กรุงเทพฯ--7 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ในช่วงเช้าของ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน บรูไน ดารุสซาลาม ได้หารือกันใน 3 ประเด็นที่สำคัญๆ ดังนี้
1. การร่วมมือของอาเซียนในการเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้ใช้กลไกของ ASEAN Troika คือ ประธานของคณะกรรมการประจำอาเซียน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ให้มากขึ้น ในการปรึกษาหารือเพื่อที่จะสามารถเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น อันสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในภาวการณ์ของโลกปัจจุบัน และจะมีผลกระทบต่ออาเซียนโดยรวม นอกจากนี้ การที่อาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ มากมาย ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อาเซียนจึงควรที่จะดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ แสวงหาทางที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกให้มากขึ้น และระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ภายนอกกลุ่ม
ในส่วนของความร่วมมือภายในอาเซียนนั้น หลายประเทศได้สนับสนุนข้อเสนอของ ฝ่ายไทยที่ให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการในสิ่งที่ได้ตกลงกันไว้แล้วให้มีความคืบหน้า เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) รวมถึงต้องเร่งกระตุ้นการบริโภคภายใน โดยเน้นการสร้างความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อลดการพึ่งพาตลาดภายนอกประเทศที่มีความผันผวนอย่างมาก โดยนายก รัฐมนตรีไทยได้กล่าวถึงตัวอย่างการดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ รากหญ้า การพักหนี้เกษตรกร และการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีไทยยังได้เสนอให้อาเซียนพิจารณานำระบบการค้าขายแบบหักบัญชี (Account Trade) ซึ่งไทยได้ดำเนินการในลักษณะทวิภาคีกับหลายประเทศ มาใช้ระหว่างกัน และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ ในฐานะองค์ประธานการประชุมฯ ได้ทรงกล่าวถึงข้อเสนอนี้เมื่อทรงกล่าวสรุปผลการประชุมฯ ด้วย สำหรับแนวทางการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ นั้น ที่ประชุม เห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-จีน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้ เห็นชอบเรื่องความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย โดยเสนอให้เป็นการประชุมอาเซียน-อินเดีย ในลักษณะ อาเซียน + 1 ในทุกระดับ
2. แนวทางการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่และเก่า
ฝ่ายไทยได้เสนอให้อาเซียนดำเนินการให้กรอบความคิดริเริ่มเพื่อการรวมตัวของ อาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration - IAI) มีผลเป็นรูปธรรม คือ ควรจะเป็นโครงการที่มีประเทศสมาชิก 2-3 ประเทศ ดำเนินการร่วมกัน (Joint IAI) อาทิ โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างสิงคโปร์-คุนหมิง (ผ่านไทย-กัมพูชา-เวียดนาม) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation - AMBDC) ซึ่งที่ประชุม AMBDC เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ได้เสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้พิจารณา และที่ประชุมฯ ก็ได้มีมติเห็นชอบแล้ว อย่างไรก็ดี โดยที่ยังมีเส้นทางที่ยังขาดอยู่ แต่จะมีประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว การค้าขาย และขนส่งสินค้า คือ ระหว่างปอยเปต-ศรีโสภณ ซึ่งฝ่ายไทยได้ทำการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายประมาณ 55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) พร้อมที่จะให้กู้ยืมเงินจำนวนกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าหากมีประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น สนใจจะร่วมกันลงทุนในเรื่องดังกล่าว ก็จะถือได้ว่าเป็น Joint IAI และเป็นส่วนหนึ่งของ IAI ที่มีผลเป็นรูปธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวและแสดงความพร้อมที่จะร่วมลงทุนกับไทยและ ADB ในการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างปอยเปต-ศรีโสภณ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนของอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันให้มากขึ้นด้วย
3. ความร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านโรค HIV/AIDs
ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเจตนารมย์ทาง การเมืองร่วมกันอย่างจริงจังในการต่อต้านป้องกันโรค HIV และโรค AIDs โดยนายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวถึงนโยบายและความสำเร็จของไทยในการต่อต้านและป้องกันโรค HIV และโรค AIDs ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ไทยได้รับการยอมรับในเรื่องนี้จากทั่วโลก
สำหรับในช่วงบ่าย เป็นการหารือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (อาเซียน + 3) ซึ่งถ้อยแถลงและความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีไทยได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากผู้นำอื่นๆ ในเรื่องการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้าน การก่อการร้ายนั้น ได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีต่างประเทศของทุกฝ่ายแล้ว และจะพิจารณากำหนดเวลาและสถานที่การประชุมในภายหลัง โดยอาจจะนำเข้าหารือในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Retreat) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วในเดือนเมษายน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ในช่วงเช้าของ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2544 ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน บรูไน ดารุสซาลาม ได้หารือกันใน 3 ประเด็นที่สำคัญๆ ดังนี้
1. การร่วมมือของอาเซียนในการเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้ใช้กลไกของ ASEAN Troika คือ ประธานของคณะกรรมการประจำอาเซียน ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ให้มากขึ้น ในการปรึกษาหารือเพื่อที่จะสามารถเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น อันสืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในภาวการณ์ของโลกปัจจุบัน และจะมีผลกระทบต่ออาเซียนโดยรวม นอกจากนี้ การที่อาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ มากมาย ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อาเซียนจึงควรที่จะดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ แสวงหาทางที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกให้มากขึ้น และระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ภายนอกกลุ่ม
ในส่วนของความร่วมมือภายในอาเซียนนั้น หลายประเทศได้สนับสนุนข้อเสนอของ ฝ่ายไทยที่ให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินการในสิ่งที่ได้ตกลงกันไว้แล้วให้มีความคืบหน้า เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) รวมถึงต้องเร่งกระตุ้นการบริโภคภายใน โดยเน้นการสร้างความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อลดการพึ่งพาตลาดภายนอกประเทศที่มีความผันผวนอย่างมาก โดยนายก รัฐมนตรีไทยได้กล่าวถึงตัวอย่างการดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ รากหญ้า การพักหนี้เกษตรกร และการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีไทยยังได้เสนอให้อาเซียนพิจารณานำระบบการค้าขายแบบหักบัญชี (Account Trade) ซึ่งไทยได้ดำเนินการในลักษณะทวิภาคีกับหลายประเทศ มาใช้ระหว่างกัน และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ ในฐานะองค์ประธานการประชุมฯ ได้ทรงกล่าวถึงข้อเสนอนี้เมื่อทรงกล่าวสรุปผลการประชุมฯ ด้วย สำหรับแนวทางการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ นั้น ที่ประชุม เห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการค้าเสรีระหว่างอาเซียน-จีน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้ เห็นชอบเรื่องความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย โดยเสนอให้เป็นการประชุมอาเซียน-อินเดีย ในลักษณะ อาเซียน + 1 ในทุกระดับ
2. แนวทางการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่และเก่า
ฝ่ายไทยได้เสนอให้อาเซียนดำเนินการให้กรอบความคิดริเริ่มเพื่อการรวมตัวของ อาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration - IAI) มีผลเป็นรูปธรรม คือ ควรจะเป็นโครงการที่มีประเทศสมาชิก 2-3 ประเทศ ดำเนินการร่วมกัน (Joint IAI) อาทิ โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างสิงคโปร์-คุนหมิง (ผ่านไทย-กัมพูชา-เวียดนาม) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง (ASEAN-Mekong Basin Development Cooperation - AMBDC) ซึ่งที่ประชุม AMBDC เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ได้เสนอให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้พิจารณา และที่ประชุมฯ ก็ได้มีมติเห็นชอบแล้ว อย่างไรก็ดี โดยที่ยังมีเส้นทางที่ยังขาดอยู่ แต่จะมีประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว การค้าขาย และขนส่งสินค้า คือ ระหว่างปอยเปต-ศรีโสภณ ซึ่งฝ่ายไทยได้ทำการศึกษาเบื้องต้นแล้ว ปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายประมาณ 55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) พร้อมที่จะให้กู้ยืมเงินจำนวนกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าหากมีประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น สนใจจะร่วมกันลงทุนในเรื่องดังกล่าว ก็จะถือได้ว่าเป็น Joint IAI และเป็นส่วนหนึ่งของ IAI ที่มีผลเป็นรูปธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวและแสดงความพร้อมที่จะร่วมลงทุนกับไทยและ ADB ในการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างปอยเปต-ศรีโสภณ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนของอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันให้มากขึ้นด้วย
3. ความร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านโรค HIV/AIDs
ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเจตนารมย์ทาง การเมืองร่วมกันอย่างจริงจังในการต่อต้านป้องกันโรค HIV และโรค AIDs โดยนายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวถึงนโยบายและความสำเร็จของไทยในการต่อต้านและป้องกันโรค HIV และโรค AIDs ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ไทยได้รับการยอมรับในเรื่องนี้จากทั่วโลก
สำหรับในช่วงบ่าย เป็นการหารือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (อาเซียน + 3) ซึ่งถ้อยแถลงและความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีไทยได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากผู้นำอื่นๆ ในเรื่องการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้าน การก่อการร้ายนั้น ได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีต่างประเทศของทุกฝ่ายแล้ว และจะพิจารณากำหนดเวลาและสถานที่การประชุมในภายหลัง โดยอาจจะนำเข้าหารือในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Retreat) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วในเดือนเมษายน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-