ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดทำรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำเดือนกันยายน 2544 จากการส่งแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสิ้นจำนวน 288 ราย ได้รับการตอบกลับแบบสำรวจจำนวน 97 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.7 ของผู้ประกอบการที่สอบถามทั้งหมด สามารถสรุปผลได้ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45 จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการและด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 ในเดือนหน้า และร้อยละ 51.5 ในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.5 และร้อยละ 53.3 ตามลำดับ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้าจำนวนมาก ๆ โดยมีการผลิตและการส่งออกตามคำสั่งซื้อและเป็นการซื้อมาขายไป ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 44.4 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม และร้อยละ 21.7 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังลดลง
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 34.1 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 34.7 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ก.ย. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ยังมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน พ.ย 44. - ม.ค. 45 คาดว่าสภาพคล่องจะลดลงจากเดือน ก.ย. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 กรมสรรพากรมีการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกเร็วขึ้น ทำให้ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. 44 ผู้ส่งออกมีสภาพคล่องดีขึ้น
3.2 ต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า หากเกิดภาวะสงครามต่อไป คาดว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น
3.3 ประชาชนโดยทั่วไปมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และธุรกิจอยู่ในระยะประคองตัว เนื่องจากไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
3.4 ภาครัฐควรให้ความสำคัญแก่ภาคเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมาก ทำให้ราคาผลผลิตเกษตรมักตกต่ำ ทั้งนี้เพื่อสร้างอำนาจซื้อให้เกษตรกรมากขึ้น
3.5 ภาครัฐควรกระจายงบลงทุนสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น ขณะเดียวกันควรมีการควบคุมการใช้จ่ายให้รัดกุม
3.6 การส่งออกสินค้าในปัจจุบันจะเป็นลักษณะซื้อมาขายไป โดยหลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้า และคาดว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไป การส่งออกสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างไปประเทศ สปป.ลาว จะดีขึ้น เนื่องจากยังมีโครงการก่อสร้างอีกจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45 จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการและด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 ในเดือนหน้า และร้อยละ 51.5 ในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.5 และร้อยละ 53.3 ตามลำดับ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้าจำนวนมาก ๆ โดยมีการผลิตและการส่งออกตามคำสั่งซื้อและเป็นการซื้อมาขายไป ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 44.4 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม และร้อยละ 21.7 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังลดลง
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 34.1 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 34.7 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ก.ย. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ยังมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน พ.ย 44. - ม.ค. 45 คาดว่าสภาพคล่องจะลดลงจากเดือน ก.ย. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 กรมสรรพากรมีการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกเร็วขึ้น ทำให้ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. 44 ผู้ส่งออกมีสภาพคล่องดีขึ้น
3.2 ต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า หากเกิดภาวะสงครามต่อไป คาดว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น
3.3 ประชาชนโดยทั่วไปมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และธุรกิจอยู่ในระยะประคองตัว เนื่องจากไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
3.4 ภาครัฐควรให้ความสำคัญแก่ภาคเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมาก ทำให้ราคาผลผลิตเกษตรมักตกต่ำ ทั้งนี้เพื่อสร้างอำนาจซื้อให้เกษตรกรมากขึ้น
3.5 ภาครัฐควรกระจายงบลงทุนสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น ขณะเดียวกันควรมีการควบคุมการใช้จ่ายให้รัดกุม
3.6 การส่งออกสินค้าในปัจจุบันจะเป็นลักษณะซื้อมาขายไป โดยหลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้า และคาดว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไป การส่งออกสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างไปประเทศ สปป.ลาว จะดีขึ้น เนื่องจากยังมีโครงการก่อสร้างอีกจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-