ท่านประธานที่เคารพ กระผมอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กระผมและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมฝ่ายค้าน ขอเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่...พ.ศ...โดยมีหลักการและเหตุผลดังต่อไปนี้
หลักการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 138(1) (2) (4) คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 257(1) และคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 297 วรรค 3
เหตุผลโดยที่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตาม มาตรา 297 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้มีผู้แทนพรรคการเมืองทีมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน ทำให้การดำเนินการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่อาจดำเนินการได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงสมควรแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ โดยตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกและเพิ่มตัวแทนจากองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในคณะกรรมการสรรหาดังกล่าว เพื่อให้การสรรหาเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะเดียวกัน จึงสมควรแก้ไขให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ท่านประธานที่เคารพครับ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งหลายฝ่ายได้ตั้งความหวังเอาไว้สูงว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กระผมทราบดีว่าการที่จะมีความคิดในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องคำนึงถึงที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยความละเอียดอ่อน เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากหลายฝ่ายในหลายประเด็น แต่ทุกฝ่ายก็มีความระมัดระวัง เพราะตระหนักว่าหากการแก้ไขนั้นเป็นไปในลักษณะที่ไปทำลายเจตนารมร์ของการปฏิรูปทางการเมือง หรือการทำงายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่เราชอบเรียกกันว่าเป็นฉบับประชาชน ก็จะทำให้ถูกมองว่าพวกเราซึ่งเป็นนักการเมือง เป็นสมาชิกรัฐสภานั้น กำลังทำให้ระบบการเมืองของเรานั้นเดินถอยหลัง
แต่วันนี้เป็นวันที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้ามา เราอาจจะมองว่ามูลเหตุของการแก้ไขครั้งนี้เกิดขึ้นจากปัญหาทางเทคนิค เนื่องจากว่าคณะกรรมการสรรหา ปปช.ตามรัฐธรรมนูญไปกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องมีผู้แทนพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน ก็คือจาก 5 พรรคการเมือง แต่ในปัจจุบันนั้นเรามีตัวแทนพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าเลือกกันเองนั้นก็จะมีเพียง 4 คน ถ้ามองเพียงเท่านี้ก็อาจจะมองได้ว่าเป็นเรื่องเทคนิคเล็กๆน้อยๆ เราก็แก้ไข ก็ปรับกันไป
แต่ถ้ามองอย่างนั้น ท่านประธานครับ การแก้ไขก็คงจะแก้จำนวน 5 ให้เป็น 4 เพราะก็เพียงแต่ทำให้มันสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ซึ่งจำนวน 4 คนก็ไม่แปลกประหลาดอะไร เพราะว่ากรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่นตามรัฐธรรมนูญคือ กรรมการสรรหา กกต.ก็ดี กรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ดี ก็ใช้จำนวนพรรคการเมือง 4 พรรค แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดครับว่า 2 ร่างที่เราพิจารณาอยู่ในขณะนี้ไม่ได้เดินไปในแนวทางนั้น นั่นก็หมายความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันนี้มีมูลเหตุ ซึ่งมีนัยสำคัญมากไปกว่าเรื่องของตัวเลขของตัวแทนพรรคการเมือง
ผมจำเป็นต้องกราบเรียนสิ่งนี้เพราะว่าตรงนี้คือสาระสำคัญของความแตกต่างที่เรากำลังพิจารณาว่าฐานคิดเบื้องหลังของการนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของแต่ละฝ่ายนั้น ที่ไม่ตรงกันนั้นมันแตกต่างกันอย่างไร ตรงนี้ครับผมต้องขออนุญาตท่านประธานที่จะลำดับความให้เห็นว่า ที่มา ที่ไป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นหน้าที่พวกเราทุกคนที่จะรักษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้นไว้เป็นอย่างไร
ท่านประธานที่เคารพครับ ในช่วงที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทั้งฉบับ ความปรารถนาสูงสุดในการปฏิรูปทางการเมืองอาจจะสรุปได้ว่ามีเป้าหมายอยู่ 3 ข้อ
ข้อที่ 1 ก็คือว่า ต้องการทำให้ระบบการเมืองของเรานั้นเป็นระบบที่เปิดมากขึ้น เป็นระบบที่พี่น้องประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยตรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นเป้าหมายนี้เราก็จึงเห็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับในอดีตที่ผ่านมา
เป้าหมายสำคัญประการที่ 2 ก็คือว่า รัฐธรรมนูญต้องการจะเห็นฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ที่เป็นรัฐบาลที่มีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง เพราะในอดีตที่ผ่านมาในช่วงที่เราได้ใช้การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภานั้น เรามักพบกับข้อวิจารณ์และปัญหาว่ารัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศนั้นมีความอ่อนแอ เป็นรัฐบาลผสมเป็นรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพ เราก็จะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมากมายครับ ที่เอื้ออำนวยให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น และก็ดูว่าจะใช้ได้ผล เพราะรัฐบาลชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เป็นรัฐบาลที่สามารถอยู่ได้ครบวาระ
ท่านประธานที่เคารพครับแต่เป้าหมายสำคัญประการที่ 3 ของการปฏิรูปการเมืองและของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็คือว่า แม้รัฐบาลจะมีความเข้มแข็ง แต่กลไกของการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจนั้นจะต้องเข้มแข็งเข่นเดียวกัน โดยกลไกของการตรวจสอบถ่วงดุลที่เข้มแข็งนั้นก็จะต้องมีองค์กรกลไกที่เกิดขึ้นที่มีความเป็นอิสระ มีความเป็นกลาง และสามารถยึดโยงอยู่กับประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้ ตรงนี้ล่ะครับคือที่มาขององค์กรทั้งหลายที่เราพูดถึงในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. ไม่ว่าจะเป็น กกต. เพราะการวินิจฉัยหรืออำนาจหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้จะเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับการเข้าสู่อำนาจและการใช้อำนาจของผู้แทนประชาชน ซึ่งในอดีตเมื่อไม่มีกลไกเหล่านี้ เราก็อาศัยเพียงแค่เสียงข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ เครื่องตัดสินและพบความจริงว่าโดยสภาพของระบบรัฐสภาที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ การตัดสินโดยอาศัยเสียงข้างมากในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายบ้าง เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในเรื่องของการทุจริตบ้าง สุดท้ายเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากที่คำนึงถึงความอยู่รอด หรือฝักฝ่ายทางการเมือง
องค์กรอิสระเหล่านี้จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักการสำคัญว่า บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ใครจะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติสาสตร์ หรือทางด้านรัฐศาสตร์ ใครจะมาเป็น ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญก็บัญญัติเอาไว้ว่าก็ต้องมีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ ใครจะมาเป็น กกต. รัฐธรรมนูญก็บัญญัติว่าจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมืองเป็นประจักษ์ ด้วยเหตุนี้ครับ รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดกระบวนการของการสรรหาองค์กรเหล่านี้ไว้ ค่อนข้างจะเป็นลักษณะพิเศษ โครงสร้างของการสรรหาองค์กรทั้ง 3 ที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ คือ กกต. ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญนั้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน
โดยท่านประธานจะสังเกตได้ว่า กรรมการสรรหาขององค์กรทั้ง 3 นั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 ก็จะเป็นฝ่ายของตัวแทนทางภาคตุลาการหรือศาล ถ้าเป็นกรณีของศาลรัฐธรรมนูญก็จะมีประธานศาลฏีกา ถ้าเป็นกรณีของป.ป.ช. ก็จะมีประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครอง ถ้าเป็นกรณีของกกต. นอกเหนือจากการให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลฏีกาคัดเลือกมาส่วนหนึ่งก็จะมีประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลปกครองร่วมเป็นกรรมการสรรหาอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนที่ 2 ก็คือ การนำเอาบุคคล ซึ่งได้รับความเชื่อถือว่า เป็นกลางและมีลักษณะความเป็นวิชาการ ผมกราบเรียนตรงนี้ครับว่า บางท่านไปเข้าใจผิดครับ ว่าองค์ประกอบ 3 ส่วนเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญยัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่ครับ อธิการบดีที่ปรากฏอยู่ในคณะกรรมการการสรรหาไม่ใช่ตัวแทนฝ่ายบริหารครับ แต่ สสร.เขาคิดว่า เป็นตัวแทนของภาควิชาการที่จะสามารถสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ หรืออย่างในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญเขาจึงได้กำหนดเป็นคณบดี คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ พูดง่ายๆ นอกจากฝ่ายศาลแล้วก็มีฝ่ายวิชาการ
องค์ประกอบส่วนที่ 3 ก็คือ ตัวแทนของพรรคการเมือง ตรงนี้มีเหตุผลที่ เท่าที่ผมสืบค้นได้ 2 เหตุผลด้วยกัน เหตุผลที่ 1 ก็คือว่า มีบางฝ่ายเสนอว่าแม้เราสร้างกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลที่เป็นองค์กรอิสระ เป็นกลางขึ้นมา มีการเมืองภาคประชาชน แต่กระนั้นก็ตามการทำงานขององค์กรเหล่านี้คงจะเกี่ยวข้องกับการเมืองของพรรคการเมืองอยู่บ้าง ก็มีความเห็นว่า น่าจะเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย
เหตุผลข้อที่ 2 มีการอ้างอิงอยู่เหมือนกันว่า อยากจะให้มีตัวแทนของประชาชนเข้ามาร่วมสรรหา เท่าที่สอบถามจากสสร. บางท่านก็พบว่า การจะคัดเลือกตัวแทนภาคประชาชนนั้นก็หาได้ไม่ง่ายนัก ที่สุดก็มีความรู้สึกว่าพรรคการเมืองน่าจะได้รับความไว้วางใจว่าเป็นตัวแทนของภาคประชาชนหรือเป็นตัวแทนของประชาชนได้ดีระดับหนึ่ง ก็จึงเอาตัวแทนของพรรคการเมืองเข้ามาร่วมในกระบวนการสรรหา แต่ที่จริงแล้วเมื่อสรรหาเสร็จก็ไม่ใช่ข้อยุติครับ องค์กรที่เป็นอิสระ เป็นกลางเหล่านี้ จะต้องไปได้รับความเห็นชอบในการเลือกจากวุฒิสภา ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของประชาชนเพราะปัจจุบันสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และที่สำคัญก็คือสมาชิกวุฒิสภานั้น รัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง จึงมีเหตุผลที่จะเชื่อว่า จะต้องดำรงความเป็นกลางทางการเมือง
ผมลำดับสิ่งนี้ให้ท่านประธานเห็น เพื่อที่จะบอกครับว่า วันนี้เมื่อเราจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับการปฏิรูปทางการเมือง เราต้องเข้าใจเจตนารมณ์และโครงสร้างทั้งหมด และมาวิเคราะห์ว่าที่มาของการแก้ไขวันนี้ปัญหามันอยู่ตรงไหน ผมขอย้ำกับท่านประธานครับว่า ปัญหาตัวเลขผู้แทน 4 คน 5 คน มันเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้เราต้องมาประชุมกันในวันนี้ แต่มันไม่ใช่สาเหตุหลัก ถ้าใครจะไปยึดคติว่า อะไรไม่เสีย ไม่ต้องซ่อม ผมก็กราบเรียนว่า สิ่งที่เสียวันนี้ไม่ใช่พรรคการเมืองมี 4 พรรค หรือ 5 พรรคในสภาผู้แทนราษฎร สิ่งที่อยู่ในใจของประชาชน ซึ่งหวงแหนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในวันนี้ก็คือ เป็นห่วงว่าระบบตรวจสอบถ่วงดุลมันเสีย ผมกราบเรียนว่า ความรู้สึกตรงนี้มันสะสมมาระยะหนึ่ง ที่มันสะสมมาระยะหนึ่งแต่ไม่ใช่ตั้งแต่ต้นก็เพราะว่า ในช่วงแรกที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้การทำงาน การสรรหา องค์กรต่างๆ ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่จะเป็น กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ หรือปป.ช. ดูจะได้รับการขานรับในทางบวกพอสมควร แต่ว่าหลังจากที่รัฐธรรมนูญใช้ไประยะหนึ่งและเริ่มเห็นชัดเจนว่า องค์ กรเหล่านี้มีอำนาจค่อนข้างมาก กระผมต้องกราบเรียนว่า ก็เริ่มมีกระบวนการซึ่งนำไปสู่ข้อกล่าวหาและข้อครหาว่า องค์กรอิสระ หรือองค์กรที่ควรเป็นอิสระและเป็นกลางนั้นถูกแทรกแซงและถูกครอบงำ
กระผมต้องขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานตรงๆ ครับว่า ชนวนแรกที่มันเกิดขึ้นในเรื่องนี้หนีไม่พ้นคดีของท่านนายกรัฐมนตรีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะในคดีนั้นเองได้เกิดปรากฏการณ์ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมายอมรับว่าในการพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้นำเอาปัจจัยในทางการเมืองเข้าไปประกอบการพิจารณา ซึ่งดูจะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการแยกกระบวนการเหล่านี้ออกจากการเมืองของพรรคการเมือง หรือการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรโดยสิ้นเชิง ผมกราบเรียนสิ่งนี้ตามข้อเท็จจริงและตามคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองที่ออกมาพูดว่า การตัดสินต้องไปคำนึงถึงคะแนนเสียงของผู้ที่ถูกกล่าวหาในการเลือกตั้งด้วย
กระผมกราบเรียนว่าการแทรกแซง การครอบงำ มีมากน้อยแค่ไหนนั้นก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก และสืบเนื่องจากคดีนั้นก็เกิดคดีอาญาขึ้น มีการฟ้องหมิ่นประมาท มีการยืนยันข้อเท็จจริงในศาล เกี่ยวกับการดำเนินการที่จะเข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรที่เป็นอิสระ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาครับ ข้อครหา หรือข้อวิพากษ์วิจารณ์องค์กรที่ควรเป็นกลางป็นอิสระนั้น รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของกระบวนการสรรหาบุคคลที่จะไปดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านั้น
กระผมกราบเรียนว่า ในการสรรหาองค์กรเหล่านั้น ผมเอาสถิติมาดูครับ ที่จริงแล้วกรรมการสรรหาที่ดูจะมีปัญหาน้อยที่สุดนั้น กลับกลายเป็นการสรรหาป.ป.ช. เพราะปรากฏว่า เมื่อมีตัวแทนพรรคการเมืองที่เข้าไปเป็นตัวแทนถึง 5 คนนั้น การที่ไปกีดกันพรรคการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะจำนวนค่อนข้างมาก แต่นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาครับ เราพบความจริงว่า ทุกครั้งที่กรรมการสรรหา ที่ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปเลือกกันเองนั้น พรรคการเมืองที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลที่เป็นพรรคใหญ่นั้นถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปร่วมในกระบวนการสรรหาตลอด โดยสิ้นเชิง ทั้งกรณีของกกต. ทั้งในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือที่มาของปัญหาจริงๆที่เราต้องถกกันในวันนี้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า วันนี้มันมีทั้งข้อกล่าวหา ข้อครหา มันเคยมีแม้กระทั่งคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาที่ต้องเข้าศึกษา สอบสวนว่า การทำงานของพรรคการเมืองในกระบวนการสรรหานั้น มีการตกลงกันล่วงหน้า ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยสรุปง่ายๆ ก็คือว่า ในที่สุดความหวังของสสร. ว่า
1. พรรคการเมืองจะทำหน้าที่ในลักษณะเป็นตัวแทนของประชาชนเอาเข้าจริงๆ พรรคการเมืองหนีไม่พ้นการมาทำหน้าที่โดยคำนึงถึงหมวกที่สวมอยู่ว่า เป็นฝ่ายค้านหรือเป็นรัฐบาล
และ 2. ก็ต้องบอกว่า สสร. ก็อาจจะคาดหวังสูงเกินไปในแง่ของมาตรฐานของจริยธรรมพรรคการเมืองที่มีอำนาจ นั่นคือที่มาที่ต้องแก้ครับ และประเด็นนี้เป็นประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศเป็นจุดยืนมาระยะหนึ่งแล้ว เพียงแต่รอจังหวะเวลา เงื่อนไขที่เหมาะสมว่า จะสามารถดำเนินการมาเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาได้เมื่อไร และจึงอาศัยปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นให้เป็นเวลาและเงื่อนไขที่เหมาะสม
กระผมกราบเรียนท่านประธานครับว่า วันนี้ความแตกต่างระหว่าง 2 ร่างจึงอยู่ที่ 1. วิสัยทัศน์ 2.ความโปร่งใส ความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคงเจตนารมณ์ของการปฏิรูปทางการเมือง
ความแตกต่างในเชิงวิสัยทัศน์ก็คือว่า เราเห็นปัญหานี้เป็นปัญหาในลักษณะที่เป็นระบบหรือไม่ และเราเห็นหรือไม่ว่าถ้าเราจะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปแก้ไขโครงสร้างของกรรมการสรรหา ก้ต้องทำให้มันสอดคล้องกันทั้งฉบับ ผมมองไม่เห็นเหตุผลครับว่า ทำไมวันนี้เราจึงจะมาแก้ไขเฉพาะการสรรหาป.ป.ช. แล้วก็ทิ้งโครงสร้างเดิมของการสรรหาไว้ในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีของกกต. ถ้าหากท่านบอกว่า เป็นเพราะว่า มันมีไม่ถึง 5 พรรค ทำไมท่านไม่แก้ให้เหลือ 4 พรรค ครับ นั่นคือสิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกว่า ร่างที่เสนอแก้ไขเพียงเรื่องเดียวเป็นร่างที่ขาดการมองเชิงระบบ ขาดวิสัยทัศน์ และวันข้างหน้า สมมุติว่าพรรคการเมืองมันเหลือน้อยกว่า 4 พรรค จะต้องมาไล่ตามแก้ และจะแก้อย่างไร อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ การควบรวมพรรคก็อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ พรรคไหนไปรับสินบนจากต่างชาติก็อาจจะถูกยุบก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้คือสิ่งที่ผมกราบเรียนว่า ถ้าเราดูให้มันเป็นระบบ ถ้าเราดูโดยคำนึงภาพรวมแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องแก้กรรมการสรรหาทั้ง 3 องค์กรพร้อมๆกันไป ในลักษณะที่สอดคล้องกัน
ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นที่สองที่เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญที่กระมกราบเรียนก็คือ เรื่องของความโปร่งใสและความจริงใจในการคงเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ วันนี้สิ่งที่เราประกาศเราไม่ได้มาคำนึงถึงว่าใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่คิดถึงแต่ว่าอยากได้อำนาจต่อรอง อยากได้เปรียบ อยากได้ประโยชน์ วันนี้เราไม่เสนอหรอกครับ เพราะว่าสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไปหลังการเลือกตั้งนั้น จำนวนพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล เหลือพรรคเดียว พรรคที่ไม่เป็นรัฐบาลมีสามพรรค ถ้าเราคงโครงสร้างแบบเดิมไว้อย่างน้อยก็ไม่เสียเปรียบ แต่ที่เราเสนอตัดตัวแทนพรรคการเ มืองออก เพราะว่าเราไม่คิดถึงตัวเอง เราคิดถึงว่าอะไรมันเหมาะ มันควร มันถูกต้อง มันดีที่สุด สำหรับระบบการเมืองของเรา และเราก็มองเห็นแล้วว่า ในที่สุดพรรคการเมืองไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมกับความคาดหวัง ความคาดหมายและเจตนารมย์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เราก็จึงบอกว่า วันนี้สภาผู้แทนราษฎรน่าจะแสดงความใจกว้าง น่าจะแสดงความจริงใจว่า เราพร้อมที่จะแก้ไขกติกาโดยตัดอำนาจของตัวเอง เมื่อตัดอำนาจของตัวเองออกไป เราก็ไปศึกษาต่อว่าโครงสร้างกรรมการที่เหลือควรจะเป็นอย่างไร
กระผมขออนุญาตที่จะไม่ลึกลงในรายละเอียดของแต่ละมาตรา แต่อยากจะบอกหลักการคร่าวๆว่า เรายังคงเจตนารมย์ของโครงสร้างอันเดิมว่ากรรมการสรรหาควรมี 3 ฝ่าย ฝ่ายศาล ฝ่ายวิชาการ และตัวแทนของประชาชน ฝ่ายศาลเราอาจจะมีปรับบ้างเพราะเราเห็นได้ชัดว่า ที่ผ่านมาองค์กรที่ถูกครหาน้อยที่สุดว่าถูกแทรกแซงโดยฝ่ายบริหารนั้นคือ ศาลฎีกา เพราะฉะนั้นในร่างของเราจึงได้มีการปรับเพิ่มสัดส่วนและตัวแทนของศาลฎีกามากขึ้น ในส่วนของฝ่ายวิชาการเราก็คงตามเดิม หรือถ้าจะมีการปรับจำนวนก็เพิ่มให้มันเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม แต่ในส่วนของตัวแทนประชาชนเมื่อตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไป เราก็ถือเกณฑ์ว่าเราไปดูว่า มีองค์กรใดตามรัฐธรรมนูญบ้างที่จะส่งตัวแทนเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนได้ เราก็พบ 2 องค์กร
1.คือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมฯ ซึ่งตามกระบวนการของการสรรหาสภานี้นั้น จะได้ผู้แทนของสาขาอาชีพ วิชาชีพต่างๆ หรือตัวแทนของภาคต่างๆอย่างชัดเจน และคนเหล่านี้ก็ไม่ควรมีส่วนได้ ส่วนเสียทางการเมือง และคนเหล่านี้ก็ไม่ได้มีอำนาจที่จะไปให้คุณให้โทษกับใคร เราก็คิดว่าเอาตัวแทนจากสภานี้มา
กับส่วน 2 คือตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน กำหนดให้มีองค์กรนี้ขึ้น ซึ่งการสรรหาองค์กรนี้รัฐธรรมนูญก็เขียนอยู่แล้วว่าให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย แล้วถ้าเราไปดูกฎหมายเราก็จะพบว่า คนที่เข้ามาร่วมสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนนั้น ก็จะมีตัวแทนของสื่อมวลชน ตัวแทนขององค์กรเอกชนหรือสภาวิชาชีพบางสภาด้วย เราจึงถือว่าร่างที่นำเสนอมาวันนี้ เป็นร่างที่ได้ปรับแก้ไม่ใช่เพื่อเปลี่ยนเจตนารมย์ แต่เพื่อคงเจตนารมย์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีความมุ่งหมายว่าเราจะปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เกิความโปร่งใส เพื่อถ่วงดุลกับความเข้มแข็งมากขึ้นของผู้มีอำนาจในฝ่ายบริหาร
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมกราบเรียนว่า ปัญหาของร่างของคณะรัฐมนตรที่เสนอมาคือว่า ขาดทั้งวิสัยทัศน์ ขาดทั้งความโปร่งใส ความจริงใจ และความเข้าใจระบบการเมืองการปกครอง ขาดวิสัยทัน์คือว่า คิดว่าปัญหานี้เกิดขึ้นเพียงจากตัวเลข 4 หรือ 5 ไม่มีหลักที่ชัดเจน .......... (นายสุภรณ์ อัตตาวงศ์ ประท้วงข้อ 43) .........
ถ้าอย่างนั้นก็ขอกราบเรียนว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของฝ่ายค้านที่ได้นำเสนอในวันนี้ เป็นร่างที่ได้คำนึงถึงสภาพผปัญหาที่เกิดขึ้นกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจุบัน ที่มองทะลุไปว่าปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้ไม่ใช่เฉพาะปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นปัญหาในเชิงระบบที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้เกิดสมดุลในระบบการเมือง เป็นร่างที่ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบว่าวันนี้ถึงเวลาที่พรรคการเมืองต้องแสดงความใจกว้างและความจริงใจที่จะพร้อมตัดอำนาจของตัวเอง และเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนซึ่งมีสถานะที่รัฐธรรมนูญยอมรับ ได้เข้ามาร่วมในการสรรหาองค์กรที่ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง และองค์กรที่เป็นอิสระด้วย กระผมจึงขอนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ต่อรัฐสภา และจะขอใช้สิทธิในการอภิปรายร่างของรัฐบาลต่อไปครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
หลักการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 138(1) (2) (4) คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 257(1) และคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 297 วรรค 3
เหตุผลโดยที่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตาม มาตรา 297 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้มีผู้แทนพรรคการเมืองทีมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน ทำให้การดำเนินการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่อาจดำเนินการได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงสมควรแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาดังกล่าวให้สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ โดยตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกและเพิ่มตัวแทนจากองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในคณะกรรมการสรรหาดังกล่าว เพื่อให้การสรรหาเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะเดียวกัน จึงสมควรแก้ไขให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ท่านประธานที่เคารพครับ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งหลายฝ่ายได้ตั้งความหวังเอาไว้สูงว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กระผมทราบดีว่าการที่จะมีความคิดในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องคำนึงถึงที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยความละเอียดอ่อน เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากหลายฝ่ายในหลายประเด็น แต่ทุกฝ่ายก็มีความระมัดระวัง เพราะตระหนักว่าหากการแก้ไขนั้นเป็นไปในลักษณะที่ไปทำลายเจตนารมร์ของการปฏิรูปทางการเมือง หรือการทำงายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่เราชอบเรียกกันว่าเป็นฉบับประชาชน ก็จะทำให้ถูกมองว่าพวกเราซึ่งเป็นนักการเมือง เป็นสมาชิกรัฐสภานั้น กำลังทำให้ระบบการเมืองของเรานั้นเดินถอยหลัง
แต่วันนี้เป็นวันที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้ามา เราอาจจะมองว่ามูลเหตุของการแก้ไขครั้งนี้เกิดขึ้นจากปัญหาทางเทคนิค เนื่องจากว่าคณะกรรมการสรรหา ปปช.ตามรัฐธรรมนูญไปกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องมีผู้แทนพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน ก็คือจาก 5 พรรคการเมือง แต่ในปัจจุบันนั้นเรามีตัวแทนพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ถ้าเลือกกันเองนั้นก็จะมีเพียง 4 คน ถ้ามองเพียงเท่านี้ก็อาจจะมองได้ว่าเป็นเรื่องเทคนิคเล็กๆน้อยๆ เราก็แก้ไข ก็ปรับกันไป
แต่ถ้ามองอย่างนั้น ท่านประธานครับ การแก้ไขก็คงจะแก้จำนวน 5 ให้เป็น 4 เพราะก็เพียงแต่ทำให้มันสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ซึ่งจำนวน 4 คนก็ไม่แปลกประหลาดอะไร เพราะว่ากรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่นตามรัฐธรรมนูญคือ กรรมการสรรหา กกต.ก็ดี กรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ดี ก็ใช้จำนวนพรรคการเมือง 4 พรรค แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดครับว่า 2 ร่างที่เราพิจารณาอยู่ในขณะนี้ไม่ได้เดินไปในแนวทางนั้น นั่นก็หมายความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันนี้มีมูลเหตุ ซึ่งมีนัยสำคัญมากไปกว่าเรื่องของตัวเลขของตัวแทนพรรคการเมือง
ผมจำเป็นต้องกราบเรียนสิ่งนี้เพราะว่าตรงนี้คือสาระสำคัญของความแตกต่างที่เรากำลังพิจารณาว่าฐานคิดเบื้องหลังของการนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของแต่ละฝ่ายนั้น ที่ไม่ตรงกันนั้นมันแตกต่างกันอย่างไร ตรงนี้ครับผมต้องขออนุญาตท่านประธานที่จะลำดับความให้เห็นว่า ที่มา ที่ไป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นหน้าที่พวกเราทุกคนที่จะรักษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้นไว้เป็นอย่างไร
ท่านประธานที่เคารพครับ ในช่วงที่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทั้งฉบับ ความปรารถนาสูงสุดในการปฏิรูปทางการเมืองอาจจะสรุปได้ว่ามีเป้าหมายอยู่ 3 ข้อ
ข้อที่ 1 ก็คือว่า ต้องการทำให้ระบบการเมืองของเรานั้นเป็นระบบที่เปิดมากขึ้น เป็นระบบที่พี่น้องประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองโดยตรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นเป้าหมายนี้เราก็จึงเห็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมที่กว้างขวางกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับในอดีตที่ผ่านมา
เป้าหมายสำคัญประการที่ 2 ก็คือว่า รัฐธรรมนูญต้องการจะเห็นฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง ที่เป็นรัฐบาลที่มีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง เพราะในอดีตที่ผ่านมาในช่วงที่เราได้ใช้การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภานั้น เรามักพบกับข้อวิจารณ์และปัญหาว่ารัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศนั้นมีความอ่อนแอ เป็นรัฐบาลผสมเป็นรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพ เราก็จะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมากมายครับ ที่เอื้ออำนวยให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น และก็ดูว่าจะใช้ได้ผล เพราะรัฐบาลชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เป็นรัฐบาลที่สามารถอยู่ได้ครบวาระ
ท่านประธานที่เคารพครับแต่เป้าหมายสำคัญประการที่ 3 ของการปฏิรูปการเมืองและของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็คือว่า แม้รัฐบาลจะมีความเข้มแข็ง แต่กลไกของการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจนั้นจะต้องเข้มแข็งเข่นเดียวกัน โดยกลไกของการตรวจสอบถ่วงดุลที่เข้มแข็งนั้นก็จะต้องมีองค์กรกลไกที่เกิดขึ้นที่มีความเป็นอิสระ มีความเป็นกลาง และสามารถยึดโยงอยู่กับประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้ ตรงนี้ล่ะครับคือที่มาขององค์กรทั้งหลายที่เราพูดถึงในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. ไม่ว่าจะเป็น กกต. เพราะการวินิจฉัยหรืออำนาจหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้จะเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับการเข้าสู่อำนาจและการใช้อำนาจของผู้แทนประชาชน ซึ่งในอดีตเมื่อไม่มีกลไกเหล่านี้ เราก็อาศัยเพียงแค่เสียงข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ เครื่องตัดสินและพบความจริงว่าโดยสภาพของระบบรัฐสภาที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ การตัดสินโดยอาศัยเสียงข้างมากในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายบ้าง เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในเรื่องของการทุจริตบ้าง สุดท้ายเป็นการตัดสินโดยเสียงข้างมากที่คำนึงถึงความอยู่รอด หรือฝักฝ่ายทางการเมือง
องค์กรอิสระเหล่านี้จึงเกิดขึ้น โดยมีหลักการสำคัญว่า บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ใครจะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติสาสตร์ หรือทางด้านรัฐศาสตร์ ใครจะมาเป็น ป.ป.ช. รัฐธรรมนูญก็บัญญัติเอาไว้ว่าก็ต้องมีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ ใครจะมาเป็น กกต. รัฐธรรมนูญก็บัญญัติว่าจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมืองเป็นประจักษ์ ด้วยเหตุนี้ครับ รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดกระบวนการของการสรรหาองค์กรเหล่านี้ไว้ ค่อนข้างจะเป็นลักษณะพิเศษ โครงสร้างของการสรรหาองค์กรทั้ง 3 ที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ คือ กกต. ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญนั้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน
โดยท่านประธานจะสังเกตได้ว่า กรรมการสรรหาขององค์กรทั้ง 3 นั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 ก็จะเป็นฝ่ายของตัวแทนทางภาคตุลาการหรือศาล ถ้าเป็นกรณีของศาลรัฐธรรมนูญก็จะมีประธานศาลฏีกา ถ้าเป็นกรณีของป.ป.ช. ก็จะมีประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครอง ถ้าเป็นกรณีของกกต. นอกเหนือจากการให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลฏีกาคัดเลือกมาส่วนหนึ่งก็จะมีประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานศาลปกครองร่วมเป็นกรรมการสรรหาอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนที่ 2 ก็คือ การนำเอาบุคคล ซึ่งได้รับความเชื่อถือว่า เป็นกลางและมีลักษณะความเป็นวิชาการ ผมกราบเรียนตรงนี้ครับว่า บางท่านไปเข้าใจผิดครับ ว่าองค์ประกอบ 3 ส่วนเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญยัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ไม่ใช่ครับ อธิการบดีที่ปรากฏอยู่ในคณะกรรมการการสรรหาไม่ใช่ตัวแทนฝ่ายบริหารครับ แต่ สสร.เขาคิดว่า เป็นตัวแทนของภาควิชาการที่จะสามารถสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ หรืออย่างในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญเขาจึงได้กำหนดเป็นคณบดี คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ พูดง่ายๆ นอกจากฝ่ายศาลแล้วก็มีฝ่ายวิชาการ
องค์ประกอบส่วนที่ 3 ก็คือ ตัวแทนของพรรคการเมือง ตรงนี้มีเหตุผลที่ เท่าที่ผมสืบค้นได้ 2 เหตุผลด้วยกัน เหตุผลที่ 1 ก็คือว่า มีบางฝ่ายเสนอว่าแม้เราสร้างกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลที่เป็นองค์กรอิสระ เป็นกลางขึ้นมา มีการเมืองภาคประชาชน แต่กระนั้นก็ตามการทำงานขององค์กรเหล่านี้คงจะเกี่ยวข้องกับการเมืองของพรรคการเมืองอยู่บ้าง ก็มีความเห็นว่า น่าจะเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย
เหตุผลข้อที่ 2 มีการอ้างอิงอยู่เหมือนกันว่า อยากจะให้มีตัวแทนของประชาชนเข้ามาร่วมสรรหา เท่าที่สอบถามจากสสร. บางท่านก็พบว่า การจะคัดเลือกตัวแทนภาคประชาชนนั้นก็หาได้ไม่ง่ายนัก ที่สุดก็มีความรู้สึกว่าพรรคการเมืองน่าจะได้รับความไว้วางใจว่าเป็นตัวแทนของภาคประชาชนหรือเป็นตัวแทนของประชาชนได้ดีระดับหนึ่ง ก็จึงเอาตัวแทนของพรรคการเมืองเข้ามาร่วมในกระบวนการสรรหา แต่ที่จริงแล้วเมื่อสรรหาเสร็จก็ไม่ใช่ข้อยุติครับ องค์กรที่เป็นอิสระ เป็นกลางเหล่านี้ จะต้องไปได้รับความเห็นชอบในการเลือกจากวุฒิสภา ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของประชาชนเพราะปัจจุบันสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และที่สำคัญก็คือสมาชิกวุฒิสภานั้น รัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้ชัดเจนว่า จะต้องไม่สังกัดพรรคการเมือง จึงมีเหตุผลที่จะเชื่อว่า จะต้องดำรงความเป็นกลางทางการเมือง
ผมลำดับสิ่งนี้ให้ท่านประธานเห็น เพื่อที่จะบอกครับว่า วันนี้เมื่อเราจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับการปฏิรูปทางการเมือง เราต้องเข้าใจเจตนารมณ์และโครงสร้างทั้งหมด และมาวิเคราะห์ว่าที่มาของการแก้ไขวันนี้ปัญหามันอยู่ตรงไหน ผมขอย้ำกับท่านประธานครับว่า ปัญหาตัวเลขผู้แทน 4 คน 5 คน มันเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้เราต้องมาประชุมกันในวันนี้ แต่มันไม่ใช่สาเหตุหลัก ถ้าใครจะไปยึดคติว่า อะไรไม่เสีย ไม่ต้องซ่อม ผมก็กราบเรียนว่า สิ่งที่เสียวันนี้ไม่ใช่พรรคการเมืองมี 4 พรรค หรือ 5 พรรคในสภาผู้แทนราษฎร สิ่งที่อยู่ในใจของประชาชน ซึ่งหวงแหนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในวันนี้ก็คือ เป็นห่วงว่าระบบตรวจสอบถ่วงดุลมันเสีย ผมกราบเรียนว่า ความรู้สึกตรงนี้มันสะสมมาระยะหนึ่ง ที่มันสะสมมาระยะหนึ่งแต่ไม่ใช่ตั้งแต่ต้นก็เพราะว่า ในช่วงแรกที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้การทำงาน การสรรหา องค์กรต่างๆ ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่จะเป็น กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ หรือปป.ช. ดูจะได้รับการขานรับในทางบวกพอสมควร แต่ว่าหลังจากที่รัฐธรรมนูญใช้ไประยะหนึ่งและเริ่มเห็นชัดเจนว่า องค์ กรเหล่านี้มีอำนาจค่อนข้างมาก กระผมต้องกราบเรียนว่า ก็เริ่มมีกระบวนการซึ่งนำไปสู่ข้อกล่าวหาและข้อครหาว่า องค์กรอิสระ หรือองค์กรที่ควรเป็นอิสระและเป็นกลางนั้นถูกแทรกแซงและถูกครอบงำ
กระผมต้องขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานตรงๆ ครับว่า ชนวนแรกที่มันเกิดขึ้นในเรื่องนี้หนีไม่พ้นคดีของท่านนายกรัฐมนตรีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะในคดีนั้นเองได้เกิดปรากฏการณ์ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมายอมรับว่าในการพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้นำเอาปัจจัยในทางการเมืองเข้าไปประกอบการพิจารณา ซึ่งดูจะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการแยกกระบวนการเหล่านี้ออกจากการเมืองของพรรคการเมือง หรือการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรโดยสิ้นเชิง ผมกราบเรียนสิ่งนี้ตามข้อเท็จจริงและตามคำพูดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองที่ออกมาพูดว่า การตัดสินต้องไปคำนึงถึงคะแนนเสียงของผู้ที่ถูกกล่าวหาในการเลือกตั้งด้วย
กระผมกราบเรียนว่าการแทรกแซง การครอบงำ มีมากน้อยแค่ไหนนั้นก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก และสืบเนื่องจากคดีนั้นก็เกิดคดีอาญาขึ้น มีการฟ้องหมิ่นประมาท มีการยืนยันข้อเท็จจริงในศาล เกี่ยวกับการดำเนินการที่จะเข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรที่เป็นอิสระ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาครับ ข้อครหา หรือข้อวิพากษ์วิจารณ์องค์กรที่ควรเป็นกลางป็นอิสระนั้น รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของกระบวนการสรรหาบุคคลที่จะไปดำรงตำแหน่งในองค์กรเหล่านั้น
กระผมกราบเรียนว่า ในการสรรหาองค์กรเหล่านั้น ผมเอาสถิติมาดูครับ ที่จริงแล้วกรรมการสรรหาที่ดูจะมีปัญหาน้อยที่สุดนั้น กลับกลายเป็นการสรรหาป.ป.ช. เพราะปรากฏว่า เมื่อมีตัวแทนพรรคการเมืองที่เข้าไปเป็นตัวแทนถึง 5 คนนั้น การที่ไปกีดกันพรรคการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะจำนวนค่อนข้างมาก แต่นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาครับ เราพบความจริงว่า ทุกครั้งที่กรรมการสรรหา ที่ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าไปเลือกกันเองนั้น พรรคการเมืองที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลที่เป็นพรรคใหญ่นั้นถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปร่วมในกระบวนการสรรหาตลอด โดยสิ้นเชิง ทั้งกรณีของกกต. ทั้งในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือที่มาของปัญหาจริงๆที่เราต้องถกกันในวันนี้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า วันนี้มันมีทั้งข้อกล่าวหา ข้อครหา มันเคยมีแม้กระทั่งคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาที่ต้องเข้าศึกษา สอบสวนว่า การทำงานของพรรคการเมืองในกระบวนการสรรหานั้น มีการตกลงกันล่วงหน้า ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยสรุปง่ายๆ ก็คือว่า ในที่สุดความหวังของสสร. ว่า
1. พรรคการเมืองจะทำหน้าที่ในลักษณะเป็นตัวแทนของประชาชนเอาเข้าจริงๆ พรรคการเมืองหนีไม่พ้นการมาทำหน้าที่โดยคำนึงถึงหมวกที่สวมอยู่ว่า เป็นฝ่ายค้านหรือเป็นรัฐบาล
และ 2. ก็ต้องบอกว่า สสร. ก็อาจจะคาดหวังสูงเกินไปในแง่ของมาตรฐานของจริยธรรมพรรคการเมืองที่มีอำนาจ นั่นคือที่มาที่ต้องแก้ครับ และประเด็นนี้เป็นประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศเป็นจุดยืนมาระยะหนึ่งแล้ว เพียงแต่รอจังหวะเวลา เงื่อนไขที่เหมาะสมว่า จะสามารถดำเนินการมาเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภาได้เมื่อไร และจึงอาศัยปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นให้เป็นเวลาและเงื่อนไขที่เหมาะสม
กระผมกราบเรียนท่านประธานครับว่า วันนี้ความแตกต่างระหว่าง 2 ร่างจึงอยู่ที่ 1. วิสัยทัศน์ 2.ความโปร่งใส ความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคงเจตนารมณ์ของการปฏิรูปทางการเมือง
ความแตกต่างในเชิงวิสัยทัศน์ก็คือว่า เราเห็นปัญหานี้เป็นปัญหาในลักษณะที่เป็นระบบหรือไม่ และเราเห็นหรือไม่ว่าถ้าเราจะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปแก้ไขโครงสร้างของกรรมการสรรหา ก้ต้องทำให้มันสอดคล้องกันทั้งฉบับ ผมมองไม่เห็นเหตุผลครับว่า ทำไมวันนี้เราจึงจะมาแก้ไขเฉพาะการสรรหาป.ป.ช. แล้วก็ทิ้งโครงสร้างเดิมของการสรรหาไว้ในกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีของกกต. ถ้าหากท่านบอกว่า เป็นเพราะว่า มันมีไม่ถึง 5 พรรค ทำไมท่านไม่แก้ให้เหลือ 4 พรรค ครับ นั่นคือสิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกว่า ร่างที่เสนอแก้ไขเพียงเรื่องเดียวเป็นร่างที่ขาดการมองเชิงระบบ ขาดวิสัยทัศน์ และวันข้างหน้า สมมุติว่าพรรคการเมืองมันเหลือน้อยกว่า 4 พรรค จะต้องมาไล่ตามแก้ และจะแก้อย่างไร อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ การควบรวมพรรคก็อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ พรรคไหนไปรับสินบนจากต่างชาติก็อาจจะถูกยุบก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้คือสิ่งที่ผมกราบเรียนว่า ถ้าเราดูให้มันเป็นระบบ ถ้าเราดูโดยคำนึงภาพรวมแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องแก้กรรมการสรรหาทั้ง 3 องค์กรพร้อมๆกันไป ในลักษณะที่สอดคล้องกัน
ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นที่สองที่เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญที่กระมกราบเรียนก็คือ เรื่องของความโปร่งใสและความจริงใจในการคงเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ วันนี้สิ่งที่เราประกาศเราไม่ได้มาคำนึงถึงว่าใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่คิดถึงแต่ว่าอยากได้อำนาจต่อรอง อยากได้เปรียบ อยากได้ประโยชน์ วันนี้เราไม่เสนอหรอกครับ เพราะว่าสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไปหลังการเลือกตั้งนั้น จำนวนพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล เหลือพรรคเดียว พรรคที่ไม่เป็นรัฐบาลมีสามพรรค ถ้าเราคงโครงสร้างแบบเดิมไว้อย่างน้อยก็ไม่เสียเปรียบ แต่ที่เราเสนอตัดตัวแทนพรรคการเ มืองออก เพราะว่าเราไม่คิดถึงตัวเอง เราคิดถึงว่าอะไรมันเหมาะ มันควร มันถูกต้อง มันดีที่สุด สำหรับระบบการเมืองของเรา และเราก็มองเห็นแล้วว่า ในที่สุดพรรคการเมืองไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมกับความคาดหวัง ความคาดหมายและเจตนารมย์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เราก็จึงบอกว่า วันนี้สภาผู้แทนราษฎรน่าจะแสดงความใจกว้าง น่าจะแสดงความจริงใจว่า เราพร้อมที่จะแก้ไขกติกาโดยตัดอำนาจของตัวเอง เมื่อตัดอำนาจของตัวเองออกไป เราก็ไปศึกษาต่อว่าโครงสร้างกรรมการที่เหลือควรจะเป็นอย่างไร
กระผมขออนุญาตที่จะไม่ลึกลงในรายละเอียดของแต่ละมาตรา แต่อยากจะบอกหลักการคร่าวๆว่า เรายังคงเจตนารมย์ของโครงสร้างอันเดิมว่ากรรมการสรรหาควรมี 3 ฝ่าย ฝ่ายศาล ฝ่ายวิชาการ และตัวแทนของประชาชน ฝ่ายศาลเราอาจจะมีปรับบ้างเพราะเราเห็นได้ชัดว่า ที่ผ่านมาองค์กรที่ถูกครหาน้อยที่สุดว่าถูกแทรกแซงโดยฝ่ายบริหารนั้นคือ ศาลฎีกา เพราะฉะนั้นในร่างของเราจึงได้มีการปรับเพิ่มสัดส่วนและตัวแทนของศาลฎีกามากขึ้น ในส่วนของฝ่ายวิชาการเราก็คงตามเดิม หรือถ้าจะมีการปรับจำนวนก็เพิ่มให้มันเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม แต่ในส่วนของตัวแทนประชาชนเมื่อตัดตัวแทนพรรคการเมืองออกไป เราก็ถือเกณฑ์ว่าเราไปดูว่า มีองค์กรใดตามรัฐธรรมนูญบ้างที่จะส่งตัวแทนเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนได้ เราก็พบ 2 องค์กร
1.คือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมฯ ซึ่งตามกระบวนการของการสรรหาสภานี้นั้น จะได้ผู้แทนของสาขาอาชีพ วิชาชีพต่างๆ หรือตัวแทนของภาคต่างๆอย่างชัดเจน และคนเหล่านี้ก็ไม่ควรมีส่วนได้ ส่วนเสียทางการเมือง และคนเหล่านี้ก็ไม่ได้มีอำนาจที่จะไปให้คุณให้โทษกับใคร เราก็คิดว่าเอาตัวแทนจากสภานี้มา
กับส่วน 2 คือตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน กำหนดให้มีองค์กรนี้ขึ้น ซึ่งการสรรหาองค์กรนี้รัฐธรรมนูญก็เขียนอยู่แล้วว่าให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย แล้วถ้าเราไปดูกฎหมายเราก็จะพบว่า คนที่เข้ามาร่วมสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนนั้น ก็จะมีตัวแทนของสื่อมวลชน ตัวแทนขององค์กรเอกชนหรือสภาวิชาชีพบางสภาด้วย เราจึงถือว่าร่างที่นำเสนอมาวันนี้ เป็นร่างที่ได้ปรับแก้ไม่ใช่เพื่อเปลี่ยนเจตนารมย์ แต่เพื่อคงเจตนารมย์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีความมุ่งหมายว่าเราจะปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เกิความโปร่งใส เพื่อถ่วงดุลกับความเข้มแข็งมากขึ้นของผู้มีอำนาจในฝ่ายบริหาร
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมกราบเรียนว่า ปัญหาของร่างของคณะรัฐมนตรที่เสนอมาคือว่า ขาดทั้งวิสัยทัศน์ ขาดทั้งความโปร่งใส ความจริงใจ และความเข้าใจระบบการเมืองการปกครอง ขาดวิสัยทัน์คือว่า คิดว่าปัญหานี้เกิดขึ้นเพียงจากตัวเลข 4 หรือ 5 ไม่มีหลักที่ชัดเจน .......... (นายสุภรณ์ อัตตาวงศ์ ประท้วงข้อ 43) .........
ถ้าอย่างนั้นก็ขอกราบเรียนว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของฝ่ายค้านที่ได้นำเสนอในวันนี้ เป็นร่างที่ได้คำนึงถึงสภาพผปัญหาที่เกิดขึ้นกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจุบัน ที่มองทะลุไปว่าปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้ไม่ใช่เฉพาะปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นปัญหาในเชิงระบบที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้เกิดสมดุลในระบบการเมือง เป็นร่างที่ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบว่าวันนี้ถึงเวลาที่พรรคการเมืองต้องแสดงความใจกว้างและความจริงใจที่จะพร้อมตัดอำนาจของตัวเอง และเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนซึ่งมีสถานะที่รัฐธรรมนูญยอมรับ ได้เข้ามาร่วมในการสรรหาองค์กรที่ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง และองค์กรที่เป็นอิสระด้วย กระผมจึงขอนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ต่อรัฐสภา และจะขอใช้สิทธิในการอภิปรายร่างของรัฐบาลต่อไปครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-