รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่องนโยบายและกฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับภาคธุรกิจไทย จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2543 ณ อาคารสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ประเด็นที่ประชาคมโลกควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในขณะนี้ คือ จะทำอย่างไรให้กระบวนการโลกาภิวัตน์ การเปิดเสรี และการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริม และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
มีการมองว่า กระบวนการโลกภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกไปในทิศทางที่ดีขึ้น อาทิเช่น ระบบการโทรคมนาคมที่ดี และสะดวกรวดเร็ว ระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยการพัฒนาบริการทางด้านการเงิน และข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้ามากขึ้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์มีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาโลกให้ก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะการที่กระบวนการนี้มีส่วนช่วยในการขยายตลาด และการทำการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการเปิดเสรีทางการค้า และผ่อนปรนกฎระเบียบของประเทศต่างๆ เพื่อมิให้ล้าหลังประเทศอื่น จึงกล่าวได้ว่าระบบการค้าพหุภาคีได้รับประโยชน์อย่างมากจากกระบวนการโลกาภิวัตน์
อย่างไรก็ดี ผลของวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในเอเชีย ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก ทำให้มีการมองกระบวนการโลกาภิวัตน์ในอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ประเทศต่างๆ ในโลกมีความเชื่อมโยงกัน รวมทั้ง การที่การกระทำของประเทศหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศหนึ่ง ทำให้วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชียได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
กระนั้นก็ดี มิได้หมายความว่ากระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ในทางตรงข้ามกระบวนการนี้ได้ช่วยสริมสร้างบรรยากาศทางการค้าที่เสรีมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจโลกเติบโต และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมทั้งส่งผลให้เกิดการจ้างงาน และการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้น การที่จะคงไว้ซึ่งบรรยากาศที่ดีในการทำการค้าระหว่างประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีการพัฒนา และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางการค้า และสภาพแวดล้อมของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งในการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ณ กรุงเทพฯ คือการหาหนทางให้กระบวนการโลกาภิวัตน์ และเปิดเสรีทางการค้า เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการกระบวนการโลกาภิวัตน์ คือ การขยายตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งทำให้บริษัทสามารถหาวัตถุดิบจากประเทศหนึ่งนำไปประกอบในอีกประเทศหนึ่ง และขายสินค้าในอีกประเทศหนึ่ง กิจกรรมข้ามชาติเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีการเปิดตลาด และเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการฝ่ายเดียว สองฝ่ายหรือแบบพหุภาคี ภายใต้กระบวนการเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลก การขยายตัวของการทำธุรกิจข้ามชาตินี้ ส่งผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะในมุมมองของประเทศกำลังพัฒนา
การดำเนินธุรกิจข้ามชาติเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการปฏิรูปทางธุรกิจ รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศ โดยการจัดหาแหล่งเงินทุนที่จำเป็น การพัฒนาเทคโนโลยี และการเสริมสร้างความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้ง ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน การส่งออก การทำการค้าระหว่างประเทศ การจ้างงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น เมื่อผนวกกับกระบวนการเปิดเสรีทางการค้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่รุนแรง และ
กระบวนการผลิตระหว่างประเทศที่มีความสำคัญมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงทุนระหว่างประเทศมีส่วนสำคัญที่จะทำให้บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นแนวทางช่วยเหลือที่สำคัญ ในการจัดหาทุนให้แก่บริษัทที่ประสบวิกฤติ ส่งผลต่อเนื่องในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี ในทางตรงข้าม ก็มีความกังวลว่า กิจกรรมข้ามชาติเหล่านี้จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิเช่น กิจกรรมเหล่านี้ หากมิได้มีการตรวจสอบ อาจส่งผลเป็นการจำกัดการแข่งขัน การรวมกลุ่มกันของผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ และการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางมิชอบ จะไม่เพียงเป็นการกีดกันบริษัทและผู้ประกอบการในประเทศ แต่จะส่งผลเป็นการบิดเบือนการจัดสรรทรัพยากร บิดเบือนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และขัดขวางแผนงานและความพยายามในการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้น ยังมีความกังวลเกี่ยวกับพันธะ หรือข้อผูกมัดของนักลงทุนต่างชาติ ว่าจะเป็นเพียงแค่ต้องการแสวงหาผลกำไร โดยเข้ามาลงทุนในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งจะส่งผลเป็นการขัดขวางกระบวนการปฏิรูปกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และขัดขวางกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมทั้งส่งผลทำให้เศรษฐกิจในอนาคต ไม่มีเสถียรภาพ
ข้อกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่อยู่ระหว่างการปรับตัวทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญเนื่องจากเห็นว่ายังมีอุตสาหกรรมบางประเภทที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และขาดความสามารถในการแข่งขัน พฤติกรรมจำกัดการแข่งขันที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในมือของต่างชาติ ส่งผลต่อเนื่องถึงเรื่องการเสียทรัพย์สินที่มีค่าของประเทศ เรื่องการเมือง สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของชาติ
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินกิจกรรมข้ามชาติเหล่านี้เป็นการส่งเสริม ไม่ใช่การกีดกันการพัฒนา และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้เองทำให้เกิดความจำเป็นว่า จะต้องมีการจัดทำนโยบายและกฎหมายการแข่งขัน ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
แม้ว่าผลกระทบของกฎหมายและนโยบายการแข่งขันจะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด และยังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการศึกษา เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและนโยบายการแข่งขัน และผลกระทบต่อการพัฒนาและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเรื่องที่ว่า จะทำอย่างไรให้เกิดสมดุลระหว่างนโยบายการแข่งขันและกฎหมายและกฎระเบียบอื่นๆ รวมทั้งในความตกลงต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคีการที่ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องเหล่านี้ ไม่ควรเป็น สิ่งปิดกั้นการจัดทำนโยบายการแข่งขันที่เหมาะสม เนื่องจากผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการมีกฎหมายการแข่งขัน น่าจะมากกว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น นโยบายการแข่งขันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่ามีการแข่งขันเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อเศรษฐกิจและจะส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำ และมีการผลิตที่พอเพียงต่อการนำไปบริโภค และนำไปผลิตต่อ
นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้กฎหมายและนโยบายการแข่งขันจัดเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการต่อต้านพฤติกรรมจำกัดการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันเป็นการสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแข่งขัน การลงทุน การประดิษฐ์คิดค้น และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กฎหมายและนโยบายการแข่งขันยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์การเงินในประเทศต่างๆ โดยอาจเข้ามาในรูปของการควบ หรือรวมกิจการ กฎหมายและนโยบายการแข่งขันจะช่วย
สร้างความมั่นใจได้ว่า กิจกรรมเหล่านี้จะไม่ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม และพฤติกรรมจำกัดการแข่งขันที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่าการควบหรือรวมกิจการนี้จะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างผู้เชี่ยวชาญ ให้แก่บริษัทที่ถูกควบ หรือรวมกิจการ
นอกจากนั้น กฎหมาย และกฎระเบียบการแข่งขันที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันมิให้กลไกตลาดล้มเหลว หรือบิดเบือนเพราะได้ช่วยทำให้เกิดความโปร่งใส และความเชื่อมั่นให้แก่สาธารณชน ในทางตรงข้ามมีการมองว่า การขาดนโยบาย และกฎหมายการแข่งขันที่เหมาะสมต่างหาก ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั้งนี้ เนื่องมาจากว่า ในขณะที่ประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แม้จะมีประวัติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี และความยากจนที่ลดลง เนื่องมาจากความสำเร็จในการส่งออก แต่กลับพบว่า ตลาดภายในประเทศเป็นตลาดที่ปิดกั้นจากการแข่งขัน เนื่องมาจากได้รับการสนับสนุนและปกป้องจากรัฐบาล ผลที่เกิดขึ้น คือ การขาดความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจ ส่งผลกระทบให้กลไกตลาดบิดเบือน และการลงทุนที่ผิดพลาดโดยบริษัท และสถาบันการเงิน ผลดังกล่าวนี้ ทำให้เชื่อว่า นโยบายการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและภาคธุรกิจ รวมทั้งทำให้การตัดสินใจของเอกชนมีความโปร่งใสการลงทุน และการใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยเพิ่งมีกฎหมายการแข่งขันบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม และสร้างบรรยากาศทางการลงทุน และการค้าเสรีให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของไทย รวมทั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ความสามารถในการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศ และให้การคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนั้นกฎหมายการแข่งขันนี้ยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งแก้ไข คือการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจภายใต้กลไกตลาดเสรี และสอดคล้องกับกฎหมายที่เพิ่มเสรีภาพอื่นๆ อาทิ พระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าว การปรับโครงสร้างตลาดและธุรกิจ ตลอดจนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อลดบทบาทของภาครัฐ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจของไทย
กฎหมายการแข่งขันฉบับปัจจุบัน จะแตกต่างจากกฎหมายฉบับเก่า ปี พ.ศ. 2522 (กฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด) คือ ได้กำหนดให้พฤติกรรมจำกัดการแข่งขันทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจ ที่ส่งผลให้เกิดการผูกขาด และ/หรือลดการแข่งขันในการค้าสินค้าและบริการเป็นสิ่งต้องห้ามยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เป็นครั้งแรกที่กฎหมายกำหนดห้ามการใช้อำนาจเหนือตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ โดยการกำหนดให้มีการประเมินส่วนแบ่งตลาด กำไร และสภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการ นอกจากนั้น มาตรา 26 ยังได้ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันโดยได้กำหนดมาตรวัด เช่น มูลค่าขั้นต่ำของส่วนแบ่งตลาด ยอดเงินขาย จำนวนหุ้น และจำนวนทุน เป็นต้น มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจใดร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่นกระทำการใดๆ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน อาทิเช่น การกำหนดราคาซื้อ หรือขายสินค้าหรือบริการ การกำหนดท้องที่ หรือการกำหนดเงื่อนไขในการซื้อหรือขาย และ/หรือการลดคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ต่ำลงกว่าที่เคยผลิต หรือจำหน่าย
กฎหมายฉบับนี้จะช่วยปกป้องทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิตจากพฤติกรรมจำกัดการแข่งขันที่บิดเบือน และจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อร่วมกับการดำเนินการปรับโครงสร้าง และการปฏิรูปอื่นๆ จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และความชัดเจนในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ประเทศฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี เรายังไม่สามารถเข้าใจ หรือทราบถึงผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากดำเนินนโยบาย และปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันฉบับนี้ อาทิเช่น ระดับการแข่งขันเท่าใดถึงจะจัดว่าเหมาะสม และจัดเป็นสนับสนุน (ไม่เป็นการขัดขวาง) การค้าและการพัฒนา นอกจากนั้น ยังมีปัญหาที่ต้องการคำตอบในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการแข่งขันและการพัฒนา ทั้งระดับในประเทศ และระหว่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะ เมื่อพิจารณาถึงความซับซ้อนของเรื่อง เรายังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องใช้ทรัพยากร และผู้เชี่ยวชาญเท่าใด เพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เราจำเป็นต้องพึ่งพาความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การการค้าโลกอังค์ถัด IMF และธนาคารโลก ในการทำความเข้าใจเรื่องนี้ รวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2544--
-ปส-
สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ประเด็นที่ประชาคมโลกควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในขณะนี้ คือ จะทำอย่างไรให้กระบวนการโลกาภิวัตน์ การเปิดเสรี และการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริม และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
มีการมองว่า กระบวนการโลกภิวัตน์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นการเปลี่ยนแปลงโลกไปในทิศทางที่ดีขึ้น อาทิเช่น ระบบการโทรคมนาคมที่ดี และสะดวกรวดเร็ว ระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยการพัฒนาบริการทางด้านการเงิน และข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้ามากขึ้น ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์มีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาโลกให้ก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะการที่กระบวนการนี้มีส่วนช่วยในการขยายตลาด และการทำการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนกระบวนการเปิดเสรีทางการค้า และผ่อนปรนกฎระเบียบของประเทศต่างๆ เพื่อมิให้ล้าหลังประเทศอื่น จึงกล่าวได้ว่าระบบการค้าพหุภาคีได้รับประโยชน์อย่างมากจากกระบวนการโลกาภิวัตน์
อย่างไรก็ดี ผลของวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในเอเชีย ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก ทำให้มีการมองกระบวนการโลกาภิวัตน์ในอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ประเทศต่างๆ ในโลกมีความเชื่อมโยงกัน รวมทั้ง การที่การกระทำของประเทศหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศหนึ่ง ทำให้วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชียได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
กระนั้นก็ดี มิได้หมายความว่ากระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ในทางตรงข้ามกระบวนการนี้ได้ช่วยสริมสร้างบรรยากาศทางการค้าที่เสรีมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจโลกเติบโต และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมทั้งส่งผลให้เกิดการจ้างงาน และการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้น การที่จะคงไว้ซึ่งบรรยากาศที่ดีในการทำการค้าระหว่างประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีการพัฒนา และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางการค้า และสภาพแวดล้อมของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไป วัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งในการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ณ กรุงเทพฯ คือการหาหนทางให้กระบวนการโลกาภิวัตน์ และเปิดเสรีทางการค้า เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการกระบวนการโลกาภิวัตน์ คือ การขยายตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไปทั่วทุกมุมโลก ซึ่งทำให้บริษัทสามารถหาวัตถุดิบจากประเทศหนึ่งนำไปประกอบในอีกประเทศหนึ่ง และขายสินค้าในอีกประเทศหนึ่ง กิจกรรมข้ามชาติเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีการเปิดตลาด และเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการฝ่ายเดียว สองฝ่ายหรือแบบพหุภาคี ภายใต้กระบวนการเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลก การขยายตัวของการทำธุรกิจข้ามชาตินี้ ส่งผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะในมุมมองของประเทศกำลังพัฒนา
การดำเนินธุรกิจข้ามชาติเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจ และการปฏิรูปทางธุรกิจ รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนา การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีส่วนช่วยพัฒนาประเทศ โดยการจัดหาแหล่งเงินทุนที่จำเป็น การพัฒนาเทคโนโลยี และการเสริมสร้างความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้ง ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน การส่งออก การทำการค้าระหว่างประเทศ การจ้างงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น เมื่อผนวกกับกระบวนการเปิดเสรีทางการค้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่รุนแรง และ
กระบวนการผลิตระหว่างประเทศที่มีความสำคัญมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงทุนระหว่างประเทศมีส่วนสำคัญที่จะทำให้บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นแนวทางช่วยเหลือที่สำคัญ ในการจัดหาทุนให้แก่บริษัทที่ประสบวิกฤติ ส่งผลต่อเนื่องในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี ในทางตรงข้าม ก็มีความกังวลว่า กิจกรรมข้ามชาติเหล่านี้จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิเช่น กิจกรรมเหล่านี้ หากมิได้มีการตรวจสอบ อาจส่งผลเป็นการจำกัดการแข่งขัน การรวมกลุ่มกันของผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ และการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางมิชอบ จะไม่เพียงเป็นการกีดกันบริษัทและผู้ประกอบการในประเทศ แต่จะส่งผลเป็นการบิดเบือนการจัดสรรทรัพยากร บิดเบือนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และขัดขวางแผนงานและความพยายามในการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้น ยังมีความกังวลเกี่ยวกับพันธะ หรือข้อผูกมัดของนักลงทุนต่างชาติ ว่าจะเป็นเพียงแค่ต้องการแสวงหาผลกำไร โดยเข้ามาลงทุนในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งจะส่งผลเป็นการขัดขวางกระบวนการปฏิรูปกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และขัดขวางกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมทั้งส่งผลทำให้เศรษฐกิจในอนาคต ไม่มีเสถียรภาพ
ข้อกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องที่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่อยู่ระหว่างการปรับตัวทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญเนื่องจากเห็นว่ายังมีอุตสาหกรรมบางประเภทที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และขาดความสามารถในการแข่งขัน พฤติกรรมจำกัดการแข่งขันที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในมือของต่างชาติ ส่งผลต่อเนื่องถึงเรื่องการเสียทรัพย์สินที่มีค่าของประเทศ เรื่องการเมือง สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของชาติ
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินกิจกรรมข้ามชาติเหล่านี้เป็นการส่งเสริม ไม่ใช่การกีดกันการพัฒนา และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้เองทำให้เกิดความจำเป็นว่า จะต้องมีการจัดทำนโยบายและกฎหมายการแข่งขัน ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
แม้ว่าผลกระทบของกฎหมายและนโยบายการแข่งขันจะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด และยังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการศึกษา เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและนโยบายการแข่งขัน และผลกระทบต่อการพัฒนาและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเรื่องที่ว่า จะทำอย่างไรให้เกิดสมดุลระหว่างนโยบายการแข่งขันและกฎหมายและกฎระเบียบอื่นๆ รวมทั้งในความตกลงต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคีการที่ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องเหล่านี้ ไม่ควรเป็น สิ่งปิดกั้นการจัดทำนโยบายการแข่งขันที่เหมาะสม เนื่องจากผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการมีกฎหมายการแข่งขัน น่าจะมากกว่าผลเสียที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น นโยบายการแข่งขันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่ามีการแข่งขันเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อเศรษฐกิจและจะส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำ และมีการผลิตที่พอเพียงต่อการนำไปบริโภค และนำไปผลิตต่อ
นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้กฎหมายและนโยบายการแข่งขันจัดเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการต่อต้านพฤติกรรมจำกัดการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันเป็นการสนับสนุนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแข่งขัน การลงทุน การประดิษฐ์คิดค้น และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กฎหมายและนโยบายการแข่งขันยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากวิกฤติการณ์การเงินในประเทศต่างๆ โดยอาจเข้ามาในรูปของการควบ หรือรวมกิจการ กฎหมายและนโยบายการแข่งขันจะช่วย
สร้างความมั่นใจได้ว่า กิจกรรมเหล่านี้จะไม่ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม และพฤติกรรมจำกัดการแข่งขันที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งยังจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่าการควบหรือรวมกิจการนี้จะช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างผู้เชี่ยวชาญ ให้แก่บริษัทที่ถูกควบ หรือรวมกิจการ
นอกจากนั้น กฎหมาย และกฎระเบียบการแข่งขันที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันมิให้กลไกตลาดล้มเหลว หรือบิดเบือนเพราะได้ช่วยทำให้เกิดความโปร่งใส และความเชื่อมั่นให้แก่สาธารณชน ในทางตรงข้ามมีการมองว่า การขาดนโยบาย และกฎหมายการแข่งขันที่เหมาะสมต่างหาก ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั้งนี้ เนื่องมาจากว่า ในขณะที่ประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แม้จะมีประวัติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี และความยากจนที่ลดลง เนื่องมาจากความสำเร็จในการส่งออก แต่กลับพบว่า ตลาดภายในประเทศเป็นตลาดที่ปิดกั้นจากการแข่งขัน เนื่องมาจากได้รับการสนับสนุนและปกป้องจากรัฐบาล ผลที่เกิดขึ้น คือ การขาดความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจ ส่งผลกระทบให้กลไกตลาดบิดเบือน และการลงทุนที่ผิดพลาดโดยบริษัท และสถาบันการเงิน ผลดังกล่าวนี้ ทำให้เชื่อว่า นโยบายการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและภาคธุรกิจ รวมทั้งทำให้การตัดสินใจของเอกชนมีความโปร่งใสการลงทุน และการใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยเพิ่งมีกฎหมายการแข่งขันบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม และสร้างบรรยากาศทางการลงทุน และการค้าเสรีให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของไทย รวมทั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต ความสามารถในการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศ และให้การคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนั้นกฎหมายการแข่งขันนี้ยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งแก้ไข คือการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจภายใต้กลไกตลาดเสรี และสอดคล้องกับกฎหมายที่เพิ่มเสรีภาพอื่นๆ อาทิ พระราชบัญญัติธุรกิจต่างด้าว การปรับโครงสร้างตลาดและธุรกิจ ตลอดจนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อลดบทบาทของภาครัฐ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจของไทย
กฎหมายการแข่งขันฉบับปัจจุบัน จะแตกต่างจากกฎหมายฉบับเก่า ปี พ.ศ. 2522 (กฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด) คือ ได้กำหนดให้พฤติกรรมจำกัดการแข่งขันทั้งหมดของผู้ประกอบธุรกิจ ที่ส่งผลให้เกิดการผูกขาด และ/หรือลดการแข่งขันในการค้าสินค้าและบริการเป็นสิ่งต้องห้ามยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เป็นครั้งแรกที่กฎหมายกำหนดห้ามการใช้อำนาจเหนือตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ โดยการกำหนดให้มีการประเมินส่วนแบ่งตลาด กำไร และสภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการ นอกจากนั้น มาตรา 26 ยังได้ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันโดยได้กำหนดมาตรวัด เช่น มูลค่าขั้นต่ำของส่วนแบ่งตลาด ยอดเงินขาย จำนวนหุ้น และจำนวนทุน เป็นต้น มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจใดร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่นกระทำการใดๆ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน อาทิเช่น การกำหนดราคาซื้อ หรือขายสินค้าหรือบริการ การกำหนดท้องที่ หรือการกำหนดเงื่อนไขในการซื้อหรือขาย และ/หรือการลดคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ต่ำลงกว่าที่เคยผลิต หรือจำหน่าย
กฎหมายฉบับนี้จะช่วยปกป้องทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิตจากพฤติกรรมจำกัดการแข่งขันที่บิดเบือน และจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อร่วมกับการดำเนินการปรับโครงสร้าง และการปฏิรูปอื่นๆ จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และความชัดเจนในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ประเทศฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี เรายังไม่สามารถเข้าใจ หรือทราบถึงผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากดำเนินนโยบาย และปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันฉบับนี้ อาทิเช่น ระดับการแข่งขันเท่าใดถึงจะจัดว่าเหมาะสม และจัดเป็นสนับสนุน (ไม่เป็นการขัดขวาง) การค้าและการพัฒนา นอกจากนั้น ยังมีปัญหาที่ต้องการคำตอบในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการแข่งขันและการพัฒนา ทั้งระดับในประเทศ และระหว่างประเทศ ความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะ เมื่อพิจารณาถึงความซับซ้อนของเรื่อง เรายังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องใช้ทรัพยากร และผู้เชี่ยวชาญเท่าใด เพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เราจำเป็นต้องพึ่งพาความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การการค้าโลกอังค์ถัด IMF และธนาคารโลก ในการทำความเข้าใจเรื่องนี้ รวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2544--
-ปส-