ในยุคที่ผู้บริโภคต่างหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพนั้น สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในประเทศ แม้ว่าความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ จะลดน้อยลงในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่ตลาดสมุนไพรกลับขยายตัวสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ความต้องการสมุนไพร ในตลาดต่างประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
สมุนไพรได้มาจากพืช มีทั้งพืชล้มลุก พืชยืนต้น ผักและผลไม้ โดยพืชสมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นสินค้าประเภทต่าง ๆ อาทิ ยารักษาโรค ยาบำรุงสุขภาพ อาหารเสริม เครื่องดื่ม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
สมุนไพรของไทยในปัจจุบันมีการส่งออกหลายรูปแบบ อาทิ
? ส่งออกในรูปของพืชสด แห้ง และเมล็ดพันธุ์ ซึ่งผู้บริโภคนำไปใช้เป็นอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากกว่าการนำไปใช้เป็นยารักษาโรค
? ส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งผลิตตามสูตรของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศโดยใช้สมุนไพรไทยเป็นวัตถุดิบ ทั้งนี้การส่งออกส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของการขายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือขายตามชายแดน
ในปัจจุบัน ศักยภาพการผลิตสมุนไพรของประเทศไทยยังเป็นรองจีนและอินเดีย ขณะที่เวียดนาม เป็น คู่แข่งสำคัญที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่หากได้มีการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรอย่างจริงจังแล้ว คาดว่า โอกาสของสมุนไพรไทยจะไปได้อีกไกล ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและส่งออกพืชสมุนไพรที่สำคัญ ได้แก่
? ศึกษาประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างจริงจัง ทั้งด้วยการวิจัย และทดลองเพื่อให้สามารถกำหนด แนวทางในการส่งเสริมอย่างเหมาะสม ทั้งในทางการแพทย์และการพาณิชย์
? ส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า จากเดิมที่ขายในรูปวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
? พัฒนารูปแบบการผลิตให้สินค้ามีความหลากหลาย และสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ต้องการสินค้าสะดวกซื้อและสะดวกใช้มากขึ้น เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแคปซูล
? กำหนดมาตรฐานการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล หรือข้อกำหนดของตลาดต่างประเทศ ทั้งในเรื่อง คุณภาพสินค้า ความปลอดภัยในการอุปโภคบริโภค ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศผู้นำเข้าใช้เป็นข้อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากไทย
? ติดตามและประเมินผล ตลอดจนให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร และผู้ผลิตในระดับอุตสาหกรรม
การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากจะช่วยให้ประชาชนภายในประเทศสามารถบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพและราคาถูกกว่าการซื้อสินค้าเพื่อบำรุงสุขภาพจากต่างประเทศแล้ว ยังจะช่วยให้ประเทศไทยมีรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกรที่มักปลูกสมุนไพรเป็นพืชเสริมการปลูกพืชหลักอื่นอีกด้วย
Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 7 ประจำเดือน กรกฎาคม 2543--
-อน-
สมุนไพรได้มาจากพืช มีทั้งพืชล้มลุก พืชยืนต้น ผักและผลไม้ โดยพืชสมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นสินค้าประเภทต่าง ๆ อาทิ ยารักษาโรค ยาบำรุงสุขภาพ อาหารเสริม เครื่องดื่ม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
สมุนไพรของไทยในปัจจุบันมีการส่งออกหลายรูปแบบ อาทิ
? ส่งออกในรูปของพืชสด แห้ง และเมล็ดพันธุ์ ซึ่งผู้บริโภคนำไปใช้เป็นอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากกว่าการนำไปใช้เป็นยารักษาโรค
? ส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งผลิตตามสูตรของผู้ว่าจ้างในต่างประเทศโดยใช้สมุนไพรไทยเป็นวัตถุดิบ ทั้งนี้การส่งออกส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของการขายให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือขายตามชายแดน
ในปัจจุบัน ศักยภาพการผลิตสมุนไพรของประเทศไทยยังเป็นรองจีนและอินเดีย ขณะที่เวียดนาม เป็น คู่แข่งสำคัญที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่หากได้มีการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรอย่างจริงจังแล้ว คาดว่า โอกาสของสมุนไพรไทยจะไปได้อีกไกล ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและส่งออกพืชสมุนไพรที่สำคัญ ได้แก่
? ศึกษาประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างจริงจัง ทั้งด้วยการวิจัย และทดลองเพื่อให้สามารถกำหนด แนวทางในการส่งเสริมอย่างเหมาะสม ทั้งในทางการแพทย์และการพาณิชย์
? ส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า จากเดิมที่ขายในรูปวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
? พัฒนารูปแบบการผลิตให้สินค้ามีความหลากหลาย และสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ต้องการสินค้าสะดวกซื้อและสะดวกใช้มากขึ้น เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแคปซูล
? กำหนดมาตรฐานการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล หรือข้อกำหนดของตลาดต่างประเทศ ทั้งในเรื่อง คุณภาพสินค้า ความปลอดภัยในการอุปโภคบริโภค ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศผู้นำเข้าใช้เป็นข้อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากไทย
? ติดตามและประเมินผล ตลอดจนให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร และผู้ผลิตในระดับอุตสาหกรรม
การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากจะช่วยให้ประชาชนภายในประเทศสามารถบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพและราคาถูกกว่าการซื้อสินค้าเพื่อบำรุงสุขภาพจากต่างประเทศแล้ว ยังจะช่วยให้ประเทศไทยมีรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้น ยังช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกรที่มักปลูกสมุนไพรเป็นพืชเสริมการปลูกพืชหลักอื่นอีกด้วย
Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 7 ประจำเดือน กรกฎาคม 2543--
-อน-