัวอย่างที่สองคืองบกลาง ที่ใช้ในการลงทุนปี 48 เหมือนกันแต่เป็นงบกลางสิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 เพิ่งใช้ไปเพียง 22.47 % ตรงนี้คือความไร้ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ และยังมีอีกเรื่องคือการใช้งบประมาณของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ รัฐบาลมีมติครม. เรื่องนี้ในรอบ 6 เดือนอย่างน้อย 21 ครั้ง ใช้งบประมาณ 2548 รวมแล้วประมาร 7,500 ล้านบาท เวลาผ่านไป6 เดือน มีการใช้งบไปไปเพียง 30 %
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า จากการที่ข่าวกรมประชาสัมพันธ์เสนอข่าวเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.48 ว่าการติดตามผลการดำเนินของหน่วยงานต่างๆและกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำนักนายกฯได้เผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ท www.opm.go.th.tsunami แต่ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ดังกล่าวได้ หากไม่มี username และ password ก็ไม่สามารถเข้าไปดูได้ พูดแบบเข้าใจง่ายๆ คือต้องมีกุญแจ
ภาพการแก้ปัญหาสึนามิที่มีการเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ ถือว่าตรงกันข้ามกับปัญหาในพื้นที่อย่างสิ้นเชิง ในหลายพื้นที่ สภาพปัญหาในวันนี้คือเรื่องเงินชดเชย ผู้ประกอบอาชีพประมง มีงบประมาณ 821 ล้านบาท ใช้ไป 440 ล้านบาท ยังเหลือ 381 ล้านบาท การช่วยเหลือดำเนินไปโดยนำเงินไปให้ผู้เพาะเลิ้ยงสัตว์น้ำ 20,000บาท/ราย ซึ่งความเสียหายมากว่านั้นมาก ทั้งที่งบประมาณยังเหลืออยู่อีกมาก จึงขอตั้งคำถามว่ารัฐบาลทำไมไม่เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามจำนวนที่ควรจะเป็น
ตนได้รับเรื่องจากประชาชนชาวกระบี่ จากนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ว่าประชาชนที่เกาะสีบ่อยา เกาะจำ เกาะลันตา เกาะปู 680 กว่ารายยังไม่ได้รับเงินชดเชยอาชีพประมง ตนจึงขอวอนให้รัฐบาลลงไปดูแลด้วย
ส่วนเงินชดเชยตัวที่สอง คือผู้ประกอบการรายย่อยรายละ 2 หมื่น คนตรวจพบว่ามีเงินกองทุน 102.4 ล้านบาท ใช้ไป43.9ล้าน ยังเหลืออีก 20 ล้าน มีผู้ประสบภัย 600 กว่ารายยังไม่ได้รับค่าชดเชย ตลอดทั้งการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือตามที่รัฐบาลรับปากไว้ ในเรื่องสินเชื่อกู้เงินธนาคาร
และในส่วนของนักเรียนในโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ มีงบประมาณช่วยเหลือ 180 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เหลืออีก 30 ล้านบาท แต่บางโรงเรียนยังไม่ได้รับเงินชดเชย กล่าวคือโรงเรียนยังไม่ได้รับการชดเชยทั่วถึง
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนงบประมาณฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน บวกกับการฟื้นฟูสภาพ วันนี้มีการใช้งบไปเพียง 16 % กล่าวคือสาธารณูปโภคยังไม่ได้รับการฟื้นฟูเท่าที่ควร และเรื่องบ้านถาวรของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ รัฐบาลจัดงบกลางจัดงบกลางสร้างบ้านถาวรปี 48 จำนวน 81.2 ล้านบาท รวมงบกองทุนบริจาค 28.26 ล้านบาท รวมแล้ว 110 ล้านบาท ตั้งเป้าว่าจะสร้าง2952หลัง วันนี้เพิ่งเสร็จไป 715 หลัง คิดเป็น 25 %
ที่เป็นปัญหาคือบ้านของรัฐบาลที่จะสร้าง ตนขอเรียกว่าบ้านที่ออกทางสื่อโทรทัศน์ คือบ้านในส่วนมูลนิธิในหลวง และราชวงศ์ กับบ้านมูลนิธิไทย-ฝรั่ง แต่บ้านของรัฐบาลนำมายังล่าช้า และยังมีปัญหาเรื่องนายทุนจับจองที่ดินสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่เคยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการแก้ปัญหาให้ประชาชนผู้เดือดร้อน
นายจุรินทร์ แนะว่าหากรัฐบาลจะแก้ปัญหาและฟื้นฟูการท่องเที่ยว สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งคือแก้คือ1. เร่งเงินกู้ 2.ฟื้นฟูสภาพ 3.ผังเมืองต่องเร่งให้เสร็จ 4. การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของรัฐบาลต้องถูกทิศทาง ไม่สร้างภาพและระบบเตือนภัยที่รัฐบาลต้องเร่งติดตั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว
การแก้ปัญหาสึนามิ รัฐบาลยังเน้นสร้างภาพ และขาดเจ้าภาพในการกำกับดูแลแก้ปัญหา และเรื่องเงินบริจาคควรบอกประชาชนให้ทราบอย่างโปร่งใส
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายในประเด็นความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณแผ่นดิน โดยเฉพาะงบ คชก.ปีนี้รัฐบาลตั้งงบไว้ ปี 2549 จำนวน 2,500 ล้านบาท ความไม่ชอบมาพากลในการใช้จ่ายงบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าว ลำไย วันนี้ตนขอเน้นเรื่องลำไย โดยมีการทุจริตคือ 1.จำนำลำไยคุณภาพต่ำราคาสูง (กก. 72) 2.การซื้อสิทธิเกษตรกรแล้วเอาสิทธิในใบจำนำ 3. จำนำลำไยลม 72 บาท/กก. เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป ลำไยฤดูเดียว ปี 45 เสียงบประมาณแผ่นดินไปประมาณ 3,500 ล้านบาท ปี 46 เหลือลำไยค้างสต็อก 20,000ตัน และปี47 ที่เป็นเรื่องอื้อฉาวขณะนี้ เรื่องลำไยเรื่องเดียว 4 ปีต่อกันเสียงบประมาณ 5,800ล้านบาท
เรื่องสุดท้าย คือเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีสถานที่สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่ง ณ วันนี้ยังหาที่ไม่ได้ แต่นายกฯ ชี้ไปแล้วว่าจะเอาที่ไทยเมล่อน และรัฐบาลได้มีการให้สัมภาษณ์ไปก่อนหน้าที่ไทยเมล่อน ว่าเป็นที่ที่เหมาะสม และมอบหมายให้กรมธนารักษ์ไปเจรจากับเจ้าของที่ไทยเมล่อน คือบสท. ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารไทยธนาคาร ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ส่อให้เห็นว่าว่ารัฐบาลสนใจที่ดังกล่าวในขณะที่สภายังศึกษาไม่เสร็จ ตนยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะรัฐบาลตอบกระทู้ในสภาว่าถ้าได้ที่ก็จะใช้งบกลางปี 49 และที่น่าจับตามองคือที่ดินที่ไทยเมล่อน คือมีที่ดินของผู้มีตำแหน่งในรัฐบาลอยู่ใกล้เคียงที่ดังกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายว่า สำหรับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ในประเด็นงบสมดุลนั้น หากดูลงไปในรายละเอียดของงบทั้งหมด จะเห็นว่าสมดุลไม่จริง เพราะเป็นการสร้างภาพมากกว่า เป็นเพียงความพยายามทำให้ตัวเลขรายได้ เท่าตัวเลขรายจ่าย รัฐบาลชุดนี้ทำงบประมาณปี2548 ก็มีลักษณะคล้ายๆกัน งบประมาณ 2549 ซึ่งในรายละเอียดมีการตกแต่งตัวเลข ที่จะทำให้รายได้เกินกว่าความเป็นจริง เช่นรายได้ของกรมสรรพากร รัฐบาลบอกว่าปีนี้จะทำรายได้ของกรมสรรพากรโตขึ้น 13 .4 % ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ และรัฐบาลบอกว่าปี2549 เศรษฐกิจจะโต 4.5-5.0 % ก็แปลว่าจะโตประมาณ 5.0% ดังนั้นหากทำรายได้ของกรมสรรพากรโตขึ้น 13 .4 % ก็เท่ากับว่ามากกว่าอัตราการเติบโตของประเทศสองเท่า แต่คนที่เจ็บปวดที่สุดกับการเข้าถึงเป้าทางเศรษฐกิจของรัฐบาลคือประชาชน
เพราะเมื่ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโต 5 % รัฐบาลก็บอกว่าจะเก็บภาษีให้ได้โตขึ้นจากกรมสรรพากร ก็จะต้องมีการรีดภาษีครั้งมโหราฬ ถึงขนาดตั้งเป้าให้แต่ละจังหวัดเก็บให้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ตนไม่โทษเจ้าหน้าที่เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐบาลมอบให้เจ้าหน้าที่เป็นคนทำ แต่ประชาชนจะเดือดร้อนเพราะต้องถูกรีดภาษี
สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตคือตัวเลขทางเศรษฐกิจจะถูกตกแต่ง เพื่อให้รายจ่าย เท่ารายได้ เพื่อจะใช้คำว่างบประมาณสมดุล ซึ่งมีข้อสังเกต 2 ประการ คือมีการซุกรายจ่ายไว้ ในรูปของงบประมาณผูกพัน เอกสารบอกชัดเจนว่ามีเงิน 14,840.4 ล้านบาท ตั้งไว้เป็นหัวเชื้อไปผูกพันงบประมาณในอนาคต จนถึงปี 2553 และปีต่อๆไป รวมแล้วเราต้องผูกพันอนาคตไว้ 73,924 ล้านบาท
ประการที่สอง คือรายจ่ายในการชำระต้นเงินกู้ ซึ่งปี 2549 ลดลงกว่าปี 2548 ลดทั้งสัดส่วนและปริมาณ เงินงบประมาณ ปี 2548 รายจ่ายชำระต้นเงินกู้ 4 % ของเงินงบประมาณ แต่มาปีนี้เหลือ 3.2 % ปี 2548 ชำระคืนต้นเงินกู้เป็นเงิน 50,076.3 ล้าน ปีนี้เหลือ 43,187.2 ล้านบาท หากมีการชำระคืนต้นเงินกู้เพิ่มขึ้นอีก 1 บาท รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น 1 บาท รายจ่ายก็เพิ่มขึ้น 1 บาท งบประมาณก็ไม่สมดุลย์
คำว่าสมดุลของงบประมาณของรัฐบาลนี้ ไม่ได้สมดุลในภาวะของความเป็นจริงในทางเศรษฐกิจ แต่สมดุลเพราะตกแต่งตัวเลขเศรษฐกิจ
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายถึงประเด็นงบกลางว่า โดยปกติงบกลางในประวัติศสาสตร์ที่ผ่านมา จะมีการตั้งงบกลางไว้ในกรณีใช้เพื่อสำหรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการเจ้าหน้าที่ หรือกรณีของการเลื่อนขั้นขึ้นเงินเดือน หรือกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน หรือเป็นไปเพื่อความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น
แต่เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ เริ่มมีการจัดงบใหม่ ตั้งแต่ ปี 2545 เป็นต้นมา มีการเอางบที่ควรเป็นงบปกติ ไปไว้ในงบกลาง หมายความว่าเมื่อเอางบที่ควรเป็นงบปกติ ซึ่งจะมีการบอกรายละเอียด กลับนำไปใส่ไว้ในงบกลางในรูปของยอดเงินอย่างเดียว โดยให้เหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการอธิบายเหตุผล ไม่มีรายละเอียด ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบงบประมาณแผ่นดินในวาระที่ 1ได้
และที่น่าสังเกตคือหากเป็นงบกลาง อำนาจในการใช่งบประมาณแผ่นดินส่วนนี้ที่สุดจะตกอยู่ในมือของคนๆ เดียว ในทางปฏิบัติจริง คือนายกรัฐมนตรี เช่นการใช้เงินในโครงการทัวร์นกขมิ้น การนำเงินไปซื้อเครื่องบินให้คณะรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องอันตรายในการจัดงบกลางที่ไม่เป็นกลาง
และการจัดงบประมาณปี 2549 มีการจัดงบกลางไว้สูงสุดในประวัติศาสตร์ 256,220 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นความไม่เกรงใจในการใช้เงินภาษีประชาชน
ในปี 2549 เฉพาะในส่วนงบกลางจาก 19 รายการอย่างน้อยจับผีได้ 4 ตัวที่ไม่มีรายละเอียด ผีตัวที่หนึ่งระบุว่าเป็นงบใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน และชุมชนเมือง (SML) มียอดเงิน 19,100 ล้านบาท ไม่มีรายละเอียด ผีตัวที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาชายแดนภาคใต้ 5,000 ล้านบาท ตนเห็นด้วยกับงบดังกล่าวนี้ แต่ตนไม่เห็นด้วยที่นำมาระบุในงบกลาง เพราะมีเพียงตัวเลขยอดเงิน ซึ่งตนตั้งข้อสังเกตว่า 5,000 ล้าน ตั้งไว้เพื่อนำไปใช้ในโครงการจัดโซนนิ่ง หมู่บ้าน 3 สีหรือไม่
ส่วนผีตัวที่ 3 โครงการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (งบผู้ว่าซีอีโอ) ปีนี้ตั้งไว้ 40,000 ล้านบาท โดยไม่มีรายละเอียด รวมงบผีทั้งหมด 91,300 ล้านบาท
**การอภิปรายของ นายจุรินทร์ ได้ชะงักเป็นช่วงๆ เนื่องจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลลุกขึ้นประท้วง**
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายต่อถึงการไร้ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณแผ่นดินว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคืองบลงทุนปี 2548 ซึ่งเดือนพฤษภาคม 2548 งบลงทุนซึ่งถือว่าเป็นงบประมาณที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีเงินจำนวน 298,144 ล้านบาท ซึ่งมีการเบิกใช้ไป เพียง 134,054 ล้านบาท ตีเป็น 45 % ซึ่งเหลือเวลา 4 เดือน
ตัวอย่างที่สองคืองบกลาง ที่ใช้ในการลงทุนปี 48 เหมือนกันแต่เป็นงบกลางสิ้นเดือนพฤษภาคม 2548 เพิ่งใช้ไปเพียง 22.47 % ตรงนี้คือความไร้ประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ และยังมีอีกเรื่องคือการใช้งบประมาณของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ รัฐบาลมีมติครม. เรื่องนี้ในรอบ 6 เดือนอย่างน้อย 21 ครั้ง ใช้งบประมาณ 2548 รวมแล้วประมาร 7,500 ล้านบาท เวลาผ่านไป6 เดือน มีการใช้งบไปไปเพียง 30 %
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า จากการที่ข่าวกรมประชาสัมพันธ์เสนอข่าวเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.48 ว่าการติดตามผลการดำเนินของหน่วยงานต่างๆและกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำนักนายกฯได้เผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ท www.opm.go.th.tsunami แต่ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ดังกล่าวได้ หากไม่มี username และ password ก็ไม่สามารถเข้าไปดูได้ พูดแบบเข้าใจง่ายๆ คือต้องมีกุญแจ
ภาพการแก้ปัญหาสึนามิที่มีการเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ ถือว่าตรงกันข้ามกับปัญหาในพื้นที่อย่างสิ้นเชิง ในหลายพื้นที่ สภาพปัญหาในวันนี้คือเรื่องเงินชดเชย ผู้ประกอบอาชีพประมง มีงบประมาณ 821 ล้านบาท ใช้ไป 440 ล้านบาท ยังเหลือ 381 ล้านบาท การช่วยเหลือดำเนินไปโดยนำเงินไปให้ผู้เพาะเลิ้ยงสัตว์น้ำ 20,000บาท/ราย ซึ่งความเสียหายมากว่านั้นมาก ทั้งที่งบประมาณยังเหลืออยู่อีกมาก จึงขอตั้งคำถามว่ารัฐบาลทำไมไม่เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามจำนวนที่ควรจะเป็น
ตนได้รับเรื่องจากประชาชนชาวกระบี่ จากนายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ว่าประชาชนที่เกาะสีบ่อยา เกาะจำ เกาะลันตา เกาะปู 680 กว่ารายยังไม่ได้รับเงินชดเชยอาชีพประมง ตนจึงขอวอนให้รัฐบาลลงไปดูแลด้วย
ส่วนเงินชดเชยตัวที่สอง คือผู้ประกอบการรายย่อยรายละ 2 หมื่น คนตรวจพบว่ามีเงินกองทุน 102.4 ล้านบาท ใช้ไป43.9ล้าน ยังเหลืออีก 20 ล้าน มีผู้ประสบภัย 600 กว่ารายยังไม่ได้รับค่าชดเชย ตลอดทั้งการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือตามที่รัฐบาลรับปากไว้ ในเรื่องสินเชื่อกู้เงินธนาคาร
และในส่วนของนักเรียนในโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบ มีงบประมาณช่วยเหลือ 180 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เหลืออีก 30 ล้านบาท แต่บางโรงเรียนยังไม่ได้รับเงินชดเชย กล่าวคือโรงเรียนยังไม่ได้รับการชดเชยทั่วถึง
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนงบประมาณฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน บวกกับการฟื้นฟูสภาพ วันนี้มีการใช้งบไปเพียง 16 % กล่าวคือสาธารณูปโภคยังไม่ได้รับการฟื้นฟูเท่าที่ควร และเรื่องบ้านถาวรของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ รัฐบาลจัดงบกลางจัดงบกลางสร้างบ้านถาวรปี 48 จำนวน 81.2 ล้านบาท รวมงบกองทุนบริจาค 28.26 ล้านบาท รวมแล้ว 110 ล้านบาท ตั้งเป้าว่าจะสร้าง2952หลัง วันนี้เพิ่งเสร็จไป 715 หลัง คิดเป็น 25 %
ที่เป็นปัญหาคือบ้านของรัฐบาลที่จะสร้าง ตนขอเรียกว่าบ้านที่ออกทางสื่อโทรทัศน์ คือบ้านในส่วนมูลนิธิในหลวง และราชวงศ์ กับบ้านมูลนิธิไทย-ฝรั่ง แต่บ้านของรัฐบาลนำมายังล่าช้า และยังมีปัญหาเรื่องนายทุนจับจองที่ดินสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่เคยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการแก้ปัญหาให้ประชาชนผู้เดือดร้อน
นายจุรินทร์ แนะว่าหากรัฐบาลจะแก้ปัญหาและฟื้นฟูการท่องเที่ยว สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งคือแก้คือ1. เร่งเงินกู้ 2.ฟื้นฟูสภาพ 3.ผังเมืองต่องเร่งให้เสร็จ 4. การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของรัฐบาลต้องถูกทิศทาง ไม่สร้างภาพและระบบเตือนภัยที่รัฐบาลต้องเร่งติดตั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว
การแก้ปัญหาสึนามิ รัฐบาลยังเน้นสร้างภาพ และขาดเจ้าภาพในการกำกับดูแลแก้ปัญหา และเรื่องเงินบริจาคควรบอกประชาชนให้ทราบอย่างโปร่งใส
นายจุรินทร์ กล่าวอภิปรายในประเด็นความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณแผ่นดิน โดยเฉพาะงบ คชก.ปีนี้รัฐบาลตั้งงบไว้ ปี 2549 จำนวน 2,500 ล้านบาท ความไม่ชอบมาพากลในการใช้จ่ายงบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้าว ลำไย วันนี้ตนขอเน้นเรื่องลำไย โดยมีการทุจริตคือ 1.จำนำลำไยคุณภาพต่ำราคาสูง (กก. 72) 2.การซื้อสิทธิเกษตรกรแล้วเอาสิทธิในใบจำนำ 3. จำนำลำไยลม 72 บาท/กก. เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป ลำไยฤดูเดียว ปี 45 เสียงบประมาณแผ่นดินไปประมาณ 3,500 ล้านบาท ปี 46 เหลือลำไยค้างสต็อก 20,000ตัน และปี47 ที่เป็นเรื่องอื้อฉาวขณะนี้ เรื่องลำไยเรื่องเดียว 4 ปีต่อกันเสียงบประมาณ 5,800ล้านบาท
เรื่องสุดท้าย คือเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีสถานที่สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่ง ณ วันนี้ยังหาที่ไม่ได้ แต่นายกฯ ชี้ไปแล้วว่าจะเอาที่ไทยเมล่อน และรัฐบาลได้มีการให้สัมภาษณ์ไปก่อนหน้าที่ไทยเมล่อน ว่าเป็นที่ที่เหมาะสม และมอบหมายให้กรมธนารักษ์ไปเจรจากับเจ้าของที่ไทยเมล่อน คือบสท. ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารไทยธนาคาร ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ส่อให้เห็นว่าว่ารัฐบาลสนใจที่ดังกล่าวในขณะที่สภายังศึกษาไม่เสร็จ ตนยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะรัฐบาลตอบกระทู้ในสภาว่าถ้าได้ที่ก็จะใช้งบกลางปี 49 และที่น่าจับตามองคือที่ดินที่ไทยเมล่อน คือมีที่ดินของผู้มีตำแหน่งในรัฐบาลอยู่ใกล้เคียงที่ดังกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--