นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า สหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษ GSP ยกเว้นหรือลดภาษีสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย โดยสินค้าจะต้องมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎแหล่งกำเนิด และมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิด Form A ที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศผู้รับสิทธิ GSP กำกับสินค้าด้วย ขณะเดียวกันก็มีมาตรการควบคุมตรวจสอบ เพื่อป้องกันมิให้มีการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อรับประโยชน์จากสิทธิ GSP โดยไม่ถูกต้อง โดยในเบื้องต้น เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสินค้า คณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศในวารสาร Official Journal เพื่อเตือนภัยล่วงหน้าผู้นำเข้าของตนทราบเหตุหรือพฤติการณ์ที่เป็นมูลเหตุของข้อสงสัย เช่น ประเทศผู้รับสิทธิไม่แจ้งชื่อ สถานที่ตั้ง และตราประทับของหน่วยงานที่ออก Form A ประเทศผู้รับสิทธิไม่ให้หรือให้ความร่วมมือไม่เพียงพอในการตรวจสอบแหล่งกำเนิด มีข้อมูลทางเศรษฐกิจที่บ่งชี้ข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของแหล่งกำเนิด เช่น ไม่มีการผลิตประเทศผู้รับสิทธิ แต่สามารถส่งออกได้มาก การนำเข้าของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
หลังจากประกาศ สหภาพยุโรปโดยหน่วยงานศุลกากรของประเทศสมาชิก จะส่ง Form A และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานที่ออก Form A ของประเทศผู้รับสิทธิตรวจสอบ พร้อมแจ้งข้อสงสัยและเหตุผลที่ขอให้ตรวจสอบ และให้แจ้งผลตรวจสอบภายใน 6 เดือน หากประเทศที่ถูกตรวจสอบไม่แจ้งผลตรวจสอบตามกำหนด หรือผลตรวจสอบไม่มีข้อมูลเพียงพอที่ศุลกากรของประเทศที่ตรวจสอบใช้ตัดสินความถูกต้อง / ไม่ถูกต้องได้ ศุลกากรจะขอให้ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และขอให้แจ้งผลตรวจสอบภายใน 4 เดือน หากประเทศที่ถูกตรวจสอบไม่แจ้งผลตรวจสอบได้ภายในกำหนด 4 เดือน หรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอ ประเทศที่ตรวจสอบจะปฏิเสธการให้สิทธิ GSP
สำหรับประเทศไทย กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกและตรวจสอบหนังสือรับรอง Form A เท่าที่ผ่านมา กรมฯได้ให้ความร่วมมือกับสหภาพยุโรปเป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การแจ้งชื่อ สถานที่ตั้ง ตราประทับ พร้อมลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนามใน Form A ของกรมฯให้สหภาพยุโรปและดำเนินการตรวจสอบเมื่อสหภาพยุโรปขอให้ตรวจสอบโดยกรมฯแจ้งผู้ส่งออกทราบและขอให้แจ้งข้อมูลรายละเอียดของสินค้าที่ถูกตรวจสอบ สินค้าที่ถูกตรวจสอบบ่อยครั้ง เช่น รองเท้า เสื้อผ้า จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานของเล่น เป็นต้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้ามิใช่มีเพียงในระบบสิทธิพิเศษเท่านั้น ข้อตกลงกฎแหล่งกำเนิดสินค้านอกระบบสิทธิพิเศษ คือ กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ที่ประเทศสมาชิก WTO กำลังประชุมเพื่อจัดทำ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นพร้อมใช้ปฏิบัติได้ในปี 2546 นั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบแหล่งกำเนิด และสำนักงานศุลกากรโลกกำลังศึกษาแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น ผู้ส่งออกหรือผู้เกี่ยวข้องควรที่จะให้ความสนใจและเข้าใจเรื่องของกฎแหล่งกำเนิดสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกฎแหล่งกำเนิดภายใต้ระบบสิทธิพิเศษหรือนอกระบบสิทธิพิเศษ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า อันเกิดจากเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าได้
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-
หลังจากประกาศ สหภาพยุโรปโดยหน่วยงานศุลกากรของประเทศสมาชิก จะส่ง Form A และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานที่ออก Form A ของประเทศผู้รับสิทธิตรวจสอบ พร้อมแจ้งข้อสงสัยและเหตุผลที่ขอให้ตรวจสอบ และให้แจ้งผลตรวจสอบภายใน 6 เดือน หากประเทศที่ถูกตรวจสอบไม่แจ้งผลตรวจสอบตามกำหนด หรือผลตรวจสอบไม่มีข้อมูลเพียงพอที่ศุลกากรของประเทศที่ตรวจสอบใช้ตัดสินความถูกต้อง / ไม่ถูกต้องได้ ศุลกากรจะขอให้ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และขอให้แจ้งผลตรวจสอบภายใน 4 เดือน หากประเทศที่ถูกตรวจสอบไม่แจ้งผลตรวจสอบได้ภายในกำหนด 4 เดือน หรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอ ประเทศที่ตรวจสอบจะปฏิเสธการให้สิทธิ GSP
สำหรับประเทศไทย กรมการค้าต่างประเทศเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกและตรวจสอบหนังสือรับรอง Form A เท่าที่ผ่านมา กรมฯได้ให้ความร่วมมือกับสหภาพยุโรปเป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การแจ้งชื่อ สถานที่ตั้ง ตราประทับ พร้อมลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนามใน Form A ของกรมฯให้สหภาพยุโรปและดำเนินการตรวจสอบเมื่อสหภาพยุโรปขอให้ตรวจสอบโดยกรมฯแจ้งผู้ส่งออกทราบและขอให้แจ้งข้อมูลรายละเอียดของสินค้าที่ถูกตรวจสอบ สินค้าที่ถูกตรวจสอบบ่อยครั้ง เช่น รองเท้า เสื้อผ้า จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานของเล่น เป็นต้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้ามิใช่มีเพียงในระบบสิทธิพิเศษเท่านั้น ข้อตกลงกฎแหล่งกำเนิดสินค้านอกระบบสิทธิพิเศษ คือ กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO ที่ประเทศสมาชิก WTO กำลังประชุมเพื่อจัดทำ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นพร้อมใช้ปฏิบัติได้ในปี 2546 นั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบแหล่งกำเนิด และสำนักงานศุลกากรโลกกำลังศึกษาแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น ผู้ส่งออกหรือผู้เกี่ยวข้องควรที่จะให้ความสนใจและเข้าใจเรื่องของกฎแหล่งกำเนิดสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกฎแหล่งกำเนิดภายใต้ระบบสิทธิพิเศษหรือนอกระบบสิทธิพิเศษ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาและอุปสรรคทางการค้า อันเกิดจากเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าได้
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-