กรุงเทพ--10 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 หลังจากเดินทางกลับจากการร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชีย - ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 7 ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างๆ ที่ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เกี่ยวกับกรณี เหตุระเบิดในกรุงย่างกุ้ง เมื่อบ่ายวันที่ 7 พฤษภาคม 2548 สรุปสาระได้ดังนี้
1. เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกำลังอยู่ระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีจากประเทศเอเชียและยุโรป และทันทีที่ทราบเรื่องก็ได้ยกเรื่องขึ้นหารือกับ อู เนียน วิน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าที่มาร่วมประชุมด้วยทันที โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สอบถามข้อมูล และได้ขอให้ฝ่ายพม่าให้ความสำคัญสูงสุดกับการให้ความปลอดภัยแก่คนไทยในพม่า ซึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าก็ตอบสนองด้วยดี โดยได้ย้ำเป็นสิ่งแรกว่า ฝ่ายพม่าจะดูแลให้ความปลอดภัยแก่ คนไทยอย่างดีที่สุด และได้แจ้งข้อมูลว่า จุดเกิดเหตุมี 3 จุด แต่จุดที่เป็นศูนย์แสดงสินค้าซึ่งกำลังมีงานแสดงสินค้าไทยนั้น ยังมิใช่จุดที่ระเบิดรุนแรงที่สุด จุดที่รุนแรงที่สุดเป็นอีกจุดหนึ่ง คือบริเวณที่เรียกว่า ห้าง Dagon และเท่าที่ฝ่ายพม่าทราบขณะนั้น มีผู้บาดเจ็บเป็นคนไทย 2 คน ซึ่งต่อมา ฝ่ายไทยทราบ ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีคนไทยบาดเจ็บ 4 คน แต่ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บสาหัสหรือร้ายแรง และไม่มีคนไทยเสียชีวิต
2. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพของคนไทยในพม่า โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจไทยที่ไปร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปดูแลกลุ่มนักธุรกิจ โดยได้แจ้งถึงความห่วงใยของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อคนไทยในพม่า รวมทั้งแจ้งว่า หากมีคนไทยในพม่าต้องการเดินทางกลับประเทศไทย รัฐบาลก็จะจัดการให้ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยไปแล้วในช่วงเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 โดยรัฐบาลได้ส่งเครื่องบิน C-130 ไปรับคนไทยกลับมาจำนวนประมาณ 130 คน ถึงกรุงเทพฯ แล้ว เมื่อประมาณ 13.00 น.
3. ปัจจุบัน มีคนไทยในพม่าประมาณ 200 คนเศษ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ คนไทยที่มีธุรกิจ ทำงานและอาศัยอยู่ในพม่า กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่เดินทางไปเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไทยครั้งนี้ และกลุ่มที่ 3 คือนักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วไป ซึ่งกลุ่มที่ 2 ได้เดินทางกลับมากันแล้วโดยเครื่องบิน C-130 ดังนั้นจึงคาดว่า อาจยังมีคนไทยอยู่ในพม่าอีกประมาณ 100 คน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็พร้อมและยินดีให้ความช่วยเหลือประสานงาน หากมีคนไทยต้องการเดินทางกลับอีกและมีปัญหากลับไม่ได้ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในพม่าหลังจากการระเบิดยังสงบเงียบอยู่ ไม่ได้มีความรุนแรงที่ต่อเนื่อง และเที่ยวบินพาณิชย์ก็ยังสามารถเปิดการบินไปมาได้เป็นปกติอยู่
4. ในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอง หลังจากได้หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่า เมื่อคืนวันที่ 7 พฤษภาคมแล้ว เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าอีกครั้งหนึ่งก่อนที่คณะพม่าจะเดินทางออกจากญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายพม่ายืนยันว่าจะดูแลคนไทยอย่างดีที่สุด และรัฐบาลพม่าได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีของพม่าไปดูแลคนไทยโดยเฉพาะแล้ว นอกจากนั้น ได้มีการตกลงเปิดช่องทางการติดต่อระหว่างรัฐมนตรี ต่างประเทศ 2 ฝ่าย โดยทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา นอกจากระดับรัฐมนตรีต่างประเทศแล้ว ไทยและพม่าก็มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดหลายระดับ ทั้งในระดับของนายกรัฐมนตรีเอง ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนราชการทั้ง 2 ฝ่ายทั้งพลเรือนและทหาร ทั้งที่เมืองหลวงและในพื้นที่
อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่า เดิมรัฐบาลไทยต้องการส่งเครื่องบิน C-130 ไปตั้งแต่คืนวันที่ 7 พฤษภาคม แต่ทางการพม่าไม่ยินยอม ว่ามิได้เป็นเช่นนั้น โดยชี้แจงว่า การประสานงานระหว่างไทยกับพม่าเกิดขึ้นทันทีหลังเหตุการณ์ และเมื่อประเมินสถานการณ์ในกรุงย่างกุ้ง เห็นว่าหลังการระเบิดแล้วเหตุการณ์มิได้เลวร้ายลง จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งอพยพขนคนไทยออกมาทันที ดังนั้นปฏิบัติการหลักของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งในคืนวันที่ 7 พฤษภาคม จึงเน้นการออกไปเยี่ยมเยียนคนไทยอย่างทั่วถึง ตรวจสอบข้อมูล รับทราบความประสงค์คนไทย และประชาสัมพันธ์ว่าจะมีเครื่องบินไปรับ แล้วเช้าวันรุ่งขึ้นเครื่องบินก็เดินทางไปถึง ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว
5. จากการประเมินและสันนิษฐานเบื้องต้น คนไทยมิใช่เป้าหมายของการระเบิดครั้งนี้ เพราะมีการวางระเบิด 3 แห่งและแห่งที่รุนแรงที่สุดก็ไม่มีคนไทยปะปนอยู่ เพียงแต่ Yangon Trade Center เป็นศูนย์กลางชุมชนที่ขณะนั้นเผอิญมีการแสดงสินค้าไทย อีก 2 แห่งที่ระเบิดก็เป็นย่านชุมชนหลักเช่นกัน เท่าที่ทราบ การวางระเบิดเกิดขึ้นที่อีกชั้นหนึ่งของอาคาร ทำให้เพดานของอาคารชั้นที่แสดงสินค้าไทยพังลงมา มิได้มุ่งต่องานแสดงสินค้าไทยโดยตรง นอกจากนั้น เหตุระเบิดทำให้มีคนบาดเจ็บ 162 คน เสียชีวิต 11 คน แต่ไม่มีคนไทยเสียชีวิตเลย และบาดเจ็บก็เพียงไม่กี่คน จึงเชื่อได้ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ได้มุ่งเป้าโจมตีต่อคนไทย
6. สาเหตุของการระเบิด ในเบื้องต้นรัฐบาลพม่าประกาศว่าเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอข้อมูลก่อนที่จะสรุปสาเหตุที่แท้จริงได้แน่ชัด ในชั้นนี้ ไม่มีกลุ่มใดออกมาประกาศอ้างความรับผิดชอบ เชื่อว่าพม่าก็ยังรอหลักฐานอยู่ มีการสันนิษฐานกันด้วยว่า มีแนวโน้มอาจเป็นการกระทำของชนกลุ่มน้อย ซึ่งก็เป็นเรื่องภายในพม่าเอง ไม่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ แต่ก็ยังเร็ว เกินไปที่จะสรุปแน่ชัด ซึ่งจะต้องติดตามข้อมูลต่อไป รวมทั้งจะต้องรอดูว่าจะมีความรุนแรงต่อเนื่องหรือไม่ ในชั้นนี้ ยังไม่สามารถทำนายได้ แต่ทางการไทยและพม่าจะประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และทางการไทยจะรับฟังข้อมูลต่างๆ เพื่อพิจารณาประกอบการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท ไม่ด่วนสรุป และจะให้ความคุ้มครองป้องกันความปลอดภัยคนไทยให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด
7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเตือนให้คนไทยในพม่าระวังตัวในช่วงนี้ และหลีกเลี่ยงที่ชุมชน ศูนย์การค้า ซึ่งก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่คนไทยควรระวังอยู่แล้ว ไม่เฉพาะแต่คนไทยในพม่า เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีปัญหาการก่อการร้ายอยู่ ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าความรุนแรงจะมีต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นจึงยังไม่ถึงขั้นที่รัฐบาลไทยจะประกาศห้ามมิให้นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปพม่า โดยเฉพาะเมื่อเป้าหมายการระเบิดในชั้นนี้ เป็นอาคารในย่านชุมชน ศูนย์การค้า มิใช่โบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งน่าจะปลอดภัย แต่ก็ขอให้คนไทยระมัดระวังตัว
8. ต่อคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของการระเบิดต่อท่าทีของฝ่ายต่างๆ ในการประชุม ASEM รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอื่นๆ ก็แสดงความตกใจและเป็นห่วง ไม่อยากให้สถานการณ์มีความรุนแรง คาดกันว่าไม่น่าจะมีความรุนแรงต่อเนื่อง และหวังกันว่าพม่าจะแก้ปัญหาภายในได้โดยรวดเร็ว และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความคืบหน้าของกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า และการร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนพม่ามีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งไทยและหลายประเทศในโลกต้องการเห็น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีโอกาสย้ำข้อกังวลของไทยและประเทศอื่นๆ กับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าในหลายโอกาส และรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าก็แจ้งว่า กระบวนการยังดำเนินต่อไป โดยคืบหน้าไปประมาณร้อยละ 80 แล้ว และไทยก็หวังว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อกระบวนการซึ่งควรจะเดินหน้าต่อไปโดยไม่สะดุดหยุดยั้ง
อนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมิได้มีการเชื่อมโยงหรือนำไปสู่การยกประเด็นในที่ประชุม ASEM เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของพม่า แต่มีหลายประเทศในยุโรปที่มาร่วมประชุมได้เริ่มมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนนโยบายจากที่เคยปิดกั้นไม่ติดต่อพม่า มาเป็นการเปิดช่องทางการติดต่อกับพม่า เนื่องจากเห็นว่านโยบายที่ผ่านมาไม่ส่งผลดี และกลับทำให้ประชาชนพม่าเดือดร้อน การดำเนินการของไทยที่ผ่านมาเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว และประเทศดังกล่าวได้มาประสานงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย เพื่อแจ้งว่าประเทศของตนอาจจะพิจารณาปรับทิศทางการดำเนินการกับพม่าใหม่ ให้สอดคล้องกับแนวทางของไทย และขอให้ไทยช่วยเป็นตัวกลางประสานงานการเปิดประตูช่องทางติดต่อสื่อสารกับพม่าได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงความยินดีจะมีบทบาทเพื่อให้มีความเข้าใจและสื่อสารกับพม่าต่อไป ทั้งนี้ เพื่อช่วยผลักดันให้กระบวนการปรองดองและปฏิรูปในพม่า ก้าวหน้าต่อไปอย่างเร็วที่สุด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 หลังจากเดินทางกลับจากการร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชีย - ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 7 ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างๆ ที่ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เกี่ยวกับกรณี เหตุระเบิดในกรุงย่างกุ้ง เมื่อบ่ายวันที่ 7 พฤษภาคม 2548 สรุปสาระได้ดังนี้
1. เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกำลังอยู่ระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีจากประเทศเอเชียและยุโรป และทันทีที่ทราบเรื่องก็ได้ยกเรื่องขึ้นหารือกับ อู เนียน วิน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าที่มาร่วมประชุมด้วยทันที โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้สอบถามข้อมูล และได้ขอให้ฝ่ายพม่าให้ความสำคัญสูงสุดกับการให้ความปลอดภัยแก่คนไทยในพม่า ซึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าก็ตอบสนองด้วยดี โดยได้ย้ำเป็นสิ่งแรกว่า ฝ่ายพม่าจะดูแลให้ความปลอดภัยแก่ คนไทยอย่างดีที่สุด และได้แจ้งข้อมูลว่า จุดเกิดเหตุมี 3 จุด แต่จุดที่เป็นศูนย์แสดงสินค้าซึ่งกำลังมีงานแสดงสินค้าไทยนั้น ยังมิใช่จุดที่ระเบิดรุนแรงที่สุด จุดที่รุนแรงที่สุดเป็นอีกจุดหนึ่ง คือบริเวณที่เรียกว่า ห้าง Dagon และเท่าที่ฝ่ายพม่าทราบขณะนั้น มีผู้บาดเจ็บเป็นคนไทย 2 คน ซึ่งต่อมา ฝ่ายไทยทราบ ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีคนไทยบาดเจ็บ 4 คน แต่ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บสาหัสหรือร้ายแรง และไม่มีคนไทยเสียชีวิต
2. พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพของคนไทยในพม่า โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจไทยที่ไปร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปดูแลกลุ่มนักธุรกิจ โดยได้แจ้งถึงความห่วงใยของนายกรัฐมนตรีที่มีต่อคนไทยในพม่า รวมทั้งแจ้งว่า หากมีคนไทยในพม่าต้องการเดินทางกลับประเทศไทย รัฐบาลก็จะจัดการให้ ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยไปแล้วในช่วงเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 2548 โดยรัฐบาลได้ส่งเครื่องบิน C-130 ไปรับคนไทยกลับมาจำนวนประมาณ 130 คน ถึงกรุงเทพฯ แล้ว เมื่อประมาณ 13.00 น.
3. ปัจจุบัน มีคนไทยในพม่าประมาณ 200 คนเศษ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ คนไทยที่มีธุรกิจ ทำงานและอาศัยอยู่ในพม่า กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่เดินทางไปเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไทยครั้งนี้ และกลุ่มที่ 3 คือนักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วไป ซึ่งกลุ่มที่ 2 ได้เดินทางกลับมากันแล้วโดยเครื่องบิน C-130 ดังนั้นจึงคาดว่า อาจยังมีคนไทยอยู่ในพม่าอีกประมาณ 100 คน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็พร้อมและยินดีให้ความช่วยเหลือประสานงาน หากมีคนไทยต้องการเดินทางกลับอีกและมีปัญหากลับไม่ได้ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในพม่าหลังจากการระเบิดยังสงบเงียบอยู่ ไม่ได้มีความรุนแรงที่ต่อเนื่อง และเที่ยวบินพาณิชย์ก็ยังสามารถเปิดการบินไปมาได้เป็นปกติอยู่
4. ในส่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอง หลังจากได้หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่า เมื่อคืนวันที่ 7 พฤษภาคมแล้ว เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้หารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าอีกครั้งหนึ่งก่อนที่คณะพม่าจะเดินทางออกจากญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายพม่ายืนยันว่าจะดูแลคนไทยอย่างดีที่สุด และรัฐบาลพม่าได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีของพม่าไปดูแลคนไทยโดยเฉพาะแล้ว นอกจากนั้น ได้มีการตกลงเปิดช่องทางการติดต่อระหว่างรัฐมนตรี ต่างประเทศ 2 ฝ่าย โดยทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา นอกจากระดับรัฐมนตรีต่างประเทศแล้ว ไทยและพม่าก็มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดหลายระดับ ทั้งในระดับของนายกรัฐมนตรีเอง ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนราชการทั้ง 2 ฝ่ายทั้งพลเรือนและทหาร ทั้งที่เมืองหลวงและในพื้นที่
อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่า เดิมรัฐบาลไทยต้องการส่งเครื่องบิน C-130 ไปตั้งแต่คืนวันที่ 7 พฤษภาคม แต่ทางการพม่าไม่ยินยอม ว่ามิได้เป็นเช่นนั้น โดยชี้แจงว่า การประสานงานระหว่างไทยกับพม่าเกิดขึ้นทันทีหลังเหตุการณ์ และเมื่อประเมินสถานการณ์ในกรุงย่างกุ้ง เห็นว่าหลังการระเบิดแล้วเหตุการณ์มิได้เลวร้ายลง จึงไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งอพยพขนคนไทยออกมาทันที ดังนั้นปฏิบัติการหลักของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้งในคืนวันที่ 7 พฤษภาคม จึงเน้นการออกไปเยี่ยมเยียนคนไทยอย่างทั่วถึง ตรวจสอบข้อมูล รับทราบความประสงค์คนไทย และประชาสัมพันธ์ว่าจะมีเครื่องบินไปรับ แล้วเช้าวันรุ่งขึ้นเครื่องบินก็เดินทางไปถึง ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว
5. จากการประเมินและสันนิษฐานเบื้องต้น คนไทยมิใช่เป้าหมายของการระเบิดครั้งนี้ เพราะมีการวางระเบิด 3 แห่งและแห่งที่รุนแรงที่สุดก็ไม่มีคนไทยปะปนอยู่ เพียงแต่ Yangon Trade Center เป็นศูนย์กลางชุมชนที่ขณะนั้นเผอิญมีการแสดงสินค้าไทย อีก 2 แห่งที่ระเบิดก็เป็นย่านชุมชนหลักเช่นกัน เท่าที่ทราบ การวางระเบิดเกิดขึ้นที่อีกชั้นหนึ่งของอาคาร ทำให้เพดานของอาคารชั้นที่แสดงสินค้าไทยพังลงมา มิได้มุ่งต่องานแสดงสินค้าไทยโดยตรง นอกจากนั้น เหตุระเบิดทำให้มีคนบาดเจ็บ 162 คน เสียชีวิต 11 คน แต่ไม่มีคนไทยเสียชีวิตเลย และบาดเจ็บก็เพียงไม่กี่คน จึงเชื่อได้ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ได้มุ่งเป้าโจมตีต่อคนไทย
6. สาเหตุของการระเบิด ในเบื้องต้นรัฐบาลพม่าประกาศว่าเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอข้อมูลก่อนที่จะสรุปสาเหตุที่แท้จริงได้แน่ชัด ในชั้นนี้ ไม่มีกลุ่มใดออกมาประกาศอ้างความรับผิดชอบ เชื่อว่าพม่าก็ยังรอหลักฐานอยู่ มีการสันนิษฐานกันด้วยว่า มีแนวโน้มอาจเป็นการกระทำของชนกลุ่มน้อย ซึ่งก็เป็นเรื่องภายในพม่าเอง ไม่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ แต่ก็ยังเร็ว เกินไปที่จะสรุปแน่ชัด ซึ่งจะต้องติดตามข้อมูลต่อไป รวมทั้งจะต้องรอดูว่าจะมีความรุนแรงต่อเนื่องหรือไม่ ในชั้นนี้ ยังไม่สามารถทำนายได้ แต่ทางการไทยและพม่าจะประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด และทางการไทยจะรับฟังข้อมูลต่างๆ เพื่อพิจารณาประกอบการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท ไม่ด่วนสรุป และจะให้ความคุ้มครองป้องกันความปลอดภัยคนไทยให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด
7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเตือนให้คนไทยในพม่าระวังตัวในช่วงนี้ และหลีกเลี่ยงที่ชุมชน ศูนย์การค้า ซึ่งก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่คนไทยควรระวังอยู่แล้ว ไม่เฉพาะแต่คนไทยในพม่า เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีปัญหาการก่อการร้ายอยู่ ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าความรุนแรงจะมีต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นจึงยังไม่ถึงขั้นที่รัฐบาลไทยจะประกาศห้ามมิให้นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปพม่า โดยเฉพาะเมื่อเป้าหมายการระเบิดในชั้นนี้ เป็นอาคารในย่านชุมชน ศูนย์การค้า มิใช่โบราณสถานหรือสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งน่าจะปลอดภัย แต่ก็ขอให้คนไทยระมัดระวังตัว
8. ต่อคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของการระเบิดต่อท่าทีของฝ่ายต่างๆ ในการประชุม ASEM รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอื่นๆ ก็แสดงความตกใจและเป็นห่วง ไม่อยากให้สถานการณ์มีความรุนแรง คาดกันว่าไม่น่าจะมีความรุนแรงต่อเนื่อง และหวังกันว่าพม่าจะแก้ปัญหาภายในได้โดยรวดเร็ว และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความคืบหน้าของกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า และการร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนพม่ามีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งไทยและหลายประเทศในโลกต้องการเห็น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีโอกาสย้ำข้อกังวลของไทยและประเทศอื่นๆ กับรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าในหลายโอกาส และรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าก็แจ้งว่า กระบวนการยังดำเนินต่อไป โดยคืบหน้าไปประมาณร้อยละ 80 แล้ว และไทยก็หวังว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบต่อกระบวนการซึ่งควรจะเดินหน้าต่อไปโดยไม่สะดุดหยุดยั้ง
อนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมิได้มีการเชื่อมโยงหรือนำไปสู่การยกประเด็นในที่ประชุม ASEM เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของพม่า แต่มีหลายประเทศในยุโรปที่มาร่วมประชุมได้เริ่มมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนนโยบายจากที่เคยปิดกั้นไม่ติดต่อพม่า มาเป็นการเปิดช่องทางการติดต่อกับพม่า เนื่องจากเห็นว่านโยบายที่ผ่านมาไม่ส่งผลดี และกลับทำให้ประชาชนพม่าเดือดร้อน การดำเนินการของไทยที่ผ่านมาเป็นสิ่งถูกต้องแล้ว และประเทศดังกล่าวได้มาประสานงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย เพื่อแจ้งว่าประเทศของตนอาจจะพิจารณาปรับทิศทางการดำเนินการกับพม่าใหม่ ให้สอดคล้องกับแนวทางของไทย และขอให้ไทยช่วยเป็นตัวกลางประสานงานการเปิดประตูช่องทางติดต่อสื่อสารกับพม่าได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงความยินดีจะมีบทบาทเพื่อให้มีความเข้าใจและสื่อสารกับพม่าต่อไป ทั้งนี้ เพื่อช่วยผลักดันให้กระบวนการปรองดองและปฏิรูปในพม่า ก้าวหน้าต่อไปอย่างเร็วที่สุด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-