ในปี 2543 เศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตยางพาราและข้าวนาปีฤดูกาล 2542/43
เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคายางสูงขึ้นจากปีก่อน ทำให้การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเครื่องชี้ทุกรายการเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน
การลงทุนของภาคเอกชน ก็ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนในกิจการ ขนาดเล็ก และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ก้าวหน้าไปมาก แต่ทาง
ด้านการคลังรัฐบาลจัดเก็บรายได้ลดลง เนื่องจากจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากได้ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับ
ภาคการเงินเงินฝากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนสินเชื่อคงค้างลดลง เนื่องจากได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสาขาไปดูแลที่สำนักงานใหญ่
และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น
ภาคการเกษตร
ยางพารา ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ขณะเดียวกันทางด้านราคาได้ขยับตัวสูงขึ้น
โดยในปีนี้ยางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.60 บาท เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 23.3 ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตยางในตลาดโลกลดลง
ข้าว ผลผลิตข้าวนาปีฤดูกาล 2542/43 ซึ่งเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมถึงเมษายนได้รับผลดี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
ฝนตกตามฤดูกาล โดยในฤดูกาลนี้มีพื้นที่เพาะปลูก 573,985 ไร่ ได้รับผลผลิตข้าวเปลือก 237,966 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 834.7
เมตริกตัน หรือร้อยละ 0.5 เนื่องจากผลผลิตปีก่อนได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ทางด้านราคาชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีมา
เนื่องจากมีผลผลิตข้าวคุณภาพต่ำจากเวียดนามเข้ามาแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทำให้ข้าวเปลือกเจ้าพันธ์ชัยนาทความชื้นไม่เกิน 15% ราคา
ลดลงจากเมตริกตันละ 4,750 บาท เหลือเพียง 4,280 บาท ในเดือนพฤษภาคม
ส่วนข้าวพื้นเมืองพันธุ์เล็บนก ความชื้นไม่เกิน 15% ราคาลดลงจากเมตริกตันละ 6,250 บาทในเดือนมกราคม เหลือเพียง
4,875 บาท ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ตลาดข้าวพื้นเมืองพันธุ์เล็บนกจะอยู่ในบริเวณภาคใต้ตอนกลาง คือ พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง
และสุราษฎร์ธานี
นอกภาคการเกษตร
อุตสาหกรรม ในช่วงปีนี้อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราขยายตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลจากตลาดไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้
ยางพาราเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการของตลาดมีมากขึ้น จึงมีผู้สนใจลงทุนและขยายโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบ
การรายย่อย ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมโรงโม่หินอยู่ในภาวะที่ดีเช่นกัน เนื่องจากกำลังมีการก่อสร้างและขยายทางหลวงหมายเลข 41
ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงจึงทำให้ความต้องการใช้หินมีมากขึ้น
การค้า ในปีนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากผลผลิตยางและ ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคายางปรับ
ตัวสูงขึ้น ทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าดีขึ้น โดยเฉพาะยอดการจำหน่ายรถสูงขึ้นทุกประเภท ทั้งนี้ในปีนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ จำนวน 239 คัน 573 คัน และ 4,763 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 45.7 19.1 และ 51.5 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะ
เวลาผ่อนชำระนานด้วย แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากที่ได้เปิดใช้ถนนสี่เลนสายพัทลุง-หาดใหญ่ ทำให้ ประชาชนในจังหวัดพัทลุง
เดินทางมาซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่อำเภอหาดใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ ส่งผลให้ภาวะการค้าปลีกค้าส่งในจังหวัดพัทลุงค่อนข้าง
เงียบเหงา
การลงทุน การลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้น การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีจำนวน 64 ราย ทุนจดทะเบียน 170.6 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.0 และ 133.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากประชาชนเริ่มมีความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น
กิจการที่ขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่
ขณะเดียวกันได้มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1 ราย เงินลงทุน 5.0 ล้านบาท ว่าจ้างแรงงาน 64 คน
ทางด้านการก่อสร้างมีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลจำนวน 14,834 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.0 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีจำนวน 11,815 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
การจ้างงาน การจ้างงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัด ในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างจำนวน 461 ตำแหน่ง และผู้สมัครงาน 1,718 คน เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 2.7 และ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่การบรรจุงานมีจำนวน 323 คน ลดลงร้อยละ 8.8
การคลัง ในปีนี้ส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดพัทลุงเบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 3,769.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 0.2 ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในปีนี้มีเพียง 20.2
ล้านบาท เนื่องจากส่วนใหญ่ได้เบิกจ่ายไปแล้วตั้งแต่ในปีก่อน ทั้งนี้ รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา)
ของจังหวัดพัทลุงมีจำนวนทั้งสิ้น 228.0 ล้านบาท เบิกจ่ายจนถึงสิ้นธันวาคม 2543 จำนวน 217.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.4 ของโครงการ
สำหรับการจัดเก็บรายได้ในปีนี้จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 159.2 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อนร้อยละ 17.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดาภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์เบิกจากผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวน 3,665.0 ล้านบาท
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.7 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทนฯ มีจำนวน 4,773.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9
ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 83,935 ฉบับ มูลค่า 3,580.6 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.5 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 2.6
สาขาธนาคารพาณิชย์ เงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มียอดคงค้าง 5,611.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีก่อนร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ เงินฝาก
ออมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ขณะที่เงินฝากประจำลดลงร้อยละ 1.5
ส่วนสินเชื่อยอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนเดียวกันนี้ มีจำนวน 3,520.3 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 14.2 เนื่องจากสาขาธนาคารพาณิชย์
ยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยอำนาจอนุมัติส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ประกอบกับได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ไปบริหารที่สำนักงานใหญ่และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น
ทางด้านการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประสบผลสำเร็จไปค่อนข้างมาก ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ไปแล้วจำนวน 1,834 ราย เป็นเงิน 2,258.1 ล้านบาท และเหลือหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพียง 184 ราย เป็นเงินเพียง
82.7 ล้านบาท
สินเชื่อที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงมี 2 ประเภท คือ สินเชื่อค้าปลีกค้าส่งจำนวน 1,410.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.1 ของสินเชื่อ
รวม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.9 และสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลมีจำนวน 1,151.5 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.7 ของสินเชื่อรวม ลดลง
จาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.1
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มีสัดส่วนร้อยละ 62.7 ลดลงจากร้อยละ 78.8 ณ สิ้นปีก่อน
ทางด้านธนาคารออมสิน ณ สิ้นปีมีเงินฝากคงค้าง 1,398.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีก่อนร้อยละ 12.6
ขณะที่ทางด้านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สินเชื่อให้กับลูกค้าจำนวน 1,969.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดพัทลุงในปี 2544
ในปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงยังคงมีแนวโน้มขยายตัว ปัจจัยบวก ได้แก่ ผลผลิตยางและข้าว คาดว่าจะได้รับผลดี
ขณะเดียวกันราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนน่าจะยังคงขยายตัวประกอบกับทางด้านสถาบันการเงิน
มีแนวโน้มจะขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพราะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม
ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอาจจะมีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวม
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดพัทลุง
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 22.93 17.52 21.6 23.3
ข้าวเปลือกเจ้า 25%(บาท/เมตริกตัน) 6,164.17 4,463.60 3,439.00 23
1.2 ประมง
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 450.21 357.11 n.a.
2. การค้า
2.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 108 164 239 45.7
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 427 481 573 19.1
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 4,283 3,143 4,763 51.5
3. การลงทุน
3.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 1 1 1 0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 50.8 8.5 5 -41.2
การจ้างงาน (คน) 71 50 64 28
3.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 29 50 64 28
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 62.1 73.2 170.6 133.1
3.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 29,475 14,697 14,843 1
ที่อยู่อาศัย 18,192 9,965 11,815 18.6
การพาณิชย์ 6,705 1,160 349 -69.9
การบริการ 3,593 105 2,457 2,240.00
อื่น ๆ 985 3,467 222 -93.6
4. ค่าจ้างและการจัดหางาน
4.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
4.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 548 449 461 2.7
ผู้สมัครงาน (คน) 800 1,570 1,718 9.4
การบรรจุงาน (คน) 395 354 323 -8.8
5. การคลัง (ล้านบาท)
5.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 3,971.80 3,763.80 3,769.90 0.2
5.2 การจัดเก็บภาษีอากร 260.5 193.8 160.2 -17.3
สรรพากร 259.7 192.9 159.2 -17.5
สรรพสามิต 0.8 0.9 1 11.1
ศุลกากร 0 0 0
6. การเงิน
6.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 4,465.60 4,227.40 4,773.30 12.9
เงินสดจ่าย 2,744.70 3,806.20 3,665.00 -3.7
6.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 4,327.90 5,864.60 5,211.90 -11.1
เงินโอนเข้า 9,685.40 10,064.40 10,188.90 1.2
6.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 97,326 83,491 83,935 0.5
มูลค่า (ล้านบาท) 5,702.90 3,676.50 3,580.60 -2.6
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 4.2 2 1.6
6.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 12 12 12 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 5,241.00 5,203.90 5,611.30 7.8
กระแสรายวัน 78.6 74.3 75.1 1.1
ออมทรัพย์ 1,107.00 1,379.90 1,842.50 33.5
ประจำ 4,055.30 3,749.60 3,693.50 -1.5
อื่น ๆ 0.1 0.1 0.2 100
สินเชื่อ (ล้านบาท) 4,465.60 4,100.70 3,520.30 -14.2
เงินเบิกเกินบัญชี 1,909.60 1,630.10 1,248.80 -23.4
เงินให้กู้ 2,263.00 2,181.20 2,165.90 -0.7
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 293 289.4 105.6 -63.5
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 169.2 152.8 135.4 -11.4
เหมืองแร่ 90.2 77.1 23 -70.2
การอุตสาหกรรม 383.8. 377.6 347.6 -7.9
การรับเหมาก่อสร้าง 207 226.1 205.6 -9.1
การค้าส่งออก 50.5 46.7 62.5 33.8
การค้าปลีกค้าส่ง 1,661.50 1,547.60 1,410.30 -8.9
ธุรกิจการเงิน 0.2 3.1 0 -100
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 54.9 40 54.8 37
สาธารณูปโภค 28.4 43.4 26.2 -39.6
การบริการ 356.7 276.3 224 -18.9
การบริโภคส่วนบุคคล 1,463.20 1,310.00 1,151.50 -12.1
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 85.2 78.8 62.7
6.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,867.40 1,786.50 1,969.90 10.3
6.6 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 2 4 3 -25
สินเชื่อ (ล้านบาท) 25.5 143 18 -87.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคายางสูงขึ้นจากปีก่อน ทำให้การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเครื่องชี้ทุกรายการเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน
การลงทุนของภาคเอกชน ก็ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนในกิจการ ขนาดเล็ก และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ก้าวหน้าไปมาก แต่ทาง
ด้านการคลังรัฐบาลจัดเก็บรายได้ลดลง เนื่องจากจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากได้ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับ
ภาคการเงินเงินฝากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนสินเชื่อคงค้างลดลง เนื่องจากได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสาขาไปดูแลที่สำนักงานใหญ่
และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น
ภาคการเกษตร
ยางพารา ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ขณะเดียวกันทางด้านราคาได้ขยับตัวสูงขึ้น
โดยในปีนี้ยางแผ่นดิบชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.60 บาท เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 23.3 ทั้งนี้ เนื่องจากผลผลิตยางในตลาดโลกลดลง
ข้าว ผลผลิตข้าวนาปีฤดูกาล 2542/43 ซึ่งเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมถึงเมษายนได้รับผลดี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
ฝนตกตามฤดูกาล โดยในฤดูกาลนี้มีพื้นที่เพาะปลูก 573,985 ไร่ ได้รับผลผลิตข้าวเปลือก 237,966 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 834.7
เมตริกตัน หรือร้อยละ 0.5 เนื่องจากผลผลิตปีก่อนได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ทางด้านราคาชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีมา
เนื่องจากมีผลผลิตข้าวคุณภาพต่ำจากเวียดนามเข้ามาแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นทำให้ข้าวเปลือกเจ้าพันธ์ชัยนาทความชื้นไม่เกิน 15% ราคา
ลดลงจากเมตริกตันละ 4,750 บาท เหลือเพียง 4,280 บาท ในเดือนพฤษภาคม
ส่วนข้าวพื้นเมืองพันธุ์เล็บนก ความชื้นไม่เกิน 15% ราคาลดลงจากเมตริกตันละ 6,250 บาทในเดือนมกราคม เหลือเพียง
4,875 บาท ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ ตลาดข้าวพื้นเมืองพันธุ์เล็บนกจะอยู่ในบริเวณภาคใต้ตอนกลาง คือ พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง
และสุราษฎร์ธานี
นอกภาคการเกษตร
อุตสาหกรรม ในช่วงปีนี้อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราขยายตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลจากตลาดไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้
ยางพาราเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการของตลาดมีมากขึ้น จึงมีผู้สนใจลงทุนและขยายโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบ
การรายย่อย ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมโรงโม่หินอยู่ในภาวะที่ดีเช่นกัน เนื่องจากกำลังมีการก่อสร้างและขยายทางหลวงหมายเลข 41
ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงจึงทำให้ความต้องการใช้หินมีมากขึ้น
การค้า ในปีนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากผลผลิตยางและ ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคายางปรับ
ตัวสูงขึ้น ทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าดีขึ้น โดยเฉพาะยอดการจำหน่ายรถสูงขึ้นทุกประเภท ทั้งนี้ในปีนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ จำนวน 239 คัน 573 คัน และ 4,763 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 45.7 19.1 และ 51.5 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะ
เวลาผ่อนชำระนานด้วย แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากที่ได้เปิดใช้ถนนสี่เลนสายพัทลุง-หาดใหญ่ ทำให้ ประชาชนในจังหวัดพัทลุง
เดินทางมาซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคที่อำเภอหาดใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ ส่งผลให้ภาวะการค้าปลีกค้าส่งในจังหวัดพัทลุงค่อนข้าง
เงียบเหงา
การลงทุน การลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้น การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่มีจำนวน 64 ราย ทุนจดทะเบียน 170.6 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.0 และ 133.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากประชาชนเริ่มมีความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น
กิจการที่ขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่
ขณะเดียวกันได้มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1 ราย เงินลงทุน 5.0 ล้านบาท ว่าจ้างแรงงาน 64 คน
ทางด้านการก่อสร้างมีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลจำนวน 14,834 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.0 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีจำนวน 11,815 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
การจ้างงาน การจ้างงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัด ในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างจำนวน 461 ตำแหน่ง และผู้สมัครงาน 1,718 คน เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 2.7 และ 9.4 ตามลำดับ ขณะที่การบรรจุงานมีจำนวน 323 คน ลดลงร้อยละ 8.8
การคลัง ในปีนี้ส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดพัทลุงเบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 3,769.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 0.2 ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในปีนี้มีเพียง 20.2
ล้านบาท เนื่องจากส่วนใหญ่ได้เบิกจ่ายไปแล้วตั้งแต่ในปีก่อน ทั้งนี้ รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา)
ของจังหวัดพัทลุงมีจำนวนทั้งสิ้น 228.0 ล้านบาท เบิกจ่ายจนถึงสิ้นธันวาคม 2543 จำนวน 217.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.4 ของโครงการ
สำหรับการจัดเก็บรายได้ในปีนี้จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 159.2 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อนร้อยละ 17.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดาภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์เบิกจากผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวน 3,665.0 ล้านบาท
ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.7 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทนฯ มีจำนวน 4,773.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9
ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 83,935 ฉบับ มูลค่า 3,580.6 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.5 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 2.6
สาขาธนาคารพาณิชย์ เงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มียอดคงค้าง 5,611.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีก่อนร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ เงินฝาก
ออมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ขณะที่เงินฝากประจำลดลงร้อยละ 1.5
ส่วนสินเชื่อยอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนเดียวกันนี้ มีจำนวน 3,520.3 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 14.2 เนื่องจากสาขาธนาคารพาณิชย์
ยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า โดยอำนาจอนุมัติส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ประกอบกับได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ไปบริหารที่สำนักงานใหญ่และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น
ทางด้านการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ประสบผลสำเร็จไปค่อนข้างมาก ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ไปแล้วจำนวน 1,834 ราย เป็นเงิน 2,258.1 ล้านบาท และเหลือหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพียง 184 ราย เป็นเงินเพียง
82.7 ล้านบาท
สินเชื่อที่สำคัญของจังหวัดพัทลุงมี 2 ประเภท คือ สินเชื่อค้าปลีกค้าส่งจำนวน 1,410.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.1 ของสินเชื่อ
รวม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.9 และสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลมีจำนวน 1,151.5 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.7 ของสินเชื่อรวม ลดลง
จาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.1
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มีสัดส่วนร้อยละ 62.7 ลดลงจากร้อยละ 78.8 ณ สิ้นปีก่อน
ทางด้านธนาคารออมสิน ณ สิ้นปีมีเงินฝากคงค้าง 1,398.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีก่อนร้อยละ 12.6
ขณะที่ทางด้านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้สินเชื่อให้กับลูกค้าจำนวน 1,969.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดพัทลุงในปี 2544
ในปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุงยังคงมีแนวโน้มขยายตัว ปัจจัยบวก ได้แก่ ผลผลิตยางและข้าว คาดว่าจะได้รับผลดี
ขณะเดียวกันราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนน่าจะยังคงขยายตัวประกอบกับทางด้านสถาบันการเงิน
มีแนวโน้มจะขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพราะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบ โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม
ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอาจจะมีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโดยรวม
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดพัทลุง
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 22.93 17.52 21.6 23.3
ข้าวเปลือกเจ้า 25%(บาท/เมตริกตัน) 6,164.17 4,463.60 3,439.00 23
1.2 ประมง
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) 450.21 357.11 n.a.
2. การค้า
2.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 108 164 239 45.7
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 427 481 573 19.1
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 4,283 3,143 4,763 51.5
3. การลงทุน
3.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 1 1 1 0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 50.8 8.5 5 -41.2
การจ้างงาน (คน) 71 50 64 28
3.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 29 50 64 28
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 62.1 73.2 170.6 133.1
3.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 29,475 14,697 14,843 1
ที่อยู่อาศัย 18,192 9,965 11,815 18.6
การพาณิชย์ 6,705 1,160 349 -69.9
การบริการ 3,593 105 2,457 2,240.00
อื่น ๆ 985 3,467 222 -93.6
4. ค่าจ้างและการจัดหางาน
4.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
4.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 548 449 461 2.7
ผู้สมัครงาน (คน) 800 1,570 1,718 9.4
การบรรจุงาน (คน) 395 354 323 -8.8
5. การคลัง (ล้านบาท)
5.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 3,971.80 3,763.80 3,769.90 0.2
5.2 การจัดเก็บภาษีอากร 260.5 193.8 160.2 -17.3
สรรพากร 259.7 192.9 159.2 -17.5
สรรพสามิต 0.8 0.9 1 11.1
ศุลกากร 0 0 0
6. การเงิน
6.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 4,465.60 4,227.40 4,773.30 12.9
เงินสดจ่าย 2,744.70 3,806.20 3,665.00 -3.7
6.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 4,327.90 5,864.60 5,211.90 -11.1
เงินโอนเข้า 9,685.40 10,064.40 10,188.90 1.2
6.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 97,326 83,491 83,935 0.5
มูลค่า (ล้านบาท) 5,702.90 3,676.50 3,580.60 -2.6
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 4.2 2 1.6
6.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 12 12 12 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 5,241.00 5,203.90 5,611.30 7.8
กระแสรายวัน 78.6 74.3 75.1 1.1
ออมทรัพย์ 1,107.00 1,379.90 1,842.50 33.5
ประจำ 4,055.30 3,749.60 3,693.50 -1.5
อื่น ๆ 0.1 0.1 0.2 100
สินเชื่อ (ล้านบาท) 4,465.60 4,100.70 3,520.30 -14.2
เงินเบิกเกินบัญชี 1,909.60 1,630.10 1,248.80 -23.4
เงินให้กู้ 2,263.00 2,181.20 2,165.90 -0.7
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 293 289.4 105.6 -63.5
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 169.2 152.8 135.4 -11.4
เหมืองแร่ 90.2 77.1 23 -70.2
การอุตสาหกรรม 383.8. 377.6 347.6 -7.9
การรับเหมาก่อสร้าง 207 226.1 205.6 -9.1
การค้าส่งออก 50.5 46.7 62.5 33.8
การค้าปลีกค้าส่ง 1,661.50 1,547.60 1,410.30 -8.9
ธุรกิจการเงิน 0.2 3.1 0 -100
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 54.9 40 54.8 37
สาธารณูปโภค 28.4 43.4 26.2 -39.6
การบริการ 356.7 276.3 224 -18.9
การบริโภคส่วนบุคคล 1,463.20 1,310.00 1,151.50 -12.1
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 85.2 78.8 62.7
6.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,867.40 1,786.50 1,969.90 10.3
6.6 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 2 4 3 -25
สินเชื่อ (ล้านบาท) 25.5 143 18 -87.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-