1. สถานการณ์การผลิต
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตปล่อยกุ้งก้ามกรามเสริมอาชีพประมงที่เขื่อนปากมูล
นายสุนทร จัตุชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ปี 2543 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
ได้ปล่อยกุ้งก้ามกรามจำนวน 1,100,000 ตัวเศษ ที่บ้านทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมอาชีพประมง โดยปล่อยลงเหนือ
เขื่อนปากมูล ซึ่งกุ้งก้ามกรามเป็นสินค้าเศรษฐกิจใหม่ ที่จะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำมูลนี้ ตั้งแต่ปี 2538 กฟผ. ได้นำปลาหลายชนิด
มาปล่อยลงในแม่น้ำมูล รวมทั้งกุ้งก้ามกราม ทำให้ราษฎรจับกุ้งก้ามกรามได้วันละมากกว่า 100 กิโลกรัม ๆ ละ 400 บาท คิดเป็นมูลค่า 19 ล้านบาท/ปี
นอกจากนี้ กฟผ. ยังให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ กรมประมงในการก่อสร้างศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่บริเวณเขื่อนปากมูล สำหรับการพัฒนาประมง
ในฤดูน้ำหลากหรือฤดูน้ำลดอีกด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 29 สค.- 4 กย.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวน
รวมทั้งสิ้น 1,427.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 655.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 772.21 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย
1.1 ปลาดุก 6.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน 7.92 ตัน
1.3 กุ้งทะเล 89.32 ตัน
1.4 ปลาทู 101.35 ตัน
1.5 ปลาหมึก 60.80 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
แผนพัฒนาและส่งเสริมส่งออกกุ้งระยะปานกลาง (พ.ศ 2544-2548)
คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารระยะปานกลาง ได้จัดทำ "แผนพัฒนาและส่งเสริม
การส่งออกกุ้งในระยะปานกลาง (พ.ศ2544-2548" โดยมีส่วนของมาตรการ การเตรียมวัตถุดิบที่มีคุณภาพป้อนโรงงานแปรรูปคือ
1. การกำหนดมาตรฐานการผลิตของโรงงานแปรรูปกุ้งทุกโรงงาน โดยการให้ความรู้แก่โรงงานในการเข้าสู่ระบบ
HACCP
2. ให้ความรู้แก่บุคลากรในตลาดกลางกุ้งและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมวัตถุดิบก่อนส่งกุ้งเข้าโรงงาน
3. การพัฒนาแพกุ้งต้มแกะและการส่งเสริมการผลิตน้ำแข็งให้ถูกสุขอนามัย เพื่อลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับกุ้งก่อนส่ง
โรงงานแปรรูปสำหรับแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกประกอบด้วย แผนพัฒนาและ ส่งเสริมการผลิตแบ่งเป็น
1. การผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้ง โดยจับพ่อแม่พันธุ์กุ้งจากทะเลลึกให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และส่งเสริมวิจัยการผลิต
พ่อแม่พันธุ์กุ้งจากบ่อดินเพื่อทดแทนจากธรรมชาติ
2. การพัฒนาอาหารกุ้ง ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาหารกุ้งสำเร็จรูปให้มีคุณภาพแทนการใช้อาร์ทีเมีย
3. พัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยการเร่งเผยแพร่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ พัฒนาระบบชีวภาพแบบ Code of conduct
4. ด้านสุขอนามัย ให้มีการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าในระบบมาตรฐานเดียวกัน และกำหนดขั้นตอนที่รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพส่วนแผนพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปแบ่งเป็น
1. การติดตามกฎระเบียบการนำเข้าด้านสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อติดตาม
สถานการณ์
2. การพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป โดยการสนับสนุนการลงทุนในการตั้งโรงงานแปรรูป
3. การสนับสนุนการวิจัยผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป
แผนพัฒนาและส่งเสริมการตลาดเพื่อการส่งออกแบ่งเป็น
1. การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของกุ้งไทยในตลาดหลักและตลาดใหม่
2. การวางแผนการผลิตให้สัมพันธ์กับตลาดด้วยการหารือระหว่างผู้ส่งออกกุ้งกับผู้เลี้ยงและจัดระเบียบของพ่อค้า
คนกลางในการรวบรวมกุ้งให้ถูกสุขอนามัย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน
0.80 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 367.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 300.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 290.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
18.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ
50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.12 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 4-8 กย. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.60 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
ราคาประมูลจำหน่ายกุ้งกุลาดำที่สะพานปลากรุงเทพฯ ขนาด 30 ตัว/กก.
เดือน ราคา
กย.2542 316.74
ตค. 330.4
พย. 353.91
ธค. 358.05
มค.2543 363.34
กพ. 369.83
มีค. 392.14
เมย. 415.91
พค. 431.05
มิย. 446.1
กค. 410.75
สค. 427.59
กย.สัปดาห์ 1 432.14
กย.สัปดาห์ 2
กย.สัปดาห์ 3
กย.สัปดาห์ 4
ราคาประมูลจำหน่ายปลาทูที่สะพานปลากรุงเทพฯ
เดือน ราคา
กย.2542 33.94
ตค. 33
พย. 36.21
ธค. 41.55
มค.2543 44.38
กพ. 41.45
มีค. 43.11
เมย. 45.76
พค. 45.06
มิย. 45.22
กค. 49.13
สค. 50
กย.สัปดาห์ 1 49.28
กย.สัปดาห์ 2
กย.สัปดาห์ 3
กย.สัปดาห์ 4
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4-10 ก.ย. 2543--
-สส-
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตปล่อยกุ้งก้ามกรามเสริมอาชีพประมงที่เขื่อนปากมูล
นายสุนทร จัตุชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ปี 2543 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
ได้ปล่อยกุ้งก้ามกรามจำนวน 1,100,000 ตัวเศษ ที่บ้านทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมอาชีพประมง โดยปล่อยลงเหนือ
เขื่อนปากมูล ซึ่งกุ้งก้ามกรามเป็นสินค้าเศรษฐกิจใหม่ ที่จะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรที่อาศัยอยู่ตามลำน้ำมูลนี้ ตั้งแต่ปี 2538 กฟผ. ได้นำปลาหลายชนิด
มาปล่อยลงในแม่น้ำมูล รวมทั้งกุ้งก้ามกราม ทำให้ราษฎรจับกุ้งก้ามกรามได้วันละมากกว่า 100 กิโลกรัม ๆ ละ 400 บาท คิดเป็นมูลค่า 19 ล้านบาท/ปี
นอกจากนี้ กฟผ. ยังให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ กรมประมงในการก่อสร้างศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่บริเวณเขื่อนปากมูล สำหรับการพัฒนาประมง
ในฤดูน้ำหลากหรือฤดูน้ำลดอีกด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 29 สค.- 4 กย.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวน
รวมทั้งสิ้น 1,427.30 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 655.09 ตัน สัตว์น้ำจืด 772.21 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย
1.1 ปลาดุก 6.28 ตัน
1.2 ปลาช่อน 7.92 ตัน
1.3 กุ้งทะเล 89.32 ตัน
1.4 ปลาทู 101.35 ตัน
1.5 ปลาหมึก 60.80 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
แผนพัฒนาและส่งเสริมส่งออกกุ้งระยะปานกลาง (พ.ศ 2544-2548)
คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารระยะปานกลาง ได้จัดทำ "แผนพัฒนาและส่งเสริม
การส่งออกกุ้งในระยะปานกลาง (พ.ศ2544-2548" โดยมีส่วนของมาตรการ การเตรียมวัตถุดิบที่มีคุณภาพป้อนโรงงานแปรรูปคือ
1. การกำหนดมาตรฐานการผลิตของโรงงานแปรรูปกุ้งทุกโรงงาน โดยการให้ความรู้แก่โรงงานในการเข้าสู่ระบบ
HACCP
2. ให้ความรู้แก่บุคลากรในตลาดกลางกุ้งและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมวัตถุดิบก่อนส่งกุ้งเข้าโรงงาน
3. การพัฒนาแพกุ้งต้มแกะและการส่งเสริมการผลิตน้ำแข็งให้ถูกสุขอนามัย เพื่อลดสิ่งปนเปื้อนที่ติดมากับกุ้งก่อนส่ง
โรงงานแปรรูปสำหรับแผนพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกประกอบด้วย แผนพัฒนาและ ส่งเสริมการผลิตแบ่งเป็น
1. การผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้ง โดยจับพ่อแม่พันธุ์กุ้งจากทะเลลึกให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และส่งเสริมวิจัยการผลิต
พ่อแม่พันธุ์กุ้งจากบ่อดินเพื่อทดแทนจากธรรมชาติ
2. การพัฒนาอาหารกุ้ง ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาหารกุ้งสำเร็จรูปให้มีคุณภาพแทนการใช้อาร์ทีเมีย
3. พัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยการเร่งเผยแพร่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ พัฒนาระบบชีวภาพแบบ Code of conduct
4. ด้านสุขอนามัย ให้มีการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าในระบบมาตรฐานเดียวกัน และกำหนดขั้นตอนที่รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพส่วนแผนพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปแบ่งเป็น
1. การติดตามกฎระเบียบการนำเข้าด้านสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เพื่อติดตาม
สถานการณ์
2. การพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูป โดยการสนับสนุนการลงทุนในการตั้งโรงงานแปรรูป
3. การสนับสนุนการวิจัยผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป
แผนพัฒนาและส่งเสริมการตลาดเพื่อการส่งออกแบ่งเป็น
1. การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของกุ้งไทยในตลาดหลักและตลาดใหม่
2. การวางแผนการผลิตให้สัมพันธ์กับตลาดด้วยการหารือระหว่างผู้ส่งออกกุ้งกับผู้เลี้ยงและจัดระเบียบของพ่อค้า
คนกลางในการรวบรวมกุ้งให้ถูกสุขอนามัย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน
0.80 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 367.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 300.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 290.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
18.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ
50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.12 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 4-8 กย. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.60 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
ราคาประมูลจำหน่ายกุ้งกุลาดำที่สะพานปลากรุงเทพฯ ขนาด 30 ตัว/กก.
เดือน ราคา
กย.2542 316.74
ตค. 330.4
พย. 353.91
ธค. 358.05
มค.2543 363.34
กพ. 369.83
มีค. 392.14
เมย. 415.91
พค. 431.05
มิย. 446.1
กค. 410.75
สค. 427.59
กย.สัปดาห์ 1 432.14
กย.สัปดาห์ 2
กย.สัปดาห์ 3
กย.สัปดาห์ 4
ราคาประมูลจำหน่ายปลาทูที่สะพานปลากรุงเทพฯ
เดือน ราคา
กย.2542 33.94
ตค. 33
พย. 36.21
ธค. 41.55
มค.2543 44.38
กพ. 41.45
มีค. 43.11
เมย. 45.76
พค. 45.06
มิย. 45.22
กค. 49.13
สค. 50
กย.สัปดาห์ 1 49.28
กย.สัปดาห์ 2
กย.สัปดาห์ 3
กย.สัปดาห์ 4
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4-10 ก.ย. 2543--
-สส-