น้ำท่วม : ความเสียหายของสินค้าเกษตรจากภาวะน้ำท่วม
จากการที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอิทธิพลของพายุ " อุซางิ " เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 เป็นต้นมา และทำความเสียหายให้แก่หมู่บ้านในตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอย่างมากนั้น สาเหตุจากเมื่อปริมาณน้ำฝนมีมากบนภูเขาและลักษณะเป็นภูเขาโล้นที่ไม่มีไม้ใหญ่ปกคลุม เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมากจะเกิดลักษณะน้ำป่าหลากจากที่สูงลงมาที่ต่ำด้วยความรุนแรง โดยบริเวณยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร และพื้นที่หมู่บ้านที่ได้รับความเสียหายมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร จากรายงานของสื่อมวลชน พบว่าถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2544 ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พบผู้เสียชีวิตทั้งหมด 115 ราย และในจังหวัดอื่น ๆ อีก 34 ราย และมีผู้สูญหายอีกจำนวนหนึ่ง
สำหรับพื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายมีดังนี้ จังหวัดแพร่ พื้นที่นา 43,827 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2,000 ไร่ พืชไร่อื่น ๆ 27,200 ไร่ จังหวัดสุโขทัย พื้นที่นา 10,180 ไร่ จังหวัดเชียงราย พื้นที่นา 24,281 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 14,454 ไร่ จังหวัดพะเยา พื้นที่นา 4,153 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 19,201 ไร่ พื้นที่บ่อปลา 85 ไร่ จังหวัดน่าน พื้นที่นา 1,050 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2,250 ไร่ จังหวัดลำปาง พื้นที่นา 1,783 ไร่ จังหวัดอุดรธานี พื้นที่นามากกว่า 200,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เลี้ยงปศุสัตว์ถูกน้ำท่วมบ้าง
การเกิดภาวะน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง นอกจากทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและราษฎรเสียชีวิตจำนวนหนึ่งแล้ว น้ำยังได้ท่วมพื้นที่การเกษตรและทำความเสียหายอย่างสิ้นเชิงด้วยความรุนแรงของกระแสน้ำและดินโคลน โดยเฉพาะพื้นที่ในแนวน้ำหลาก แต่อย่างไรก็ดีจำนวนพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนั้นระดับน้ำได้ลดลงในระยะเวลาที่ไม่ทำความเสียหายให้แก่ข้าวและข้าวโพด มีเพียงบางส่วนที่เสียหายโดยสิ้นเชิงต้องทำการเพาะปลูกใหม่ พื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วมมีประมาณ 300,000 ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 63 ล้านไร่
ข้อคิดเห็น
1.แม้ว่าพื้นที่เสียหายจะน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่รวมและจะส่งผลกระทบผลผลิตของประเทศน้อยมาก แต่สำหรับเกษตรกรผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงแล้ว นับว่ารุนแรง กรมส่งเสริมการเกษตรควรเร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกร 2.กรมป่าไม้และกรมพัฒนาที่ดินควรดำเนินการศึกษาหมู่บ้านลักษณะเสี่ยงภัยน้ำทั้งประเทศ เพื่อประกาศเตือนให้ประชาชนได้รับทราบถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น และให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนทุกหมู่บ้าน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 13-19 ส.ค. 2544--
-สส-
จากการที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากอิทธิพลของพายุ " อุซางิ " เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 เป็นต้นมา และทำความเสียหายให้แก่หมู่บ้านในตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ท้องที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอย่างมากนั้น สาเหตุจากเมื่อปริมาณน้ำฝนมีมากบนภูเขาและลักษณะเป็นภูเขาโล้นที่ไม่มีไม้ใหญ่ปกคลุม เมื่อมีปริมาณน้ำฝนมากจะเกิดลักษณะน้ำป่าหลากจากที่สูงลงมาที่ต่ำด้วยความรุนแรง โดยบริเวณยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร และพื้นที่หมู่บ้านที่ได้รับความเสียหายมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร จากรายงานของสื่อมวลชน พบว่าถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2544 ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พบผู้เสียชีวิตทั้งหมด 115 ราย และในจังหวัดอื่น ๆ อีก 34 ราย และมีผู้สูญหายอีกจำนวนหนึ่ง
สำหรับพื้นที่เกษตรที่ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายมีดังนี้ จังหวัดแพร่ พื้นที่นา 43,827 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2,000 ไร่ พืชไร่อื่น ๆ 27,200 ไร่ จังหวัดสุโขทัย พื้นที่นา 10,180 ไร่ จังหวัดเชียงราย พื้นที่นา 24,281 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 14,454 ไร่ จังหวัดพะเยา พื้นที่นา 4,153 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 19,201 ไร่ พื้นที่บ่อปลา 85 ไร่ จังหวัดน่าน พื้นที่นา 1,050 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2,250 ไร่ จังหวัดลำปาง พื้นที่นา 1,783 ไร่ จังหวัดอุดรธานี พื้นที่นามากกว่า 200,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เลี้ยงปศุสัตว์ถูกน้ำท่วมบ้าง
การเกิดภาวะน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรง นอกจากทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและราษฎรเสียชีวิตจำนวนหนึ่งแล้ว น้ำยังได้ท่วมพื้นที่การเกษตรและทำความเสียหายอย่างสิ้นเชิงด้วยความรุนแรงของกระแสน้ำและดินโคลน โดยเฉพาะพื้นที่ในแนวน้ำหลาก แต่อย่างไรก็ดีจำนวนพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมนั้นระดับน้ำได้ลดลงในระยะเวลาที่ไม่ทำความเสียหายให้แก่ข้าวและข้าวโพด มีเพียงบางส่วนที่เสียหายโดยสิ้นเชิงต้องทำการเพาะปลูกใหม่ พื้นที่นาที่ถูกน้ำท่วมมีประมาณ 300,000 ไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 63 ล้านไร่
ข้อคิดเห็น
1.แม้ว่าพื้นที่เสียหายจะน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่รวมและจะส่งผลกระทบผลผลิตของประเทศน้อยมาก แต่สำหรับเกษตรกรผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงแล้ว นับว่ารุนแรง กรมส่งเสริมการเกษตรควรเร่งดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกร 2.กรมป่าไม้และกรมพัฒนาที่ดินควรดำเนินการศึกษาหมู่บ้านลักษณะเสี่ยงภัยน้ำทั้งประเทศ เพื่อประกาศเตือนให้ประชาชนได้รับทราบถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น และให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนทุกหมู่บ้าน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 31 ประจำวันที่ 13-19 ส.ค. 2544--
-สส-