กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวตว่า
1. เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2544 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น Al-Qabass ภาษาอาหรับ ได้ลงพิมพ์ภาพยา และขวดเหล้าขนาดแบน 4 ขวด โดยบรรยายภาพว่า เป็นยาเสพติด จำนวน 7,537 เม็ด และสุรา 4 ขวด ที่ลักลอบนำเข้าประเทศคูเวต โดยพนักงานบริการชาวเอเชียของ สายการบินคูเวต
ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ภาษาอาหรับ Al-Ral ฉบับวันเดียวกันนี้ ได้ลงภาพและ ข่าวการจับกุมคนไทย ใช้ชื่อเป็นภาษาอาราบิกว่า นาย Nobo หรือ นายนพพรฯ พร้อมของกลาง ยาเสพติด จำนวน 3,573 เม็ด และสุรา 4 ขวด (ทั้งนี้ จำนวนยาของหนังสือพิมพ์ทั้งสองไม่ตรงกัน)
2. ในวันเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการติดต่อจากพนักงานต้อนรับหญิง ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของนายนพพรฯ ที่ทำงานอยู่ในสายการบินดังกล่าวแจ้งให้ทราบว่า นายนพพร นพกุลวงศ์ พนักงานบริการสายการบินคูเวต ได้ถูกจับเพราะมีสุรา และยาที่ทางการคูเวตเข้าใจว่า อาจเป็นยาเสพติด ขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ Rumatlyeh และต้องการความช่วยเหลือจาก สถานเอกอัครราชทูตฯ ในเรื่องล่ามภาษาอาราบิก และการจัดหาทนาย
เพื่อนของนายนพพรฯ กล่าวด้วยว่า ในขณะถูกจับกุมนายนพพรฯ ได้พยายาม ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่คูเวตว่า ยาดังกล่าวเป็นยาลดความอ้วน มิใช่ยาเสพติดแต่อย่างใด
3. ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือดูแลนายนพพรฯ ดังนี้
3.1 สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศคูเวต เพื่อขอพบเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและเยี่ยมผู้ต้องหา
3.2 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2544 เจ้าหน้าที่และผู้ประสานงานของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดต่อหารือกับทนายความเป็นการหารือเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างถูกต้องและยุติธรรม ในชั้นนี้ ได้ตกลงกับทนายชื่อ Ammar-Q แห่งสำนักงานทนาย M.M. Al-Ghazail ซึ่งเป็นสำนักงานทนายที่ดีแห่งหนึ่งและรับที่จะว่าความให้ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 เวลา 09.00 น. ทนาย และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมล่ามได้นัดพบกันที่ศาลเขต Salhiya เพื่อหารือกับอัยการ
3.3 ขอเรียนว่า ผู้ถูกจับกุมดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนถูกกล่าวหาและต้องสงสัย และขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่อัยการจะพิจารณานำคดีเข้าสู่ศาลหรือไม่
4. ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศโปรดเตือนชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ และนำยาบางประเภทติดตัวไป จะต้องทราบแน่ชัดว่า ไม่มีตัวยาที่ต้องห้ามหรือมีสารเสพติดเป็นส่วนผสม เพราะจะทำให้เกิดปัญหาได้ และสำหรับกรณีที่เป็นยาเสพติด โดยตรง กฎหมายในต่างประเทศเกือบทุกประเทศจะมีบทกำหนดโทษอย่างรุนแรง นอกจากนี้ สำหรับกลุ่มประเทศอิสลามส่วนใหญ่ (รวมคูเวตด้วย) การนำสุราเข้าประเทศเป็นสิ่งที่ต้องห้ามและผิดกฎหมาย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวตว่า
1. เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2544 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น Al-Qabass ภาษาอาหรับ ได้ลงพิมพ์ภาพยา และขวดเหล้าขนาดแบน 4 ขวด โดยบรรยายภาพว่า เป็นยาเสพติด จำนวน 7,537 เม็ด และสุรา 4 ขวด ที่ลักลอบนำเข้าประเทศคูเวต โดยพนักงานบริการชาวเอเชียของ สายการบินคูเวต
ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ภาษาอาหรับ Al-Ral ฉบับวันเดียวกันนี้ ได้ลงภาพและ ข่าวการจับกุมคนไทย ใช้ชื่อเป็นภาษาอาราบิกว่า นาย Nobo หรือ นายนพพรฯ พร้อมของกลาง ยาเสพติด จำนวน 3,573 เม็ด และสุรา 4 ขวด (ทั้งนี้ จำนวนยาของหนังสือพิมพ์ทั้งสองไม่ตรงกัน)
2. ในวันเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการติดต่อจากพนักงานต้อนรับหญิง ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของนายนพพรฯ ที่ทำงานอยู่ในสายการบินดังกล่าวแจ้งให้ทราบว่า นายนพพร นพกุลวงศ์ พนักงานบริการสายการบินคูเวต ได้ถูกจับเพราะมีสุรา และยาที่ทางการคูเวตเข้าใจว่า อาจเป็นยาเสพติด ขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ Rumatlyeh และต้องการความช่วยเหลือจาก สถานเอกอัครราชทูตฯ ในเรื่องล่ามภาษาอาราบิก และการจัดหาทนาย
เพื่อนของนายนพพรฯ กล่าวด้วยว่า ในขณะถูกจับกุมนายนพพรฯ ได้พยายาม ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่คูเวตว่า ยาดังกล่าวเป็นยาลดความอ้วน มิใช่ยาเสพติดแต่อย่างใด
3. ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือดูแลนายนพพรฯ ดังนี้
3.1 สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศคูเวต เพื่อขอพบเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและเยี่ยมผู้ต้องหา
3.2 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2544 เจ้าหน้าที่และผู้ประสานงานของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ติดต่อหารือกับทนายความเป็นการหารือเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างถูกต้องและยุติธรรม ในชั้นนี้ ได้ตกลงกับทนายชื่อ Ammar-Q แห่งสำนักงานทนาย M.M. Al-Ghazail ซึ่งเป็นสำนักงานทนายที่ดีแห่งหนึ่งและรับที่จะว่าความให้ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 เวลา 09.00 น. ทนาย และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมล่ามได้นัดพบกันที่ศาลเขต Salhiya เพื่อหารือกับอัยการ
3.3 ขอเรียนว่า ผู้ถูกจับกุมดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนถูกกล่าวหาและต้องสงสัย และขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่อัยการจะพิจารณานำคดีเข้าสู่ศาลหรือไม่
4. ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศโปรดเตือนชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ และนำยาบางประเภทติดตัวไป จะต้องทราบแน่ชัดว่า ไม่มีตัวยาที่ต้องห้ามหรือมีสารเสพติดเป็นส่วนผสม เพราะจะทำให้เกิดปัญหาได้ และสำหรับกรณีที่เป็นยาเสพติด โดยตรง กฎหมายในต่างประเทศเกือบทุกประเทศจะมีบทกำหนดโทษอย่างรุนแรง นอกจากนี้ สำหรับกลุ่มประเทศอิสลามส่วนใหญ่ (รวมคูเวตด้วย) การนำสุราเข้าประเทศเป็นสิ่งที่ต้องห้ามและผิดกฎหมาย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-