ตลาดแรกในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีการออก หลักทรัพย์ใหม่มูลค่า 237.4 พันล้านบาท โดยภาคเอกชนมีหลักทรัพย์ออกใหม่มูลค่า 139.4 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นสามัญ ที่สำคัญคือ หุ้นของ บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทยมูลค่า 32,562 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นเพื่อหักกลบลบหนี้ระหว่างบริษัทกับเจ้าหนี้ของบริษัท (ทั้งในและ ต่างประเทศ) โดยการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการของการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนภาคสถาบันการเงิน ธนาคารไทยธนาคารได้ออกหุ้นสามัญ โดยขายแลกหุ้นที่ออกใหม่กับผู้ถือหุ้นของ บมจ.บริษัทเงินทุนกรุงไทยธนกิจ ส่วนหุ้นกู้ภาคเอกชนมีการออกใหม่มูลค่า 63.7 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ของกลุ่มสื่อสาร ได้แก่ บมจ. โทเทิ่ล แอ็ดแซ็ค คอมมูนิเคชั่น (TAC ) และ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ( AIS) วัตถุประสงค์การออกหุ้นกู้ส่วนใหญ่เพื่อชำระคืนหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนดและขยาย กิจการ แต่มีข้อน่าสังเกตคือในช่วงนี้มีบริษัทจำกัด หันมาออกหุ้นกู้ที่มีประกันเพิ่มขึ้น โดยในครึ่งแรกของปีนี้มีผู้ออก 2 บริษัท มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท เป็นการขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ซึ่งออกเกิน 100 ล้านบาท ทำให้บริษัทจะมี Rating ตามหลักเกณฑ์ใหม่ของคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนึ่ง ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้ง Credit Rating แห่งที่ 2 แล้ว
สำหรับพันธบัตรภาครัฐได้แก่พันธบัตร รัฐบาล และ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ในช่วงครึ่งแรกของปีมีการออกใหม่มูลค่า 98.0 พันล้านบาท ที่สำคัญคือในไตรมาสแรก รัฐบาลได้ออกพันธบัตรด้วยวิธี Reopen (คือมีเงื่อนไข อัตราผลตอบแทน อายุ ไถ่ถอนเช่นเดียวกับพันธบัตรรุ่นที่ได้เคยออกมาแล้ว) มีมูลค่า 20,000 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 2 รัฐบาลได้ออกพันธบัตรอีก 33.2 พันล้านบาท เพื่อชดเชยพันธบัตรปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด
อนึ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์ Hotline เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการ ซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง เพื่อให้ข้อมูลและประสานงานระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้าพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย (Primary Dealers)
สำหรับพันธบัตรรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นสำคัญ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย เคลื่อนไหวอยู่รอบ ๆ 300 จุด โดยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมกราคมเนื่องจากการเลือกตั้งและค่อย ๆ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งปรับตัวต่ำกว่าระดับ 300 จุด หลังจากนั้นดัชนีราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นและปิดที่ 322.55 จุด ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยเกือบ 7,000 ล้านบาทต่อวันทำการ
ปัจจัยลบที่ให้ดัชนีราคาเคลื่อนไหวอยู่ ในช่วงแคบ ๆ ที่สำคัญได้แก่ (1) ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐและญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยจนธนาคารกลางสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ย FED FUND RATE ลงมาโดยลำดับถึง 6 ครั้งในปีนี้จนเหลือเพียงร้อยละ 3.87 (2) ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ อินโดนีเซีย (3) ปัญหาเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าชะลอตัวลง อาทิ สิงคโปร์ (3) ปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะคดีโอนหุ้นของนายก รัฐมนตรีและการปรับเปลี่ยนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา (4) ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ ความผันผวนของ ค่าเงินบาทและการประกาศปรับลดตัวเลขประมาณการ GDP ของไทยจากเดิมร้อยละ3.5-4.0 ต่อปีเหลือร้อยละ 2.0-3.0 ต่อปี
ปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่การปรับดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (R/P) ระยะเวลา 14 วัน ขึ้นร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี ทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นในช่วงสั้น ๆ นอกจากนั้นธนาคารพาณิชย์ในเดือนพฤษภาคมคณะรัฐมนตรีมีมติผ่านร่างกฎหมายจัดตั้ง TAMC ออกมาเป็นพระราชกำหนด
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นทั้งธนาคารพาณิชย์เอกชนและธนาคารพาณิชย์ของรัฐำหรับธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดใหญ่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จากการลดดอกเบี้ยเงินฝาก เมื่อต้นปี สำหรับธนาคารพาณิชย์รัฐที่กำไรเป็นจำนวนมากคือธนาคารศรีนคร เนื่องจากมีการโอนสำรองหนี้สูญกลับมาเป็นรายได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
สำหรับพันธบัตรภาครัฐได้แก่พันธบัตร รัฐบาล และ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ในช่วงครึ่งแรกของปีมีการออกใหม่มูลค่า 98.0 พันล้านบาท ที่สำคัญคือในไตรมาสแรก รัฐบาลได้ออกพันธบัตรด้วยวิธี Reopen (คือมีเงื่อนไข อัตราผลตอบแทน อายุ ไถ่ถอนเช่นเดียวกับพันธบัตรรุ่นที่ได้เคยออกมาแล้ว) มีมูลค่า 20,000 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 2 รัฐบาลได้ออกพันธบัตรอีก 33.2 พันล้านบาท เพื่อชดเชยพันธบัตรปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด
อนึ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์ Hotline เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการ ซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง เพื่อให้ข้อมูลและประสานงานระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้าพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย (Primary Dealers)
สำหรับพันธบัตรรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นสำคัญ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย เคลื่อนไหวอยู่รอบ ๆ 300 จุด โดยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเดือนมกราคมเนื่องจากการเลือกตั้งและค่อย ๆ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งปรับตัวต่ำกว่าระดับ 300 จุด หลังจากนั้นดัชนีราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นและปิดที่ 322.55 จุด ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยเกือบ 7,000 ล้านบาทต่อวันทำการ
ปัจจัยลบที่ให้ดัชนีราคาเคลื่อนไหวอยู่ ในช่วงแคบ ๆ ที่สำคัญได้แก่ (1) ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐและญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยจนธนาคารกลางสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ย FED FUND RATE ลงมาโดยลำดับถึง 6 ครั้งในปีนี้จนเหลือเพียงร้อยละ 3.87 (2) ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ อินโดนีเซีย (3) ปัญหาเศรษฐกิจประเทศ คู่ค้าชะลอตัวลง อาทิ สิงคโปร์ (3) ปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะคดีโอนหุ้นของนายก รัฐมนตรีและการปรับเปลี่ยนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา (4) ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ ความผันผวนของ ค่าเงินบาทและการประกาศปรับลดตัวเลขประมาณการ GDP ของไทยจากเดิมร้อยละ3.5-4.0 ต่อปีเหลือร้อยละ 2.0-3.0 ต่อปี
ปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่การปรับดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (R/P) ระยะเวลา 14 วัน ขึ้นร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี ทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นในช่วงสั้น ๆ นอกจากนั้นธนาคารพาณิชย์ในเดือนพฤษภาคมคณะรัฐมนตรีมีมติผ่านร่างกฎหมายจัดตั้ง TAMC ออกมาเป็นพระราชกำหนด
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นทั้งธนาคารพาณิชย์เอกชนและธนาคารพาณิชย์ของรัฐำหรับธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดใหญ่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นจากส่วนต่างของดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จากการลดดอกเบี้ยเงินฝาก เมื่อต้นปี สำหรับธนาคารพาณิชย์รัฐที่กำไรเป็นจำนวนมากคือธนาคารศรีนคร เนื่องจากมีการโอนสำรองหนี้สูญกลับมาเป็นรายได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-