สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
เนื่องจากในสัปดาห์นี้ตรงกับเทศกาลสารทจีนที่ความต้องการบริโภคกระเตื้องขึ้น ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามภาวะตลาดสุกรโดยรวมในช่วงเทศกาลยังค่อนข้างซบเซาเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เน้นประหยัดการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านพ้นเทศกาลไปแล้ว การซื้อขายกลับสู่ภาวะปกติ คาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะมีแนวโน้มลดลง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.40 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.62 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ตลาดไก่เนื้อในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้น เพราะผลจากเทศกาลสารทจีนที่ความต้องการบริโภคมีมากกว่าปกติ แต่เมื่อผ่านพ้นเทศกาลไปแล้วคาดว่าราคามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะซบเซาของตลาดต่างประเทศที่มีคำสั่งซื้อเนื้อไก่จากประเทศไทยน้อยมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักได้เปลี่ยนไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน เพราะราคาถูกกว่า ส่งผลให้มีผลผลิตส่วนเกินในประเทศและตลาดไก่เนื้อมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.75 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.54 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.96 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.48 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.31 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายโดยทั่วไปยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง ทำให้ราคามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
นายสัญชัย ชวนชัยรัตน์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่าผลผลิตที่ลดลงในขณะนี้เป็นผลมาจากการปลดไก่ออกในบางฟาร์มที่เกษตรกรไม่สามารถแบกรับภาระการขาดทุนไว้ได้ ประกอบกับสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวนและความสามารถในการระบายไข่ไก่ส่วนเกินไปต่างประเทศได้ นอกจากนี้ผลจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทในขณะนี้ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสดีที่จะเร่งการส่งออกไปตลาดฮ่องกงให้มากขึ้น ซึ่งหากสามารถส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ผู้บริโภคในฮ่องกงรู้จักไข่ไก่ไทยมากขึ้นและทำให้ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างถาวร ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 147 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 145 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 145 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 150 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 160 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 161 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 172 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 180 บาท ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 37.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.17 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 14 -20 ส.ค. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
เนื่องจากในสัปดาห์นี้ตรงกับเทศกาลสารทจีนที่ความต้องการบริโภคกระเตื้องขึ้น ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามภาวะตลาดสุกรโดยรวมในช่วงเทศกาลยังค่อนข้างซบเซาเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เน้นประหยัดการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านพ้นเทศกาลไปแล้ว การซื้อขายกลับสู่ภาวะปกติ คาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะมีแนวโน้มลดลง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.40 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.23 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 37.62 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ตลาดไก่เนื้อในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้น เพราะผลจากเทศกาลสารทจีนที่ความต้องการบริโภคมีมากกว่าปกติ แต่เมื่อผ่านพ้นเทศกาลไปแล้วคาดว่าราคามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะซบเซาของตลาดต่างประเทศที่มีคำสั่งซื้อเนื้อไก่จากประเทศไทยน้อยมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักได้เปลี่ยนไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทน เพราะราคาถูกกว่า ส่งผลให้มีผลผลิตส่วนเกินในประเทศและตลาดไก่เนื้อมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.75 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.54 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.96 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.48 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.31 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายโดยทั่วไปยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง ทำให้ราคามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
นายสัญชัย ชวนชัยรัตน์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่าผลผลิตที่ลดลงในขณะนี้เป็นผลมาจากการปลดไก่ออกในบางฟาร์มที่เกษตรกรไม่สามารถแบกรับภาระการขาดทุนไว้ได้ ประกอบกับสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวนและความสามารถในการระบายไข่ไก่ส่วนเกินไปต่างประเทศได้ นอกจากนี้ผลจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทในขณะนี้ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสดีที่จะเร่งการส่งออกไปตลาดฮ่องกงให้มากขึ้น ซึ่งหากสามารถส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ผู้บริโภคในฮ่องกงรู้จักไข่ไก่ไทยมากขึ้นและทำให้ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างถาวร ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 147 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 145 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 152 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 145 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 150 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 160 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 161 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 172 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 180 บาท ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 37.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.17 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 14 -20 ส.ค. 2543--
-สส-