แท็ก
ยุโรป
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 คณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ได้จัดทำข้อเสนอ "กลยุทธ์ว่าด้วยการลดปริมาณสารไดออกซินที่ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์" เพื่อปกป้องสุขอนามัยของผู้บริโภค รวมทั้งลดปริมาณการปล่อยสารไดออกซินสู่สภาพแวดล้อม เนื่องจากไดออกซิน (รวมสารฟิวแรน ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับสารไดออกซินทั้งคุณสมบัติ อันตราย และแหล่งกำเนิด) เป็นสารเคมีที่คงตัวได้ดีในดิน ไม่ย่อยสลายเมื่อถูกความร้อน ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ดีในไขมัน จึงสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตได้ การได้รับสารไดออกซินจากการสูดดมหรือรับประทานอาหารที่มีสารไดออกซินปนเปื้อนอยู่เป็นเวลานาน จนเกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไปจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งในระบบทางเดินหายใจ ตับ ท่อน้ำดี รวมไปถึงความพิการของทารกและการแท้งบุตรของหญิงมีครรภ์ได้
ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ต้องการจำกัดปริมาณสารไดออกซินในอาหาร ได้กำหนดระดับสารไดออกซินที่ยอมให้ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. ระดับสูงสุด (Maximum Levels) คือ ระดับสารไดออกซินสูงสุดที่ EU ยอมให้ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ หากสินค้าใดมีระดับสารไดออกซินเกินกว่าระดับสูงสุด จะถูกจัดเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและห้ามนำเข้าไปจำหน่ายในกลุ่ม EU ี
2. ระดับปฏิบัติ (Action Levels) คือ ระดับสารไดออกซินขั้นเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) หากสินค้าอาหารชนิดใดมีระดับสารไดออกซินเกินกว่าระดับปฏิบัติ แต่ไม่เกินระดับสูงสุด ในเบื้องต้น EU ยอมให้นำเข้าได้ แต่จะนำสินค้าอาหารดังกล่าวไปตรวจสอบ เพื่อหาสาเหตุของการปนเปื้อนและหาทางลดหรือกำจัดสารไดออกซินที่ปนเปื้อนต่อไป
3. ระดับเป้าหมาย (Target Levels) คือ ระดับสารไดออกซินที่คณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Committees) ของยุโรปให้การยอมรับว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์จะกำหนดระดับเป้าหมายให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมาธิการด้านอาหาร (Standing Committee on Foodstuffs for the Food-related Proposal) และคณะกรรมาธิการด้านอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ (Standing Committee on Feedingstuffs for the Feed-related Proposal) ของกลุ่ม EU ภายในปี 2544 นี้ หลังจากนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจะดำเนินการแก้ไขประกาศ 2 ฉบับ คือ Commission Regulation EC/466/2001 ว่าด้วยระดับสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหาร และ Council Directive 1999/29/EC ว่าด้วยระดับสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยุโรปสามารถประกาศใช้ระดับปฏิบัติและระดับสูงสุดของสารไดออกซินให้ทันภายในวันที่ 1 มกราคม 2545 นี้
ข้อกำหนดว่าด้วยระดับสารไดออกซินในอาหารที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ประเภทของอาหาร หน่วย** ระดับปฏิบัติ|ระดับสูงสุด
ผลไม้ ผัก และธัญพืช ng-TEQ/kg product 0.4 - n.a.
น้ำมันพืช pg-TEQ/g fat 0.5 - 0.75
หมู* ไขมันจากหมู pg-TEQ/g fat 0.6 - 1.0
เป็ดและไก่* ไขมันจากเป็ดและไก่ ไขมันผสมจากสัตว์ น้ำมันปลา pg-TEQ/g fat 1.5 - 2.0
เนื้อวัวและแกะ* ไขมันจากวัวและแกะ นมและผลิตภัณฑ์* ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์* pg-TEQ/g fat 2.0 - 3.0
สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ pg-TEQ/g fresh weight 3.0 - 4.0
ตับและผลิตภัณฑ์จากตับ* pg-TEQ/g fat 4.0 - 6.0
หมายเหตุ ng = nanogram (10-9 g), TEQ = Toxic Equivalents, kg = kilogram
n.a. = not available, pg = picogram (10-12 g), g = gram
* ไม่รวมอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันน้อยกว่าร้อยละ 1
** ยึดตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)
ที่มา European Commission, Brussels, 20 July 2001
นอกจากนี้ ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปยังได้กำหนดระดับสารไดออกซินในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ด้วย เช่น อาหารสัตว์ที่ทำจากพืชต้องมีระดับสารไดออกซินสูงสุดไม่เกิน 0.75 ng-TEQ/kg และระดับปฏิบัติไม่เกิน 0.5 ng-TEQ/kg เป็นต้น ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าอาหาร เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไปยังกลุ่ม EU ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบระดับสารไดออกซิน ที่ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ที่ส่งออกไปยังกลุ่ม EU อย่างจริงจัง เนื่องจากขณะนี้กลุ่ม EU ให้ความสำคัญกับระดับไดออกซินที่ปนเปื้อนในอาหารเป็นอย่างมากและประกาศว่า จะทำการทบทวนเพื่อลดระดับสูงสุดของสารไดออกซินที่ปนเปื้อนในอาหารอีกครั้งภายในปี 2549 ด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ต้องการจำกัดปริมาณสารไดออกซินในอาหาร ได้กำหนดระดับสารไดออกซินที่ยอมให้ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. ระดับสูงสุด (Maximum Levels) คือ ระดับสารไดออกซินสูงสุดที่ EU ยอมให้ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ หากสินค้าใดมีระดับสารไดออกซินเกินกว่าระดับสูงสุด จะถูกจัดเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและห้ามนำเข้าไปจำหน่ายในกลุ่ม EU ี
2. ระดับปฏิบัติ (Action Levels) คือ ระดับสารไดออกซินขั้นเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) หากสินค้าอาหารชนิดใดมีระดับสารไดออกซินเกินกว่าระดับปฏิบัติ แต่ไม่เกินระดับสูงสุด ในเบื้องต้น EU ยอมให้นำเข้าได้ แต่จะนำสินค้าอาหารดังกล่าวไปตรวจสอบ เพื่อหาสาเหตุของการปนเปื้อนและหาทางลดหรือกำจัดสารไดออกซินที่ปนเปื้อนต่อไป
3. ระดับเป้าหมาย (Target Levels) คือ ระดับสารไดออกซินที่คณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Committees) ของยุโรปให้การยอมรับว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการด้านวิทยาศาสตร์จะกำหนดระดับเป้าหมายให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2547
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่าข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมาธิการด้านอาหาร (Standing Committee on Foodstuffs for the Food-related Proposal) และคณะกรรมาธิการด้านอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ (Standing Committee on Feedingstuffs for the Feed-related Proposal) ของกลุ่ม EU ภายในปี 2544 นี้ หลังจากนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจะดำเนินการแก้ไขประกาศ 2 ฉบับ คือ Commission Regulation EC/466/2001 ว่าด้วยระดับสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหาร และ Council Directive 1999/29/EC ว่าด้วยระดับสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยุโรปสามารถประกาศใช้ระดับปฏิบัติและระดับสูงสุดของสารไดออกซินให้ทันภายในวันที่ 1 มกราคม 2545 นี้
ข้อกำหนดว่าด้วยระดับสารไดออกซินในอาหารที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
ประเภทของอาหาร หน่วย** ระดับปฏิบัติ|ระดับสูงสุด
ผลไม้ ผัก และธัญพืช ng-TEQ/kg product 0.4 - n.a.
น้ำมันพืช pg-TEQ/g fat 0.5 - 0.75
หมู* ไขมันจากหมู pg-TEQ/g fat 0.6 - 1.0
เป็ดและไก่* ไขมันจากเป็ดและไก่ ไขมันผสมจากสัตว์ น้ำมันปลา pg-TEQ/g fat 1.5 - 2.0
เนื้อวัวและแกะ* ไขมันจากวัวและแกะ นมและผลิตภัณฑ์* ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์* pg-TEQ/g fat 2.0 - 3.0
สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ pg-TEQ/g fresh weight 3.0 - 4.0
ตับและผลิตภัณฑ์จากตับ* pg-TEQ/g fat 4.0 - 6.0
หมายเหตุ ng = nanogram (10-9 g), TEQ = Toxic Equivalents, kg = kilogram
n.a. = not available, pg = picogram (10-12 g), g = gram
* ไม่รวมอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันน้อยกว่าร้อยละ 1
** ยึดตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)
ที่มา European Commission, Brussels, 20 July 2001
นอกจากนี้ ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยุโรปยังได้กำหนดระดับสารไดออกซินในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ด้วย เช่น อาหารสัตว์ที่ทำจากพืชต้องมีระดับสารไดออกซินสูงสุดไม่เกิน 0.75 ng-TEQ/kg และระดับปฏิบัติไม่เกิน 0.5 ng-TEQ/kg เป็นต้น ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าอาหาร เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไปยังกลุ่ม EU ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบระดับสารไดออกซิน ที่ปนเปื้อนในอาหารและอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ที่ส่งออกไปยังกลุ่ม EU อย่างจริงจัง เนื่องจากขณะนี้กลุ่ม EU ให้ความสำคัญกับระดับไดออกซินที่ปนเปื้อนในอาหารเป็นอย่างมากและประกาศว่า จะทำการทบทวนเพื่อลดระดับสูงสุดของสารไดออกซินที่ปนเปื้อนในอาหารอีกครั้งภายในปี 2549 ด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-