ข้าวโพด : เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดพะเยาร้องราคาตกต่ำ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับรายงานจากเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 12 จังหวัดเชียงรายว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 4 ตำบลในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา คือ ตำบลปิน ตำบลหนองหล่ม ตำบลคือเวียง และตำบลบ้านถ้ำ ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา และส่งตัวแทนเข้าพบเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อให้ทางจังหวัดพะเยาช่วยเหลือเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำซึ่งราคาที่เกษตรกรได้รับเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.55 - 3.60 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 4.90 บาทของปี 2543 กิโลกรัมละ 1.30 - 1.35 บาทหรือประมาณร้อย 27 นอกจากนั้นต้นทุนการผลิต เช่นค่าแรงงาน ค่าไถ ค่าเมล็ดพันธุ์สูงมาก มีต้นทุนต่อกิโลกรัม 4.45 บาท อีกทั้งยังต้องรับภาระในการส่งชำระหนี้ ธกส. ด้วย สำหรับข้อเรียกร้องของเกษตรกร มีดังนี้
1. ให้จังหวัดขยายเวลาโครงการรับจำนำข้าวโพดที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ออกไปจนถึง 31 มีนาคม 2544 ซึ่งขณะนี้ข้าวโพดที่ต้องการเข้าร่วมโครงการมี 34,536 ตัน
2. ให้ ธกส. ยืดระยะเวลาชำระหนี้ที่ครบกำหนดในเดือนมีนาคม 2544 ออกไปจนกว่าจะขายผลผลิตได้
3.. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาพ่อค้าที่ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางเข้าไปรับซื้อถึงจุด เพื่อช่วยลดค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมา
ในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ทางจังหวัดพะเยาได้มีการประชุมปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ข้อเรียกร้องการขยายระยะเวลารับจำนำข้าวโพด อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
2. ธกส. จังหวัดพะเยาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้
3. ให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานกรมการค้าภายใน จัดหาพ่อค้าที่ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางและให้เกษตรกรในพื้นที่จัดตั้งและรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าในท้องที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขาย
เกษตรกรส่วนใหญ่พอใจในเรื่องการพักชำระหนี้แต่เรื่องราคาซื้อขายยังไม่พอใจ ข้อคิดเห็น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีความเห็นว่า ข้าวโพดที่ร้องเรียนในจังหวัดพะเยาประมาณ 34,536 ตันนี้เป็นปริมาณที่ไม่มากนัก และข้าวโพดในช่วงนี้มีคุณภาพดีเกษตรกรรายย่อยควรรวมตัวกันขายข้าวโพดซึ่งหน่วยงานในจังหวัดประสานกับโรงงานอาหารสัตว์ใกล้ ๆ ที่มีความต้องการใช้ข้าวโพดให้ช่วยรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น สำหรับการขยายระยะเวลารับจำนำข้าวโพดออกไปจนถึงเดือนมีนาคม 2544 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเห็นว่ายังไม่ควรทำเพราะจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายภาครัฐ ฯ ในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการไถ่ถอนอาจจะไปกระทบกับข้าวโพดฤดูใหม่ที่จะออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฏาคมได้
ข้าว : การเปิดตลาดข้าวของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเปิดตลาดนำเข้าข้าวในปี 2538 ตามข้อตกลงการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยของแกตต์ซึ่งต้องนำเข้าข้าวเท่ากับร้อยละ 4 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้การนำเข้าจะบริหารโดย Food Agency (FA) ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดทั้งปริมาณนำเข้า ประเทศผู้นำเข้า และหรือกำหนดปริมาณนำเข้าไม่กำหนดประเทศผู้นำเข้า การประมูลมี 2 ลักษณะคือแบบ General Import Formula (GIF) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป และแบบ Simultaneous Buy and Sell (SBS) เพื่อใช้บริโภค ในปี 2542 ญี่ปุ่นเปลี่ยนจากโควตาการนำเข้าข้าวมาเป็นระบบภาษี คือยังคงมีการนำเข้าประมูลแบบ GIF กับ SBS และการนำเข้านอกโควตาโดยการเปิดให้นำเข้าเสรีแต่เก็บภาษีอัตราสูง เช่นภาษีนอกโควตาปี 2542 และ ปี 2543 เท่ากับ 351.17 และ 341เยน / กิโลกรัม ตามลำดับ ในปีงบประมาณ 2543 (เมษายน 2543 - มีนาคม 2544) ได้ทดลองให้มีการนำเข้าข้าวระบบ Experimental Trial Quota (ETQ) โดยให้ถือปฏิบัติว่าการนำเข้านี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าข้าวขั้นต่ำ (Ordinary Minimum Access)
ภายใต้หลักเกณฑ์ในงบประมาณ 2543 การนำเข้าระบบใหม่นี้ การนำเข้าข้าวขั้นต่ำของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทุกปี ดังนั้นในปีงบประมาณ 2542 ญี่ปุ่นปรับลดปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ จาก 682,000 ตันเหลือ 644,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ และปี 2543 ปรับลดจาก 758,000 ตันเหลือ 682,000 ตันซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7.2 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ สำหรับการนำเข้าข้าวระบบโควตา (ETQ) ญี่ปุ่นทดลองนำเข้าจำนวน 10,000 ตันซึ่งเป็นข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดยาวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป โดยมีระเบียบว่าต้องเป็นข้าวพันธุ์ใหม่และหรือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหม่ที่ไม่เคยส่งไปขายญี่ปุ่นเพื่อให้มีการขายแข่งขันในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ข้าวที่ขายในระบบนี้จะต้องมีคุณภาพ ราคาอย่างน้อยเท่ากับที่นำเข้าปัจจุบัน นอกจากนั้นต้องมีความปลอดภัย มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ในการแปรรูป และ Food Agency ต้องการข้าวจากประเทศที่สามารถส่งออกข้าวได้อย่างน้อย 5,000 ตันจากประเทศเดียวหรือ 2 ประเทศก็ได้
ญี่ปุ่นจะนำเข้าข้าวจากประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2541 มีการนำเข้า 632,400 ตันเพิ่มขึ้นเป็น 688,039 ตันในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอัตราร้อยละ 4.31 ต่อปี ส่วนใหญ่การนำเข้าจะมาจากสหรัฐ ฯ ประมาณร้อยละ 50 รองลงมา ได้แก่ ไทยมีสัดส่วนร้อยละ 22 ออสเตรเลียและจีนสัดส่วนร้อยละ 13 -16 โดยที่การนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปและเลี้ยงสัตว์จะนำเข้าจากสหรัฐ ฯ มากที่สุดร้อยละ 50 - 52 รองลงมาได้แก่ไทยมีการนำเข้าร้อยละ 25 ส่วนการนำเข้าเพื่อบริโภคนิยมนำเข้าจากจีน และสหรัฐ ฯ มีสัดส่วนร้อยละ 44 - 52 และ 30 - 39 ตามลำดับ ส่วนข้าวไทยนำเข้าไปเพื่อบริโภคมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 4 เท่านั้น สำหรับปี 2544 ญี่ปุ่นเปิดตลาด จำนวน 682,000 ตันเท่ากับปี 2543 ข้อคิดเห็น
การเปิดตลาดข้าวของญี่ปุ่นในปี 2544 คาดว่าไทยจะยังคงได้สัดส่วนการส่งออกใกล้เคียงกับที่เคยได้ คือ ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 25 ข้าวเพื่อบริโภคประมาณร้อยละ 4 ส่วนสหรัฐฯ และจีนจะยังคงครองสัดส่วนข้าวอุตสาหกรรมและข้าวเพื่อบริโภค ทั้งนี้ เนื่องจากการนำเข้าข้าวของญี่ปุ่นต้องผ่าน Food Agency ซึ่งจัดสรรโควตาให้ประเทศต่าง ๆ และคาดว่าจะจัดสรรโควตาสัดส่วนเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา เพราะข้าวสหรัฐฯ และจีนมีราคาถูกกว่าข้าวไทยและมีเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นอกจากนั้นญี่ปุ่นนิยมบริโภคข้าวเมล็ดสั้น อย่างไรก็ตามหากประเทศไทยประชาสัมพันธ์ให้คนญี่ปุ่นเข้าใจคุณสมบัติและความปลอดภัยของข้าวไทยและเน้นว่าข้าวไทยไม่มี GMO น่าจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดข้าวไทยที่นำเข้าเพื่อบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับเรื่องการทดลองนำเข้าข้าวระบบโควตา (ETQ) จำนวน 10,000 ตันนั้น ไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยเพราะเป็นปริมาณที่น้อยมาก ในอนาคตหากญี่ปุ่นขยายปริมาณนำเข้าระบบนี้เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกข้าวไทย เพราะประเทศไทยมีนักวิจัยและสายพันธุ์ข้าวมากสามารถพัฒนาและผลิตข้าวพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ตรงกับความต้องการของประเทศผู้นำเข้า
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 19-25 ก.พ. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับรายงานจากเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 12 จังหวัดเชียงรายว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 4 ตำบลในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา คือ ตำบลปิน ตำบลหนองหล่ม ตำบลคือเวียง และตำบลบ้านถ้ำ ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา และส่งตัวแทนเข้าพบเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อให้ทางจังหวัดพะเยาช่วยเหลือเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำซึ่งราคาที่เกษตรกรได้รับเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.55 - 3.60 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 4.90 บาทของปี 2543 กิโลกรัมละ 1.30 - 1.35 บาทหรือประมาณร้อย 27 นอกจากนั้นต้นทุนการผลิต เช่นค่าแรงงาน ค่าไถ ค่าเมล็ดพันธุ์สูงมาก มีต้นทุนต่อกิโลกรัม 4.45 บาท อีกทั้งยังต้องรับภาระในการส่งชำระหนี้ ธกส. ด้วย สำหรับข้อเรียกร้องของเกษตรกร มีดังนี้
1. ให้จังหวัดขยายเวลาโครงการรับจำนำข้าวโพดที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ออกไปจนถึง 31 มีนาคม 2544 ซึ่งขณะนี้ข้าวโพดที่ต้องการเข้าร่วมโครงการมี 34,536 ตัน
2. ให้ ธกส. ยืดระยะเวลาชำระหนี้ที่ครบกำหนดในเดือนมีนาคม 2544 ออกไปจนกว่าจะขายผลผลิตได้
3.. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาพ่อค้าที่ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางเข้าไปรับซื้อถึงจุด เพื่อช่วยลดค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมา
ในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ทางจังหวัดพะเยาได้มีการประชุมปรึกษาหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ข้อเรียกร้องการขยายระยะเวลารับจำนำข้าวโพด อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
2. ธกส. จังหวัดพะเยาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้
3. ให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานกรมการค้าภายใน จัดหาพ่อค้าที่ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางและให้เกษตรกรในพื้นที่จัดตั้งและรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าในท้องที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขาย
เกษตรกรส่วนใหญ่พอใจในเรื่องการพักชำระหนี้แต่เรื่องราคาซื้อขายยังไม่พอใจ ข้อคิดเห็น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีความเห็นว่า ข้าวโพดที่ร้องเรียนในจังหวัดพะเยาประมาณ 34,536 ตันนี้เป็นปริมาณที่ไม่มากนัก และข้าวโพดในช่วงนี้มีคุณภาพดีเกษตรกรรายย่อยควรรวมตัวกันขายข้าวโพดซึ่งหน่วยงานในจังหวัดประสานกับโรงงานอาหารสัตว์ใกล้ ๆ ที่มีความต้องการใช้ข้าวโพดให้ช่วยรับซื้อในราคาที่สูงขึ้น สำหรับการขยายระยะเวลารับจำนำข้าวโพดออกไปจนถึงเดือนมีนาคม 2544 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเห็นว่ายังไม่ควรทำเพราะจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายภาครัฐ ฯ ในการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการไถ่ถอนอาจจะไปกระทบกับข้าวโพดฤดูใหม่ที่จะออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฏาคมได้
ข้าว : การเปิดตลาดข้าวของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเปิดตลาดนำเข้าข้าวในปี 2538 ตามข้อตกลงการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยของแกตต์ซึ่งต้องนำเข้าข้าวเท่ากับร้อยละ 4 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้การนำเข้าจะบริหารโดย Food Agency (FA) ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดทั้งปริมาณนำเข้า ประเทศผู้นำเข้า และหรือกำหนดปริมาณนำเข้าไม่กำหนดประเทศผู้นำเข้า การประมูลมี 2 ลักษณะคือแบบ General Import Formula (GIF) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป และแบบ Simultaneous Buy and Sell (SBS) เพื่อใช้บริโภค ในปี 2542 ญี่ปุ่นเปลี่ยนจากโควตาการนำเข้าข้าวมาเป็นระบบภาษี คือยังคงมีการนำเข้าประมูลแบบ GIF กับ SBS และการนำเข้านอกโควตาโดยการเปิดให้นำเข้าเสรีแต่เก็บภาษีอัตราสูง เช่นภาษีนอกโควตาปี 2542 และ ปี 2543 เท่ากับ 351.17 และ 341เยน / กิโลกรัม ตามลำดับ ในปีงบประมาณ 2543 (เมษายน 2543 - มีนาคม 2544) ได้ทดลองให้มีการนำเข้าข้าวระบบ Experimental Trial Quota (ETQ) โดยให้ถือปฏิบัติว่าการนำเข้านี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าข้าวขั้นต่ำ (Ordinary Minimum Access)
ภายใต้หลักเกณฑ์ในงบประมาณ 2543 การนำเข้าระบบใหม่นี้ การนำเข้าข้าวขั้นต่ำของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทุกปี ดังนั้นในปีงบประมาณ 2542 ญี่ปุ่นปรับลดปริมาณนำเข้าขั้นต่ำ จาก 682,000 ตันเหลือ 644,000 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ และปี 2543 ปรับลดจาก 758,000 ตันเหลือ 682,000 ตันซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7.2 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ สำหรับการนำเข้าข้าวระบบโควตา (ETQ) ญี่ปุ่นทดลองนำเข้าจำนวน 10,000 ตันซึ่งเป็นข้าวเมล็ดกลางและเมล็ดยาวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป โดยมีระเบียบว่าต้องเป็นข้าวพันธุ์ใหม่และหรือประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหม่ที่ไม่เคยส่งไปขายญี่ปุ่นเพื่อให้มีการขายแข่งขันในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ข้าวที่ขายในระบบนี้จะต้องมีคุณภาพ ราคาอย่างน้อยเท่ากับที่นำเข้าปัจจุบัน นอกจากนั้นต้องมีความปลอดภัย มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ในการแปรรูป และ Food Agency ต้องการข้าวจากประเทศที่สามารถส่งออกข้าวได้อย่างน้อย 5,000 ตันจากประเทศเดียวหรือ 2 ประเทศก็ได้
ญี่ปุ่นจะนำเข้าข้าวจากประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2541 มีการนำเข้า 632,400 ตันเพิ่มขึ้นเป็น 688,039 ตันในปี 2543 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอัตราร้อยละ 4.31 ต่อปี ส่วนใหญ่การนำเข้าจะมาจากสหรัฐ ฯ ประมาณร้อยละ 50 รองลงมา ได้แก่ ไทยมีสัดส่วนร้อยละ 22 ออสเตรเลียและจีนสัดส่วนร้อยละ 13 -16 โดยที่การนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปและเลี้ยงสัตว์จะนำเข้าจากสหรัฐ ฯ มากที่สุดร้อยละ 50 - 52 รองลงมาได้แก่ไทยมีการนำเข้าร้อยละ 25 ส่วนการนำเข้าเพื่อบริโภคนิยมนำเข้าจากจีน และสหรัฐ ฯ มีสัดส่วนร้อยละ 44 - 52 และ 30 - 39 ตามลำดับ ส่วนข้าวไทยนำเข้าไปเพื่อบริโภคมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 4 เท่านั้น สำหรับปี 2544 ญี่ปุ่นเปิดตลาด จำนวน 682,000 ตันเท่ากับปี 2543 ข้อคิดเห็น
การเปิดตลาดข้าวของญี่ปุ่นในปี 2544 คาดว่าไทยจะยังคงได้สัดส่วนการส่งออกใกล้เคียงกับที่เคยได้ คือ ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 25 ข้าวเพื่อบริโภคประมาณร้อยละ 4 ส่วนสหรัฐฯ และจีนจะยังคงครองสัดส่วนข้าวอุตสาหกรรมและข้าวเพื่อบริโภค ทั้งนี้ เนื่องจากการนำเข้าข้าวของญี่ปุ่นต้องผ่าน Food Agency ซึ่งจัดสรรโควตาให้ประเทศต่าง ๆ และคาดว่าจะจัดสรรโควตาสัดส่วนเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา เพราะข้าวสหรัฐฯ และจีนมีราคาถูกกว่าข้าวไทยและมีเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นอกจากนั้นญี่ปุ่นนิยมบริโภคข้าวเมล็ดสั้น อย่างไรก็ตามหากประเทศไทยประชาสัมพันธ์ให้คนญี่ปุ่นเข้าใจคุณสมบัติและความปลอดภัยของข้าวไทยและเน้นว่าข้าวไทยไม่มี GMO น่าจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดข้าวไทยที่นำเข้าเพื่อบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับเรื่องการทดลองนำเข้าข้าวระบบโควตา (ETQ) จำนวน 10,000 ตันนั้น ไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยเพราะเป็นปริมาณที่น้อยมาก ในอนาคตหากญี่ปุ่นขยายปริมาณนำเข้าระบบนี้เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกข้าวไทย เพราะประเทศไทยมีนักวิจัยและสายพันธุ์ข้าวมากสามารถพัฒนาและผลิตข้าวพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ตรงกับความต้องการของประเทศผู้นำเข้า
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 19-25 ก.พ. 2544--
-สส-