กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (9 มีนาคม 2543) นายอุ้ม เมาลานนท์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ได้รายงานเกี่ยวกับกรณีเรือสินค้าไทยไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ มีรายละเอียดดังนี้
1. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 เรือสินค้าไทยชื่อ “กิมจิง” ได้วิ่งเรือเปล่าจากกรุงเทพฯ ไปรับสินค้าเมล็ดพืชประมาณ 10,000 ตันที่เซี่ยงไฮ้เพื่อเดินทางต่อไปส่งมอบสินค้าที่เมืองท่าอินซอน ประเทศเกาหลีใต้ แต่ขณะจอดที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ได้ถูกเจ้าหน้าที่การท่าเซี่ยงไฮ้ตรวจสภาพเรือและกักเรือไว้เนื่องจากพบว่าเรือมีข้อบกพร่องหลายรายการ โดยเจ้าหน้าที่การท่าเซี่ยงไฮ้สั่งให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวก่อน จึงจะสามารถเดินทางต่อไปได้ โดยบริษัทจีนประเมินค่าซ่อมประมาณ 77,000 ดอลล่าร์ และใช้เวลา 8-10 วันจึงแล้วเสร็จ
2. การตรวจสภาพเรือกระทำอย่างละเอียดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่ไปกับความพร้อมของเรือในการเดินทาง ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของอนุสัญญา MOU Tokyo ซึ่งไทยและจีนต่างก็เป็นรัฐภาคี ในจำนวน 31 รายการที่เจ้าหน้าที่ตรวจเรือเซี่ยงไฮ้ระบุใน Report of Inspection และสั่งให้แก้ไขปรับปรุง จากสภาพเรือข้างต้น ทางการเซี่ยงไฮ้จึงไม่อนุญาตให้เรือเดินทางออกจากท่า ในขณะเดียวกัน ทางบริษัทจรัสลัทพัฒนาซึ่งเป็นเจ้าของเรือก็ได้ทำการซ่อมแซมเรือบางส่วน และกรมเจ้าท่าของไทยในฐานะ Flag State Surveyor และ Flag State Inspector ของเรือได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางจากประเทศไทยไปช่วยเหลือและรับรองสภาพเรือ ในขณะที่ผู้แทนเจ้าของเรือได้ขอร้องให้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ช่วยเหลือประสานกับทางการจีนพิจารณาผ่อนผันให้เรือสามารถออกจากท่าได้ หลังจากมีการซ่อมแซมเรือบางส่วนแล้ว
3. เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 นายศรศิลป์ พลเตชา กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ได้เข้าพบนาย หวัง จื่อ ยี่ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจความปลอดภัยทางทะเลประจำเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Maritime Safety Administration) และนายเหมา กวง หัว รองผู้อำนวยการฯ และได้ร้องขอให้ฝ่ายจีนพิจารณาผ่อนผันและอนุญาตให้เรือดังกล่าวออกเดินทาง ซึ่งทางการเซี่ยงไฮ้ได้ขอให้บริษัทเจ้าของเรือมีหนังสือรับรองความปลอดภัยของเรือและรับประกันว่าจะเพิ่มความระมัดระวังความปลอดภัยโดยจัดเวรยามและส่งข่าวสารติดต่อกับบริษัทฯ ที่กรุงเทพฯ เสมอๆ เพื่อทราบสถานการณ์ของเรือและให้รับรองว่าจะทำการซ่อมแซมรายการที่เหลือในเมืองท่าถัดไป
4. ทางการเซี่ยงไฮ้ได้แจ้งให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ทราบว่า การตรวจสภาพเรือที่เมืองเซี่ยงไฮ้มีความเข้มงวดมากทั้งเรือจีนและเรือต่างประเทศ เนื่องจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง นอกจากนั้น บริเวณปากแม่น้ำหวงผู่เชื่อมโยงแม่น้ำแยงซีเกียวเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของจีนและมีเรือต่างชาติผ่านเข้า-ออกประมาณ 1,000 ลำต่อวัน ทางการจีนจึงต้องมีความเข้มงวดในการตรวจสภาพเพราะนอกจากต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเรือและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงอุปสรรคต่อเส้นทางเดินเรือที่เข้า-ออกเซี่ยงไฮ้อีกด้วย เพราะร่องน้ำลึกเข้าสู่เซี่ยงไฮ้มีความแคบมาก หากเรือสินค้าขนาดใหญ่ประสบปัญหาจะทำให้กีดขวางและเป็นอุปสรรคต่อการผ่านเข้าออกท่าเรือเซี่ยงไฮ้ กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งให้บริษัทเดินเรือของไทยที่จะเดินทางไปเทียบท่า เซี่ยงไฮ้และเมืองท่าต่างๆ ในจีนทราบว่าการตรวจสภาพเรือของเซี่ยงไฮ้มีความเข้มงวด โดยคลอบคลุมทั้งเรื่องความปลอดภัยและอุปกรณ์ความพร้อมของเรือสินค้าด้วย ดังนั้น ขอให้บริษัทเดินเรือเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับสภาพเรือและทำการซ่อมแซมเรือให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และตรวจอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบถ้วนก่อนออกเดินทางจากประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาและการถูกกักเช่นกรณีเรือกิมจิง เพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูง เกี่ยวกับค่าเทียบท่า และค่าซ่อมที่แพงกว่าประเทศไทยแล้ว ยังจะ ถูกปรับจากผู้สั่งสินค้าเนื่องจากส่งมอบสินค้าเกินกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้--จบ--
วันนี้ (9 มีนาคม 2543) นายอุ้ม เมาลานนท์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ได้รายงานเกี่ยวกับกรณีเรือสินค้าไทยไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ มีรายละเอียดดังนี้
1. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 เรือสินค้าไทยชื่อ “กิมจิง” ได้วิ่งเรือเปล่าจากกรุงเทพฯ ไปรับสินค้าเมล็ดพืชประมาณ 10,000 ตันที่เซี่ยงไฮ้เพื่อเดินทางต่อไปส่งมอบสินค้าที่เมืองท่าอินซอน ประเทศเกาหลีใต้ แต่ขณะจอดที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ได้ถูกเจ้าหน้าที่การท่าเซี่ยงไฮ้ตรวจสภาพเรือและกักเรือไว้เนื่องจากพบว่าเรือมีข้อบกพร่องหลายรายการ โดยเจ้าหน้าที่การท่าเซี่ยงไฮ้สั่งให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวก่อน จึงจะสามารถเดินทางต่อไปได้ โดยบริษัทจีนประเมินค่าซ่อมประมาณ 77,000 ดอลล่าร์ และใช้เวลา 8-10 วันจึงแล้วเสร็จ
2. การตรวจสภาพเรือกระทำอย่างละเอียดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยควบคู่ไปกับความพร้อมของเรือในการเดินทาง ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของอนุสัญญา MOU Tokyo ซึ่งไทยและจีนต่างก็เป็นรัฐภาคี ในจำนวน 31 รายการที่เจ้าหน้าที่ตรวจเรือเซี่ยงไฮ้ระบุใน Report of Inspection และสั่งให้แก้ไขปรับปรุง จากสภาพเรือข้างต้น ทางการเซี่ยงไฮ้จึงไม่อนุญาตให้เรือเดินทางออกจากท่า ในขณะเดียวกัน ทางบริษัทจรัสลัทพัฒนาซึ่งเป็นเจ้าของเรือก็ได้ทำการซ่อมแซมเรือบางส่วน และกรมเจ้าท่าของไทยในฐานะ Flag State Surveyor และ Flag State Inspector ของเรือได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางจากประเทศไทยไปช่วยเหลือและรับรองสภาพเรือ ในขณะที่ผู้แทนเจ้าของเรือได้ขอร้องให้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ช่วยเหลือประสานกับทางการจีนพิจารณาผ่อนผันให้เรือสามารถออกจากท่าได้ หลังจากมีการซ่อมแซมเรือบางส่วนแล้ว
3. เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 นายศรศิลป์ พลเตชา กงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ได้เข้าพบนาย หวัง จื่อ ยี่ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจความปลอดภัยทางทะเลประจำเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Maritime Safety Administration) และนายเหมา กวง หัว รองผู้อำนวยการฯ และได้ร้องขอให้ฝ่ายจีนพิจารณาผ่อนผันและอนุญาตให้เรือดังกล่าวออกเดินทาง ซึ่งทางการเซี่ยงไฮ้ได้ขอให้บริษัทเจ้าของเรือมีหนังสือรับรองความปลอดภัยของเรือและรับประกันว่าจะเพิ่มความระมัดระวังความปลอดภัยโดยจัดเวรยามและส่งข่าวสารติดต่อกับบริษัทฯ ที่กรุงเทพฯ เสมอๆ เพื่อทราบสถานการณ์ของเรือและให้รับรองว่าจะทำการซ่อมแซมรายการที่เหลือในเมืองท่าถัดไป
4. ทางการเซี่ยงไฮ้ได้แจ้งให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ทราบว่า การตรวจสภาพเรือที่เมืองเซี่ยงไฮ้มีความเข้มงวดมากทั้งเรือจีนและเรือต่างประเทศ เนื่องจากท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง นอกจากนั้น บริเวณปากแม่น้ำหวงผู่เชื่อมโยงแม่น้ำแยงซีเกียวเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของจีนและมีเรือต่างชาติผ่านเข้า-ออกประมาณ 1,000 ลำต่อวัน ทางการจีนจึงต้องมีความเข้มงวดในการตรวจสภาพเพราะนอกจากต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเรือและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงอุปสรรคต่อเส้นทางเดินเรือที่เข้า-ออกเซี่ยงไฮ้อีกด้วย เพราะร่องน้ำลึกเข้าสู่เซี่ยงไฮ้มีความแคบมาก หากเรือสินค้าขนาดใหญ่ประสบปัญหาจะทำให้กีดขวางและเป็นอุปสรรคต่อการผ่านเข้าออกท่าเรือเซี่ยงไฮ้ กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งให้บริษัทเดินเรือของไทยที่จะเดินทางไปเทียบท่า เซี่ยงไฮ้และเมืองท่าต่างๆ ในจีนทราบว่าการตรวจสภาพเรือของเซี่ยงไฮ้มีความเข้มงวด โดยคลอบคลุมทั้งเรื่องความปลอดภัยและอุปกรณ์ความพร้อมของเรือสินค้าด้วย ดังนั้น ขอให้บริษัทเดินเรือเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับสภาพเรือและทำการซ่อมแซมเรือให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และตรวจอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบถ้วนก่อนออกเดินทางจากประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาและการถูกกักเช่นกรณีเรือกิมจิง เพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูง เกี่ยวกับค่าเทียบท่า และค่าซ่อมที่แพงกว่าประเทศไทยแล้ว ยังจะ ถูกปรับจากผู้สั่งสินค้าเนื่องจากส่งมอบสินค้าเกินกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้--จบ--