1. เรื่องสืบเนื่องจากการดำเนินงานตามมติ กนศ.
ผลกระทบของไทยจากการที่จีนสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลกระทบของไทยจากการที่จีนสมัครเข้าเป็นสมาชิก องค์การการค้าโลกว่า ในระยะสั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการแข่งขันกับไทย แต่ในระยะยาว เมื่อจีนปฏิบัติตามพันธกรณีและปรับปรุงกลไกตลาดภายในประเทศจีนจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจาก ต่างประเทศและจะผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายแข่งขันกับไทย โดยเฉพาะในตลาดประเทศที่สาม ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรศึกษาเพิ่มเติมให้เห็นภาพผลกระทบอย่างชัดเจน ครอบคลุมทั้งด้านภาษีและด้านอื่นๆ ที่จะกระทบต่อการค้าและการแข่งขันของไทยกับจีนในตลาดโลก
2. เรื่องเพื่อพิจารณา
2.1 การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ
คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรี และคณะทำงานด้าน
การศึกษาและเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรี ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ กนศ. ได้รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์เรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ว่าควรจัดทำแยกเป็น 2 ระดับคือ
1) ระดับภูมิภาค (Regional) อาเซียนกับ 3 ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออก (จีน เกาหลี และญี่ปุ่น) และระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี อาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และอาเซียนกับญี่ปุ่น
2) ระดับทวิภาคี (Bilateral) ได้มีการคัดเลือกจากประเทศคู่ค้า โดยคำนึงถึงขนาดของตลาด ประเภทสินค้าที่เกื้อกูลกัน และสถานที่ตั้ง โดยเสนอ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และรัสเซีย เพื่อเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่อไป
ที่ประชุม กนศ. มีมติ ให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1) ให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทาบทาม 6 ประเทศข้างต้นเพื่อทำการศึกษาร่วมกันถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี แล้วเสนอต่อที่ประชุม กนศ. พิจารณาก่อนที่จะขอเจรจาทำความตกลงกับประเทศดังกล่าว
2) ในกรณีของสาธารณรัฐโครเอเชีย และสาธารณรัฐเช็ก ให้ขอคำยืนยันจากประเทศทั้งสองว่าการเจรจาเขตการค้าเสรีจะครอบคลุมสินค้าเกษตรด้วยก่อน หากไม่ได้รับคำตอบในทางบวกก็ควรมีการพิจารณาทบทวน
3) จัดสัมมนาระดมข้อคิดเห็นเรื่องเขตการค้าเสรี โดยใช้งบประมาณจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้รับอนุมัติวงเงินไว้แล้ว และให้นำประเด็นจากที่ประชุม กนศ. ไปหารือในการสัมมนาเพื่อเสนอให้ที่ประชุม กนศ. ทราบต่อไป
2.2. ร่างพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน
BOI ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ซึ่งคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ได้พิจารณาแก้ไขจนเสร็จแล้ว ใน 4 ประเด็น ดังนี้
2.2.1ขยายขอบเขตของความตกลงให้ครอบคลุมภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจ 5 ภาค คือ ภาคการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้และเหมืองแร่
2.2.2ให้เร่งระยะเวลาการยกเลิกกิจการที่ขอยกเว้นเป็นการชั่วคราว (TEL)
สำหรับภาคการผลิตให้เร็วขึ้น สำหรับภาคีสมาชิก 7 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิป-ปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และพม่า เป็นภายในปี 2003 ส่วนกัมพูชา ลาวและเวียดนาม จะยกเลิกภายในปี 2010
2.2.3หากภาคีสมาชิกใดให้สิทธิพิเศษแก่ ASEAN และ Non-ASEAN ดีกว่าที่ระบุไว้ในกรอบความตกลง ขอให้ประเทศสมาชิกแจ้ง AIA Council
2.2.4แก้ไขข้อยกเว้นของการบังคับใช้ให้มีผลหลังจากความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียนบังคับใช้แล้ว 3 ปี สำหรับกรณีของเวียดนาม และ 5 ปี สำหรับกรณีของกัมพูชา ลาวและพม่า
ที่ประชุม กนศ. มีมติ เห็นชอบ ดังนี้
1) ร่างพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน
2) ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) เป็นผู้ลงนามในพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน
3) มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรี
เศรษฐกิจ
2.3เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าบริการ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้แจ้งยกเลิกคณะกรรมการประสานงานการค้าบริการที่ตั้งขึ้นตามมติ ครม. และได้นำขอบข่ายอำนาจหน้าที่งานของคณะกรรมการดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าบริการขึ้นภายใต้ กนศ. โดยให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นเลขานุการ
ที่ประชุม กนศ. มีมติ เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจา
การค้าบริการภายใต้ กนศ.
3. เรื่องเพื่อทราบ
ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
3.1การปรับปรุงคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานภายใต้ กนศ.
3.2การหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซีย กรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้า ยานยนต์ภายใต้อาฟต้า
3.3ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 1/32
3.4ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 1/2544
3.5ผลการประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 3 ภายใต้กรอบ BIMST-EC
3.6การยื่นข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการเบื้องต้นภายใต้อาเซียน
3.7ความคืบหน้าการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ผลกระทบของไทยจากการที่จีนสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลกระทบของไทยจากการที่จีนสมัครเข้าเป็นสมาชิก องค์การการค้าโลกว่า ในระยะสั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการแข่งขันกับไทย แต่ในระยะยาว เมื่อจีนปฏิบัติตามพันธกรณีและปรับปรุงกลไกตลาดภายในประเทศจีนจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจาก ต่างประเทศและจะผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายแข่งขันกับไทย โดยเฉพาะในตลาดประเทศที่สาม ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรศึกษาเพิ่มเติมให้เห็นภาพผลกระทบอย่างชัดเจน ครอบคลุมทั้งด้านภาษีและด้านอื่นๆ ที่จะกระทบต่อการค้าและการแข่งขันของไทยกับจีนในตลาดโลก
2. เรื่องเพื่อพิจารณา
2.1 การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ
คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรี และคณะทำงานด้าน
การศึกษาและเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรี ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ กนศ. ได้รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์เรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ว่าควรจัดทำแยกเป็น 2 ระดับคือ
1) ระดับภูมิภาค (Regional) อาเซียนกับ 3 ประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออก (จีน เกาหลี และญี่ปุ่น) และระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี อาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และอาเซียนกับญี่ปุ่น
2) ระดับทวิภาคี (Bilateral) ได้มีการคัดเลือกจากประเทศคู่ค้า โดยคำนึงถึงขนาดของตลาด ประเภทสินค้าที่เกื้อกูลกัน และสถานที่ตั้ง โดยเสนอ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และรัสเซีย เพื่อเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่อไป
ที่ประชุม กนศ. มีมติ ให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1) ให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทาบทาม 6 ประเทศข้างต้นเพื่อทำการศึกษาร่วมกันถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี แล้วเสนอต่อที่ประชุม กนศ. พิจารณาก่อนที่จะขอเจรจาทำความตกลงกับประเทศดังกล่าว
2) ในกรณีของสาธารณรัฐโครเอเชีย และสาธารณรัฐเช็ก ให้ขอคำยืนยันจากประเทศทั้งสองว่าการเจรจาเขตการค้าเสรีจะครอบคลุมสินค้าเกษตรด้วยก่อน หากไม่ได้รับคำตอบในทางบวกก็ควรมีการพิจารณาทบทวน
3) จัดสัมมนาระดมข้อคิดเห็นเรื่องเขตการค้าเสรี โดยใช้งบประมาณจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้รับอนุมัติวงเงินไว้แล้ว และให้นำประเด็นจากที่ประชุม กนศ. ไปหารือในการสัมมนาเพื่อเสนอให้ที่ประชุม กนศ. ทราบต่อไป
2.2. ร่างพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน
BOI ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) ซึ่งคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ได้พิจารณาแก้ไขจนเสร็จแล้ว ใน 4 ประเด็น ดังนี้
2.2.1ขยายขอบเขตของความตกลงให้ครอบคลุมภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจ 5 ภาค คือ ภาคการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้และเหมืองแร่
2.2.2ให้เร่งระยะเวลาการยกเลิกกิจการที่ขอยกเว้นเป็นการชั่วคราว (TEL)
สำหรับภาคการผลิตให้เร็วขึ้น สำหรับภาคีสมาชิก 7 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิป-ปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และพม่า เป็นภายในปี 2003 ส่วนกัมพูชา ลาวและเวียดนาม จะยกเลิกภายในปี 2010
2.2.3หากภาคีสมาชิกใดให้สิทธิพิเศษแก่ ASEAN และ Non-ASEAN ดีกว่าที่ระบุไว้ในกรอบความตกลง ขอให้ประเทศสมาชิกแจ้ง AIA Council
2.2.4แก้ไขข้อยกเว้นของการบังคับใช้ให้มีผลหลังจากความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียนบังคับใช้แล้ว 3 ปี สำหรับกรณีของเวียดนาม และ 5 ปี สำหรับกรณีของกัมพูชา ลาวและพม่า
ที่ประชุม กนศ. มีมติ เห็นชอบ ดังนี้
1) ร่างพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน
2) ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) เป็นผู้ลงนามในพิธีสารแก้ไขกรอบความตกลงพื้นฐานว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน
3) มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรี
เศรษฐกิจ
2.3เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าบริการ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้แจ้งยกเลิกคณะกรรมการประสานงานการค้าบริการที่ตั้งขึ้นตามมติ ครม. และได้นำขอบข่ายอำนาจหน้าที่งานของคณะกรรมการดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าบริการขึ้นภายใต้ กนศ. โดยให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นเลขานุการ
ที่ประชุม กนศ. มีมติ เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจา
การค้าบริการภายใต้ กนศ.
3. เรื่องเพื่อทราบ
ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
3.1การปรับปรุงคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานภายใต้ กนศ.
3.2การหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซีย กรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้า ยานยนต์ภายใต้อาฟต้า
3.3ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 1/32
3.4ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 1/2544
3.5ผลการประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 3 ภายใต้กรอบ BIMST-EC
3.6การยื่นข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการเบื้องต้นภายใต้อาเซียน
3.7ความคืบหน้าการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-