การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่จัดจำหน่ายพลังไฟฟ้า ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมพื้นที่ประมาณ 3,192 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 2.23 ล้านราย โดยมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ประมาณ 6,140 เมกะวัตต์ การดำเนินงานของ กฟน. ที่ผ่านมา จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ กฟน. อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนการลงทุนฯ ฉบับที่ 8
เนื่องจากการดำเนินงานของ กฟน. ตามแผนการลงทุนฯ ฉบับที่ 8 จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กฟน. ได้จัดทำแผนการลงทุนฯ ฉบับที่ 9 เพื่อเป็นแผนงานหลักในการดำเนินงานต่อไป โดยจัดทำให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เน้นการให้บริการความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ มีคุณภาพ และเสริมความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รักษามาตรฐานในการให้บริการต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และคำนึงถึงนโยบายการปรับโครงสร้าง และแปรรูปกิจการไฟฟ้า ของประเทศ เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้ามากขึ้น
แผนการลงทุนของการไฟฟ้านครหลวง ในช่วงปีงบประมาณ 2545-2550 ประกอบด้วย 2 แผน คือ (1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 ปีงบประมาณ 2545-2550 และ (2) แผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีงบประมาณ 2545-2550
สาระสำคัญของแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2550)
1) กฟน. จัดทำแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 9 ปีงบประมาณ 2545-2550 ตามค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งได้ปรับค่าพยากรณ์ในระยะสั้น ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน คาดว่าความต้องการไฟฟ้าในช่วงปี 2545-2550 จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 348 เมกะวัตต์ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.00 ต่อปี
ค่าพยากรณ์พลังไฟฟ้าของ กฟน. ที่รับซื้อจากระบบของ กฟผ.
ปีงบประมาณ เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น
เมกะวัตต์ %
2544 6,140 340 5.87
2545 6,555 415 6.76
2546 6,879 324 4.94
2547 7,167 288 4.19
2548 7,498 331 4.62
2549 7,841 343 4.57
2550 8,230 389 4.96
อัตราเพิ่มเฉลี่ย 2545-2550 348 5
2) รักษาระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าในเขต กฟน. โดยมีเป้าหมายจำนวนไฟฟ้าดับถาวร (ไฟฟ้าดับเกิน 1 นาที) และระยะเวลาไฟฟ้าดับถาวร ณ ปีสุดท้ายของแผนฯ 9 เป็น 3.105 ครั้ง/ปี/ราย และ 65.114 นาที/ปี/ราย ตามลำดับ
3) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2550) ใช้เงินลงทุนรวม 53,489.924 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากแผนฯ ฉบับที่ 8 จำนวน 14,413 ล้านบาท ตามความต้องการไฟฟ้าที่คาดว่าจะสูงขึ้น
4) แผนงานการดำเนินการสำหรับแผนฯ 9 ประกอบด้วย 7 แผนงาน มีปริมาณงานและเงินลงทุน กฟน. 53,489.924 ล้านบาท ดังนี้
(1) แผนงานพัฒนาระบบสถานีต้นทาง 2,000 เอ็มวีเอ และสถานีย่อย 2,280 เอ็มวีเอ วงเงินลงทุน 7,856.396 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.69 ประกอบด้วย
งานก่อสร้างและเพิ่มขนาดสถานีต้นทาง เพื่อรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปจ่ายยังสถานีย่อยโดยผ่านสายส่งต่างๆ ของ กฟน.
งานปรับปรุงสถานีต้นทาง จาก Outdoor Type เป็น Indoor Gas Insulated Switchgear เพื่อเพิ่มคุณภาพในการจ่ายไฟฟ้า
งานก่อสร้างและเพิ่มขนาดสถานีย่อย เพื่อรองรับภาระไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยการแปลงระดับแรงดัน 69 และ 115 เควี เป็น 12 และ 24 เควี และกระจายไปยังสายจำหน่ายแรงดัน 12 และ 24 เควี ในพื้นที่เป้าหมายของ กฟน.
งานปรับปรุงสถานีย่อย ได้แก่ งานปรับปรุงอาคารและเปลี่ยนอุปกรณ์สถานีย่อย เช่น Power Transformer Switchgear และ Circuit Breaker เป็นต้น และงานปรับปรุงสถานีย่อย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า 12 เควี เป็น 24 เควี
(2) แผนงานพัฒนาระบบสายส่งพลังไฟฟ้า 276.7 วงจร-กม. วงเงินลงทุน 9,760.933 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ประกอบด้วย
งานก่อสร้างสายส่งใหม่ เพื่อรองรับภาระไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
งานปรับปรุงสายส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับภาระไฟฟ้า เช่น การเพิ่มจำนวนวงจรของสายไฟฟ้า เป็นต้น
งานปรับปรุงสายส่ง 230 เควี สถานีต้นทางบางกะปิ — สถานีต้นทางชิดลม เป็นการก่อสร้างสายส่งใหม่ เพื่อทดแทนสายส่งเดิมที่ชำรุดตามสภาพการใช้งานนานกว่า 20 ปี
(3) แผนงานพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าแรงดันกลางและต่ำ แยกเป็นสายป้อน 7,713 วงจร-กม. สายแรงต่ำ 3,840 วงจร-กม. หม้อแปลงจำหน่าย 3,085 เอ็มวีเอ เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 566,130 เครื่อง และคาปาซิเตอร์ 1,550 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุน 29,115.343 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.43 ประกอบด้วย สายป้อนระดับแรงดัน 12-24 เควี สายแรงต่ำ หม้อแปลงจำหน่ายเครื่องวัดไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ โดยในส่วนของสายป้อน จะมีโครงการเปลี่ยนสายเปลือย หรือสายหุ้มชนิดบาง เป็นสายหุ้มชนิดหนา (Spaced Aerial Cable) ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากแผนฯ ฉบับที่ 8
(4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายป้อนอากาศ เป็นสายป้อนใต้ดิน 3 โครงการ วงเงินลงทุน 2,215.594 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.14 ประกอบด้วย โครงการพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท
(5) แผนงานประสานงานสาธารณูปโภค 42 กม. วงเงินลงทุน 2,389.458 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.47 ลักษณะงานโดยทั่วไป เป็นการรื้อย้ายเสา-สายปัจจุบันของ กฟน. และก่อสร้างระบบสายใต้ดินแทน เพื่อไม่ให้กีดขวางการก่อสร้างถนน สะพาน ทางด่วนพิเศษและระบบส่งมวลชน โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการรองรับความต้องการไฟฟ้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
(6) แผนงานเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก 12 เป็น 24 เควี 267 ตร.กม. วงเงินลงทุน 1,466.574 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.74 เป็นแผนเพิ่มความสามารถ ในการจ่ายไฟฟ้าของสายป้อน และแก้ไขปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก
(7) แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้า 2 โครงการ วงเงินลงทุน 685.626 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.28 ประกอบด้วย 2 โครงการคือ
โครงการจัดทำระบบแผนที่ และข้อสนเทศระบบจำหน่ายไฟฟ้า โครงการดังกล่าว ได้ครอบคลุมพื้นที่ 2,167 ตารางกิโลเมตรแล้ว คงเหลือพื้นที่การไฟฟ้านครหลวงเขตบางใหญ่และบางพลี รวมประมาณ 1,025 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะดำเนินการให้ครบถ้วยในแผนฯ ฉบับที่ 9
โครงการควบคุมระบบจำหน่ายระยะไกล ปัจจุบัน กฟน. ได้ติดตั้งระบบจำหน่ายระยะไกลบางส่วนใน 6 การไฟฟ้าเขตแล้ว ซึ่งเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาไฟดับ และการบำรุงรักษา โดยช่วยให้การดำเนินงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น
5) งบประมาณการลงทุนตามแผนฯ 9 นี้ มียอดรวมทั้งสิ้น 53,489.924 ล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศ 17,452.344 ล้านบาท (ประมาณร้อยละ 32.6) และเงินตราในประเทศ 36,037.580 ล้านบาท (ประมาณร้อยละ 67.4)
6) กฟน. มีนโยบายดำเนินงานส่วนใหญ่โดยพนักงาน กฟน. เอง และจะมีการว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการบางส่วน โดยเฉพาะงานก่อสร้างโยธา รวมทั้งงานที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสูง ๆ เช่น โครงการสายส่ง 230 เควี สถานีต้นทางบางกะปิ-สถานีต้นทางชิดลม และโครงการ Distribution Automation System เป็นต้น และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายในการให้บริการความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น กฟน. จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการตามแผนฯ ตั้งแต่ปี 2545 โดยจะเป็นการเตรียมการจัดหาที่ดิน สำรวจ ออกแบบ ขออนุญาตใช้พื้นที่ การว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา
7) การดำเนินงานตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 ของ กฟน. คาดว่าจะให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) 7.69%
8) ฐานะการเงินในช่วงปี 2545-2550 หากคำนึงถึงความเพียงพอของรายได้ในการขยายการลงทุนแล้ว พบว่า กฟน. มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินงานและมีฐานะการเงินที่มั่นคง โดยมีอัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ (SFR) อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (DSCR) และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (D/E) ผ่านเกณฑ์การเงินที่กำหนด
ประมาณการฐานะการเงินในช่วงปี 2545-2550
หน่วย : ล้านบาท
รายการ เกณฑ์พิจารณา ปีงบประมาณ
2545 2546 2547 2548 2549 2550
กำไรสุทธิ - 4,485 4,458 4,877 5,843 7,114 7,914
รายจ่ายลงทุน - 8,408 9,919 9,322 9,461 10,032 11,852
อัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ : SFR (ร้อยละ) >25 25.04 27.29 28.67 33.74 36.53 34.35
อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ : DSCR (เท่า) >1.5 1.51 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน : D/E (เท่า) <1.5 1.04 1.08 1.11 1.1 1.06 0.9
สาระสำคัญของแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (แผน IT) ซึ่งดำเนินการตามนโยบายการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในระดับค้าปลีก จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,015 ล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนภายในประเทศทั้งหมด ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับกระบวนงานและพัฒนาระบบงานเพื่อการบริหารงานภายใน โครงการพัฒนาระบบงานเพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าผ่านตลาดกลาง และโครงการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ เพื่อทดแทนเครื่องที่หมดอายุ รวมทั้งเพิ่มให้เพียงพอต่อการใช้งาน
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 84) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 เรื่อง แผนการลงทุนของการไฟฟ้านครหลวงในช่วงปีงบประมาณ 2545-2550 ดังนี้
3.1 เห็นชอบแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2550) ในวงเงิน 53,489.924 ล้านบาท ตามที่ กฟน. เสนอ ทั้งนี้ เห็นควรให้ กฟน. จะต้องมีการบริหารจัดการภาระหนี้ต่างประเทศเพื่อลดผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยน
3.2 เห็นชอบในหลักการแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ กฟน. ปีงบประมาณ 2545-2550 โดยให้นำความเห็นของ สพช. ไปดำเนินการปรับปรุงแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้
การลงบัญชีการลงทุนในด้านการค้าปลีกของแต่ละกิจกรรม เช่น การวัดหน่วยไฟฟ้า การเรียกเก็บเงิน และการชำระเงินค่าไฟฟ้า เป็นต้น จะต้องแยกเป็นอิสระจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้การคิดอัตราค่าบริการของแต่ละกิจกรรมมีความชัดเจน โปร่งใส ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันในระดับค้าปลีก และทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้ามากขึ้น
รายละเอียดของแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวยังไม่เพียงพอ ทำให้ยากต่อการพิจารณาแผนการลงทุนว่าจะสามารถรองรับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าได้หรือไม่ ดังนั้นจึงเห็นควรให้ กฟน. จัดทำรายละเอียดของแผนฯ เพิ่มเติม
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-
เนื่องจากการดำเนินงานของ กฟน. ตามแผนการลงทุนฯ ฉบับที่ 8 จะสิ้นสุดในปลายปีนี้ เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กฟน. ได้จัดทำแผนการลงทุนฯ ฉบับที่ 9 เพื่อเป็นแผนงานหลักในการดำเนินงานต่อไป โดยจัดทำให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เน้นการให้บริการความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ มีคุณภาพ และเสริมความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า รักษามาตรฐานในการให้บริการต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และคำนึงถึงนโยบายการปรับโครงสร้าง และแปรรูปกิจการไฟฟ้า ของประเทศ เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในกิจการไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้ามากขึ้น
แผนการลงทุนของการไฟฟ้านครหลวง ในช่วงปีงบประมาณ 2545-2550 ประกอบด้วย 2 แผน คือ (1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 ปีงบประมาณ 2545-2550 และ (2) แผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีงบประมาณ 2545-2550
สาระสำคัญของแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2550)
1) กฟน. จัดทำแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 9 ปีงบประมาณ 2545-2550 ตามค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งได้ปรับค่าพยากรณ์ในระยะสั้น ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน คาดว่าความต้องการไฟฟ้าในช่วงปี 2545-2550 จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 348 เมกะวัตต์ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.00 ต่อปี
ค่าพยากรณ์พลังไฟฟ้าของ กฟน. ที่รับซื้อจากระบบของ กฟผ.
ปีงบประมาณ เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น
เมกะวัตต์ %
2544 6,140 340 5.87
2545 6,555 415 6.76
2546 6,879 324 4.94
2547 7,167 288 4.19
2548 7,498 331 4.62
2549 7,841 343 4.57
2550 8,230 389 4.96
อัตราเพิ่มเฉลี่ย 2545-2550 348 5
2) รักษาระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าในเขต กฟน. โดยมีเป้าหมายจำนวนไฟฟ้าดับถาวร (ไฟฟ้าดับเกิน 1 นาที) และระยะเวลาไฟฟ้าดับถาวร ณ ปีสุดท้ายของแผนฯ 9 เป็น 3.105 ครั้ง/ปี/ราย และ 65.114 นาที/ปี/ราย ตามลำดับ
3) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2550) ใช้เงินลงทุนรวม 53,489.924 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากแผนฯ ฉบับที่ 8 จำนวน 14,413 ล้านบาท ตามความต้องการไฟฟ้าที่คาดว่าจะสูงขึ้น
4) แผนงานการดำเนินการสำหรับแผนฯ 9 ประกอบด้วย 7 แผนงาน มีปริมาณงานและเงินลงทุน กฟน. 53,489.924 ล้านบาท ดังนี้
(1) แผนงานพัฒนาระบบสถานีต้นทาง 2,000 เอ็มวีเอ และสถานีย่อย 2,280 เอ็มวีเอ วงเงินลงทุน 7,856.396 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.69 ประกอบด้วย
งานก่อสร้างและเพิ่มขนาดสถานีต้นทาง เพื่อรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปจ่ายยังสถานีย่อยโดยผ่านสายส่งต่างๆ ของ กฟน.
งานปรับปรุงสถานีต้นทาง จาก Outdoor Type เป็น Indoor Gas Insulated Switchgear เพื่อเพิ่มคุณภาพในการจ่ายไฟฟ้า
งานก่อสร้างและเพิ่มขนาดสถานีย่อย เพื่อรองรับภาระไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยการแปลงระดับแรงดัน 69 และ 115 เควี เป็น 12 และ 24 เควี และกระจายไปยังสายจำหน่ายแรงดัน 12 และ 24 เควี ในพื้นที่เป้าหมายของ กฟน.
งานปรับปรุงสถานีย่อย ได้แก่ งานปรับปรุงอาคารและเปลี่ยนอุปกรณ์สถานีย่อย เช่น Power Transformer Switchgear และ Circuit Breaker เป็นต้น และงานปรับปรุงสถานีย่อย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้า 12 เควี เป็น 24 เควี
(2) แผนงานพัฒนาระบบสายส่งพลังไฟฟ้า 276.7 วงจร-กม. วงเงินลงทุน 9,760.933 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ประกอบด้วย
งานก่อสร้างสายส่งใหม่ เพื่อรองรับภาระไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
งานปรับปรุงสายส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับภาระไฟฟ้า เช่น การเพิ่มจำนวนวงจรของสายไฟฟ้า เป็นต้น
งานปรับปรุงสายส่ง 230 เควี สถานีต้นทางบางกะปิ — สถานีต้นทางชิดลม เป็นการก่อสร้างสายส่งใหม่ เพื่อทดแทนสายส่งเดิมที่ชำรุดตามสภาพการใช้งานนานกว่า 20 ปี
(3) แผนงานพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้าแรงดันกลางและต่ำ แยกเป็นสายป้อน 7,713 วงจร-กม. สายแรงต่ำ 3,840 วงจร-กม. หม้อแปลงจำหน่าย 3,085 เอ็มวีเอ เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 566,130 เครื่อง และคาปาซิเตอร์ 1,550 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุน 29,115.343 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.43 ประกอบด้วย สายป้อนระดับแรงดัน 12-24 เควี สายแรงต่ำ หม้อแปลงจำหน่ายเครื่องวัดไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ โดยในส่วนของสายป้อน จะมีโครงการเปลี่ยนสายเปลือย หรือสายหุ้มชนิดบาง เป็นสายหุ้มชนิดหนา (Spaced Aerial Cable) ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากแผนฯ ฉบับที่ 8
(4) แผนงานเปลี่ยนระบบสายป้อนอากาศ เป็นสายป้อนใต้ดิน 3 โครงการ วงเงินลงทุน 2,215.594 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.14 ประกอบด้วย โครงการพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท
(5) แผนงานประสานงานสาธารณูปโภค 42 กม. วงเงินลงทุน 2,389.458 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.47 ลักษณะงานโดยทั่วไป เป็นการรื้อย้ายเสา-สายปัจจุบันของ กฟน. และก่อสร้างระบบสายใต้ดินแทน เพื่อไม่ให้กีดขวางการก่อสร้างถนน สะพาน ทางด่วนพิเศษและระบบส่งมวลชน โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการรองรับความต้องการไฟฟ้า ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
(6) แผนงานเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก 12 เป็น 24 เควี 267 ตร.กม. วงเงินลงทุน 1,466.574 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.74 เป็นแผนเพิ่มความสามารถ ในการจ่ายไฟฟ้าของสายป้อน และแก้ไขปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก
(7) แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้า 2 โครงการ วงเงินลงทุน 685.626 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.28 ประกอบด้วย 2 โครงการคือ
โครงการจัดทำระบบแผนที่ และข้อสนเทศระบบจำหน่ายไฟฟ้า โครงการดังกล่าว ได้ครอบคลุมพื้นที่ 2,167 ตารางกิโลเมตรแล้ว คงเหลือพื้นที่การไฟฟ้านครหลวงเขตบางใหญ่และบางพลี รวมประมาณ 1,025 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะดำเนินการให้ครบถ้วยในแผนฯ ฉบับที่ 9
โครงการควบคุมระบบจำหน่ายระยะไกล ปัจจุบัน กฟน. ได้ติดตั้งระบบจำหน่ายระยะไกลบางส่วนใน 6 การไฟฟ้าเขตแล้ว ซึ่งเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาไฟดับ และการบำรุงรักษา โดยช่วยให้การดำเนินงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น
5) งบประมาณการลงทุนตามแผนฯ 9 นี้ มียอดรวมทั้งสิ้น 53,489.924 ล้านบาท เป็นเงินตราต่างประเทศ 17,452.344 ล้านบาท (ประมาณร้อยละ 32.6) และเงินตราในประเทศ 36,037.580 ล้านบาท (ประมาณร้อยละ 67.4)
6) กฟน. มีนโยบายดำเนินงานส่วนใหญ่โดยพนักงาน กฟน. เอง และจะมีการว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการบางส่วน โดยเฉพาะงานก่อสร้างโยธา รวมทั้งงานที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสูง ๆ เช่น โครงการสายส่ง 230 เควี สถานีต้นทางบางกะปิ-สถานีต้นทางชิดลม และโครงการ Distribution Automation System เป็นต้น และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายในการให้บริการความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น กฟน. จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการตามแผนฯ ตั้งแต่ปี 2545 โดยจะเป็นการเตรียมการจัดหาที่ดิน สำรวจ ออกแบบ ขออนุญาตใช้พื้นที่ การว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา
7) การดำเนินงานตามแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 9 ของ กฟน. คาดว่าจะให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) 7.69%
8) ฐานะการเงินในช่วงปี 2545-2550 หากคำนึงถึงความเพียงพอของรายได้ในการขยายการลงทุนแล้ว พบว่า กฟน. มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินงานและมีฐานะการเงินที่มั่นคง โดยมีอัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ (SFR) อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (DSCR) และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน (D/E) ผ่านเกณฑ์การเงินที่กำหนด
ประมาณการฐานะการเงินในช่วงปี 2545-2550
หน่วย : ล้านบาท
รายการ เกณฑ์พิจารณา ปีงบประมาณ
2545 2546 2547 2548 2549 2550
กำไรสุทธิ - 4,485 4,458 4,877 5,843 7,114 7,914
รายจ่ายลงทุน - 8,408 9,919 9,322 9,461 10,032 11,852
อัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ : SFR (ร้อยละ) >25 25.04 27.29 28.67 33.74 36.53 34.35
อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ : DSCR (เท่า) >1.5 1.51 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนทุน : D/E (เท่า) <1.5 1.04 1.08 1.11 1.1 1.06 0.9
สาระสำคัญของแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (แผน IT) ซึ่งดำเนินการตามนโยบายการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในระดับค้าปลีก จะใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,015 ล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนภายในประเทศทั้งหมด ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการปรับกระบวนงานและพัฒนาระบบงานเพื่อการบริหารงานภายใน โครงการพัฒนาระบบงานเพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าผ่านตลาดกลาง และโครงการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ เพื่อทดแทนเครื่องที่หมดอายุ รวมทั้งเพิ่มให้เพียงพอต่อการใช้งาน
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 84) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 เรื่อง แผนการลงทุนของการไฟฟ้านครหลวงในช่วงปีงบประมาณ 2545-2550 ดังนี้
3.1 เห็นชอบแผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2550) ในวงเงิน 53,489.924 ล้านบาท ตามที่ กฟน. เสนอ ทั้งนี้ เห็นควรให้ กฟน. จะต้องมีการบริหารจัดการภาระหนี้ต่างประเทศเพื่อลดผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยน
3.2 เห็นชอบในหลักการแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ กฟน. ปีงบประมาณ 2545-2550 โดยให้นำความเห็นของ สพช. ไปดำเนินการปรับปรุงแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนี้
การลงบัญชีการลงทุนในด้านการค้าปลีกของแต่ละกิจกรรม เช่น การวัดหน่วยไฟฟ้า การเรียกเก็บเงิน และการชำระเงินค่าไฟฟ้า เป็นต้น จะต้องแยกเป็นอิสระจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้การคิดอัตราค่าบริการของแต่ละกิจกรรมมีความชัดเจน โปร่งใส ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันในระดับค้าปลีก และทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้ามากขึ้น
รายละเอียดของแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวยังไม่เพียงพอ ทำให้ยากต่อการพิจารณาแผนการลงทุนว่าจะสามารถรองรับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าได้หรือไม่ ดังนั้นจึงเห็นควรให้ กฟน. จัดทำรายละเอียดของแผนฯ เพิ่มเติม
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-