กระบี่
ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดกระบี่ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 เริ่มทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าระดับราคาสินค้าการเกษตรหลัก ของจังหวัด คือ ปาล์มน้ำมันจะลดลงจากปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก แต่ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในจังหวัดคือ ภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาจับจ่ายใช้สอยเงินมากขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ภาคธุรกิจการค้าในจังหวัด กระเตื้องขึ้น นอกจากนี้การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งนี้มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเช่นกัน และ สถาบันการเงินเริ่มผ่อนคลายการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น
ภาคการเกษตร
ปริมาณผลผลิตยางพาราในช่วงครึ่งปีแรกออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ประกอบกับสภาพอากาศไม่อำนวยมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตติดต่อกัน ทำให้ผลผลิตยางแผ่นดิบและน้ำยางสดออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่ระดับราคาปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยทำให้มีการแข่งขันซื้อมีมากขึ้น โดยราคาเฉลี่ย ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 21.40 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนกิโลกรัมละ 17.96 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
สำหรับผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ในไตรมาสแรกออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการผลิต ผลผลิต มีคุณภาพ ดีให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงเนื่องจากปริมาณฝนตกสม่ำเสมอ และปริมาณผลผลิตเริ่มเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ ปาล์มน้ำมันในฤดูกาลใหม่เริ่มออกสู่ตลาด โดยราคาผลปาล์มสดชนิดร่วงที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.89 บาท เทียบกับ กิโลกรัมละ 4.32 บาท ของระยะเวลาเดียวกันในปีก่อน ลดลงร้อยละ 33.1 เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่แต่ละโรงงานเก็บสต็อคไว้ จากฤดูกาลที่ผ่านมายังมีจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลอดฤดูกาลยังคงมีมากเช่นกัน ทำให้ราคาผลผลิตลดต่ำ ลงมากจากปีที่ผ่านมา
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จาก สภาพ ภูมิประเทศ ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามา พักผ่อนจำนวน มากโดยใน ช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ปริมาณนักท่องเที่ยวลดลงไปบ้าง เนื่องจากกระแสความไม่แน่ใจในปัญหา Y2K อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปริมาณนักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้มีการปรับปรุง ด้าน สาธารณูปโภค ต่างๆ ทั้งด้านการคมนาคม ทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ รวมทั้งจัดให้มีการอนุรักษ์รักษา ทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับ การท่องเที่ยวที่จะเติบโตขึ้น
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดกระบี่เริ่มกระเตื้องขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาคการท่องเที่ยว และราคายางพาราที่ ค่อนข้างดี ทั้งนี้พิจารณาจากการจดทะเบียนรถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด ในช่วงต้นปีแรกมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่จำนวน 109 คัน 467 คัน และ 3,990 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 62.7 47.3 และ 73.6 ตามลำดับ
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดกระบี่มีมูลค่าการส่งออก 601.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเวลาเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 85.8 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกยางพารา ขณะที่มูลค่านำเข้ามีเพียง 0.4 ล้านบาท
การลงทุน การลงทุนของภาคเอกชนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนใน กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิเช่น บริษัทนำเที่ยว และปรับปรุงและขยายห้องพักของโรงแรมตามชายหาดเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจที่มีการจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลรายใหม่ 43 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 75.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 ราย เงินลงทุนรวม 730.3 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 559 คน ส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรม สกัดน้ำมันปาล์ม
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดยังคงชะลอตัว ทั้งนี้พื้นที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างในเขต เทศบาลเมืองกระบี่รวม 18,296 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 17.4 เป็นผลจากพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการบริการและอื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 100 และ 14.5 ตามลำดับ ขณะที่มีพื้นที่ ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 16,390 ตารางเมตร และพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ 700 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.8 และ 218.2 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน
สำหรับการลงทุนภาครัฐ จังหวัดกระบี่ได้มีโครงการพัฒนากระบี่ให้เป็นศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวและอนุภาคอันดามัน ศูนย์กลางการ คมนาคมเชื่อมระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทย รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรม เมืองพาณิชยกรรม และการบริหาร โดยตั้งเป้าหมายภายในระยะเวลา 5-10 ปี ทั้งนี้มีแผนงานที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ 184 โครงการ งบประมาณ 617 ล้านบาท นอกจากนี้กรมการบินพาณิชย์เตรียมขยายสนามบินตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ระยะที่ 2 โดยมีแผนจะขอตั้งงบประมาณในปี 2545-2547 ประมาณ 900 ล้านบาท
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดกระบี่พบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่าน สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั้งสิ้น 2,383 อัตรา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.0 โดยมีผู้สมัครงานจำนวน 336 คน และได้รับบรรจุงานจำนวน 170 คน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.0 และ 22.0 ตามลำดับ
การคลัง ครึ่งปีแรกของปี 2543 ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดกระบี่เบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 1,676.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.3 ขณะที่การจัดเก็บภาษีในช่วงเวลาเดียวกันนี้สามารถจัดเก็บได้ 169.3 ล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาของปีก่อนร้อยละ 14.2 โดยกว่า ร้อยละ 90 ของการจัดเก็บภาษีทั้งหมดเป็นภาษีสรรพากรจำนวน 168.8 ล้านบาท
สาขาการเงินการธนาคาร จากภาคการค้าและการท่องเที่ยวที่ขยายตัว นักท่องเที่ยวนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยที่จังหวัดกระบี่ และผลสืบเนื่องจากการเก็บเงินสำรองในช่วงปลายปี 2542 จนถึงต้นปี 2543 เป็นผลให้ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินนำฝาก ผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมียอดรวม 2,038.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 56.2 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกจ่ายมีจำนวนรวม 2,783.2 ล้านบาท ลดลงจากในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8
ขณะเดียวกันการโอนเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินโอนเข้า 4,131.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อน และในขณะที่เงินโอนออกจำนวนรวม 3,324.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.6
ด้านการใช้เช็คในจังหวัดเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในครึ่งปีแรกมีจำนวน 65,784 ฉบับ มูลค่ารวม 4,241.0 ล้านบาท เปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 และ 29.5 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเช็คคืน เพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.6 ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
ส่วนธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์เน้นเร่งกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับการระดมเงินฝากและการให้สินเชื่อ เป็นเป้าหมายรอง โดยยอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวน 6,056.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนเพียง ร้อยละ 0.9 โดยกระจายอยู่ในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 5,789.0 ล้านบาท เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 4.8 ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ภาคการค้าปลีก-ส่ง และสินเชื่อ เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล
ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกมีจำนวน 8 ราย เงินให้สินเชื่อรวม 229.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 3 ราย เงินให้สินเชื่อรวมเพียง 43.5 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนใหญ ่เป็นการให้ สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงแรม ที่พักตากอากาศ โรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง โรงโม่หิน และโรงงานแปรรูปไม้ยาง
แนวโน้มเศรษฐกิจจังหวัดกระบี่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจของจังหวัดกระบี่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นฤดูการท่องเที่ยว ประกอบกับ ทางโรงแรมตามชายหาดมีการขยายและปรับปรุงโรงแรมให้มี มาตรฐานมากขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาช่วงปลายปี ซึ่งทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยเงินในจังหวัดมากขึ้น ขณะเดียวกันการลงทุนคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยมีการก่อสร้างโรงแรมใหม่ขึ้นบริเวณ อ่าวพระนาง และทางภาครัฐบาลมีโครงการที่จะขยายและพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ เพื่อรองรับความเติบโตของจังหวัดในอนาคต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดกระบี่ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 เริ่มทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าระดับราคาสินค้าการเกษตรหลัก ของจังหวัด คือ ปาล์มน้ำมันจะลดลงจากปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก แต่ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจในจังหวัดคือ ภาคการท่องเที่ยวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาจับจ่ายใช้สอยเงินมากขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ภาคธุรกิจการค้าในจังหวัด กระเตื้องขึ้น นอกจากนี้การลงทุนของภาคเอกชนมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งนี้มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเช่นกัน และ สถาบันการเงินเริ่มผ่อนคลายการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น
ภาคการเกษตร
ปริมาณผลผลิตยางพาราในช่วงครึ่งปีแรกออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากเป็นช่วงต้นยางผลัดใบ ประกอบกับสภาพอากาศไม่อำนวยมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตติดต่อกัน ทำให้ผลผลิตยางแผ่นดิบและน้ำยางสดออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่ระดับราคาปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยทำให้มีการแข่งขันซื้อมีมากขึ้น โดยราคาเฉลี่ย ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 21.40 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยในปีก่อนกิโลกรัมละ 17.96 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2
สำหรับผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ในไตรมาสแรกออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการผลิต ผลผลิต มีคุณภาพ ดีให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงเนื่องจากปริมาณฝนตกสม่ำเสมอ และปริมาณผลผลิตเริ่มเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ ปาล์มน้ำมันในฤดูกาลใหม่เริ่มออกสู่ตลาด โดยราคาผลปาล์มสดชนิดร่วงที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.89 บาท เทียบกับ กิโลกรัมละ 4.32 บาท ของระยะเวลาเดียวกันในปีก่อน ลดลงร้อยละ 33.1 เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่แต่ละโรงงานเก็บสต็อคไว้ จากฤดูกาลที่ผ่านมายังมีจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลอดฤดูกาลยังคงมีมากเช่นกัน ทำให้ราคาผลผลิตลดต่ำ ลงมากจากปีที่ผ่านมา
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จาก สภาพ ภูมิประเทศ ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามา พักผ่อนจำนวน มากโดยใน ช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ปริมาณนักท่องเที่ยวลดลงไปบ้าง เนื่องจากกระแสความไม่แน่ใจในปัญหา Y2K อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปริมาณนักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้มีการปรับปรุง ด้าน สาธารณูปโภค ต่างๆ ทั้งด้านการคมนาคม ทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ รวมทั้งจัดให้มีการอนุรักษ์รักษา ทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับ การท่องเที่ยวที่จะเติบโตขึ้น
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดกระบี่เริ่มกระเตื้องขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาคการท่องเที่ยว และราคายางพาราที่ ค่อนข้างดี ทั้งนี้พิจารณาจากการจดทะเบียนรถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด ในช่วงต้นปีแรกมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่จำนวน 109 คัน 467 คัน และ 3,990 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 62.7 47.3 และ 73.6 ตามลำดับ
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดกระบี่มีมูลค่าการส่งออก 601.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเวลาเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 85.8 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกยางพารา ขณะที่มูลค่านำเข้ามีเพียง 0.4 ล้านบาท
การลงทุน การลงทุนของภาคเอกชนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนใน กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว อาทิเช่น บริษัทนำเที่ยว และปรับปรุงและขยายห้องพักของโรงแรมตามชายหาดเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น ทั้งนี้ธุรกิจที่มีการจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลรายใหม่ 43 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 75.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 ราย เงินลงทุนรวม 730.3 ล้านบาท และมีการจ้างงาน 559 คน ส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรม สกัดน้ำมันปาล์ม
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดยังคงชะลอตัว ทั้งนี้พื้นที่ได้รับการอนุญาตก่อสร้างในเขต เทศบาลเมืองกระบี่รวม 18,296 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 17.4 เป็นผลจากพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการบริการและอื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 100 และ 14.5 ตามลำดับ ขณะที่มีพื้นที่ ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 16,390 ตารางเมตร และพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ 700 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.8 และ 218.2 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน
สำหรับการลงทุนภาครัฐ จังหวัดกระบี่ได้มีโครงการพัฒนากระบี่ให้เป็นศูนย์กลางการ ท่องเที่ยวและอนุภาคอันดามัน ศูนย์กลางการ คมนาคมเชื่อมระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทย รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรม เมืองพาณิชยกรรม และการบริหาร โดยตั้งเป้าหมายภายในระยะเวลา 5-10 ปี ทั้งนี้มีแผนงานที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณ 184 โครงการ งบประมาณ 617 ล้านบาท นอกจากนี้กรมการบินพาณิชย์เตรียมขยายสนามบินตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ระยะที่ 2 โดยมีแผนจะขอตั้งงบประมาณในปี 2545-2547 ประมาณ 900 ล้านบาท
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดกระบี่พบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่าน สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั้งสิ้น 2,383 อัตรา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.0 โดยมีผู้สมัครงานจำนวน 336 คน และได้รับบรรจุงานจำนวน 170 คน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 32.0 และ 22.0 ตามลำดับ
การคลัง ครึ่งปีแรกของปี 2543 ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดกระบี่เบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 1,676.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.3 ขณะที่การจัดเก็บภาษีในช่วงเวลาเดียวกันนี้สามารถจัดเก็บได้ 169.3 ล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาของปีก่อนร้อยละ 14.2 โดยกว่า ร้อยละ 90 ของการจัดเก็บภาษีทั้งหมดเป็นภาษีสรรพากรจำนวน 168.8 ล้านบาท
สาขาการเงินการธนาคาร จากภาคการค้าและการท่องเที่ยวที่ขยายตัว นักท่องเที่ยวนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยที่จังหวัดกระบี่ และผลสืบเนื่องจากการเก็บเงินสำรองในช่วงปลายปี 2542 จนถึงต้นปี 2543 เป็นผลให้ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินนำฝาก ผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมียอดรวม 2,038.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 56.2 ขณะที่ปริมาณเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกจ่ายมีจำนวนรวม 2,783.2 ล้านบาท ลดลงจากในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8
ขณะเดียวกันการโอนเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินโอนเข้า 4,131.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อน และในขณะที่เงินโอนออกจำนวนรวม 3,324.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.6
ด้านการใช้เช็คในจังหวัดเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในครึ่งปีแรกมีจำนวน 65,784 ฉบับ มูลค่ารวม 4,241.0 ล้านบาท เปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 และ 29.5 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนของมูลค่าเช็คคืน เพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.6 ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
ส่วนธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์เน้นเร่งกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับการระดมเงินฝากและการให้สินเชื่อ เป็นเป้าหมายรอง โดยยอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวน 6,056.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนเพียง ร้อยละ 0.9 โดยกระจายอยู่ในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 5,789.0 ล้านบาท เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 4.8 ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ภาคการค้าปลีก-ส่ง และสินเชื่อ เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล
ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกมีจำนวน 8 ราย เงินให้สินเชื่อรวม 229.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 3 ราย เงินให้สินเชื่อรวมเพียง 43.5 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนใหญ ่เป็นการให้ สินเชื่อเพื่อธุรกิจโรงแรม ที่พักตากอากาศ โรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง โรงโม่หิน และโรงงานแปรรูปไม้ยาง
แนวโน้มเศรษฐกิจจังหวัดกระบี่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจของจังหวัดกระบี่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากช่วงปลายปีเป็นฤดูการท่องเที่ยว ประกอบกับ ทางโรงแรมตามชายหาดมีการขยายและปรับปรุงโรงแรมให้มี มาตรฐานมากขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาช่วงปลายปี ซึ่งทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยเงินในจังหวัดมากขึ้น ขณะเดียวกันการลงทุนคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยมีการก่อสร้างโรงแรมใหม่ขึ้นบริเวณ อ่าวพระนาง และทางภาครัฐบาลมีโครงการที่จะขยายและพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่ เพื่อรองรับความเติบโตของจังหวัดในอนาคต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-