โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard )
ความเป็นมา มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ได้ให้ความเห็นชอบกรอบของแผนแม่บทการพัฒนาพื้ทีชายฝั่งทะเลภาคใต้ ที่สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสสนอ ดยมีเป้าหมายการพัฒนา " สะพานเศรษฐกิจ" บริเวณภาคใต้ตอนบนเพื่อพัฒนาบริเวณดังกล่าว เป็นฐานเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ
สาระสำคัญของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ พื้นที่โครงการ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช มีพื้นที่รวม 32,254 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรรวม 2.8 ล้านคน
เป้าหมายของโครงการ การพัฒนา " สะพานเศรษฐกิจ "ตัดข้ามภาคใต้เพื่อ
สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมพาณิชย์นาวีเพื่อเปิดประตูค้าขายกับประเทศฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย นำประเทศไทยเข้าสู่โครงข่ายการค้าขายของโลก พัฒนาทำเลที่เหมาะสมสำหนับนักลงทุนต่างชาติ สะพานเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ระบบการขนส่งร่วมแบบผสมผสาน ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกพร้อมทั้งท่าเทียบเรือน้ำมันทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งเชื่อมต่อด้วยทางด่วน ทางรถไฟและท่อน้ำมัน อุตสาหกรรมที่เกียวข้องกับน้ำมัน ( Oil - based Industry )เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำมันดิบที่ขนส่งโดยท่อตามแนวสะพานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ ( Gas - based Industry ) โดยใช้ก๊าซจากแหล่งในอ่าวไทยหรือจากแหล่งอื่นที่จะหามาได้ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล ( Shipping - based activities ) ซึ่งอาจรวบถึงการบรรจุภัณฑ์ การเดินเรือในเส้นทางสายรองและการขนส่งสินค้าข้ามคอคอด อุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น และ/หรือวัตถุที่นำเข้า ซึ่งจะมีที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ติดกับท่าเรือน้ำลึก หรือสถานที่ที่เหมาะสมอื่นๆ การพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบของพื้นที่ในการดึงดูดให้เกิดกิจการต่อเนื่องจากการขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรม การค้าและธุรกิจต่างๆ แนวทางดำเนินงาน โครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนา : ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยเฉพาะระบบสะพานเศรษฐกิจทันทีเพื่อผันการขนส่งสินค้าจากเส้นทางเดินเรือที่มีอยุ่ปัจจุบัน ( มะละกา/ซุนดา/ลอมบอก )ให้มาผ่านสะพานเศรษฐกิจในปริมาณที่มากเพียงพอคุ้มค่าการลงทุน การพัฒนาภูมิภาคเป็นตัวนำ : เน้นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดนริเริ่มพัฒนาฐานอุตสาหกรรมในระดับภูมืภาคและพัฒนาการขนส่งทางบกเชื่อมโยงแหล่งผลิตเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขนส่งสินค้าในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงให้ขยายตัวจนถึงจุดที่คุ้มค่าสำหรับการพัฒนา " สะพานเศรษฐกิจ " เต็มรูปแแบในระยะต่อไป ประเด็นหลักเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา จากการศึกษาพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่รัฐจะลงทุนล่วงหน้าจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวทางแรก โดยเฉพาะระบบ "สะพานเศรษฐกิจ " ในทันที เนื่องจาก การผันปริมาณการขนส่งสินค้านานาชาติให้มาใช้ " สะพานเศรษฐกิจ " ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าเปิดใหม่ต้องแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งกับเส้นทางที่มีอยู่เดิมแล้ว ซึ่งการขนส่งผ่าน"สะพานเศรษฐกิจ " ในขั้นต้นนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้เส้นทางเดิมมาก ผลการศึกษาคาดว่าช่องแคบมะละกาจะยังสามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้อีกจนถึงประมาณปี 2556 จึงจะเกิดปัญหาความแออัด แผนแม่บทจึงมีข้อเสนอแนะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ควรดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้แนวทางการพัฒนาภูมิภาคเป็นตัวนำ ดังนี้ พัฒนาฐานการผลิตที่เชือมโยงกับทรัพยากรที่มีอยุ่ในภูมิภาคท้องถิ่นเองและตลาดในประเทศเสียก่อน โดยรัฐเร่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนให้อย่างเพียงพอสำหรับฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจและบริการที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ( เช่น ยาง น้ำมันปาล์ม ) อุตสาหกรรมแปรรูปสินแร่ ( เช่น ดีบุก ยิบซั่ม ) และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แนวทางการเลือกอุตสาหกรรมตัวนำการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตเคมีขั้นต่อเนื่องและระบบท่อส่งน้ำมันมีสักยภาพสูงที่จะพัฒนาขึ้น เนื่องจากการขนส่งน้ำมันดิบทางท่อส่งน้ำมันขนาดใหย่ผ่านสะพานเศรษฐกิจทำการกลั้นในประเทศไทยและส่งไปจำหน่ายตลาดในตะวันออกไกล ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจสูง พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ฐานชุมชนเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นรองรับควบคู่ไปด้วย องค์ประกอบของแผนงานตามแผนแม่บท นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ท่าเรือน้ำลึก ท่าเทียบเรือขนาด 2x300 เมตร สำหรับสินค้าทั่วไป เพื่อรองรับเรือขนาด 12,000 DWT ในระยะแรก และเรือขนาด 45,000 DWT ในที่สุด ชุมชนเมืองใหม่ พื้นที่ 4,125 ไร่ สำหรับประชากร 18,000 คน ประกอบด้วยพื้นที่การพาณิชย์และการพักผ่อน โรงเรียนนานาชาติและโรงเรยนอื่นๆ สถานที่ราชการและสำนักงานโครงการ นิคมอุตสากรรมติดกับท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรมที่มีบริการสมบูรณ์แบบ พืนที่ประมาณ 690 ไร่ ประกอบด้วย เขตการผลิตเพื่อการส่งออกและเตรียมพื้นที่สำหรับส่วนขยายในอนาคต ระบบประปาจากคลองกระบี่ใหย่ ระบบไฟฟ้าขนาด 80 เมกกะวัตต์และดทรศัพท์ 1,450 คู่สาย ระบบบำบัดและกำจัดของเสียรวมสำหรับทั้งนิคมอุตสากรรม ปรับปรุงเมืองกระบี่ให้เป็นเมืองท่องเที่ยว พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการ อาทิ ระบบระบายน้ำ/น้ำเสีย ปรับปรุงถนน พัฒนาที่อยู่อาศัย ศูนย์ธุรกิจและสำนักงาน สนับสนุนพื้นทีเพื่อการพักผ่อนและเพิ่มบริการโทรศัพท์ นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอ่าวไทย ท่าเรือน้ำลึก ท่าเทียบเรือขนาด 2 x 300 เมตร สำหรับสินค้าทั่วไป เพื่อรองรับเรือขนาด 12,000 DWT ในระยะแรก และเรือขนาด 45,000 DWT ในที่สุด ท่าเทียบเรือสินค้าเหลวสำหรับเรือขนาด 45,000 DWT ท่าเทียบเรือน้ำมันที่มีจุดขนถ่ายน้ำมัน 1 จุด สำหรับเรือบรรทุกขนาด 25,000 DWT อยุ่ห่างฝั่ง 30 กิโลเมตร และห่างจากเกาะสมุย 22 กิโลเมตร สถานีสุบน้ำมันติดตั้งอยู่บนแท่นกลางทะเล ท่อน้ำมันใต้ทะเลขนาด 36 นิ้ว 2 ท่อ และอุปกรณ์/เครื่องมือขจัดคราบน้ำมันในทะเล กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ( 12,500 ไร่ ) โรงกลั่นน้ำมันขนาด 150,000 บาร์เรลต่อวัน โรงงานเคมีที่ใช้แนฟทาหรือก๊าซเป็นวัตถุดิบและพื้นที่สำหรับส่วนขยายในอนาคต และอุตสาหกดรรมต่อเนื่อง ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาทิ ระบบบำบัดและกำจัดของเสีย ระบบประปาขนาด 32,000 ลบ.เมตร ต่อวัน จากคลองท่าทอง และสายไฟฟ้ายาว 10 กิโลเมตรเชื่อมโยงกับระบบสายไฟหลัก ชุมชนเมืองใหม่ พื้นที่ขนาด 845 ไร่ สำหรับประชากร 5,500 คน ประกอบด้วย โรงเรียน อาคารพาณิชย์และสวนสาธารณะ นิคมอุตสาหกรรมติดกับชุมชนพื้นที่ 250 ไร่ สุราษฎร์ธานี นิคมอุตสาหกรรม/ชุมชนติดกับสนามบิน จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ประมาณ 1,690 ไร่ และชุมชนพื้นที่ประมาณ 2,220 ไร่ สำหรับผู้อยุ่อาศัย 10,500 คน พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ปรับปรุงเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ และเป็นส่วนสนับสนุนให้กับนิคมอุตสาหกรรม/ชุมชนติดกับสนามบิน จะประกอบด้วย การปรับปรุงสนามบิน โดยขยาย/ปรับปรุงพื้นที่สำหรับผู้โดยสาร ตกแต่งทางเข้าออกและบริเวณภายนอกให้สวยงาม ใช้ระบบเครื่องมือสื่อสารนำร่องเครื่องบินเข้าจอด ปรับปรุงโครงข่ายถนนเชื่อมโยงกับ กทม.และจังหวัดใกล้เคียง นครศรีธรรมราช นิคมอุตสาหกรรมในเขตเมือง พัฒนานิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ประมาณ 690 ไร่ พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การปรับปรุงเมืองนครศรีธรรมราช โดยจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองพร้อมแผนปฏิบัติการปรับปรุงสาธารณูปโภค สาธารณูปการและการบริการ ภูเก็ต ศูนย์การวิจัยและพัฒนา นิคมที่มีการตกแต่งสภาพภูมิทัศน์ของบริเวณพื้นที่ประมาณ 345 ไร่ ใกล้ตัวเมืองภูเก็ต สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ปรับปรุงสถาบันที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ได้มาตรฐานสากล นิคมอุตสาหกรรมติดกับสนามบิน ( 844 ไร่ ) สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ การปรับปรุงสนามบิน การท่องเที่ยว โดยพัฒนาท่าฉัตรไชยและบางเทาเป็นศูนย์การท่องเที่ยวนานาชาติ การปรับปรุงเมืองภูเก็ต พร้อมโครงข่ายเชื่อมโยง ความก้าวหน้าการดำเนินการ 1. ท่าเรือน้ำลึก
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2539 และ 1 เมษายน 2540 ให้กำหนดที่ตั้งเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกตามแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ใหม่ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ฝั่งอ่าวไทย : บริเวณบ้านบางปอ อำเภอสิชล - บริเวณท่ายิบซั่ม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
ฝั่งอ่าวไทย : บริเวณบ้านบางปอ อำเภอสิชล - บริเวณท่ายิบซั่ม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝั่งทะเลอัดามัน บริเวณทับละมุ อำเถอท้ายเมือง จังหวัดพังงา ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ( สพต. ) อยู่ระหวางการศึกษาความเหมาะสมในรายละเอียดด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วิศวกรรมและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณฝั่งทะเลอำเภอขนอม - สิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และฝั่งทะเลอำเภอท้ายเมือง จังหวัดพังงา ในวงเงิน 25 ล้านบาท ( เงินช่วยเหลือจาก USTDA 12.5 ล้านบาท และเงินงบประมาณสมทบอีก 12.5 ล้านบาท ป โดยได้ว่าจ้างบริษัท Moffatt & Nichol/AEC/WSA เป็นผู้ศึกษา คาดว่าจะทราบผลการออกแบบเบื้องต้นของท่าเรือในเดือนตุลาคม 2540 และผลการศึกษาทั้งหมดจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2541
ถนนสายกระบี่ - ขนอม กรมทางหลวงได้ปรับเปลี่ยนแบบใหม่เป็นทางหลวงแผ่นดิน 4 ช่องจราจร มีเขตกว้าง 200 เมตร สำหรับระบบท่อส่งน้ำมัน ท่อก๊าซธรรมชาติและทางรถไฟในอนาคตตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 โดยขระนี้กรมทางหลวงอยุ่ในขั้นตอนการออกแบบ รายละเอียดคาดว่าาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2540 หลังจากนั้นจะเริ่มประกวดราคาก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน
อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน ระบบท่อส่งน้ำมันดิบ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความเหมาะสมแล้วพบว่า โครงการกลั่นน้ำมันและโครงการปิโตรเคมีที่อำเภอขนอมมีความเหมาะสมในการลงทุน ส่วนโครงการท่อส่งน้ำมันต้องดำเนินการควบคู่ไปกับโรงกลั่น จึงจะมีความเป็นไปได้ในการลงทุนและขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนความเป็นไปได้ของทั้ง 3 โครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2540
นิคมอุตสาหกรรมสุราษฎร์ธานี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความเป็นไปได้และวิเคราะห์ผลกระทบตอสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการระยะที่ 1 รวมทั้งได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 625 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการแล้ว
การจัดหาแหล่งน้ำ กรมชลประทานอยู่ระหวางการศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการจัดหาแหล่งน้ำดิบสำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยในขระนี้กี่ศึกษาศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ำเบื้องต้นได้ดำเนินการจัดทำร่างรายงานการสึกษาขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการจัดทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่เป้าหมาย
การจัดหาที่ดิน คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ฯ เห็นชอบให้กำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่จะเวนคืนที่ดินและการประเมินราคาทีดิน โดยขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุด คือ คณะทำงานตรวจสอบความต้องการใช้ทีดินและคณะทำงานยกร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินความต้องการใช้ที่ดินบริเวณส่วนปลายสะพานเศรษฐกิจ
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดผังการใช้ที่ดินระดับอนุภาค ขณะนี้กรมการผังเมืองร่วมกับ สพต. ได้ยกร่างข้อกำหนดการศึกษา (TOR ) เสร็จเรียบร้อยแล้วจเสนอ กพต. เพื่อขอความเห็นชอบให้ใช้เงินงบกลางปี 2541 เพื่อดำเนินการศึกษาแผนแม่บทการใช้ที่ดิน และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในระยะยาว
การกำหนดมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คณะอนุกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม ฯ อยุ่ระหว่างการทบทวนแผนจัดการและแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมตามผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ECOLAS เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอ กพต. ให้ควาเห็นชอบต่อไป
การฟื้นฟูบูรณะแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย โครงการศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูบูรณะแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อ่าวพังงา กระบี่ ภูเก็ตและทะเลรอบเกาะสมุย งบประมาณ 3,085,000 บาท ขณะนี้อยุ่ระหว่างการดำเนินงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแปรแผนปฏิบัติการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี สู่การปฏิบัติ ขระนี้อยู่รหว่างการประสานงานระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมป่าไม้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ความเป็นมา มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ได้ให้ความเห็นชอบกรอบของแผนแม่บทการพัฒนาพื้ทีชายฝั่งทะเลภาคใต้ ที่สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสสนอ ดยมีเป้าหมายการพัฒนา " สะพานเศรษฐกิจ" บริเวณภาคใต้ตอนบนเพื่อพัฒนาบริเวณดังกล่าว เป็นฐานเศรษฐกิจแห่งใหม่ของประเทศ
สาระสำคัญของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ พื้นที่โครงการ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช มีพื้นที่รวม 32,254 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรรวม 2.8 ล้านคน
เป้าหมายของโครงการ การพัฒนา " สะพานเศรษฐกิจ "ตัดข้ามภาคใต้เพื่อ
สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมพาณิชย์นาวีเพื่อเปิดประตูค้าขายกับประเทศฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย นำประเทศไทยเข้าสู่โครงข่ายการค้าขายของโลก พัฒนาทำเลที่เหมาะสมสำหนับนักลงทุนต่างชาติ สะพานเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ระบบการขนส่งร่วมแบบผสมผสาน ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึกพร้อมทั้งท่าเทียบเรือน้ำมันทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งเชื่อมต่อด้วยทางด่วน ทางรถไฟและท่อน้ำมัน อุตสาหกรรมที่เกียวข้องกับน้ำมัน ( Oil - based Industry )เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำมันดิบที่ขนส่งโดยท่อตามแนวสะพานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ ( Gas - based Industry ) โดยใช้ก๊าซจากแหล่งในอ่าวไทยหรือจากแหล่งอื่นที่จะหามาได้ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเล ( Shipping - based activities ) ซึ่งอาจรวบถึงการบรรจุภัณฑ์ การเดินเรือในเส้นทางสายรองและการขนส่งสินค้าข้ามคอคอด อุตสาหกรรมแปรรูปและอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่น และ/หรือวัตถุที่นำเข้า ซึ่งจะมีที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ติดกับท่าเรือน้ำลึก หรือสถานที่ที่เหมาะสมอื่นๆ การพัฒนาเมืองเพื่อเพิ่มความได้เปรียบของพื้นที่ในการดึงดูดให้เกิดกิจการต่อเนื่องจากการขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรม การค้าและธุรกิจต่างๆ แนวทางดำเนินงาน โครงสร้างพื้นฐานนำการพัฒนา : ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยเฉพาะระบบสะพานเศรษฐกิจทันทีเพื่อผันการขนส่งสินค้าจากเส้นทางเดินเรือที่มีอยุ่ปัจจุบัน ( มะละกา/ซุนดา/ลอมบอก )ให้มาผ่านสะพานเศรษฐกิจในปริมาณที่มากเพียงพอคุ้มค่าการลงทุน การพัฒนาภูมิภาคเป็นตัวนำ : เน้นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดนริเริ่มพัฒนาฐานอุตสาหกรรมในระดับภูมืภาคและพัฒนาการขนส่งทางบกเชื่อมโยงแหล่งผลิตเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขนส่งสินค้าในพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงให้ขยายตัวจนถึงจุดที่คุ้มค่าสำหรับการพัฒนา " สะพานเศรษฐกิจ " เต็มรูปแแบในระยะต่อไป ประเด็นหลักเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา จากการศึกษาพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่รัฐจะลงทุนล่วงหน้าจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวทางแรก โดยเฉพาะระบบ "สะพานเศรษฐกิจ " ในทันที เนื่องจาก การผันปริมาณการขนส่งสินค้านานาชาติให้มาใช้ " สะพานเศรษฐกิจ " ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าเปิดใหม่ต้องแข่งขันด้านราคาค่าขนส่งกับเส้นทางที่มีอยู่เดิมแล้ว ซึ่งการขนส่งผ่าน"สะพานเศรษฐกิจ " ในขั้นต้นนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้เส้นทางเดิมมาก ผลการศึกษาคาดว่าช่องแคบมะละกาจะยังสามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้อีกจนถึงประมาณปี 2556 จึงจะเกิดปัญหาความแออัด แผนแม่บทจึงมีข้อเสนอแนะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ควรดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้แนวทางการพัฒนาภูมิภาคเป็นตัวนำ ดังนี้ พัฒนาฐานการผลิตที่เชือมโยงกับทรัพยากรที่มีอยุ่ในภูมิภาคท้องถิ่นเองและตลาดในประเทศเสียก่อน โดยรัฐเร่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนให้อย่างเพียงพอสำหรับฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจและบริการที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ( เช่น ยาง น้ำมันปาล์ม ) อุตสาหกรรมแปรรูปสินแร่ ( เช่น ดีบุก ยิบซั่ม ) และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แนวทางการเลือกอุตสาหกรรมตัวนำการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตเคมีขั้นต่อเนื่องและระบบท่อส่งน้ำมันมีสักยภาพสูงที่จะพัฒนาขึ้น เนื่องจากการขนส่งน้ำมันดิบทางท่อส่งน้ำมันขนาดใหย่ผ่านสะพานเศรษฐกิจทำการกลั้นในประเทศไทยและส่งไปจำหน่ายตลาดในตะวันออกไกล ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจสูง พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ฐานชุมชนเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมขึ้นรองรับควบคู่ไปด้วย องค์ประกอบของแผนงานตามแผนแม่บท นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน ท่าเรือน้ำลึก ท่าเทียบเรือขนาด 2x300 เมตร สำหรับสินค้าทั่วไป เพื่อรองรับเรือขนาด 12,000 DWT ในระยะแรก และเรือขนาด 45,000 DWT ในที่สุด ชุมชนเมืองใหม่ พื้นที่ 4,125 ไร่ สำหรับประชากร 18,000 คน ประกอบด้วยพื้นที่การพาณิชย์และการพักผ่อน โรงเรียนนานาชาติและโรงเรยนอื่นๆ สถานที่ราชการและสำนักงานโครงการ นิคมอุตสากรรมติดกับท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรมที่มีบริการสมบูรณ์แบบ พืนที่ประมาณ 690 ไร่ ประกอบด้วย เขตการผลิตเพื่อการส่งออกและเตรียมพื้นที่สำหรับส่วนขยายในอนาคต ระบบประปาจากคลองกระบี่ใหย่ ระบบไฟฟ้าขนาด 80 เมกกะวัตต์และดทรศัพท์ 1,450 คู่สาย ระบบบำบัดและกำจัดของเสียรวมสำหรับทั้งนิคมอุตสากรรม ปรับปรุงเมืองกระบี่ให้เป็นเมืองท่องเที่ยว พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการ อาทิ ระบบระบายน้ำ/น้ำเสีย ปรับปรุงถนน พัฒนาที่อยู่อาศัย ศูนย์ธุรกิจและสำนักงาน สนับสนุนพื้นทีเพื่อการพักผ่อนและเพิ่มบริการโทรศัพท์ นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอ่าวไทย ท่าเรือน้ำลึก ท่าเทียบเรือขนาด 2 x 300 เมตร สำหรับสินค้าทั่วไป เพื่อรองรับเรือขนาด 12,000 DWT ในระยะแรก และเรือขนาด 45,000 DWT ในที่สุด ท่าเทียบเรือสินค้าเหลวสำหรับเรือขนาด 45,000 DWT ท่าเทียบเรือน้ำมันที่มีจุดขนถ่ายน้ำมัน 1 จุด สำหรับเรือบรรทุกขนาด 25,000 DWT อยุ่ห่างฝั่ง 30 กิโลเมตร และห่างจากเกาะสมุย 22 กิโลเมตร สถานีสุบน้ำมันติดตั้งอยู่บนแท่นกลางทะเล ท่อน้ำมันใต้ทะเลขนาด 36 นิ้ว 2 ท่อ และอุปกรณ์/เครื่องมือขจัดคราบน้ำมันในทะเล กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ( 12,500 ไร่ ) โรงกลั่นน้ำมันขนาด 150,000 บาร์เรลต่อวัน โรงงานเคมีที่ใช้แนฟทาหรือก๊าซเป็นวัตถุดิบและพื้นที่สำหรับส่วนขยายในอนาคต และอุตสาหกดรรมต่อเนื่อง ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาทิ ระบบบำบัดและกำจัดของเสีย ระบบประปาขนาด 32,000 ลบ.เมตร ต่อวัน จากคลองท่าทอง และสายไฟฟ้ายาว 10 กิโลเมตรเชื่อมโยงกับระบบสายไฟหลัก ชุมชนเมืองใหม่ พื้นที่ขนาด 845 ไร่ สำหรับประชากร 5,500 คน ประกอบด้วย โรงเรียน อาคารพาณิชย์และสวนสาธารณะ นิคมอุตสาหกรรมติดกับชุมชนพื้นที่ 250 ไร่ สุราษฎร์ธานี นิคมอุตสาหกรรม/ชุมชนติดกับสนามบิน จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ประมาณ 1,690 ไร่ และชุมชนพื้นที่ประมาณ 2,220 ไร่ สำหรับผู้อยุ่อาศัย 10,500 คน พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ปรับปรุงเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ และเป็นส่วนสนับสนุนให้กับนิคมอุตสาหกรรม/ชุมชนติดกับสนามบิน จะประกอบด้วย การปรับปรุงสนามบิน โดยขยาย/ปรับปรุงพื้นที่สำหรับผู้โดยสาร ตกแต่งทางเข้าออกและบริเวณภายนอกให้สวยงาม ใช้ระบบเครื่องมือสื่อสารนำร่องเครื่องบินเข้าจอด ปรับปรุงโครงข่ายถนนเชื่อมโยงกับ กทม.และจังหวัดใกล้เคียง นครศรีธรรมราช นิคมอุตสาหกรรมในเขตเมือง พัฒนานิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ประมาณ 690 ไร่ พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การปรับปรุงเมืองนครศรีธรรมราช โดยจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองพร้อมแผนปฏิบัติการปรับปรุงสาธารณูปโภค สาธารณูปการและการบริการ ภูเก็ต ศูนย์การวิจัยและพัฒนา นิคมที่มีการตกแต่งสภาพภูมิทัศน์ของบริเวณพื้นที่ประมาณ 345 ไร่ ใกล้ตัวเมืองภูเก็ต สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ปรับปรุงสถาบันที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ได้มาตรฐานสากล นิคมอุตสาหกรรมติดกับสนามบิน ( 844 ไร่ ) สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ การปรับปรุงสนามบิน การท่องเที่ยว โดยพัฒนาท่าฉัตรไชยและบางเทาเป็นศูนย์การท่องเที่ยวนานาชาติ การปรับปรุงเมืองภูเก็ต พร้อมโครงข่ายเชื่อมโยง ความก้าวหน้าการดำเนินการ 1. ท่าเรือน้ำลึก
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2539 และ 1 เมษายน 2540 ให้กำหนดที่ตั้งเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกตามแผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ใหม่ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ฝั่งอ่าวไทย : บริเวณบ้านบางปอ อำเภอสิชล - บริเวณท่ายิบซั่ม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
ฝั่งอ่าวไทย : บริเวณบ้านบางปอ อำเภอสิชล - บริเวณท่ายิบซั่ม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ฝั่งทะเลอัดามัน บริเวณทับละมุ อำเถอท้ายเมือง จังหวัดพังงา ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ( สพต. ) อยู่ระหวางการศึกษาความเหมาะสมในรายละเอียดด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วิศวกรรมและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณฝั่งทะเลอำเภอขนอม - สิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และฝั่งทะเลอำเภอท้ายเมือง จังหวัดพังงา ในวงเงิน 25 ล้านบาท ( เงินช่วยเหลือจาก USTDA 12.5 ล้านบาท และเงินงบประมาณสมทบอีก 12.5 ล้านบาท ป โดยได้ว่าจ้างบริษัท Moffatt & Nichol/AEC/WSA เป็นผู้ศึกษา คาดว่าจะทราบผลการออกแบบเบื้องต้นของท่าเรือในเดือนตุลาคม 2540 และผลการศึกษาทั้งหมดจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2541
ถนนสายกระบี่ - ขนอม กรมทางหลวงได้ปรับเปลี่ยนแบบใหม่เป็นทางหลวงแผ่นดิน 4 ช่องจราจร มีเขตกว้าง 200 เมตร สำหรับระบบท่อส่งน้ำมัน ท่อก๊าซธรรมชาติและทางรถไฟในอนาคตตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540 โดยขระนี้กรมทางหลวงอยุ่ในขั้นตอนการออกแบบ รายละเอียดคาดว่าาจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2540 หลังจากนั้นจะเริ่มประกวดราคาก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน
อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน ระบบท่อส่งน้ำมันดิบ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความเหมาะสมแล้วพบว่า โครงการกลั่นน้ำมันและโครงการปิโตรเคมีที่อำเภอขนอมมีความเหมาะสมในการลงทุน ส่วนโครงการท่อส่งน้ำมันต้องดำเนินการควบคู่ไปกับโรงกลั่น จึงจะมีความเป็นไปได้ในการลงทุนและขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาทบทวนความเป็นไปได้ของทั้ง 3 โครงการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2540
นิคมอุตสาหกรรมสุราษฎร์ธานี การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาความเป็นไปได้และวิเคราะห์ผลกระทบตอสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการระยะที่ 1 รวมทั้งได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 625 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการแล้ว
การจัดหาแหล่งน้ำ กรมชลประทานอยู่ระหวางการศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการจัดหาแหล่งน้ำดิบสำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยในขระนี้กี่ศึกษาศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ำเบื้องต้นได้ดำเนินการจัดทำร่างรายงานการสึกษาขั้นสุดท้ายแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการจัดทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่เป้าหมาย
การจัดหาที่ดิน คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน ฯ เห็นชอบให้กำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่จะเวนคืนที่ดินและการประเมินราคาทีดิน โดยขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุด คือ คณะทำงานตรวจสอบความต้องการใช้ทีดินและคณะทำงานยกร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินความต้องการใช้ที่ดินบริเวณส่วนปลายสะพานเศรษฐกิจ
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดผังการใช้ที่ดินระดับอนุภาค ขณะนี้กรมการผังเมืองร่วมกับ สพต. ได้ยกร่างข้อกำหนดการศึกษา (TOR ) เสร็จเรียบร้อยแล้วจเสนอ กพต. เพื่อขอความเห็นชอบให้ใช้เงินงบกลางปี 2541 เพื่อดำเนินการศึกษาแผนแม่บทการใช้ที่ดิน และการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในระยะยาว
การกำหนดมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คณะอนุกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม ฯ อยุ่ระหว่างการทบทวนแผนจัดการและแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมตามผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ECOLAS เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอ กพต. ให้ควาเห็นชอบต่อไป
การฟื้นฟูบูรณะแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย โครงการศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูบูรณะแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อ่าวพังงา กระบี่ ภูเก็ตและทะเลรอบเกาะสมุย งบประมาณ 3,085,000 บาท ขณะนี้อยุ่ระหว่างการดำเนินงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแปรแผนปฏิบัติการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี สู่การปฏิบัติ ขระนี้อยู่รหว่างการประสานงานระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมป่าไม้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-