มาตรการด้านการเกษตร
1. มาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2543 อนุมัติมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ตรวจพบสารพิษตกค้างจากการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในใบยาพันธุ์เบอร์เล่ย์ ที่นำเข้าจากไทยมีปริมาณเกินกว่าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯกำหนด กระทรวงการคลังและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มาตรการที่สำคัญมีดังนี้
1. ให้ความรู้แก่ชาวไร่ในด้านชนิดสารเคมีที่ควรใช้และเพิ่มความเข้มงวดในการ ติดตามควบคุมการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช
2. สนับสนุนสินเชื่อและการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่มีมาตรฐานให้ชาวไร่ โดยประสานงานกับบริษัทเอกชน ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สุ่มตัวอย่างใบยาของชาวไร่เพื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างให้มากขึ้น รวมทั้งกำหนดบทลงโทษชาวไร่ที่ผลิตใบยาสูบมีสารพิษตกค้างเกินกำหนด ด้านการส่งออก ให้บริษัทผู้ส่งออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสุ่มเก็บตัวอย่างใบยาเพื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างก่อนการส่งออกมติคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 รับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น โดยมีสาระสำคัญคือ
อนุมัติให้สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทยและสมาคมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นผู้นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มเติม จากเดิมซึ่งมีผู้ที่ได้รับสิทธินำเข้าเพียง 6 ราย ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองคุณภาพดีจากเกษตรกรทั้งหมด ในราคาที่สูงกว่ากิโลกรัมละ 10 บาท ณ ไร่นา หรือสูงกว่ากิโลกรัมละ 11 บาท ณ หน้าโรงงาน สกัดน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดกรุงเทพฯ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. มาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2543 อนุมัติมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ตรวจพบสารพิษตกค้างจากการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในใบยาพันธุ์เบอร์เล่ย์ ที่นำเข้าจากไทยมีปริมาณเกินกว่าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯกำหนด กระทรวงการคลังและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมสารพิษตกค้างในใบยาสูบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มาตรการที่สำคัญมีดังนี้
1. ให้ความรู้แก่ชาวไร่ในด้านชนิดสารเคมีที่ควรใช้และเพิ่มความเข้มงวดในการ ติดตามควบคุมการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช
2. สนับสนุนสินเชื่อและการจัดหาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่มีมาตรฐานให้ชาวไร่ โดยประสานงานกับบริษัทเอกชน ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สุ่มตัวอย่างใบยาของชาวไร่เพื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างให้มากขึ้น รวมทั้งกำหนดบทลงโทษชาวไร่ที่ผลิตใบยาสูบมีสารพิษตกค้างเกินกำหนด ด้านการส่งออก ให้บริษัทผู้ส่งออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสุ่มเก็บตัวอย่างใบยาเพื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างก่อนการส่งออกมติคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่นคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 รับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น โดยมีสาระสำคัญคือ
อนุมัติให้สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทยและสมาคมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นผู้นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มเติม จากเดิมซึ่งมีผู้ที่ได้รับสิทธินำเข้าเพียง 6 ราย ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองคุณภาพดีจากเกษตรกรทั้งหมด ในราคาที่สูงกว่ากิโลกรัมละ 10 บาท ณ ไร่นา หรือสูงกว่ากิโลกรัมละ 11 บาท ณ หน้าโรงงาน สกัดน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดกรุงเทพฯ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-