ฉบับที่ 120 / 2543
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 มียอดเงินเบิกจ่ายสุทธิ (ยอดคงค้าง) รวม 28,851 ล้านบาท นั้น
ดร.บัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษก ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้ให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญโดยมีวงเงินอนุมัติจัดสรรไว้ทั้งสิ้นประมาณ 120,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการรับซื้อตั๋วฯ และให้กู้ยืมตามระเบียบต่าง ๆ 52,712 ล้านบาท การให้สินเชื่อแก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 22,920 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) 20,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 12,500 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 9,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) 2,500 ล้านบาท ในช่วงเดือน 9 เดือนแรกของปีนี้ มีภาคธุรกิจต่าง ๆ มาขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท. ผ่านสถาบันการเงินเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นรวม 94,742 ล้านบาท และเมื่อรวมส่วนของสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แก่ภาคเอกชนตามโครงการการอนุเคราะห์ดังกล่าวอีก 83,782 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อรวมปล่อยกู้แก่ระบบเศรษฐกิจมียอดสะสมทั้งสิ้น 178,524 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี สำหรับธุรกิจที่สำคัญที่มาขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท.เป็นจำนวนสูงสุด ได้แก่ ตั๋วการส่งออก โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ได้รับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท. รวม 59,535 ล้านบาท ธปท. ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมประเภทการผลิตมาตั้งแต่ปี 2521 และในวันที่ 17 เมษายน 2543 ก็ได้ขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมถึงธุรกิจการให้บริการ การค้าส่ง ค้าปลีก รวมทั้งการรับจ้างทำของด้วย และ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ธปท. ได้อนุมัติสินเชื่อแก่ SMEs จากการขยายขอบเขตดังกล่าวไปแล้วจำนวน 5,059 ราย รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 20,364 ล้านบาท
สำหรับ SMEs ที่เป็น NPL แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงาน ตามที่ ธปท. ได้มีหนังสือเวียนแจ้งการให้ความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินเมื่อเดือนเมษายน 2543 นั้น ธปท. ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนไป 1 ราย วงเงิน 6.0 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/30 ตุลาคม 2543--
-ยก-
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 มียอดเงินเบิกจ่ายสุทธิ (ยอดคงค้าง) รวม 28,851 ล้านบาท นั้น
ดร.บัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษก ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้ให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญโดยมีวงเงินอนุมัติจัดสรรไว้ทั้งสิ้นประมาณ 120,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการรับซื้อตั๋วฯ และให้กู้ยืมตามระเบียบต่าง ๆ 52,712 ล้านบาท การให้สินเชื่อแก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 22,920 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธ.ส.น.) 20,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 12,500 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 9,000 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) 2,500 ล้านบาท ในช่วงเดือน 9 เดือนแรกของปีนี้ มีภาคธุรกิจต่าง ๆ มาขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท. ผ่านสถาบันการเงินเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นรวม 94,742 ล้านบาท และเมื่อรวมส่วนของสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แก่ภาคเอกชนตามโครงการการอนุเคราะห์ดังกล่าวอีก 83,782 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อรวมปล่อยกู้แก่ระบบเศรษฐกิจมียอดสะสมทั้งสิ้น 178,524 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี สำหรับธุรกิจที่สำคัญที่มาขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท.เป็นจำนวนสูงสุด ได้แก่ ตั๋วการส่งออก โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ได้รับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท. รวม 59,535 ล้านบาท ธปท. ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมประเภทการผลิตมาตั้งแต่ปี 2521 และในวันที่ 17 เมษายน 2543 ก็ได้ขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมถึงธุรกิจการให้บริการ การค้าส่ง ค้าปลีก รวมทั้งการรับจ้างทำของด้วย และ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ธปท. ได้อนุมัติสินเชื่อแก่ SMEs จากการขยายขอบเขตดังกล่าวไปแล้วจำนวน 5,059 ราย รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 20,364 ล้านบาท
สำหรับ SMEs ที่เป็น NPL แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงาน ตามที่ ธปท. ได้มีหนังสือเวียนแจ้งการให้ความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินเมื่อเดือนเมษายน 2543 นั้น ธปท. ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนไป 1 ราย วงเงิน 6.0 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/30 ตุลาคม 2543--
-ยก-