กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (28 กันยายน 2543) นายสุรพงษ์ ชัยนาม อธิบดีกรมเอเซียตะวันออก ได้แถลง ข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังจาก ตันศรี Razali Ismail ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อพม่า เข้าหารือและแลกเปลี่ยนทัศนะกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ตันศรี Razali Ismail ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 27-28 กันยายน 2543 และมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนพม่าประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม 2543
2. ในการพบปะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า สถานการณ์ในพม่าในขณะนี้ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใด และหากไม่มีพัฒนาการในทางบวกเกิดขึ้นในพม่าโดยเร็ว สถานการณ์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะเลวร้ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องที่กว้างไกลยาวนาน อันไม่เป็นผลดีกับฝ่ายใด ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะภายในพม่าเท่านั้น แต่จะเป็นผลเสียต่อภูมิภาคและอาเซียนโดยรวม ซึ่งพม่าเป็นสมาชิกอยู่ด้วย
3. ไทยสนับสนุนบทบาทของนาย Razali ในฐานะผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อพม่าในการคลี่คลายสถานการณ์ในพม่าอย่างเต็มที่
4. ไทยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในพม่าให้ความร่วมมือกับนาย Razali เนื่องจากหากปราศจากความร่วมมือจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการที่คืบหน้าในพม่าได้ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายควรผ่อนปรนให้แก่กันและกันโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศพม่าเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การพูดจาหารือ ซึ่งจะนำไปสู่การปรองดองแห่งชาติต่อไป
5. ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นในพม่า ไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ เพราะความปรองดองระหว่างฝ่ายต่างๆ ความสงบสุข และการกินดีอยู่ดีของชาวพม่า จะช่วยลดภาระและผลกระทบนานัปการที่ไทยแบกรับอยู่มาเป็นเวลานาน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (28 กันยายน 2543) นายสุรพงษ์ ชัยนาม อธิบดีกรมเอเซียตะวันออก ได้แถลง ข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังจาก ตันศรี Razali Ismail ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อพม่า เข้าหารือและแลกเปลี่ยนทัศนะกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ตันศรี Razali Ismail ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 27-28 กันยายน 2543 และมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนพม่าประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม 2543
2. ในการพบปะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า สถานการณ์ในพม่าในขณะนี้ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใด และหากไม่มีพัฒนาการในทางบวกเกิดขึ้นในพม่าโดยเร็ว สถานการณ์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะเลวร้ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องที่กว้างไกลยาวนาน อันไม่เป็นผลดีกับฝ่ายใด ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะภายในพม่าเท่านั้น แต่จะเป็นผลเสียต่อภูมิภาคและอาเซียนโดยรวม ซึ่งพม่าเป็นสมาชิกอยู่ด้วย
3. ไทยสนับสนุนบทบาทของนาย Razali ในฐานะผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อพม่าในการคลี่คลายสถานการณ์ในพม่าอย่างเต็มที่
4. ไทยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในพม่าให้ความร่วมมือกับนาย Razali เนื่องจากหากปราศจากความร่วมมือจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการที่คืบหน้าในพม่าได้ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายควรผ่อนปรนให้แก่กันและกันโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศพม่าเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การพูดจาหารือ ซึ่งจะนำไปสู่การปรองดองแห่งชาติต่อไป
5. ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นในพม่า ไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ เพราะความปรองดองระหว่างฝ่ายต่างๆ ความสงบสุข และการกินดีอยู่ดีของชาวพม่า จะช่วยลดภาระและผลกระทบนานัปการที่ไทยแบกรับอยู่มาเป็นเวลานาน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-