กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (7 มีนาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์เรื่องผลการหารือระหว่าง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายเหวียน ซี เนียน (Nguyen Dy Nien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ในโอกาสที่ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ไปเยือนประเทศเวียดนามในวันที่ 7 มีนาคม 2544 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การเดินทางไปเยือนเวียดนามของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศถือเป็นการเดินทางไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นประเทศแรก และเป็นการให้ความสำคัญกับเวียดนาม ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน และในฐานะที่เวียดนามเป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee) ตลอดจนวาระการครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เวียดนาม
2. ระเบียบวาระสำคัญ (agenda) ที่เวียดนามจะยกขึ้นหารือในการประชุม AMM และ PMC คือเรื่องการลดช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวย และยากจน ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายไทย เห็นชอบเพราะการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ บางครั้งอาจละเลยเรื่องการพัฒนาความสามารถของประเทศที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดช่องว่างดังกล่าว นอกจากนี้ แม้ว่าการเปิดเสรีของตลาดการค้าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถไปในขณะเดียวกัน (capacity building) เพื่อให้ประเทศที่เกี่ยวข้องเข็มแข็งขึ้น
3. การค้าไทย-เวียดนามในปี 2543 มีมูลค่าประมาณ 1,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2544 ฝ่ายไทย เสนอให้กำหนดยอดมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศสูงขึ้นเป็น 1,200-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. ฝ่ายไทยสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามซึ่งได้อนุมัติบริษัทท้องถิ่น 2 แห่งเช่าเรือประมงไทยจำนวน 25 ลำจากบริษัทไทยแหลมทอง โกรอิ้ง เพื่อทำประมงในน่านน้ำเวียดนาม เพราะก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้เวียดนามเช่าเรือประมงให้ครบตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ เนื่องจากในขณะนี้ฝ่ายเวียดนามได้เช่าเรือแล้วรวม 5 ลำ ซึ่งฝ่ายเวียดนามได้รับที่จะไปดูแลในเรื่องนี้ต่อไป
5. ฝ่ายไทยผลักดันให้มี memorandum of understanding (MOU) ว่าด้วยความ ร่วมมือในการส่งออกข้าวไทย-เวียดนาม ซึ่งเป็นความร่วมมือที่มีมาในอดีตในการช่วยรักษาระดับราคาข้าว ซึ่งฝ่ายเวียดนามเห็นชอบในหลักการ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายร่วมกันยกร่าง MOU ขึ้นมาอีกครั้ง
6. ความร่วมมือในการท่องเที่ยว โดยการส่งเสริมธุรกิจการบิน ซึ่งฝ่ายไทยได้ ชี้ประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับจากการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจที่พักอาศัยในเวียดนาม เป็นต้น
7. ฝ่ายไทยเสนอให้การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับบริษัทน้ำมันแห่ง เวียดนาม ลงทุนในแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากการร่วมลงทุนของหน่วยงานทั้งสองในประเทศไทยและเวียดนาม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะศึกษาในรายละเอียดต่อไป
8. ฝ่ายไทยเสนอให้เวียดนามปรับปรุงระบบกฎหมาย ระบบภาษี และระบบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และการค้า ซึ่งฝ่ายเวียดนามรับจะไปดูแล
9. ฝ่ายเวียดนามได้ขอความร่วมมือจากไทยในการส่งเจ้าหน้าที่เวียดนาม 3 คนมาร่วมฟังการพิจารณาคดีของนาย Ly Tong คนเวียดนาม สัญชาติสหรัฐฯ ที่ใช้เครื่องบินเดินทางจากประเทศไทยเพื่อไปโปรยใบปลิวต่อต้านรัฐบาลเวียดนามที่นครโฮจิมินห์ ซึ่งนายสุรเกียรติ์ฯ ยินดีตามคำขอ เพราะเป็นเรื่องที่กระทำได้ตามกฎหมายไทยอยู่แล้ว และการพิจารณาคดีจะกระทำอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามตัวบทกฎหมายรวมทั้งยืนยันกับฝ่ายเวียดนามว่า ประเทศไทยจะไม่ยินยอมให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาใช้ดินแดนไทยเป็นที่โจมตี หรือกระทำการใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งเสนอกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในการป้องกัน และคลี่คลายปัญหาในลักษณะดังกล่าวข้างต้น
นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้เครื่องบินเช่าเหมาลำจากประเทศไทยสามารถบินไปยังเวียดนามได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ของนาย Ly Tong เวียดนามไม่ยินยอมให้เครื่องบินเช่าเหมาลำจากไทยบินไปเวียดนาม
10. การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศไทยและเวียดนามสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และบรรยากาศการหารือเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี และความอะลุ่มอล่วยต่อกัน ตามวิถีแห่งเอเชีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (7 มีนาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์เรื่องผลการหารือระหว่าง ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายเหวียน ซี เนียน (Nguyen Dy Nien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ในโอกาสที่ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ไปเยือนประเทศเวียดนามในวันที่ 7 มีนาคม 2544 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การเดินทางไปเยือนเวียดนามของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศถือเป็นการเดินทางไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นประเทศแรก และเป็นการให้ความสำคัญกับเวียดนาม ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน และในฐานะที่เวียดนามเป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee) ตลอดจนวาระการครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เวียดนาม
2. ระเบียบวาระสำคัญ (agenda) ที่เวียดนามจะยกขึ้นหารือในการประชุม AMM และ PMC คือเรื่องการลดช่องว่างระหว่างประเทศร่ำรวย และยากจน ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายไทย เห็นชอบเพราะการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ บางครั้งอาจละเลยเรื่องการพัฒนาความสามารถของประเทศที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดช่องว่างดังกล่าว นอกจากนี้ แม้ว่าการเปิดเสรีของตลาดการค้าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถไปในขณะเดียวกัน (capacity building) เพื่อให้ประเทศที่เกี่ยวข้องเข็มแข็งขึ้น
3. การค้าไทย-เวียดนามในปี 2543 มีมูลค่าประมาณ 1,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2544 ฝ่ายไทย เสนอให้กำหนดยอดมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศสูงขึ้นเป็น 1,200-1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. ฝ่ายไทยสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามซึ่งได้อนุมัติบริษัทท้องถิ่น 2 แห่งเช่าเรือประมงไทยจำนวน 25 ลำจากบริษัทไทยแหลมทอง โกรอิ้ง เพื่อทำประมงในน่านน้ำเวียดนาม เพราะก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้เวียดนามเช่าเรือประมงให้ครบตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ เนื่องจากในขณะนี้ฝ่ายเวียดนามได้เช่าเรือแล้วรวม 5 ลำ ซึ่งฝ่ายเวียดนามได้รับที่จะไปดูแลในเรื่องนี้ต่อไป
5. ฝ่ายไทยผลักดันให้มี memorandum of understanding (MOU) ว่าด้วยความ ร่วมมือในการส่งออกข้าวไทย-เวียดนาม ซึ่งเป็นความร่วมมือที่มีมาในอดีตในการช่วยรักษาระดับราคาข้าว ซึ่งฝ่ายเวียดนามเห็นชอบในหลักการ โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายร่วมกันยกร่าง MOU ขึ้นมาอีกครั้ง
6. ความร่วมมือในการท่องเที่ยว โดยการส่งเสริมธุรกิจการบิน ซึ่งฝ่ายไทยได้ ชี้ประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับจากการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจที่พักอาศัยในเวียดนาม เป็นต้น
7. ฝ่ายไทยเสนอให้การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับบริษัทน้ำมันแห่ง เวียดนาม ลงทุนในแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากการร่วมลงทุนของหน่วยงานทั้งสองในประเทศไทยและเวียดนาม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะศึกษาในรายละเอียดต่อไป
8. ฝ่ายไทยเสนอให้เวียดนามปรับปรุงระบบกฎหมาย ระบบภาษี และระบบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน และการค้า ซึ่งฝ่ายเวียดนามรับจะไปดูแล
9. ฝ่ายเวียดนามได้ขอความร่วมมือจากไทยในการส่งเจ้าหน้าที่เวียดนาม 3 คนมาร่วมฟังการพิจารณาคดีของนาย Ly Tong คนเวียดนาม สัญชาติสหรัฐฯ ที่ใช้เครื่องบินเดินทางจากประเทศไทยเพื่อไปโปรยใบปลิวต่อต้านรัฐบาลเวียดนามที่นครโฮจิมินห์ ซึ่งนายสุรเกียรติ์ฯ ยินดีตามคำขอ เพราะเป็นเรื่องที่กระทำได้ตามกฎหมายไทยอยู่แล้ว และการพิจารณาคดีจะกระทำอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามตัวบทกฎหมายรวมทั้งยืนยันกับฝ่ายเวียดนามว่า ประเทศไทยจะไม่ยินยอมให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาใช้ดินแดนไทยเป็นที่โจมตี หรือกระทำการใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งเสนอกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในการป้องกัน และคลี่คลายปัญหาในลักษณะดังกล่าวข้างต้น
นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามได้อนุญาตให้เครื่องบินเช่าเหมาลำจากประเทศไทยสามารถบินไปยังเวียดนามได้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ของนาย Ly Tong เวียดนามไม่ยินยอมให้เครื่องบินเช่าเหมาลำจากไทยบินไปเวียดนาม
10. การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศไทยและเวียดนามสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และบรรยากาศการหารือเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี และความอะลุ่มอล่วยต่อกัน ตามวิถีแห่งเอเชีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-