ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยที่สร้างรายได้ให้ประเทศสูงถึงเกือบ 7 หมื่นล้านบาทในแต่ละปี ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยปริมาณการส่งออกสูงถึง 6 ล้านตันหรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณการค้าข้าว
ในตลาดโลก ตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ ประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เอเชียแปซิฟิก (เช่น จีน ฮ่องกง) และประเทศทางแถบตะวันออกกลาง รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบแอฟริกา
การส่งออกข้าวของไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 เป็นการส่งออกข้าวคุณภาพสูง ที่เหลือประมาณร้อยละ 40 เป็นการส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางและข้าวคุณภาพต่ำ ดังนี้
1. ข้าวคุณภาพสูง เป็นข้าวคุณภาพดี คือ ข้าวขาว 100% (ข้าวที่ไม่มีเมล็ดหัก) และข้าวขาว 5% (ข้าวที่มีเมล็ดหักเพียงร้อยละ 5 ของปริมาณข้าวทั้งหมด) ข้าวคุณภาพสูงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการส่งออกข้าวคุณภาพสูงทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกข้าวคุณภาพสูงที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน ฮ่องกง อิหร่าน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เป็นต้น
2. ข้าวคุณภาพปานกลาง เป็นข้าวขาว 10%-15% และข้าวเหนียว มีมูลค่าส่งออกไม่มากนัก โดยมีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 5 ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางที่สำคัญของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย แอฟริกา มาเลเซีย เป็นต้น
3. ข้าวคุณภาพต่ำ เป็นข้าวขาวที่มีเมล็ดหักมากกว่า 20% ปลายข้าว และข้าวนึ่ง ปัจจุบันการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำของไทยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 35 ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกข้าวคุณภาพต่ำที่สำคัญของไทย คือ ประเทศทางแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง
แม้ปัจจุบันไทยยังคงครองความเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก แต่การส่งออกข้าวโดยรวมของไทยมี แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับปัญหาการแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในตลาดข้าวคุณภาพสูง รวมทั้งตลาดข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำ ขณะที่ไทยเริ่มสูญเสียความได้เปรียบด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน ต้องใช้ปุ๋ยบำรุงดิน ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งขันที่เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหม่ๆ ได้แก่ เวียดนาม จีน ทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวคุณภาพปานกลางและข้าวคุณภาพต่ำที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะประเทศแถบแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีกำลังซื้อค่อนข้างต่ำ หันไปนำเข้าข้าวราคาถูกจากเวียดนามและจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำของไทยลดลงแทบทุกชนิด ส่วนข้าวคุณภาพสูงส่งออกจากไทยยังคงมีจุดอ่อนที่ทำให้การขยายตลาดทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาการปลอมปนข้าวและข้าวมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอเป็นสำคัญ
เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำในขณะที่ภาวะการค้าข้าวโลกยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยควรจะต้องมุ่งพัฒนาข้าวคุณภาพสูงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดข้าวคุณภาพสูงซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากและมีโอกาสขยายตัวได้ดี อีกทั้งตลาดมีเสถียรภาพมากกว่าตลาดข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำ ขณะเดียวกันก็ต้องหันมาแปรรูปข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก โดยมี
แนวทางดังนี้
- การเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพดีควบคู่กับการเพาะปลูกตามหลักการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Good Agricultural Practice: GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพแน่นอนและปลอดจากสารเคมี เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศในแถบยุโรป
- การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และหีบห่อข้าวให้มีขนาดและรูปแบบสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละตลาด
- การทำฉลากกำกับสินค้าข้าวที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยมีข้อความแสดงคุณค่าทางอาหารของข้าว รวมทั้งข้อความบอกวิธีการหุงหรือต้มข้าวสำหรับแนะนำผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการบริโภคข้าว เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริโภค ซึ่งจะส่งเสริมตลาดข้าวในต่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- เร่งส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวที่มีแนวโน้มขยายตัวดี เช่น ข้าวนึ่ง ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพต่ำของไทยที่สามารถแข่งขันได้และเป็นที่ต้องการมากในตลาดประเทศกำลังพัฒนา
- การแปรรูปข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ เพื่อการส่งออก เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งสำหรับทำอาหาร และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ซึ่งเป็นสินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสูงและสามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าจนเป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ทั้งนี้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำ ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
ในตลาดโลก ตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ ประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เอเชียแปซิฟิก (เช่น จีน ฮ่องกง) และประเทศทางแถบตะวันออกกลาง รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบแอฟริกา
การส่งออกข้าวของไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 เป็นการส่งออกข้าวคุณภาพสูง ที่เหลือประมาณร้อยละ 40 เป็นการส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางและข้าวคุณภาพต่ำ ดังนี้
1. ข้าวคุณภาพสูง เป็นข้าวคุณภาพดี คือ ข้าวขาว 100% (ข้าวที่ไม่มีเมล็ดหัก) และข้าวขาว 5% (ข้าวที่มีเมล็ดหักเพียงร้อยละ 5 ของปริมาณข้าวทั้งหมด) ข้าวคุณภาพสูงที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยมากที่สุด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการส่งออกข้าวคุณภาพสูงทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกข้าวคุณภาพสูงที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน ฮ่องกง อิหร่าน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เป็นต้น
2. ข้าวคุณภาพปานกลาง เป็นข้าวขาว 10%-15% และข้าวเหนียว มีมูลค่าส่งออกไม่มากนัก โดยมีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 5 ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางที่สำคัญของไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย แอฟริกา มาเลเซีย เป็นต้น
3. ข้าวคุณภาพต่ำ เป็นข้าวขาวที่มีเมล็ดหักมากกว่า 20% ปลายข้าว และข้าวนึ่ง ปัจจุบันการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำของไทยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 35 ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกข้าวคุณภาพต่ำที่สำคัญของไทย คือ ประเทศทางแถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง
แม้ปัจจุบันไทยยังคงครองความเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลก แต่การส่งออกข้าวโดยรวมของไทยมี แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับปัญหาการแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั้งในตลาดข้าวคุณภาพสูง รวมทั้งตลาดข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำ ขณะที่ไทยเริ่มสูญเสียความได้เปรียบด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน ต้องใช้ปุ๋ยบำรุงดิน ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งขันที่เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหม่ๆ ได้แก่ เวียดนาม จีน ทำให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวคุณภาพปานกลางและข้าวคุณภาพต่ำที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะประเทศแถบแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีกำลังซื้อค่อนข้างต่ำ หันไปนำเข้าข้าวราคาถูกจากเวียดนามและจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำของไทยลดลงแทบทุกชนิด ส่วนข้าวคุณภาพสูงส่งออกจากไทยยังคงมีจุดอ่อนที่ทำให้การขยายตลาดทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาการปลอมปนข้าวและข้าวมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอเป็นสำคัญ
เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำในขณะที่ภาวะการค้าข้าวโลกยังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยควรจะต้องมุ่งพัฒนาข้าวคุณภาพสูงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดข้าวคุณภาพสูงซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมากและมีโอกาสขยายตัวได้ดี อีกทั้งตลาดมีเสถียรภาพมากกว่าตลาดข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำ ขณะเดียวกันก็ต้องหันมาแปรรูปข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก โดยมี
แนวทางดังนี้
- การเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวคุณภาพดีควบคู่กับการเพาะปลูกตามหลักการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Good Agricultural Practice: GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพแน่นอนและปลอดจากสารเคมี เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศในแถบยุโรป
- การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และหีบห่อข้าวให้มีขนาดและรูปแบบสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคในแต่ละตลาด
- การทำฉลากกำกับสินค้าข้าวที่ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยมีข้อความแสดงคุณค่าทางอาหารของข้าว รวมทั้งข้อความบอกวิธีการหุงหรือต้มข้าวสำหรับแนะนำผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการบริโภคข้าว เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริโภค ซึ่งจะส่งเสริมตลาดข้าวในต่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
- เร่งส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวที่มีแนวโน้มขยายตัวดี เช่น ข้าวนึ่ง ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพต่ำของไทยที่สามารถแข่งขันได้และเป็นที่ต้องการมากในตลาดประเทศกำลังพัฒนา
- การแปรรูปข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ เพื่อการส่งออก เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งสำหรับทำอาหาร และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ซึ่งเป็นสินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสูงและสามารถพัฒนาคุณภาพสินค้าจนเป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก ทั้งนี้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวคุณภาพปานกลางและคุณภาพต่ำ ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-