ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ได้สร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจ ทรัพย์สิน ภาพลักษณ์ของระบบทุนนิยม ความเป็นอภิมหาอำนาจทางการทหารของประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนขวัญกำลังใจของชาวอเมริกัน
จากการที่สภาวะทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อยู่ในช่วงขาลง ทำให้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) โดยเร็วหรืออาจจะทันทีอันเป็นผลมาจากความมั่นใจของผู้บริโภคชาวอเมริกันลดลงโดยชาวอเมริกันจะประหยัดการใช้จ่ายและเก็บออมเงินเพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในอนาคต แม้ผู้บริโภคชาวอเมริกันที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้โดยตรงก็จะชะลอการใช้จ่ายโดยกระจายไปถึงผู้บริโภคในนครใหญ่ๆ หลายๆ แห่งทั่วประเทศที่ชะลอการใช้จ่าย ทั้งนี้การใช้จ่ายเงินของชาวอเมริกันคิดเป็นมูลค่า 2 ใน 3 ของ GDP ดังนั้น การลดค่าใช้จ่ายของชาวอเมริกันย่อมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ชาวอเมริกาเป็นจำนวนมากได้ยกเลิกการเดินทางไปประเทศต่าง ๆ ทั้งเพื่อการท่องเที่ยว และเพื่อธุรกิจ เนื่องจากรู้สึกไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยในการเดินทาง ในขณะที่ธุรกิจสายการบินของสหรัฐฯ จำนวน 3 สายการบิน คือ American Airlines, United Airlines และ Continental ประกาศให้พนักงานลาออกเป็นจำนวนหลายหมื่นคน เมื่อรวมกับบริษัทต่างๆ ทั่วประเทศ การปลดพนักงานจะมีจำนวนหลายแสนคน ซึ่งกระทบต่ออัตราการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 4.9 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา และกำลังซื้อของชาวอเมริกันที่ลดลง ในขณะเดียวกัน ประชาชนโดยทั่วไปมีความหวาดวิตกถึงภัยสงครามและการก่อการร้าย ความไม่แน่นอนในรายได้และความไม่มั่นคง และไม่แน่ใจในความปลอดภัยของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความลังเลไม่กล้าตัดสินใจใช้จ่ายหรือลงทุน อันจะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าของสหรัฐฯ และการส่งออกของประเทศคู่ค้าทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
ดัชนีของตลาดหุ้นโดยรวมมีมูลค่าลดลง โดยเฉพาะหุ้นบริษัทในกลุ่มสายการบินและกลุ่มประกันภัย แม้ว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยก็ทำให้ดัชนีดาวโจนกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น
ขณะนี้ความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจ นับจากไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา พบว่าลดลงจากเดิมร้อยละ 91.7 เหลือเพียงร้อยละ 81.8 หมายความว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจจึงชะลอการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีกล่าวเพิ่มเติมว่าเหตุการณ์นี้คงเป็นเพียงระยะสั้น เนื่องจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะไม่ใช่คนที่จะเก็บหอมรอบริบ ส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเป็นประจำหากมีเหตุการณ์ปกติ แต่เมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นคงต้องรอสักระยะหนึ่ง
ในขณะนี้ผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ จะมากน้อยเพียงใดยากที่จะคาดการณ์ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความร้ายแรง ความยืดเยื้อของสงคราม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการปรับตัวของคนอเมริกันเอง ปัจจุบันสหรัฐฯ ได้อัดฉีดเงินงบประมาณรัฐบาลกลับไปสู่ประชาชนและตลาดหลักทรัพย์ เช่น การให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบิน ตลาดหลักทรัพย์และผู้ประสบภัย ฯลฯ การคืนภาษี การลดดอกเบี้ย รวมทั้งการรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนอย่าได้หวั่นวิตกจนเกินเหตุ ขอให้เชื่อมั่นในความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้ออกมาใช้จ่ายตามปกติ โดยรัฐบาลถือว่าการออกมาใช้จ่ายนั้นเป็นวิธีการช่วยฟื้นฟูชาติที่ดีที่สุด
การคาดการณ์สถานการณ์การบริโภคของสหรัฐฯ ในส่วนที่เหลือของปี 2001 แม้ว่าปัจจุบันผู้บริโภคสหรัฐฯ จะเริ่มหายจากอาการตกใจและเริ่มคุ้นเคยกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์สู้รบและการก่อการร้ายภายในประเทศในปัจจุบันอาจจะกลายเป็นเงื่อนไขใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดการบริโภคไปในรูปแบบใดๆ ก็ได้
อาจกล่าวได้ว่าการก่อการร้ายในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กล่าวคือ
-- เกิดขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังมีการอ่อนตัวลงอย่างมาก ดังนั้นโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ เคยตั้งความหวังไว้ว่าน่าจะเริ่มดีขึ้นในปลายไตรมาสที่ 4 ของปี 2001 หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในไตรมาสที่สองของปี 2002 จึงหมดไป และคาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะฟื้นตัวประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2001 มีประมาณการณ์เบื้องต้นว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2001 จะลดลงเหลือร้อยละ 0.9 และในปี 2002 พยากรณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเหลือร้อยละ 1.0
-- เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคมเป็นช่วงของการนำเข้าสินค้าจำนวนมากหรือ ช่วง Peak Season ของการนำเข้าสินค้า เพื่อให้ทันวางตลาดในช่วงเวลาขายปลีกที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ คือ ไตรมาสที่ 4 ของทุกปี การก่อวินาศกรรมส่งผลให้การขนส่งสินค้าไปสหรัฐฯ ไม่ราบรื่น มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นและยากจะคาดการณ์ว่าระบบการขนส่งจะหยุดชะงักอีกเมื่อใด ทั้งนี้สินค้าที่จะถูกนำขึ้นท่านำเข้าสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนและตุลาคมส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีการสั่งซื้อตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ดังนั้นผลกระทบของการก่อการร้ายในสหรัฐฯ ที่จะมีต่อการสั่งซื้อสินค้านำเข้าจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากสถิติการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จะทำรายได้แก่ร้านค้าปลีกของสหรัฐฯ มากที่สุด คือ ช่วงเริ่มวางจำหน่ายสินค้าสำหรับเทศกาลสำคัญๆ ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งปกติจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นไป และเป็นช่วงเดียวกันกับที่ผู้บริโภคเริ่มออกหาซื้อสินค้าสำหรับเทศกาล Halloween ที่จะมีขึ้นในปลายเดือนตุลาคม ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ค้าปลีกสูงเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลคริสต์มาส การก่อวินาศกรรมจึงส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคสหรัฐฯ ทั้งต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคและยอดขายปลีกของร้านค้าสินค้าที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น
1) สินค้าประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ทางการทหารในระบบการรักษา และการป้องกันประเทศเป็นผลมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศสงครามกับผู้ก่อการร้ายทั่วโลก ทำให้เกิดการสู่รบแบบใหม่ที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นระบบอิเลคโทรนิกส์สมัยใหม่ เช่น ระบบ Sensors, Lasers, Optical Scanners, Data Network และเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันอาวุธยุทธภัณฑ์ดั้งเดิมยังคงมีความจำเป็นอยู่และจำเป็นจะต้องมีการจัดหาเพิ่มเติมและทำการซ่อมแซมของที่มีอยู่แล้ว หลังการเกิดการก่อวินาศกรรมรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เริ่มหันกลับไปหานโยบายการเสริมสร้างกำลังของกองทัพขึ้นมาโดยทันทีหลังจากที่ได้มีแนวความคิดที่จะลดการเติบโตของกองทัพลงมาตลอดหลังจากสิ้นสุดการทำสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียตแล้ว ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าสินค้าวัตถุดิบที่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์เหล่านี้ จะกลายเป็นที่ต้องการอย่างมากของโรงงานผลิตในสหรัฐฯ
2) สินค้าประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันตนเองของภาคเอกชนและธุรกิจ หลังจากเกิดการก่อวินาศกรรมเป็นต้นมา ผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่เป็นภาคเอกชนและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทุกแห่งเริ่มหันมาให้ความสนใจในการสร้างระบบการป้องกันตนเองอย่างเอาจริงเอาจังเพิ่มมากขึ้น สินค้าสำหรับใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน การเลือกใช้สินค้าดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับชนิดของอันตรายที่ผู้บริโภคสหรัฐฯ รู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามและจำเป็นต้องได้รับการป้องกัน ซึ่งในขณะนี้ความรู้สึกหวาดกลัวสงครามชีวะเคมีกำลังแพร่ระบาดทั่วประเทศ ขณะที่ระบบการรักษาความปลอดภัยในด้านนี้ยังอยู่ในสภาวะการณ์ที่ไม่พร้อม การขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษาความปลอดภัย เช่น ชุดป้องกันสำหรับใส่ในการปฏิบัติการที่รวมถึงเสื้อผ้า รองเท้า หมวก ถุงมือ หน้ากาก และถุงพลาสติกสำหรับเก็บสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทำให้แปดเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
3) สินค้าพื้นฐานและสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร และยารักษาโรคและการเลือกซื้อสินค้าราคาถูก เชื่อว่าความนิยมในการบริโภคของภาคเอกชนจะคงเดิม และมีแนวโน้มว่าจะมีการเติบโตของการบริโภคสินค้าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าการเกิดการก่อวินาศกรรม เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐ กิจที่ลดลงและวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นการอยู่กับบ้านเพิ่มมากขึ้นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ช่วยขยายการเติบโตของสินค้าเหล่านี้เป็นอย่างดี เช่น มีรายงานว่าหลังเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2001 ยอดการขายโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นทันที และยอดการใช้บริการโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 เป็นต้น
4) สินค้าเฟอร์นิเจอร์ประเภท Home Office จากการที่มีคนว่างงานเพิ่มมากขึ้นจะเป็นโอกาสให้สินค้าดังกล่าวขายได้มากขึ้น เนื่องจากผู้คนจะปรับตัวจากเหตุการณ์และหันมาประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยใช้บ้านเป็นสถานที่ประกอบการมากขึ้นเรื่อยๆสินค้าที่คาดว่าความต้องการของตลาดจะลดลง
1. สินค้าเครื่องมือเครื่องใช้ในการเดินทาง เช่น กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐฯ ปัจจุบันส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะลดการเดินทางไกลโดยไม่จำเป็น
2. สินค้าที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ของขวัญของชำร่วย และ Promotional Items ต่างๆ ธุรกิจร้านอาหารภัตตาคาร บริการท่องเที่ยว เนื่องจากการหยุดชะงักลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่เฉพาะการท่องเที่ยวระหว่างเมืองและระหว่างรัฐเท่านั้นลดลงยังรวมไปถึงการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นก็ลดลงด้วย เป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัดและประกอบกับคำขู่ที่จะมีการก่อการร้ายในสถานที่ที่เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ การหยุดชะงักของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น สินค้าของที่ระลึกที่วางจำหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงสินค้าที่เรียกว่า Promotion Items ด้วย เนื่องจากในระยะนี้ธุรกิจต่างๆในสหรัฐฯ ลดค่าใช้จ่ายในด้านการทำ Promotion และการโฆษณาลงอย่างมาก นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปก็ไม่ค่อยออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน
3. สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ และสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพโดยตรงได้แก่ ยานยนต์ สินค้าแฟชั่น สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน วัสดุก่อสร้าง เนื่องจากประชาชนชะลอการซื้อสินค้าดังกล่าวลง
4. สินค้าที่เคยมีแนวโน้มความต้องการของตลาดที่ลดลงในช่วงก่อนเกิดการก่อวินาศกรรม ได้แก่ สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) สินค้าอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในสำนักงาน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ในสำนักงาน คาดว่าความต้องการของตลาดยังคงลดลงต่อไป เนื่องจากการก่อการร้ายไม่ได้สร้างเงื่อนไขใดๆ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ความต้องการสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามกลับสร้างเงื่อนไขที่จะตอกย้ำให้ความต้องการของตลาดลดลง และอาจจะในอัตราการลดลงที่เร็วขึ้นกว่าเดิม
5. สินค้าประเภทคงทนถาวรมีอายุการใช้งานนานเช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะได้รับผลกระทบจากการที่รายได้ประชาชนลดลงและประชาชนเริ่มระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยสินค้าเหล่านี้ผู้บริโภคจะยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นหรือชะลอการสั่งซื้อ และต้องให้เวลาผู้บริโภคปรับตัวสักระยะหนึ่งจึงจะเริ่มเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้น และคาดว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2002 จะเริ่มมองเห็นสถานการณ์ดีขึ้น เนื่องจากจะมีการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น งานแสดงสินค้าที่จะเป็นตัวขึ้นและยืนยันการคาดการณ์ดังกล่าวได้ คือ งานแสดงสินค้า Int'l Houseware Show 2002 ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2545 ซึ่งจะเป็นงานแสดงสินค้าแรกของปี และเป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับของใช้และของตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งตามปกติบุคคลในวงการ รวมทั้งฝ่ายขายของห้างร้านต่างๆ จะมาชมและเลือกสั่งซื้อสินค้าจากงานแสดงสินค้าดังกล่าวอย่างมากมายผลกระทบต่อประเทศไทย
1. ในระยะแรกที่เกิดเหตุการณ์ เนื่องจากความวิตกในเรื่องของความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน ทำให้นักธุรกิจไทยและสหรัฐฯ ไม่กล้าเดินทางไป-มาเพื่อเจรจาสั่งซื้อสินค้ากันตามปกติ ผู้นำเข้าที่แสดงความสนใจมาชมงานแสดงสินค้าในประเทศไทยลดน้อยลงมาก รวมถึงงานแสดงสินค้าในสหรัฐฯ ซึ่งผู้ส่งออกไทยไปร่วมงานแสดงสินค้ามีผู้ซื้อ (Buyer) ไปชมงานแสดงสินค้าน้อยมาก ทำให้ไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่ายและเสียโอกาสในการสั่งซื้อ
2. ผู้นำเข้าไม่มั่นใจว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อหรือเลวร้ายลงเพียงใด ดังนั้น จึงมีบางรายชะลอการสั่งซื้อหรือยกเลิกการสั่งซื้อจนกว่าเหตุการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ดังนั้น วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหรัฐฯ จึงน่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ลดลงอีก จากที่มีแนวโน้มลดลงมาเป็นลำดับตั้งแต่ต้นปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ขณะเดียวกันประเทศคู่ค้าหลักอื่นๆของไทย เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียน ก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดหลักอื่นๆ มีมูลค่าลดลงตามไปด้วย
3. สินค้าเลื่อนระยะเวลาการส่งมอบ เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินหรือเรือ ทำให้สินค้าต้องถูกกักกันอยู่ที่ท่าต้นทางเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯ ได้เพิ่มความเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุร้าย ดังนั้น การตรวจสอบสินค้าที่ส่งเข้ามาจึงมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
4. การที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบทำให้แผนการปรับปรุงโรงแรมหลายแห่งซึ่งมีโครงการสั่งซื้อสินค้าจากไทยเช่น พรม เครื่องใช้ในการตกแต่งโรงแรมต้องชะลอออกไปข้อเสนอแนะ
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจมั่นคง มีประชากรกว่า 280 ล้านคน นับเป็นตลาดที่ยังมีกำลังซื้อขนาดใหญ่ การเกิดเหตุร้ายในสหรัฐฯ ครั้งนี้แม้ว่าจะส่งผลกระทบในทางลบและก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย แต่ผู้นำเข้าสินค้าไทยเห็นว่าผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น และเชื่อว่าจะปรับตัวได้ในไม่ช้า
กลยุทธ์ที่ควรดำเนินการในระยะสั้น
-- การปรับแนวโน้มสีสันรูปแบบของสินค้าประเภทของขวัญ ของชำร่วย ของประดับตกแต่งบ้าน เสื้อผ้า ที่ออกแนวรักชาติ
-- กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าที่เคยนำเข้า โดยสนับสนุนและจูงใจให้คงระดับความสั่งซื้อจากไทยเช่นเดิม เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและปริมาณการส่งออกของไทยไว้ในระดับเดิม แทนการสูญเสียตลาดและปริมาณการส่งออกจากสถานการณ์ในขณะนี้ โดยการจัดคณะผู้แทนการค้าไปพบกับผู้ซื้อเดิม โดยเฉพาะผู้ซื้อรายสำคัญทดแทนกับการที่ผู้ซื้อระงับการเดินทางไปต่างประเทศ
-- การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อสร้างภาพพจน์ ในขณะนี้มีความสำคัญเพื่อกระตุ้นให้นักธุรกิจสหรัฐฯ ตระหนักว่า แม้สถานการณ์จะเป็นเช่นไรไทยก็พร้อมที่จะทำธุรกิจด้วยเสมอ โดยเฉพาะงานแสดงสินค้าในนครนิวยอร์ค เช่น งานแสดงสินค้าเสื้อผ้า และอาหาร เป็นต้น
-- ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยจะต้องเตรียมตัวนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ทั้งในกรณีการเดินทางไปพบลูกค้าและการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า
กลยุทธ์ในระยะยาว
-- ผู้ส่งออกไทยควรศึกษาพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ถูกกับรสนิยมความต้องการของตลาด นำสินค้าเสนอ รูปแบบใหม่ๆ ไปขาย เนื่องจากการเสนอขายสินค้ารูปแบบเดิมๆ จะทำให้สินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันกับจีนหรือเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าได้
-- ผู้ส่งออกไทยควรเน้นการรักษามาตรฐานคุณภาพสินค้าเช่น สินค้าอาหารและเน้นสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน
-- ควรหันมาเจาะตลาดผู้บริโภคซึ่งเคยใช้สินค้าระดับตลาดบน (High-end) ซึ่งปัจจุบันต้องรัดเข็มขัดและหันมาใช้สินค้าที่อยู่ในระดับกลาง-บนแทน หรือพัฒนาสินค้าให้ต้นทุนต่ำลงเพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้
-- การเสนอเงื่อนไขในการขายที่จูงใจ เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน การช่วยประชาสัมพันธ์ ฯลฯเรียบเรียงโดย … ส่วนตลาดอเมริกเหนือ สำนักพัฒนาตลาดต่างประเทศ
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส, นครนิวยอร์ก, เมืองไมอามี่ และนครชิคาโก)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม 2544--
-อน-
การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ได้สร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจ ทรัพย์สิน ภาพลักษณ์ของระบบทุนนิยม ความเป็นอภิมหาอำนาจทางการทหารของประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนขวัญกำลังใจของชาวอเมริกัน
จากการที่สภาวะทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อยู่ในช่วงขาลง ทำให้มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) โดยเร็วหรืออาจจะทันทีอันเป็นผลมาจากความมั่นใจของผู้บริโภคชาวอเมริกันลดลงโดยชาวอเมริกันจะประหยัดการใช้จ่ายและเก็บออมเงินเพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในอนาคต แม้ผู้บริโภคชาวอเมริกันที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนี้โดยตรงก็จะชะลอการใช้จ่ายโดยกระจายไปถึงผู้บริโภคในนครใหญ่ๆ หลายๆ แห่งทั่วประเทศที่ชะลอการใช้จ่าย ทั้งนี้การใช้จ่ายเงินของชาวอเมริกันคิดเป็นมูลค่า 2 ใน 3 ของ GDP ดังนั้น การลดค่าใช้จ่ายของชาวอเมริกันย่อมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ชาวอเมริกาเป็นจำนวนมากได้ยกเลิกการเดินทางไปประเทศต่าง ๆ ทั้งเพื่อการท่องเที่ยว และเพื่อธุรกิจ เนื่องจากรู้สึกไม่มั่นคงและไม่ปลอดภัยในการเดินทาง ในขณะที่ธุรกิจสายการบินของสหรัฐฯ จำนวน 3 สายการบิน คือ American Airlines, United Airlines และ Continental ประกาศให้พนักงานลาออกเป็นจำนวนหลายหมื่นคน เมื่อรวมกับบริษัทต่างๆ ทั่วประเทศ การปลดพนักงานจะมีจำนวนหลายแสนคน ซึ่งกระทบต่ออัตราการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 4.9 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา และกำลังซื้อของชาวอเมริกันที่ลดลง ในขณะเดียวกัน ประชาชนโดยทั่วไปมีความหวาดวิตกถึงภัยสงครามและการก่อการร้าย ความไม่แน่นอนในรายได้และความไม่มั่นคง และไม่แน่ใจในความปลอดภัยของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความลังเลไม่กล้าตัดสินใจใช้จ่ายหรือลงทุน อันจะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าของสหรัฐฯ และการส่งออกของประเทศคู่ค้าทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย
ดัชนีของตลาดหุ้นโดยรวมมีมูลค่าลดลง โดยเฉพาะหุ้นบริษัทในกลุ่มสายการบินและกลุ่มประกันภัย แม้ว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ จะประกาศลดอัตราดอกเบี้ยก็ทำให้ดัชนีดาวโจนกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น
ขณะนี้ความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจ นับจากไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา พบว่าลดลงจากเดิมร้อยละ 91.7 เหลือเพียงร้อยละ 81.8 หมายความว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจจึงชะลอการใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีกล่าวเพิ่มเติมว่าเหตุการณ์นี้คงเป็นเพียงระยะสั้น เนื่องจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะไม่ใช่คนที่จะเก็บหอมรอบริบ ส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินเป็นประจำหากมีเหตุการณ์ปกติ แต่เมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นคงต้องรอสักระยะหนึ่ง
ในขณะนี้ผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ จะมากน้อยเพียงใดยากที่จะคาดการณ์ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความร้ายแรง ความยืดเยื้อของสงคราม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และการปรับตัวของคนอเมริกันเอง ปัจจุบันสหรัฐฯ ได้อัดฉีดเงินงบประมาณรัฐบาลกลับไปสู่ประชาชนและตลาดหลักทรัพย์ เช่น การให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบิน ตลาดหลักทรัพย์และผู้ประสบภัย ฯลฯ การคืนภาษี การลดดอกเบี้ย รวมทั้งการรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนอย่าได้หวั่นวิตกจนเกินเหตุ ขอให้เชื่อมั่นในความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้ออกมาใช้จ่ายตามปกติ โดยรัฐบาลถือว่าการออกมาใช้จ่ายนั้นเป็นวิธีการช่วยฟื้นฟูชาติที่ดีที่สุด
การคาดการณ์สถานการณ์การบริโภคของสหรัฐฯ ในส่วนที่เหลือของปี 2001 แม้ว่าปัจจุบันผู้บริโภคสหรัฐฯ จะเริ่มหายจากอาการตกใจและเริ่มคุ้นเคยกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์สู้รบและการก่อการร้ายภายในประเทศในปัจจุบันอาจจะกลายเป็นเงื่อนไขใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดการบริโภคไปในรูปแบบใดๆ ก็ได้
อาจกล่าวได้ว่าการก่อการร้ายในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กล่าวคือ
-- เกิดขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังมีการอ่อนตัวลงอย่างมาก ดังนั้นโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ เคยตั้งความหวังไว้ว่าน่าจะเริ่มดีขึ้นในปลายไตรมาสที่ 4 ของปี 2001 หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในไตรมาสที่สองของปี 2002 จึงหมดไป และคาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ น่าจะฟื้นตัวประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2001 มีประมาณการณ์เบื้องต้นว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2001 จะลดลงเหลือร้อยละ 0.9 และในปี 2002 พยากรณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเหลือร้อยละ 1.0
-- เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคมเป็นช่วงของการนำเข้าสินค้าจำนวนมากหรือ ช่วง Peak Season ของการนำเข้าสินค้า เพื่อให้ทันวางตลาดในช่วงเวลาขายปลีกที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ คือ ไตรมาสที่ 4 ของทุกปี การก่อวินาศกรรมส่งผลให้การขนส่งสินค้าไปสหรัฐฯ ไม่ราบรื่น มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นและยากจะคาดการณ์ว่าระบบการขนส่งจะหยุดชะงักอีกเมื่อใด ทั้งนี้สินค้าที่จะถูกนำขึ้นท่านำเข้าสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนและตุลาคมส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีการสั่งซื้อตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ดังนั้นผลกระทบของการก่อการร้ายในสหรัฐฯ ที่จะมีต่อการสั่งซื้อสินค้านำเข้าจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากสถิติการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่จะทำรายได้แก่ร้านค้าปลีกของสหรัฐฯ มากที่สุด คือ ช่วงเริ่มวางจำหน่ายสินค้าสำหรับเทศกาลสำคัญๆ ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งปกติจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นไป และเป็นช่วงเดียวกันกับที่ผู้บริโภคเริ่มออกหาซื้อสินค้าสำหรับเทศกาล Halloween ที่จะมีขึ้นในปลายเดือนตุลาคม ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ค้าปลีกสูงเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลคริสต์มาส การก่อวินาศกรรมจึงส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคสหรัฐฯ ทั้งต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคและยอดขายปลีกของร้านค้าสินค้าที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น
1) สินค้าประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ทางการทหารในระบบการรักษา และการป้องกันประเทศเป็นผลมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศสงครามกับผู้ก่อการร้ายทั่วโลก ทำให้เกิดการสู่รบแบบใหม่ที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธยุทธภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ส่วนใหญ่จะเป็นระบบอิเลคโทรนิกส์สมัยใหม่ เช่น ระบบ Sensors, Lasers, Optical Scanners, Data Network และเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันอาวุธยุทธภัณฑ์ดั้งเดิมยังคงมีความจำเป็นอยู่และจำเป็นจะต้องมีการจัดหาเพิ่มเติมและทำการซ่อมแซมของที่มีอยู่แล้ว หลังการเกิดการก่อวินาศกรรมรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เริ่มหันกลับไปหานโยบายการเสริมสร้างกำลังของกองทัพขึ้นมาโดยทันทีหลังจากที่ได้มีแนวความคิดที่จะลดการเติบโตของกองทัพลงมาตลอดหลังจากสิ้นสุดการทำสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียตแล้ว ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าสินค้าวัตถุดิบที่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์เหล่านี้ จะกลายเป็นที่ต้องการอย่างมากของโรงงานผลิตในสหรัฐฯ
2) สินค้าประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันตนเองของภาคเอกชนและธุรกิจ หลังจากเกิดการก่อวินาศกรรมเป็นต้นมา ผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่เป็นภาคเอกชนและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทุกแห่งเริ่มหันมาให้ความสนใจในการสร้างระบบการป้องกันตนเองอย่างเอาจริงเอาจังเพิ่มมากขึ้น สินค้าสำหรับใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน การเลือกใช้สินค้าดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับชนิดของอันตรายที่ผู้บริโภคสหรัฐฯ รู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามและจำเป็นต้องได้รับการป้องกัน ซึ่งในขณะนี้ความรู้สึกหวาดกลัวสงครามชีวะเคมีกำลังแพร่ระบาดทั่วประเทศ ขณะที่ระบบการรักษาความปลอดภัยในด้านนี้ยังอยู่ในสภาวะการณ์ที่ไม่พร้อม การขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษาความปลอดภัย เช่น ชุดป้องกันสำหรับใส่ในการปฏิบัติการที่รวมถึงเสื้อผ้า รองเท้า หมวก ถุงมือ หน้ากาก และถุงพลาสติกสำหรับเก็บสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทำให้แปดเปื้อนสารเคมี เป็นต้น
3) สินค้าพื้นฐานและสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร และยารักษาโรคและการเลือกซื้อสินค้าราคาถูก เชื่อว่าความนิยมในการบริโภคของภาคเอกชนจะคงเดิม และมีแนวโน้มว่าจะมีการเติบโตของการบริโภคสินค้าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าการเกิดการก่อวินาศกรรม เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐ กิจที่ลดลงและวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นการอยู่กับบ้านเพิ่มมากขึ้นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ช่วยขยายการเติบโตของสินค้าเหล่านี้เป็นอย่างดี เช่น มีรายงานว่าหลังเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2001 ยอดการขายโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นทันที และยอดการใช้บริการโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 เป็นต้น
4) สินค้าเฟอร์นิเจอร์ประเภท Home Office จากการที่มีคนว่างงานเพิ่มมากขึ้นจะเป็นโอกาสให้สินค้าดังกล่าวขายได้มากขึ้น เนื่องจากผู้คนจะปรับตัวจากเหตุการณ์และหันมาประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยใช้บ้านเป็นสถานที่ประกอบการมากขึ้นเรื่อยๆสินค้าที่คาดว่าความต้องการของตลาดจะลดลง
1. สินค้าเครื่องมือเครื่องใช้ในการเดินทาง เช่น กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐฯ ปัจจุบันส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะลดการเดินทางไกลโดยไม่จำเป็น
2. สินค้าที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ของขวัญของชำร่วย และ Promotional Items ต่างๆ ธุรกิจร้านอาหารภัตตาคาร บริการท่องเที่ยว เนื่องจากการหยุดชะงักลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่เฉพาะการท่องเที่ยวระหว่างเมืองและระหว่างรัฐเท่านั้นลดลงยังรวมไปถึงการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นก็ลดลงด้วย เป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัดและประกอบกับคำขู่ที่จะมีการก่อการร้ายในสถานที่ที่เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศ การหยุดชะงักของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น สินค้าของที่ระลึกที่วางจำหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงสินค้าที่เรียกว่า Promotion Items ด้วย เนื่องจากในระยะนี้ธุรกิจต่างๆในสหรัฐฯ ลดค่าใช้จ่ายในด้านการทำ Promotion และการโฆษณาลงอย่างมาก นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปก็ไม่ค่อยออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน
3. สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ และสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพโดยตรงได้แก่ ยานยนต์ สินค้าแฟชั่น สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน วัสดุก่อสร้าง เนื่องจากประชาชนชะลอการซื้อสินค้าดังกล่าวลง
4. สินค้าที่เคยมีแนวโน้มความต้องการของตลาดที่ลดลงในช่วงก่อนเกิดการก่อวินาศกรรม ได้แก่ สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) สินค้าอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในสำนักงาน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ในสำนักงาน คาดว่าความต้องการของตลาดยังคงลดลงต่อไป เนื่องจากการก่อการร้ายไม่ได้สร้างเงื่อนไขใดๆ ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ความต้องการสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามกลับสร้างเงื่อนไขที่จะตอกย้ำให้ความต้องการของตลาดลดลง และอาจจะในอัตราการลดลงที่เร็วขึ้นกว่าเดิม
5. สินค้าประเภทคงทนถาวรมีอายุการใช้งานนานเช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะได้รับผลกระทบจากการที่รายได้ประชาชนลดลงและประชาชนเริ่มระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยสินค้าเหล่านี้ผู้บริโภคจะยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นหรือชะลอการสั่งซื้อ และต้องให้เวลาผู้บริโภคปรับตัวสักระยะหนึ่งจึงจะเริ่มเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้น และคาดว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2002 จะเริ่มมองเห็นสถานการณ์ดีขึ้น เนื่องจากจะมีการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น งานแสดงสินค้าที่จะเป็นตัวขึ้นและยืนยันการคาดการณ์ดังกล่าวได้ คือ งานแสดงสินค้า Int'l Houseware Show 2002 ระหว่างวันที่ 13-15 มกราคม 2545 ซึ่งจะเป็นงานแสดงสินค้าแรกของปี และเป็นงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับของใช้และของตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งตามปกติบุคคลในวงการ รวมทั้งฝ่ายขายของห้างร้านต่างๆ จะมาชมและเลือกสั่งซื้อสินค้าจากงานแสดงสินค้าดังกล่าวอย่างมากมายผลกระทบต่อประเทศไทย
1. ในระยะแรกที่เกิดเหตุการณ์ เนื่องจากความวิตกในเรื่องของความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน ทำให้นักธุรกิจไทยและสหรัฐฯ ไม่กล้าเดินทางไป-มาเพื่อเจรจาสั่งซื้อสินค้ากันตามปกติ ผู้นำเข้าที่แสดงความสนใจมาชมงานแสดงสินค้าในประเทศไทยลดน้อยลงมาก รวมถึงงานแสดงสินค้าในสหรัฐฯ ซึ่งผู้ส่งออกไทยไปร่วมงานแสดงสินค้ามีผู้ซื้อ (Buyer) ไปชมงานแสดงสินค้าน้อยมาก ทำให้ไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่ายและเสียโอกาสในการสั่งซื้อ
2. ผู้นำเข้าไม่มั่นใจว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อหรือเลวร้ายลงเพียงใด ดังนั้น จึงมีบางรายชะลอการสั่งซื้อหรือยกเลิกการสั่งซื้อจนกว่าเหตุการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ดังนั้น วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับสหรัฐฯ จึงน่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ลดลงอีก จากที่มีแนวโน้มลดลงมาเป็นลำดับตั้งแต่ต้นปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 ขณะเดียวกันประเทศคู่ค้าหลักอื่นๆของไทย เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียน ก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีผลให้การส่งออกของไทยไปยังตลาดหลักอื่นๆ มีมูลค่าลดลงตามไปด้วย
3. สินค้าเลื่อนระยะเวลาการส่งมอบ เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินหรือเรือ ทำให้สินค้าต้องถูกกักกันอยู่ที่ท่าต้นทางเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯ ได้เพิ่มความเข้มงวดเพื่อป้องกันเหตุร้าย ดังนั้น การตรวจสอบสินค้าที่ส่งเข้ามาจึงมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
4. การที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบทำให้แผนการปรับปรุงโรงแรมหลายแห่งซึ่งมีโครงการสั่งซื้อสินค้าจากไทยเช่น พรม เครื่องใช้ในการตกแต่งโรงแรมต้องชะลอออกไปข้อเสนอแนะ
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจมั่นคง มีประชากรกว่า 280 ล้านคน นับเป็นตลาดที่ยังมีกำลังซื้อขนาดใหญ่ การเกิดเหตุร้ายในสหรัฐฯ ครั้งนี้แม้ว่าจะส่งผลกระทบในทางลบและก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย แต่ผู้นำเข้าสินค้าไทยเห็นว่าผลกระทบนี้จะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น และเชื่อว่าจะปรับตัวได้ในไม่ช้า
กลยุทธ์ที่ควรดำเนินการในระยะสั้น
-- การปรับแนวโน้มสีสันรูปแบบของสินค้าประเภทของขวัญ ของชำร่วย ของประดับตกแต่งบ้าน เสื้อผ้า ที่ออกแนวรักชาติ
-- กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าที่เคยนำเข้า โดยสนับสนุนและจูงใจให้คงระดับความสั่งซื้อจากไทยเช่นเดิม เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและปริมาณการส่งออกของไทยไว้ในระดับเดิม แทนการสูญเสียตลาดและปริมาณการส่งออกจากสถานการณ์ในขณะนี้ โดยการจัดคณะผู้แทนการค้าไปพบกับผู้ซื้อเดิม โดยเฉพาะผู้ซื้อรายสำคัญทดแทนกับการที่ผู้ซื้อระงับการเดินทางไปต่างประเทศ
-- การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อสร้างภาพพจน์ ในขณะนี้มีความสำคัญเพื่อกระตุ้นให้นักธุรกิจสหรัฐฯ ตระหนักว่า แม้สถานการณ์จะเป็นเช่นไรไทยก็พร้อมที่จะทำธุรกิจด้วยเสมอ โดยเฉพาะงานแสดงสินค้าในนครนิวยอร์ค เช่น งานแสดงสินค้าเสื้อผ้า และอาหาร เป็นต้น
-- ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยจะต้องเตรียมตัวนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ทั้งในกรณีการเดินทางไปพบลูกค้าและการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า
กลยุทธ์ในระยะยาว
-- ผู้ส่งออกไทยควรศึกษาพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ถูกกับรสนิยมความต้องการของตลาด นำสินค้าเสนอ รูปแบบใหม่ๆ ไปขาย เนื่องจากการเสนอขายสินค้ารูปแบบเดิมๆ จะทำให้สินค้าไทยไม่สามารถแข่งขันกับจีนหรือเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่าได้
-- ผู้ส่งออกไทยควรเน้นการรักษามาตรฐานคุณภาพสินค้าเช่น สินค้าอาหารและเน้นสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน
-- ควรหันมาเจาะตลาดผู้บริโภคซึ่งเคยใช้สินค้าระดับตลาดบน (High-end) ซึ่งปัจจุบันต้องรัดเข็มขัดและหันมาใช้สินค้าที่อยู่ในระดับกลาง-บนแทน หรือพัฒนาสินค้าให้ต้นทุนต่ำลงเพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้
-- การเสนอเงื่อนไขในการขายที่จูงใจ เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน การช่วยประชาสัมพันธ์ ฯลฯเรียบเรียงโดย … ส่วนตลาดอเมริกเหนือ สำนักพัฒนาตลาดต่างประเทศ
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส, นครนิวยอร์ก, เมืองไมอามี่ และนครชิคาโก)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม 2544--
-อน-