บทสรุป กิจการโทรคมนาคมไทย
กิจการโทรคมนาคม จำแนกได้ 2 ประเภท คือ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบใช้สาย และ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายกิจการโทรคมนาคม คือ การติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ข้อมูล ภาพ ฯ โดยสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบใช้สาย (Fixed-line Communication Networks) ได้แก่ โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์ระหว่างประเทศ โทรศัพท์สาธารณะ และ Internet เป็นต้น โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Communication Networks) ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์ติดตามตัว และวิทยุคมนาคม เป็นต้น
โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโครงข่ายในประเทศ ต่างหาพันธมิตรร่วมทุน เพื่อความอยู่รอดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง กอปรกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต่างเร่งขยายเครือข่ายทางธุรกิจ โดยการแสวงหาพันธมิตรทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรในประเทศ เช่น การร่วมใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AIS และ DPC (บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด) หรือ การหาพันธมิตรต่างประเทศ เช่น AIS ร่วมทุนกับ SingTel (สิงคโปร์) TAC ร่วมทุนกับ Telenor (นอร์เวย์) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็น
การรักษาส่วนแบ่งการตลาด และเพิ่มขีดความสามารถในเชิงเทคโนโลยี ตลอดจนเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรีโทรคมนาคมต่อไป
แนวโน้มในอนาคต โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ทดแทนโทรศัพท์พื้นฐานมากยิ่งขึ้นจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์สื่อสารแบบสองทางที่มีความสะดวกสบายในการพกพา และมีพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุมได้ทั่วประเทศมากกว่าโทรศัพท์พื้นฐาน กอปรกับผู้ประกอบการต่างแข่งขันกันจัดรายการส่งเสริมการขาย ทำให้ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มที่จะทดแทนโทรศัพท์พื้นฐานมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) … ก้าวแรกของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระแสการเชื่อมโยงโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้มีการพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่สู่ยุคที่สามผ่านทางเทคโนโลยี WAP ในลักษณะเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่กับเครือข่าย Internet และประยุกต์กับการให้บริการของธนาคารในรูปแบบ Mobile Banking เช่น โอนเงินผ่านบัญชี สอบถามอัตราแลกเปลี่ยน จองเที่ยวบิน ตั๋วชมภาพยนตร์ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
กิจการโทรคมนาคม จำแนกได้ 2 ประเภท คือ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบใช้สาย และ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายกิจการโทรคมนาคม คือ การติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ข้อมูล ภาพ ฯ โดยสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบใช้สาย (Fixed-line Communication Networks) ได้แก่ โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์ระหว่างประเทศ โทรศัพท์สาธารณะ และ Internet เป็นต้น โครงข่ายการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Communication Networks) ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์ติดตามตัว และวิทยุคมนาคม เป็นต้น
โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโครงข่ายในประเทศ ต่างหาพันธมิตรร่วมทุน เพื่อความอยู่รอดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง กอปรกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต่างเร่งขยายเครือข่ายทางธุรกิจ โดยการแสวงหาพันธมิตรทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรในประเทศ เช่น การร่วมใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ AIS และ DPC (บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด) หรือ การหาพันธมิตรต่างประเทศ เช่น AIS ร่วมทุนกับ SingTel (สิงคโปร์) TAC ร่วมทุนกับ Telenor (นอร์เวย์) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็น
การรักษาส่วนแบ่งการตลาด และเพิ่มขีดความสามารถในเชิงเทคโนโลยี ตลอดจนเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรีโทรคมนาคมต่อไป
แนวโน้มในอนาคต โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ทดแทนโทรศัพท์พื้นฐานมากยิ่งขึ้นจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอุปกรณ์สื่อสารแบบสองทางที่มีความสะดวกสบายในการพกพา และมีพื้นที่การให้บริการที่ครอบคลุมได้ทั่วประเทศมากกว่าโทรศัพท์พื้นฐาน กอปรกับผู้ประกอบการต่างแข่งขันกันจัดรายการส่งเสริมการขาย ทำให้ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มที่จะทดแทนโทรศัพท์พื้นฐานมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) … ก้าวแรกของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกระแสการเชื่อมโยงโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้มีการพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่สู่ยุคที่สามผ่านทางเทคโนโลยี WAP ในลักษณะเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่กับเครือข่าย Internet และประยุกต์กับการให้บริการของธนาคารในรูปแบบ Mobile Banking เช่น โอนเงินผ่านบัญชี สอบถามอัตราแลกเปลี่ยน จองเที่ยวบิน ตั๋วชมภาพยนตร์ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-