แท็ก
การส่งออก
1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานปริมาณและราคาสัตว์น้ำที่ประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. สถานการณ์การตลาด ภาคเอกชนคาดว่าการส่งออกกุ้งปี 42 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
การประชุมสัมมนาวิชาการเรื่องกุ้งกุลาดำ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมา นายพรเลิศ พนัสอำพล ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงแนวโน้มตลาดกุ้งว่า ปี 2542 ไทยส่งออกกุ้งมีปริมาณทั้งสิ้น 130,000 ตัน มูลค่า 47,000 ล้านบาท คาดว่าแนวโน้มปี 2543 ตลาดกุ้งจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากประเทศคู่แข่งประสบปัญหาโรคตัวแดงดวงขาวระบาด อย่างไรก็ตาม มาตรการกีดกันทางการค้า ยังคงเป็นปัญหาที่ผู้ผลิตกุ้งไทยอาจจะเสียโอกาสในการสร้างอัตราการเติบโตในปี 2543
สำหรับปัญหาของภาคเอกชนในปีที่ผ่านมา ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการ ได้แก่ 1) ปัญหาการเก็บค่าไฟไม่เป็นธรรม 2) ภาครัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนด้านการวิจัย 3) การขาดแคลนแหล่งเงินทุน 4) ปัญหาด้าน การตลาด และอื่น ๆ เช่น การขุดลอกแหล่งน้ำ อย่างไรก็ตาม จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องบางปัญหาคลี่คลายได้ระดับหนึ่ง เช่น ค่าไฟ-ฟ้าปัจจุบัน ผู้ประกอบการจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราใช้จริง ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 10% มาตรการเสริมด้านการวิจัยก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมประมง จำนวน 50 ล้านบาท เป็นต้น
นอกจากนี้ นายสิทธิ์ บุญรัตนผลิน รองอธิบดีกรมประมงได้กล่าวถึงนโยบายในการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งว่า 1) ให้มีการพัฒนา การเลี้ยงโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโรคระบาด ปัญหาสารตกค้างสามารถแก้ไขได้ด้วยการประสานงานกันระหว่างภาครัฐและเอกชนผู้ผลิต 2) ให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อผู้บริโภค มุ่งเน้นด้านสุขอนามัย การตรวจสอบระบบการผลิตตลอดจนเรื่องของบรรจุภัณฑ์
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.57 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 347.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 329.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 18.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 371.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 371.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 18.09 บาท สูงขึ้นจาก 18.01 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.46 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 19.17 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 21-25 กพ. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 21-27 ก.พ. 2543--
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานปริมาณและราคาสัตว์น้ำที่ประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. สถานการณ์การตลาด ภาคเอกชนคาดว่าการส่งออกกุ้งปี 42 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
การประชุมสัมมนาวิชาการเรื่องกุ้งกุลาดำ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมา นายพรเลิศ พนัสอำพล ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงแนวโน้มตลาดกุ้งว่า ปี 2542 ไทยส่งออกกุ้งมีปริมาณทั้งสิ้น 130,000 ตัน มูลค่า 47,000 ล้านบาท คาดว่าแนวโน้มปี 2543 ตลาดกุ้งจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากประเทศคู่แข่งประสบปัญหาโรคตัวแดงดวงขาวระบาด อย่างไรก็ตาม มาตรการกีดกันทางการค้า ยังคงเป็นปัญหาที่ผู้ผลิตกุ้งไทยอาจจะเสียโอกาสในการสร้างอัตราการเติบโตในปี 2543
สำหรับปัญหาของภาคเอกชนในปีที่ผ่านมา ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการ ได้แก่ 1) ปัญหาการเก็บค่าไฟไม่เป็นธรรม 2) ภาครัฐไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนด้านการวิจัย 3) การขาดแคลนแหล่งเงินทุน 4) ปัญหาด้าน การตลาด และอื่น ๆ เช่น การขุดลอกแหล่งน้ำ อย่างไรก็ตาม จากการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องบางปัญหาคลี่คลายได้ระดับหนึ่ง เช่น ค่าไฟ-ฟ้าปัจจุบัน ผู้ประกอบการจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราใช้จริง ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 10% มาตรการเสริมด้านการวิจัยก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมประมง จำนวน 50 ล้านบาท เป็นต้น
นอกจากนี้ นายสิทธิ์ บุญรัตนผลิน รองอธิบดีกรมประมงได้กล่าวถึงนโยบายในการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งว่า 1) ให้มีการพัฒนา การเลี้ยงโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโรคระบาด ปัญหาสารตกค้างสามารถแก้ไขได้ด้วยการประสานงานกันระหว่างภาครัฐและเอกชนผู้ผลิต 2) ให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าเพื่อผู้บริโภค มุ่งเน้นด้านสุขอนามัย การตรวจสอบระบบการผลิตตลอดจนเรื่องของบรรจุภัณฑ์
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.65 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.57 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.91 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.67 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 347.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 329.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 18.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 371.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 371.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.42 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 18.09 บาท สูงขึ้นจาก 18.01 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.46 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 19.17 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 21-25 กพ. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 21-27 ก.พ. 2543--