แท็ก
ภาคใต้
ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดยะลาประกออบด้วย 6 อำเภอกับ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเมืองยะลา บันนังสตา ธารโต เบตง รามัน ยะหา กิ่งอำเภอกาบัง และกิ่งอำเภอกรงปีนัง
พื้นที่รวม 4,521.1 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,825,674ไร่
ณ สิ้นธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน 436,092 คน หรือร้อยละ 5.3 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price )ปี 2539 มีจำนวน 11,139.7 ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.9 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่สาขาการค้าปลีกและการค้าส่งร้อยละ 16.1 และสาขาการบริการร้อยละ 10.2 สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 43,502 บาทต่อปี เป็นอันดับที่ 11 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดยะลามีจำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการในเขตพื้นที่ (31 ธันวาคม 2536) จำนวน 333โรงงาน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางพารา และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากยางพาราซึ่งกระจายในทุกอำเภอ กิ่งอำเภอ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในเขตพื้นที่ดังนี้
-ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งวัตถุดิบอุดมสมบูรณ์
-อยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย (IMT-GT)อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
-อยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA)
-มีเขตอุตสาหกรรมจังหวัดเนื้อที่ 2,900 ไร่
-มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย รวม 18 แห่ง
-ตั้งอยู่ภายใต้กรอบการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I) เขต 3 ได้รับสิทธิประโยชน์ 8 ประการ สำหรับกิจการ 160 ประเภท
-แรงงงานภายในท้องถิ่นจำนวนมากและราคาถูก
-มีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
-มีด่านชายแดนเข้า-ออกกับประเทศมาเลเซีย
-มีสถาบันการศึกษา ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ โดยเฉพาะศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
-เป็นที่ตั้งของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์ของภาคใต้(เขื่อนบางลาง)
ข้อเสนอแนะการลงทุน
1.ด้านการเกษตร
จังหวัดยะลามีดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการปลูกยางพาราและผลไม้ทุกชนิดโดยเฉพาะทุเรียน ลองกอง ส้ม และมังคุด ปลูกในพื้นที่รวม 1076630 ไร่ ผลผลิตรวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 2989.5 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าพืชเศรษฐกิจดังกล่าว สามารถส่งเสริมการลงทุนได้อีกมากและมีการตลาดรองรับอย่างเพียงพอ
-ยางพารา -โคเนื้อ
-ทุเรียน -แพะ แกะ
-ลองกอง -ไก่(เบตง)
-มังคุด -กวาง
-ส้มโชกุน -การประมงน้ำจืด
-ผักต่าง ๆ
2.ด้านการอุตสาหกรรม
จากข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในจังหวัดยะลา จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราได้ดำเนินการไปอย่างครบวงจร และได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ ก็มีศักยภาพ และวัตถุดิบเพียงพอในกระบวนการผลิตดังนี้
-อุตสาหกรรมจากน้ำยางพารา
-อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
-อุตสาหกรรมจากไม้ยางพารา
-อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
-อุตสาหกรรมของที่ระลึกและหัตกรรม
-อุตสาหกรรมห้องเย็น และแช่แข็ง
-ฯลฯ
3.ด้านการท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดยะลามีทุกประเภท ทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนาธรรม ตลอดจนประเพณีสำคัญต่าง ๆ ที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจรให้มาเยือน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
-โรงแรม สถานที่ร้านค้า และร้านอาหาร
-ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยเฉพาะการนำเที่ยวแบบ Package Tour
โครงการที่มีศักยภาพในจังหวัดยะลา
จังหวัดยะลามีทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย รวมทั้งมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการลงทุนในโครงการนี้
-โครงการส่งเสริมการปลูกไม้ผล ลองกอง ทุเรียน ส้มเพื่อการส่งออก และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากยางพารา
-โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผลไม้กระป๋อง แพะกระป๋อง
-โครงการอุตสาหกรรมห้องเย็นและแช่แข็ง
-โครงการจัดทำของที่ระลึกจากไม้ยางพาราและหินอ่อน
-โครงการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก
-ฯลฯ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดยะลาประกออบด้วย 6 อำเภอกับ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเมืองยะลา บันนังสตา ธารโต เบตง รามัน ยะหา กิ่งอำเภอกาบัง และกิ่งอำเภอกรงปีนัง
พื้นที่รวม 4,521.1 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,825,674ไร่
ณ สิ้นธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน 436,092 คน หรือร้อยละ 5.3 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price )ปี 2539 มีจำนวน 11,139.7 ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.9 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่สาขาการค้าปลีกและการค้าส่งร้อยละ 16.1 และสาขาการบริการร้อยละ 10.2 สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 43,502 บาทต่อปี เป็นอันดับที่ 11 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดยะลามีจำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการในเขตพื้นที่ (31 ธันวาคม 2536) จำนวน 333โรงงาน โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางพารา และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากยางพาราซึ่งกระจายในทุกอำเภอ กิ่งอำเภอ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในเขตพื้นที่ดังนี้
-ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งวัตถุดิบอุดมสมบูรณ์
-อยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย (IMT-GT)อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
-อยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA)
-มีเขตอุตสาหกรรมจังหวัดเนื้อที่ 2,900 ไร่
-มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย รวม 18 แห่ง
-ตั้งอยู่ภายใต้กรอบการส่งเสริมการลงทุน (B.O.I) เขต 3 ได้รับสิทธิประโยชน์ 8 ประการ สำหรับกิจการ 160 ประเภท
-แรงงงานภายในท้องถิ่นจำนวนมากและราคาถูก
-มีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
-มีด่านชายแดนเข้า-ออกกับประเทศมาเลเซีย
-มีสถาบันการศึกษา ส่วนราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ โดยเฉพาะศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
-เป็นที่ตั้งของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์ของภาคใต้(เขื่อนบางลาง)
ข้อเสนอแนะการลงทุน
1.ด้านการเกษตร
จังหวัดยะลามีดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการปลูกยางพาราและผลไม้ทุกชนิดโดยเฉพาะทุเรียน ลองกอง ส้ม และมังคุด ปลูกในพื้นที่รวม 1076630 ไร่ ผลผลิตรวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 2989.5 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าพืชเศรษฐกิจดังกล่าว สามารถส่งเสริมการลงทุนได้อีกมากและมีการตลาดรองรับอย่างเพียงพอ
-ยางพารา -โคเนื้อ
-ทุเรียน -แพะ แกะ
-ลองกอง -ไก่(เบตง)
-มังคุด -กวาง
-ส้มโชกุน -การประมงน้ำจืด
-ผักต่าง ๆ
2.ด้านการอุตสาหกรรม
จากข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในจังหวัดยะลา จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราได้ดำเนินการไปอย่างครบวงจร และได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ ก็มีศักยภาพ และวัตถุดิบเพียงพอในกระบวนการผลิตดังนี้
-อุตสาหกรรมจากน้ำยางพารา
-อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
-อุตสาหกรรมจากไม้ยางพารา
-อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
-อุตสาหกรรมของที่ระลึกและหัตกรรม
-อุตสาหกรรมห้องเย็น และแช่แข็ง
-ฯลฯ
3.ด้านการท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดยะลามีทุกประเภท ทั้งแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนาธรรม ตลอดจนประเพณีสำคัญต่าง ๆ ที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวและนักทัศนาจรให้มาเยือน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมอาชีพและรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
-โรงแรม สถานที่ร้านค้า และร้านอาหาร
-ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยเฉพาะการนำเที่ยวแบบ Package Tour
โครงการที่มีศักยภาพในจังหวัดยะลา
จังหวัดยะลามีทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย รวมทั้งมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการลงทุนในโครงการนี้
-โครงการส่งเสริมการปลูกไม้ผล ลองกอง ทุเรียน ส้มเพื่อการส่งออก และอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากยางพารา
-โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผลไม้กระป๋อง แพะกระป๋อง
-โครงการอุตสาหกรรมห้องเย็นและแช่แข็ง
-โครงการจัดทำของที่ระลึกจากไม้ยางพาราและหินอ่อน
-โครงการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก
-ฯลฯ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-