คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ประกาศเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 เรื่อง การจัดเตรียมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายละเอียดและรายการสินค้าซึ่งจะเปิดตลาดภายใต้พันธะกรณีซึ่งได้มีการตกลงและกำหนดไว้ใน Agreement on Textiles and Clothing (ATC) ของ WTO โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้.-
การเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอภายใต้พันธะกรณีฯ
1. EU ได้กำหนดรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดสำหรับขั้นตอนที่ 3 ภายใน 1 ม.ค. 2002 คิดเป็นปริมาณ 18.1% (ของปริมาณการนำเข้าในปี 1990 ซึ่งใช้เป็นฐาน) ซึ่งเป็นไปตามพันธะกรณีฯ (ที่ได้กำหนดไว้ 18%) หรือเมื่อคิดเป็นมูลค่า (ในปี 1990) 12.9 พันล้านยูโร หรือเท่ากับ 21.8% ของมูลค่านำเข้าทั้งสิ้นของ EU สำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า 1
2. แผนการเปิดตลาดดังกล่าวจะเป็นการยกเลิกโควต้าสิ่งทอ จำนวน 37 รายการ (Category) ซึ่งปัจจุบันถูกกำหนดโควต้าอยู่ในข้อตกลงทวิภาคีซึ่งมีกับประเทศต่าง ๆ (ทั้งนี้หากรวมข้อตกลงฯ กับจีนด้วยจะเท่ากับ 56 รายการ) หรือเท่ากับ 1/5 ของสินค้าที่ปัจจุบันถูกจำกัดโควต้า
3. ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอขออำนาจ (Mandate) จากคณะมนตรีในการเจรจากับประเทศคู่ค้าสิ่งทอ สำหรับการเปิดตลาดเพิ่มเติมให้แก่ประเทศคู่ค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกับการเปิดตลาดของประเทศคู่ค้านั้น ๆ ให้กับสินค้าสิ่งทอของ EU
4. ข้อเสนอแนะดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะมนตรีและหลังจากผ่านมติของคณะมนตรีแล้ว จึงจะดำเนินการแจ้งต่อ WTO ภายในไม่เกิน 31 ธันวาคม 2000 และจะมีผลใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2002
5. ข้อเสนอแนะดังกล่าวประกอบด้วยรายงานภูมิหลังเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของ EU, รายงานเกี่ยวกับมาตรการการค้าที่สินค้า EU ประสบในตลาดประเทศต่าง ๆ รวมทั้งตารางเปรียบเทียบอัตราภาษีสินค้าสิ่งทอของ EU กับประเทศคู่ค้าต่าง ๆประเด็นที่เกี่ยวกับไทย
1. รายการสินค้าที่ปัจจุบันไทยถูกจำกัดโควต้าภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีสิ่งทอและจะได้รับการยกเลิกโควต้าตั้งแต่ 1 มกราคม 2002 ได้แก่ Category 21, 24 และ 73
2. จากสถิติการใช้โควต้าของสามรายการดังกล่าวพบว่าเป็นรายการที่มีอัตราการใช้ไม่มาก กล่าวคือ
สัดส่วนการใช้โควต้า (% Utilisation)
Category โควต้าปี 1999 โควต้าปี 2000 (ณ 30 ก.ย. 2000)
21 23.8% 19.4%
24 20.5% 14.5%
73 38.5% 25.6%
1 สำหรับขั้นตอนสุดท้าย คือ การยกเลิกโควต้าสำหรับสินค้าที่เหลือทั้งหมดใน 1 มกราคม 2005
3. ในรายงานภูมิหลังส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการค้าสินค้าสิ่งทอของไทย EU ได้มีระบุว่า มาตรการที่ไทยใช้สำหรับสินค้าสิ่งทอซึ่ง EU พิจารณาว่าขัดกับระเบียบของ WTO และควรมีการพิจารณาใน WTO ได้แก่
(1) การกำหนด Additonal Tax 10% และ Local Tax 10% (ของผลรวมของภาษีและ Additional Tax) รวมทั้งค่าธรรมเนียมศุลกากร (Customs Clearing & Handling Fee) 3%
(2) การจัดเก็บภาษี Export Promotion Tax 0.5% สำหรับสินค้านำเข้า
(3) ระบบ Import Licence ซึ่งมีลักษณะเป็น Non-automatic สำหรับสินค้าเสื้อผ้าข้อสังเกต
1. แม้ว่า EU จะปฏิบัติตามพันธะกรณี WTO อย่างเคร่งครัดในการเปิดตลาดในขั้นตอนที่ 3 แต่จากรายงานของ WTO เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2000 ในการประชุมของ Trade Policy Review Body ได้ระบุว่า "การนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาด EU ยังคงถูกจำกัดด้วยอัตราภาษีซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ย รวมทั้งยังต้องประสบปัญหา Tariff Escalation และโควต้า" โดย WTO ได้ประเมินการดำเนินการเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอของ EU ภายใต้พันธะกรณีว่า "ยังคงประสบผลสำเร็จเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น" กล่าวคือ การยกเลิกโควต้าเมื่อปี 1990 สำหรับสินค้า 12 รายการ (ในจำนวน 52 รายการที่มีโควต้า) นั้น คิดเป็นเพียง 5.4% ของสินค้าที่ถูกจำกัดการนำเข้า และประเทศที่ได้รับประโยชน์คือประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศเท่านั้น
2. เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า นโยบายการค้าของ EU สำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากนี้ไปจะยึดหลักการตอบแทนซึ่งกันและกัน (Reciprocity) ซึ่งจะเห็นได้ว่าได้เริ่มนำมาใช้ปฏิบัติแล้ว โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2000 EU ได้ตกลงกันกับยูเครนในการเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอให้กันและกัน โดย EU ได้ขยายระดับโควต้าในปี 2000 ให้กับสินค้ายูเครน และจะยกเลิกโควต้านำเข้าสินค้าสิ่งทอจากยูเครนตั้งแต่ 1 มกราคม 2001 ในขณะที่ยูเครนยินยอมที่จะคงระดับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวของ EU ในระดับปัจจุบันและจะลดอัตราภาษีจากระดับอัตราที่ EU ผูกพันไว้ใน WTO
3. สำหรับไทย การเปิดตลาดขั้นที่ 3 ของ EU ดังกล่าวอาจจะมิได้ให้ประโยชน์กับไทยมากนัก เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการใช้โควต้าของไทยในปัจจุบัน สินค้าที่จะได้รับการยกเลิกโควต้ามีการส่งออกไปยัง EU ไม่มาก
4. จากการหารือเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการฯ ได้รับการชี้แจงว่า เมื่อคณะกรรมาธิการฯ ได้รับ Mandate จากคณะมนตรีฯ แล้ว หากไทยประสงค์จะให้ขอเปิดการเจรจาเพื่อเปิดตลาดเพิ่มเติม เช่น การยกเลิกโควต้าสำหรับสินค้าสิ่งทอรายการอื่น ๆ นอกเหนือจากระดับที่ EU จะเปิดตลาดในขั้นตอนที่ 3 ดังที่กล่าวข้างต้น ก็สามารถขอเปิดการเจรจากับคณะกรรมาธิการฯ ได้ ซึ่งในกรณีนั้นฝ่ายไทยจะต้องพร้อมที่จะเจรจาเพื่อเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้กับ EU โดยการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าของไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-
การเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอภายใต้พันธะกรณีฯ
1. EU ได้กำหนดรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดสำหรับขั้นตอนที่ 3 ภายใน 1 ม.ค. 2002 คิดเป็นปริมาณ 18.1% (ของปริมาณการนำเข้าในปี 1990 ซึ่งใช้เป็นฐาน) ซึ่งเป็นไปตามพันธะกรณีฯ (ที่ได้กำหนดไว้ 18%) หรือเมื่อคิดเป็นมูลค่า (ในปี 1990) 12.9 พันล้านยูโร หรือเท่ากับ 21.8% ของมูลค่านำเข้าทั้งสิ้นของ EU สำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า 1
2. แผนการเปิดตลาดดังกล่าวจะเป็นการยกเลิกโควต้าสิ่งทอ จำนวน 37 รายการ (Category) ซึ่งปัจจุบันถูกกำหนดโควต้าอยู่ในข้อตกลงทวิภาคีซึ่งมีกับประเทศต่าง ๆ (ทั้งนี้หากรวมข้อตกลงฯ กับจีนด้วยจะเท่ากับ 56 รายการ) หรือเท่ากับ 1/5 ของสินค้าที่ปัจจุบันถูกจำกัดโควต้า
3. ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอขออำนาจ (Mandate) จากคณะมนตรีในการเจรจากับประเทศคู่ค้าสิ่งทอ สำหรับการเปิดตลาดเพิ่มเติมให้แก่ประเทศคู่ค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกับการเปิดตลาดของประเทศคู่ค้านั้น ๆ ให้กับสินค้าสิ่งทอของ EU
4. ข้อเสนอแนะดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะมนตรีและหลังจากผ่านมติของคณะมนตรีแล้ว จึงจะดำเนินการแจ้งต่อ WTO ภายในไม่เกิน 31 ธันวาคม 2000 และจะมีผลใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2002
5. ข้อเสนอแนะดังกล่าวประกอบด้วยรายงานภูมิหลังเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของ EU, รายงานเกี่ยวกับมาตรการการค้าที่สินค้า EU ประสบในตลาดประเทศต่าง ๆ รวมทั้งตารางเปรียบเทียบอัตราภาษีสินค้าสิ่งทอของ EU กับประเทศคู่ค้าต่าง ๆประเด็นที่เกี่ยวกับไทย
1. รายการสินค้าที่ปัจจุบันไทยถูกจำกัดโควต้าภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีสิ่งทอและจะได้รับการยกเลิกโควต้าตั้งแต่ 1 มกราคม 2002 ได้แก่ Category 21, 24 และ 73
2. จากสถิติการใช้โควต้าของสามรายการดังกล่าวพบว่าเป็นรายการที่มีอัตราการใช้ไม่มาก กล่าวคือ
สัดส่วนการใช้โควต้า (% Utilisation)
Category โควต้าปี 1999 โควต้าปี 2000 (ณ 30 ก.ย. 2000)
21 23.8% 19.4%
24 20.5% 14.5%
73 38.5% 25.6%
1 สำหรับขั้นตอนสุดท้าย คือ การยกเลิกโควต้าสำหรับสินค้าที่เหลือทั้งหมดใน 1 มกราคม 2005
3. ในรายงานภูมิหลังส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการค้าสินค้าสิ่งทอของไทย EU ได้มีระบุว่า มาตรการที่ไทยใช้สำหรับสินค้าสิ่งทอซึ่ง EU พิจารณาว่าขัดกับระเบียบของ WTO และควรมีการพิจารณาใน WTO ได้แก่
(1) การกำหนด Additonal Tax 10% และ Local Tax 10% (ของผลรวมของภาษีและ Additional Tax) รวมทั้งค่าธรรมเนียมศุลกากร (Customs Clearing & Handling Fee) 3%
(2) การจัดเก็บภาษี Export Promotion Tax 0.5% สำหรับสินค้านำเข้า
(3) ระบบ Import Licence ซึ่งมีลักษณะเป็น Non-automatic สำหรับสินค้าเสื้อผ้าข้อสังเกต
1. แม้ว่า EU จะปฏิบัติตามพันธะกรณี WTO อย่างเคร่งครัดในการเปิดตลาดในขั้นตอนที่ 3 แต่จากรายงานของ WTO เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2000 ในการประชุมของ Trade Policy Review Body ได้ระบุว่า "การนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาด EU ยังคงถูกจำกัดด้วยอัตราภาษีซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ย รวมทั้งยังต้องประสบปัญหา Tariff Escalation และโควต้า" โดย WTO ได้ประเมินการดำเนินการเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอของ EU ภายใต้พันธะกรณีว่า "ยังคงประสบผลสำเร็จเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น" กล่าวคือ การยกเลิกโควต้าเมื่อปี 1990 สำหรับสินค้า 12 รายการ (ในจำนวน 52 รายการที่มีโควต้า) นั้น คิดเป็นเพียง 5.4% ของสินค้าที่ถูกจำกัดการนำเข้า และประเทศที่ได้รับประโยชน์คือประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศเท่านั้น
2. เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า นโยบายการค้าของ EU สำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากนี้ไปจะยึดหลักการตอบแทนซึ่งกันและกัน (Reciprocity) ซึ่งจะเห็นได้ว่าได้เริ่มนำมาใช้ปฏิบัติแล้ว โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2000 EU ได้ตกลงกันกับยูเครนในการเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอให้กันและกัน โดย EU ได้ขยายระดับโควต้าในปี 2000 ให้กับสินค้ายูเครน และจะยกเลิกโควต้านำเข้าสินค้าสิ่งทอจากยูเครนตั้งแต่ 1 มกราคม 2001 ในขณะที่ยูเครนยินยอมที่จะคงระดับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวของ EU ในระดับปัจจุบันและจะลดอัตราภาษีจากระดับอัตราที่ EU ผูกพันไว้ใน WTO
3. สำหรับไทย การเปิดตลาดขั้นที่ 3 ของ EU ดังกล่าวอาจจะมิได้ให้ประโยชน์กับไทยมากนัก เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนการใช้โควต้าของไทยในปัจจุบัน สินค้าที่จะได้รับการยกเลิกโควต้ามีการส่งออกไปยัง EU ไม่มาก
4. จากการหารือเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการฯ ได้รับการชี้แจงว่า เมื่อคณะกรรมาธิการฯ ได้รับ Mandate จากคณะมนตรีฯ แล้ว หากไทยประสงค์จะให้ขอเปิดการเจรจาเพื่อเปิดตลาดเพิ่มเติม เช่น การยกเลิกโควต้าสำหรับสินค้าสิ่งทอรายการอื่น ๆ นอกเหนือจากระดับที่ EU จะเปิดตลาดในขั้นตอนที่ 3 ดังที่กล่าวข้างต้น ก็สามารถขอเปิดการเจรจากับคณะกรรมาธิการฯ ได้ ซึ่งในกรณีนั้นฝ่ายไทยจะต้องพร้อมที่จะเจรจาเพื่อเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปให้กับ EU โดยการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าของไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-