ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนกรกฎาคม 2544 ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยปัจจัยที่ยังเป็นบวก ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ (ข้าวและมันสำปะหลัง) ปริมาณการซื้อ-ขายรถจักรยานยนต์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยที่เป็นลบ ได้แก่ โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ปริมาณการซื้อ-ขายรถยนต์ ปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ (เยื่อกระดาษและเครื่องดื่ม) การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เงินโอนจากแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ และการเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาว ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯ เดือนนี้ลดลงจากเดือนก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ผลิตพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงการเพาะปลูก (ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน) ส่วนข้าวโพดอยู่ในช่วงข้าวโพดรุ่นที่ 1 ออกสู่ท้องตลาด ราคาพืชผลเกษตรเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยราคาข้าว มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวโพดปรับตัวลดลง
ข้าว
ปริมาณข้าวเปลือกในท้องตลาดมีปริมาณลดลง สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรยังรอดูราคา สภาพอากาศและปริมาณฝนที่จะใช้ในการเพาะปลูกในฤดูนี้ จึงชะลอการนำข้าวออกขาย ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,838 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.17 จากเดือนก่อน เกวียนละ 4,600 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,315 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,202 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 926 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน กระสอบละ 916 บาท ข้าวสารเหนียว 10% กระสอบละ 1,005 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,002 บาท
มันสำปะหลัง
ด้านการผลิต ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ท้องตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการมันสำปะหลังในตลาดท้องถิ่นยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดกิโลกรัมละ 1.09 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.06 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.92 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.84 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผลผลิตข้าวโพดรุ่นที่ 1 ออกสู่ท้องตลาด ส่งผลให้ปริมาณข้าวโพดมีปริมาณเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดในเดือนนี้ กิโลกรัมละ 4.00 บาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 4.10 บาท
อ้อยโรงงาน
จากการสำรวจของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ กรกฎาคม 2544 สรุปได้ดังนี้ ปีการเพาะปลูก 2543/44 มีพื้นที่ปลูกอ้อยเข้าโรงงานทั้งสิ้น 2,348,373 ไร่ ลดลงร้อยละ 1.7 ปริมาณอ้อยเข้าหีบ 20,797,017 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0
การผลิตในช่วงเดือนนี้พื้นที่การเพาะปลูกบางแห่งประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง เช่น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อย แต่สภาพโดยรวมแล้วผลผลิตอ้อยในช่วงที่ผ่านมาดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากปริมาณฝนไม่มากเกินไป สภาพอ้อยในปีนี้ ลำต้นมีความสมบูรณ์ลำใหญ่และยาวกว่าปีก่อน
อุตสาหกรรมน้ำตาล
สรุปผลจากการสัมมนาเรื่อง "เอธานอลไบโอดีเซล : พลังงานทางเลือกเพื่อชาติ" ในวันที่ 2 มิถุนายน 2544 ที่จังหวัดขอนแก่น สรุปว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่เป้าหมายของการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอธานอล เนื่องจากมีวัตถุดิบ ได้แก่ อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นจำนวนมาก ขณะนี้มีนักลงทุนยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานแล้วกว่า 2 ใน 3 เป็นการตั้งโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมการลงทุน
จากรายงานของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 3 โครงการ เงินลงทุน 120.62 ล้านบาท การจ้างงาน 1,546 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 66.6 ร้อยละ 84.3 และร้อยละ 73.1 ตามลำดับ เนื่องจากเดือนก่อนมีการส่งเสริมการลงทุนเพียง 1 โครงการ ได้แก่
1) กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของบริษัทไทยเทคการ์เม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุน 18 ล้านบาท การจ้างงาน 294 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา (กิจการร่วมทุนไทย-ฮ่องกง)
2) กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของ Mr.Chi Chak Hui เงินลงทุน 82.62 ล้านบาท การจ้างงาน 1,202 คน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ (กิจการร่วมทุนจีน-แคนาดา)
3) กิจการผลิตเครื่องล้างฟิล์มและอัดรูปถ่ายสีของคุณปรีชา ชูวัฒนกูล เงินลงทุน 20 ล้านบาท การจ้างงาน 50 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา (กิจการร่วมทุนไทย-เกาหลี)
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตค่อนข้างดี ได้แก่ อุตสาหกรรมเบาประเภทสิ่งทอ รองเท้าและเครื่องนุ่งห่มที่ได้ขอรับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปแล้วได้เริ่มทยอยเปิดดำเนินงานหลายแห่ง และยังมีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯและปริมณฑลจะย้ายโรงงานมาอีก เนื่องจากความได้เปรียบของภาคทางด้านจำนวนและฝีมือแรงงาน
ในส่วนอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ผู้ประกอบการอยู่ในช่วงขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทรถยนต์ รายใหญ่ที่มาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนกรกฎาคม 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 621 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากเดือนก่อน 556 ราย แต่เงินทุน 385.6 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 14.7 จากเดือนก่อน เงินทุน 451.9 ล้านบาท เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการผลิตลดลงเป็นสำคัญ และการเพิ่มทุนจดทะเบียน 14 ราย ลดลงร้อยละ 39.1 จากเดือนก่อน 23 ราย ขณะที่เงินทุน 306.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.8 จากเดือนก่อน เงินทุน 149.6 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเงินทุนของธุรกิจการก่อสร้างและการผลิต ส่วนการเลิกกิจการ 91 ราย เงินทุน 82.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.0 และร้อยละ 13.8 จากเดือนก่อน 123 ราย เงินทุน 96.2 ล้านบาท ตามลำดับ
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน โดยมี :-
? การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 259.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมาลดลงเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากกิจการที่ส่งกำไรไปต่างประเทศยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 671.1 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 ที่มีการใช้ไฟฟ้า 661.2 ล้านหน่วย และเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีการใช้ไฟฟ้า 621.3 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นกรกฎาคม 2544 มีทั้งสิ้น 37,384.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.9
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,054 คัน และรถบรรทุกส่วนบุคคล 1,448 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.4 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งยอดจำหน่ายรถยนต์ชะลอตัวเป็นประจำทุกปี ขณะที่รถจักรยานยนต์ 18,125 คัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6
อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 1.9 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.3 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.2 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้สูงขึ้นถึงร้อยละ 6.4 ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลผลิตของผลไม้บางชนิดออกสู่ตลาดน้อยลง โดยเฉพาะส้มเขียวหวาน มะม่วง เงาะ และสับปะรด เป็นต้น หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 3.2 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.4 และหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.2
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ระดับราคาในหมวดยานพาหนะ ขนส่งและการสื่อสาร ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 1.2 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 9,827 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 16.0 จากเดือนก่อนที่มีจำนวน 8,479 คน และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมปีก่อนที่มี 10,341 คน ลดลงร้อยละ 5.0 แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เดินทางไปทำงานยังประเทศไต้หวัน
แรงงานจังหวัดอุดรธานีเดินทางไปทำงานมากที่สุด 1,825 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 1,417 คน และจังหวัดขอนแก่น 985 คน
ปัญหาที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปัญหาการกู้เงินจากสถาบันการเงินนอกระบบของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,433.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.2 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,595.7 ล้านบาท เนื่องจากมูลค่าการส่งออก 1,117.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7 และการนำเข้า 315.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 802.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.9 รายละเอียดมีดังนี้ :-
การส่งออก : มูลค่า 1,117.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,238.1 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
l สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 467.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.6 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 162.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 ยารักษาโรค 16.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เครื่องดื่ม สุราและน้ำส้มสายชู 10.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 926.1 ขณะที่สินค้าบริโภคในครัวเรือน 133.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 119.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.5
l สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 141.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.3 จากเดือนก่อน สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าผืน 66.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.8 อุปกรณ์ ตัดเย็บ 14.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 64.9 ขณะที่เหล็กและเหล็กกล้า 30.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.8 กระดาษและกระดาษแข็ง 5.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ปศุสัตว์และสินค้าประมง 5.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 319.1
l สินค้าทุน : ส่งออก 117.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.2 สินค้าสำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 77.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.9 ปุ๋ย 10.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.6 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 7.4 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 60.1 ขณะที่แก้วและเครื่องแก้ว 15.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 122.3 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 2.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 846.8
l น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ : ส่งออก 153.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 17.4
การนำเข้า : มูลค่า 315.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการนำเข้า 357.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 265.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.1 หนังโค-กระบือ 3.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50.3 สินแร่ 2.3 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 87.8 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 23.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 5.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 649.1
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 491 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 48 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 4 สำนักงาน ได้แก่ ธนาคารยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รวม 3 สำนักงาน ได้แก่ สาขาย่อยจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สาขาย่อยเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และสาขาย่อยเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 256,579.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 สำหรับแนวโน้มในเดือนสิงหาคมคาดว่าจะลดลงอีกเล็กน้อย เนื่องจากผู้ฝากเงินบางส่วนถอนเงินเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 195,178.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจเพิ่มขึ้นอีกได้ในอนาคต
ในด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.0 ซึ่งจะใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,850.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ไต้หวัน ทำให้เมื่อโอนเงินกลับจากไต้หวันและแปลงค่าเป็นบาทมีมูลค่าเงินที่โอนกลับภูมิลำเนาลดลง ทั้งนี้แรงงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73.2 ของแรงงานทั้งหมด เดินทางไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน
สำหรับแนวโน้มเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศในระยะต่อไปมีทิศทางที่ลดลงจากปัจจัยหลายประการ เช่น ไต้หวันมีโครงการจำกัดจำนวนคนงานต่างชาติลง อาทิ งานบ้านจำกัดไม่ให้เกิน 120,000 คน และลดจำนวนคนงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้างลงปีละ 15,000 คน เพื่อให้ชาวไต้หวันมีงานทำมากขึ้น รวมถึงมาตรการลดค่าแรงงานสำหรับแรงงานต่างประเทศลงประมาณร้อยละ 16 โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมในท้องถิ่นสามารถลดต้นทุนลง
เดือนกรกฎาคม 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 11,682.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.8 จากเดือนก่อน ซึ่งขาดดุล 12,804.8 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 12,656.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.4 เป็นผลจากรายจ่ายลงทุน 4,038.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 25.4 จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์ลดลงเป็นสำคัญ ประกอบกับในเดือนนี้ไม่มีการเบิกจ่ายเงินตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 973.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.2 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมาลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 84.2 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 95.1 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 66.1 ซึ่งยังคงมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกรกฎาคม 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 71 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านอำนาจซื้อของประชาชน และด้านต้นทุนการประกอบการดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 49.9 ในช่วง ก.ย.-พ.ย. 44
2) การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยการแข่งขันยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือน ก.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1. ผู้ประกอบการยังรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญคือ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารประชาชน ก่อนการตัดสินใจลงทุน
2. ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นการลงทุน
3. ภาครัฐควรปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 5% และเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก เนื่องจากทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสูงกว่าคู่แข่งขัน (ได้แก่ จีน และเวียดนาม)
4. ภาครัฐไม่ควรตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน
5. ภาครัฐควรดูแลราคาข้าวให้สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ 105 (ซึ่งเป็นข้าวมีชื่อและติดตลาดอยู่แล้ว) เนื่องจากไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ประกอบกับมีข้าวหอมพันธุ์ปทุมธานีมาแข่งขันทำให้ราคาตกต่ำ
6. ราคาสินค้าหลายตัวราคาเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และข่าวการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ผลิตพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงการเพาะปลูก (ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน) ส่วนข้าวโพดอยู่ในช่วงข้าวโพดรุ่นที่ 1 ออกสู่ท้องตลาด ราคาพืชผลเกษตรเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยราคาข้าว มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวโพดปรับตัวลดลง
ข้าว
ปริมาณข้าวเปลือกในท้องตลาดมีปริมาณลดลง สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรยังรอดูราคา สภาพอากาศและปริมาณฝนที่จะใช้ในการเพาะปลูกในฤดูนี้ จึงชะลอการนำข้าวออกขาย ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,838 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.17 จากเดือนก่อน เกวียนละ 4,600 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,315 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,202 บาท ข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 926 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อน กระสอบละ 916 บาท ข้าวสารเหนียว 10% กระสอบละ 1,005 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,002 บาท
มันสำปะหลัง
ด้านการผลิต ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ท้องตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการมันสำปะหลังในตลาดท้องถิ่นยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดกิโลกรัมละ 1.09 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.06 บาท มันเส้นกิโลกรัมละ 1.92 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.84 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผลผลิตข้าวโพดรุ่นที่ 1 ออกสู่ท้องตลาด ส่งผลให้ปริมาณข้าวโพดมีปริมาณเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดในเดือนนี้ กิโลกรัมละ 4.00 บาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 4.10 บาท
อ้อยโรงงาน
จากการสำรวจของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ กรกฎาคม 2544 สรุปได้ดังนี้ ปีการเพาะปลูก 2543/44 มีพื้นที่ปลูกอ้อยเข้าโรงงานทั้งสิ้น 2,348,373 ไร่ ลดลงร้อยละ 1.7 ปริมาณอ้อยเข้าหีบ 20,797,017 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0
การผลิตในช่วงเดือนนี้พื้นที่การเพาะปลูกบางแห่งประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง เช่น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของอ้อย แต่สภาพโดยรวมแล้วผลผลิตอ้อยในช่วงที่ผ่านมาดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากปริมาณฝนไม่มากเกินไป สภาพอ้อยในปีนี้ ลำต้นมีความสมบูรณ์ลำใหญ่และยาวกว่าปีก่อน
อุตสาหกรรมน้ำตาล
สรุปผลจากการสัมมนาเรื่อง "เอธานอลไบโอดีเซล : พลังงานทางเลือกเพื่อชาติ" ในวันที่ 2 มิถุนายน 2544 ที่จังหวัดขอนแก่น สรุปว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่เป้าหมายของการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอธานอล เนื่องจากมีวัตถุดิบ ได้แก่ อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นจำนวนมาก ขณะนี้มีนักลงทุนยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานแล้วกว่า 2 ใน 3 เป็นการตั้งโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมการลงทุน
จากรายงานของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 3 โครงการ เงินลงทุน 120.62 ล้านบาท การจ้างงาน 1,546 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 66.6 ร้อยละ 84.3 และร้อยละ 73.1 ตามลำดับ เนื่องจากเดือนก่อนมีการส่งเสริมการลงทุนเพียง 1 โครงการ ได้แก่
1) กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของบริษัทไทยเทคการ์เม้นท์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุน 18 ล้านบาท การจ้างงาน 294 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา (กิจการร่วมทุนไทย-ฮ่องกง)
2) กิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของ Mr.Chi Chak Hui เงินลงทุน 82.62 ล้านบาท การจ้างงาน 1,202 คน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ (กิจการร่วมทุนจีน-แคนาดา)
3) กิจการผลิตเครื่องล้างฟิล์มและอัดรูปถ่ายสีของคุณปรีชา ชูวัฒนกูล เงินลงทุน 20 ล้านบาท การจ้างงาน 50 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา (กิจการร่วมทุนไทย-เกาหลี)
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตค่อนข้างดี ได้แก่ อุตสาหกรรมเบาประเภทสิ่งทอ รองเท้าและเครื่องนุ่งห่มที่ได้ขอรับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปแล้วได้เริ่มทยอยเปิดดำเนินงานหลายแห่ง และยังมีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการจากกรุงเทพฯและปริมณฑลจะย้ายโรงงานมาอีก เนื่องจากความได้เปรียบของภาคทางด้านจำนวนและฝีมือแรงงาน
ในส่วนอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ผู้ประกอบการอยู่ในช่วงขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัทรถยนต์ รายใหญ่ที่มาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนกรกฎาคม 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 621 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากเดือนก่อน 556 ราย แต่เงินทุน 385.6 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 14.7 จากเดือนก่อน เงินทุน 451.9 ล้านบาท เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการผลิตลดลงเป็นสำคัญ และการเพิ่มทุนจดทะเบียน 14 ราย ลดลงร้อยละ 39.1 จากเดือนก่อน 23 ราย ขณะที่เงินทุน 306.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.8 จากเดือนก่อน เงินทุน 149.6 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเงินทุนของธุรกิจการก่อสร้างและการผลิต ส่วนการเลิกกิจการ 91 ราย เงินทุน 82.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.0 และร้อยละ 13.8 จากเดือนก่อน 123 ราย เงินทุน 96.2 ล้านบาท ตามลำดับ
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน โดยมี :-
? การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 259.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมาลดลงเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากกิจการที่ส่งกำไรไปต่างประเทศยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 671.1 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 ที่มีการใช้ไฟฟ้า 661.2 ล้านหน่วย และเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีการใช้ไฟฟ้า 621.3 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นกรกฎาคม 2544 มีทั้งสิ้น 37,384.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.9
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากข้อมูลการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของสำนักงานขนส่งจังหวัดในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 1,054 คัน และรถบรรทุกส่วนบุคคล 1,448 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.4 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ซึ่งยอดจำหน่ายรถยนต์ชะลอตัวเป็นประจำทุกปี ขณะที่รถจักรยานยนต์ 18,125 คัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6
อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 1.9 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.3 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.2 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้สูงขึ้นถึงร้อยละ 6.4 ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลผลิตของผลไม้บางชนิดออกสู่ตลาดน้อยลง โดยเฉพาะส้มเขียวหวาน มะม่วง เงาะ และสับปะรด เป็นต้น หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 3.2 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 0.4 และหมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.2
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ระดับราคาในหมวดยานพาหนะ ขนส่งและการสื่อสาร ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 1.2 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง หมวดตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 9,827 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 16.0 จากเดือนก่อนที่มีจำนวน 8,479 คน และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมปีก่อนที่มี 10,341 คน ลดลงร้อยละ 5.0 แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เดินทางไปทำงานยังประเทศไต้หวัน
แรงงานจังหวัดอุดรธานีเดินทางไปทำงานมากที่สุด 1,825 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 1,417 คน และจังหวัดขอนแก่น 985 คน
ปัญหาที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปัญหาการกู้เงินจากสถาบันการเงินนอกระบบของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,433.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.2 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,595.7 ล้านบาท เนื่องจากมูลค่าการส่งออก 1,117.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7 และการนำเข้า 315.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 802.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.9 รายละเอียดมีดังนี้ :-
การส่งออก : มูลค่า 1,117.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,238.1 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
l สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 467.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.6 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 162.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 ยารักษาโรค 16.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เครื่องดื่ม สุราและน้ำส้มสายชู 10.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 926.1 ขณะที่สินค้าบริโภคในครัวเรือน 133.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 119.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.5
l สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 141.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.3 จากเดือนก่อน สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าผืน 66.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.8 อุปกรณ์ ตัดเย็บ 14.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 64.9 ขณะที่เหล็กและเหล็กกล้า 30.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.8 กระดาษและกระดาษแข็ง 5.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ปศุสัตว์และสินค้าประมง 5.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 319.1
l สินค้าทุน : ส่งออก 117.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.2 สินค้าสำคัญได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 77.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.9 ปุ๋ย 10.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.6 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 7.4 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 60.1 ขณะที่แก้วและเครื่องแก้ว 15.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 122.3 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 2.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 846.8
l น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ : ส่งออก 153.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 17.4
การนำเข้า : มูลค่า 315.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการนำเข้า 357.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 265.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.1 หนังโค-กระบือ 3.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50.3 สินแร่ 2.3 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 87.8 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 23.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 5.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 649.1
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 491 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 48 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 4 สำนักงาน ได้แก่ ธนาคารยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) สาขาอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รวม 3 สำนักงาน ได้แก่ สาขาย่อยจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด สาขาย่อยเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และสาขาย่อยเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 256,579.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 สำหรับแนวโน้มในเดือนสิงหาคมคาดว่าจะลดลงอีกเล็กน้อย เนื่องจากผู้ฝากเงินบางส่วนถอนเงินเพื่อนำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 195,178.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อป้องกันปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจเพิ่มขึ้นอีกได้ในอนาคต
ในด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.0 ซึ่งจะใกล้เคียงกับเดือนก่อน
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,850.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ไต้หวัน ทำให้เมื่อโอนเงินกลับจากไต้หวันและแปลงค่าเป็นบาทมีมูลค่าเงินที่โอนกลับภูมิลำเนาลดลง ทั้งนี้แรงงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73.2 ของแรงงานทั้งหมด เดินทางไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน
สำหรับแนวโน้มเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศในระยะต่อไปมีทิศทางที่ลดลงจากปัจจัยหลายประการ เช่น ไต้หวันมีโครงการจำกัดจำนวนคนงานต่างชาติลง อาทิ งานบ้านจำกัดไม่ให้เกิน 120,000 คน และลดจำนวนคนงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้างลงปีละ 15,000 คน เพื่อให้ชาวไต้หวันมีงานทำมากขึ้น รวมถึงมาตรการลดค่าแรงงานสำหรับแรงงานต่างประเทศลงประมาณร้อยละ 16 โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เพื่อให้อุตสาหกรรมในท้องถิ่นสามารถลดต้นทุนลง
เดือนกรกฎาคม 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 11,682.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.8 จากเดือนก่อน ซึ่งขาดดุล 12,804.8 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 12,656.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.4 เป็นผลจากรายจ่ายลงทุน 4,038.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 25.4 จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์ลดลงเป็นสำคัญ ประกอบกับในเดือนนี้ไม่มีการเบิกจ่ายเงินตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ส่วนรายได้รัฐบาลในภาคฯ 973.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.2 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมาลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 84.2 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 95.1 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 66.1 ซึ่งยังคงมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกรกฎาคม 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 71 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านอำนาจซื้อของประชาชน และด้านต้นทุนการประกอบการดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 49.9 ในช่วง ก.ย.-พ.ย. 44
2) การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยการแข่งขันยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือน ก.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1. ผู้ประกอบการยังรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญคือ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารประชาชน ก่อนการตัดสินใจลงทุน
2. ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นการลงทุน
3. ภาครัฐควรปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 5% และเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก เนื่องจากทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสูงกว่าคู่แข่งขัน (ได้แก่ จีน และเวียดนาม)
4. ภาครัฐไม่ควรตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน
5. ภาครัฐควรดูแลราคาข้าวให้สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ 105 (ซึ่งเป็นข้าวมีชื่อและติดตลาดอยู่แล้ว) เนื่องจากไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ประกอบกับมีข้าวหอมพันธุ์ปทุมธานีมาแข่งขันทำให้ราคาตกต่ำ
6. ราคาสินค้าหลายตัวราคาเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และข่าวการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-