1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ผลจาก WTO คาดว่าจีนต้องการใช้ฝ้ายมากขึ้นจีนคาดว่าหลังจากเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) แล้วจะสามารถขยายการส่งออกสิ่งทอได้มากขึ้น นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมฝ้ายในปักกิ่งกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในจีนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากแผนเดิมที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ปรับลดราคารับซื้อฝ้ายในประเทศ และปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงงานปั่นด้าย ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่ปลูกฝ้ายลดลง แต่ขณะนี้จากผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่าพื้นที่ปลูกฝ้ายเพิ่มขึ้น 59,000 เฮกตาร์ (3.69 แสนไร่) เป็น 3.524 ล้านเฮกตาร์ (22.025 ล้านไร่)
ในช่วงปีที่ผ่านมา จีนมีความต้องการนำเข้าฝ้ายสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกและราคาในประเทศสูงขึ้น จากรายงานในปี 2541 แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าฝ้ายของจีน ทุก ๆ 10,000 ตัน จะส่งผลให้ราคาฝ้ายโลกสูงขึ้น 2 เซนต์/ปอนด์ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกฝ้ายจึงทำให้ทุกฝ่ายพอใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคา รัฐบาลควรปล่อยสต๊อกฝ้ายออกสู่ตลาดและมีมาตรการป้องกันการนำเครื่องปั่นด้ายเก่าที่โล๊ะทิ้งไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นมาเป็นเวลานาน ทำให้ราคาเส้นใยสงเคราะห์แพงขึ้น ความต้องการใช้ฝ้ายจึงมีมากขึ้น อุตสาหกรรมปั่นด้ายอาจขยายการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักรเก่า ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.88 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 50.24 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 58.59 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 50.70 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21
ราคาฝ้ายเกรด B' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.66 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 45.71 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 53.30 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2543 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.28 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 44.51 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 53.37 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.19 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.92
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 3-9 ก.ค. 2543--
-สส-
ผลจาก WTO คาดว่าจีนต้องการใช้ฝ้ายมากขึ้นจีนคาดว่าหลังจากเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) แล้วจะสามารถขยายการส่งออกสิ่งทอได้มากขึ้น นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมฝ้ายในปักกิ่งกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในจีนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากแผนเดิมที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ปรับลดราคารับซื้อฝ้ายในประเทศ และปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงงานปั่นด้าย ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่ปลูกฝ้ายลดลง แต่ขณะนี้จากผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่าพื้นที่ปลูกฝ้ายเพิ่มขึ้น 59,000 เฮกตาร์ (3.69 แสนไร่) เป็น 3.524 ล้านเฮกตาร์ (22.025 ล้านไร่)
ในช่วงปีที่ผ่านมา จีนมีความต้องการนำเข้าฝ้ายสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกและราคาในประเทศสูงขึ้น จากรายงานในปี 2541 แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าฝ้ายของจีน ทุก ๆ 10,000 ตัน จะส่งผลให้ราคาฝ้ายโลกสูงขึ้น 2 เซนต์/ปอนด์ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกฝ้ายจึงทำให้ทุกฝ่ายพอใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคา รัฐบาลควรปล่อยสต๊อกฝ้ายออกสู่ตลาดและมีมาตรการป้องกันการนำเครื่องปั่นด้ายเก่าที่โล๊ะทิ้งไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นมาเป็นเวลานาน ทำให้ราคาเส้นใยสงเคราะห์แพงขึ้น ความต้องการใช้ฝ้ายจึงมีมากขึ้น อุตสาหกรรมปั่นด้ายอาจขยายการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักรเก่า ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.88 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 50.24 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 58.59 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 50.70 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21
ราคาฝ้ายเกรด B' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.66 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 45.71 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 53.30 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2543 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.28 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 44.51 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 53.37 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.19 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.92
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 3-9 ก.ค. 2543--
-สส-