ช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ทางการได้ดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยปรับปรุงแก้ไข โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินระยะสั้น ให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งดูแลเสถียรภาพของ ค่าเงินบาทด้วยการปรับปรุงรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนได้แถลงผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ให้สาธารณชนได้ทราบเป็นระยะถึงภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้ง การออกมาตรการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ก. มาตรการอัตราดอกเบี้ย
การปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินระยะสั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 เกี่ยวกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน (R/P) 14 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ใช้ในการดำเนินนโยบาย การเงิน จากร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี เพื่อให้โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงิน ระยะสั้นมีความเหมาะสม
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป จะยังคงรูปแบบการดำเนินการ ภายใต้กรอบของนโยบายการเงินปัจจุบัน
ข. มาตรการนโยบายการเงินและการพัฒนาตลาดตราสาร
การจัดตั้งศูนย์ Hotline อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (ศอยพ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์ Hotline ขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางด้านข้อมูลของราคาและรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ ลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย โดยเริ่มเปิดดำเนินการวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ระหว่างเวลา 10.00 - 13.30 น.
(ข่าว ธปท. ฉบับที่ 23/2544 ลงวันที่ 31 มกราคม 2544)
ค. มาตรการปริวรรตเงินตรา
1. การปรับปรุงรายงานวัตถุประสงค์ของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 แจ้งแก่ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวม BIBF) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ถือปฏิบัติในการ รายงานการขายหรือซื้อเงินตราต่างประเทศ ในแบบรายงาน ธ.ต.3 (ข) ข้อ 6 และ ธ.ต.4 (ข) ข้อ 6 ตามลำดับ ในกรณีที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ หรือคู่ค้าที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หากมี วัตถุประสงค์นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน ด้านหลังของแบบรายงาน ธ.ต. ดังกล่าว ให้ ตัวแทนรับอนุญาตมีหน้าที่รายงานและ/หรือแจ้ง คู่ค้าให้รายงานข้อมูลเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2544
2. การรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากสถานทูตต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ประจำการในประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 27 เมษายน 2544 เพื่อแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวม BIBF) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ทราบว่า การรับซื้อ เงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทที่มี value same day และ value tomorrow จากสถานทูต ต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงชำนัญพิเศษ แห่งองค์การสหประชาชาติ หรือสถาบันระหว่างประเทศที่ประจำการในประเทศไทยนั้น ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือที่ ธปท. สกง.(14)ว.462/2544 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 เรื่อง วิธีปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ง. มาตรการสินเชื่อ
1. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 12 มกราคม 2544 เพื่อแจ้งแก่สถาบันการเงิน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามระเบียบว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบ อุทกภัยในภาคใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ทั้งรายใหม่และรายเก่า โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินที่รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และให้ธนาคารพาณิชย์ คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราดอกเบี้ย MLR ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี ส่วนสถาบันการเงิน ที่ขายตั๋วซึ่งมิใช่ธนาคารพาณิชย์ ให้ใช้อัตรา ดอกเบี้ย MLR ตามประกาศของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (ได้แก่ ธ. กรุงเทพ ธ. กรุงไทย ธ. กสิกรไทย และ ธ. ไทยพาณิชย์) โดยเฉลี่ยลบด้วย ร้อยละ 2.75 ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากเดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เหลือร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 12 มกราคม 2544
2. การกำหนดเป้าสินเชื่อปี 2544 แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 1 มีนาคม 2544 เพื่อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศส่งแบบรายงาน เป้าหมายการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สำหรับปี 2544 ภายในวันที่ 15มีนาคม 2544 โดยให้ตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งเป้าหมายให้สามารถปฎิบัติได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพื่อจัดให้มีระบบการติดตามผลการให้สินเชื่อจริงเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกครึ่งปี ทั้งนี้ ขอให้ รายงานข้อมูลในแบบรายงานติดตามผลการให้สินเชื่อแก่ SMEs มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21 เดือนกรกฎาคม 2544 สำหรับงวดครึ่งแรกของปี 2544 และวันที่ 21 มกราคม 2545 สำหรับงวด ครึ่งหลังของปี 2544
จ. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
1. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 24 มกราคม 2544 เพื่อแจ้งแก่สถาบันการเงิน สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ทราบว่า กรมสรรพากรได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินที่ได้รับโอนมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น เพื่อนำไปชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินนั้น
2. ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ให้สำนักงานวิเทศธนกิจถือปฏิบัติเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ ตามหนังสือเวียนที่ ธปท. สนส.(12) ว.4411/2542 เรื่อง การขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2542 เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยให้กิจการวิเทศธนกิจ ถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้เกินกว่า ระยะเวลาที่กำหนด เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และต้องขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายใน 10 ปี นับจากวันที่รับโอน
3. การกำหนดให้บริษัทบริหาร สินทรัพย์ยื่นรายงาน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ยื่นรายงานซึ่งประกอบ ไปด้วย รายงานที่เกี่ยวข้องกับ Non Performing Loans รายงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ รายงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เงินให้สินเชื่อที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมาย และรายงานที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดลูกค้าผู้ประกอบการ
(หนังสือเวียนเพื่อนำส่งประกาศธนาคารลงวันที่ 25 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544)
4. การเลิกบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออมทรัพย์ จำกัด
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 35/2544 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ตามที่กระทรวงการคลังได้มี คำสั่งแต่งตั้งให้สำนักงานปิติเสวีทำหน้าที่เป็น ผู้ชำระบัญชีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด เพื่อแจ้งแก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทให้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะช่วยเหลือทางการเงินแก่ ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของบริษัท ตามข้อบังคับ ว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โดยกองทุนฯ จะจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ซึ่งได้ไปติดต่อแสดงเจตนาขอรับเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ระหว่างเวลา 9.30 | 15.30 น. ณ ที่ทำการของบริษัท
2) ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่ครบกำหนดแล้วรวมทั้งบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับเช็คสั่งจ่ายจากบริษัท แต่ยังมิได้นำเช็คเข้าฝาก ให้นำเช็ค ดังกล่าวไปแสดง ณ ที่ทำการของบริษัท กรณีเป็นเช็คจ่ายชำระคืนเงินฝากและเงินกู้ยืมให้ยื่นขอรับเงินจากเจ้าหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ไปประจำที่บริษัท กรณีเป็นเช็คสั่งจ่ายเพื่อการอื่นๆ ให้นำไปยื่นต่อผู้ชำระบัญชี
3) สำหรับลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินจากบริษัท จะขอไถ่ถอนหลักประกันที่จำนองไว้ได้ เมื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยครบตามสัญญา
5. การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ Escrow Account
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เพื่อขยายขอบเขตการ
ประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยอนุญาตให้บริการรับฝากเงินในรูปแบบ Escrow Account จาก ผู้ฝากที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ กับผู้ขายได้ โดยที่ธนาคารพาณิชย์ จะดูแลให้มีการเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เมื่อ ผู้ซื้อและผู้ขายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีครบถ้วนแล้ว และต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ ธนาคารพาณิชย์สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการเปิดบัญชี ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ใช้บริการได้ แต่ต้องกำหนดไว้ในสัญญาอย่างชัดเจน และในสัญญาการเปิดบัญชี Escrow ต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ของคู่สัญญา ข้อมูล สินทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปิดบัญชี การฝาก การถอน และการปิดบัญชี ตลอดจนค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการ เปิดบัญชี วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการเปิดบัญชี Escrow
อนึ่ง การประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน มิฉะนั้น อาจถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ Escrow Account
ฉ. มาตรการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
1. การกำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติในเรื่องการกู้ยืม หรือรับเงิน หรือจัดหาเงินทุนจาก ประชาชน
ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 29 ธันวาคม 2543 เพื่อกำหนดให้บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมหรือรับฝากเงินจากประชาชน โดยต้องจัดให้ลูกค้าแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียด และ ลงลายมือชื่อ รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐานด้วย เช่น บุคคลธรรมดา อย่างน้อยต้องมี เอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลนั้น เป็นต้น และให้เก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือสำเนาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ชำระเงินคืนแก่ลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ นอกจากนี้ ลูกค้าจะปกปิดชื่อจริงโดยใช้ชื่อแฝงหรือ ชื่อปลอมมิได้ สำหรับลูกค้าที่มีเงินให้กู้ยืมหรือ เงินฝากอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้บริษัทเงินทุนดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่บังคับใช้ เว้นแต่ลูกค้าที่ติดต่อไม่ได้และบริษัทได้แจ้งทาง จดหมายลงทะเบียนให้ลูกค้าดำเนินการแล้ว
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544
2. การดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 11 มกราคม 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการดำรง สินทรัพย์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ โดยประกาศยกเลิกการอนุญาตให้นับเงินลงทุนที่สาขาธนาคารต่างประเทศใช้เงินกองทุนไปลงทุนในหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งในที่สุดจะนำไปลงทุนในหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่จดทะเบียนในประเทศไทยตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร แห่งประเทศไทย หรือเป็นสินทรัพย์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
(หนังสือเวียนเพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และมีผลบังคับใช้วันที่ 19 ธันวาคม 2543)
3. การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดย
1) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 27 มกราคม 2543 เรื่อง การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
2) ขยายประเภทและขอบเขตธุรกรรม ที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในธุรกรรมทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตจากธนาคาร แห่งประเทศไทย
สำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาต ตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2543 ในเรื่องเดียวกันไปแล้วนั้น ให้ดำเนินการภายใต้ ข้อกำหนดของประกาศฉบับนี้ได้ทันที
3) ในการเชื่อมโยง WebSite ของบริษัท กับธุรกิจอื่นจะต้องไม่แสดงเครื่องหมายการค้าหรือข้อความของธุรกิจอื่นบนหน้าจอภาพแรกของบริษัท และไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ลูกค้าไปใช้บริการใน WebSite ของธุรกิจอื่น และห้ามทำการซื้อขายสินค้าระหว่างลูกค้ากับธุรกิจอื่นบน WebSite ของบริษัท นอกจากนี้ ให้บริษัทคิดค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) จากลูกค้าผู้ใช้บริการและธุรกิจอื่นตามกลไกตลาด โดยต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อลูกค้าผู้ใช้บริการ
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544
4. การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณี พิเศษ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 แก่บริษัท เงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ให้ยกเลิกหนังสือที่ ธปท. งฟ.(ว) 849/2539 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2539 เรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารเป็นกรณีพิเศษ และ ที่ สนส.(02)ว. 995/2543 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2543 เรื่องการนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฎิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
2) ดำเนินการให้ผู้สอบบัญชีของบริษัท ปฎิบัติงานเพิ่มเติม โดยให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและการควบคุมภายในของบริษัท เงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543 และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้ต้องปฏิบัติในเรื่อง การรับเงินและการจ่ายเงิน การให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน โดยให้ ตรวจสอบและจัดทำรายงานในประเด็นที่ว่าระบบควบคุมภายในตามระเบียบดังกล่าวในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร และบริษัทมีการละเว้นการดำเนินการตามระเบียบพิธีปฏิบัติดังกล่าวทุกเรื่องหรือไม่
ทั้งนี้ ให้บริษัทเงินทุนฯ จัดให้ผู้สอบบัญชีดำเนินการและจัดทำรายงานดังกล่าว ส่งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมกับ งบการเงินงวดประจำปี โดยเริ่มตั้งแต่งวดประจำปีบัญชีที่เริ่มต้นหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
5. การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ยกเลิกหนังสือที่ ธปท. สนส. (21)ว.4291/2542 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2542 และหนังสือที่ ธปท. สนส. (21)ว.1324/2543 เรื่อง เส้น Yield Curve ที่ใช้คำนวณหาอัตรา ผลตอบแทน ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2543 เพื่อให้การบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชี เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 และซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกรายการเงินลงทุนด้วย
6. การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินถือปฎิบัติในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าลูกหนี้เข้าข่ายจะต้องถูกจัดชั้นหรือไม่ โดยซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การจัดชั้นลูกหนี้ที่ดำเนินธุรกิจขาดทุน การจัดชั้นเป็นรายลูกหนี้ การจัดชั้นตามคุณภาพของผู้ค้ำประกัน และการจัดชั้นลูกหนี้เป็นกลุ่ม
7. การจ่ายชดเชยความเสียหายแก่ลูกค้าเงินฝากอันเนื่องมาจากการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 29 มิถุนายน 2544 เพื่อแจ้งแก่ธนาคารพาณิชย์ไทยทุกธนาคาร โดยเพิ่ม หลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะปิดสาขาต้องปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
1) มิให้ธนาคารพาณิชย์คิดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินฝากของลูกค้าที่นำไปฝากต่อยังธนาคารพาณิชย์อื่นตามความประสงค์ที่ลูกค้าแจ้ง
2) กรณีเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา ถ้าการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ลูกค้าต้องถอนเงินหรือโอนเงินฝากไปยังธนาคารพาณิชย์อื่นก่อนครบกำหนด ธนาคารพาณิชย์ที่จะปิดสาขาต้องจ่ายชดเชยดอกเบี้ย ส่วนที่ขาดแก่ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนเสมือนหนึ่งฝากเงินจนครบกำหนด
ทั้งนี้ กรณีที่เป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นและลูกค้าได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากใหม่ที่สูงขึ้น จำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จะปิดสาขา ต้องจ่ายชดเชย คือ ดอกเบี้ยเงินฝากตามระยะเวลาที่ฝากจริงก่อนวันโอนเงินฝากไปยังธนาคารอื่นหรือวันปิดสาขาแล้วแต่กรณี
3) สำหรับอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากใหม่ ที่ธนาคารพาณิชย์จะใช้เทียบเคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเดิมเพื่อการจ่ายชดเชยนั้น ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ลูกค้าไม่ประสงค์จะฝากเงินต่อยังธนาคารอื่นใด ส่วนในกรณีที่ลูกค้าให้โอนเงินไปฝากยังธนาคารอื่น ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนเงินฝากประกาศ จ่ายสำหรับประเภทเงินฝากที่ลูกค้าโอนไป
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
ก. มาตรการอัตราดอกเบี้ย
การปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินระยะสั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 เกี่ยวกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน (R/P) 14 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ใช้ในการดำเนินนโยบาย การเงิน จากร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.5 ต่อปี เพื่อให้โครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงิน ระยะสั้นมีความเหมาะสม
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป จะยังคงรูปแบบการดำเนินการ ภายใต้กรอบของนโยบายการเงินปัจจุบัน
ข. มาตรการนโยบายการเงินและการพัฒนาตลาดตราสาร
การจัดตั้งศูนย์ Hotline อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (ศอยพ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์ Hotline ขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางด้านข้อมูลของราคาและรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ ลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย โดยเริ่มเปิดดำเนินการวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ระหว่างเวลา 10.00 - 13.30 น.
(ข่าว ธปท. ฉบับที่ 23/2544 ลงวันที่ 31 มกราคม 2544)
ค. มาตรการปริวรรตเงินตรา
1. การปรับปรุงรายงานวัตถุประสงค์ของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 แจ้งแก่ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวม BIBF) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ถือปฏิบัติในการ รายงานการขายหรือซื้อเงินตราต่างประเทศ ในแบบรายงาน ธ.ต.3 (ข) ข้อ 6 และ ธ.ต.4 (ข) ข้อ 6 ตามลำดับ ในกรณีที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ หรือคู่ค้าที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หากมี วัตถุประสงค์นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน ด้านหลังของแบบรายงาน ธ.ต. ดังกล่าว ให้ ตัวแทนรับอนุญาตมีหน้าที่รายงานและ/หรือแจ้ง คู่ค้าให้รายงานข้อมูลเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2544
2. การรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากสถานทูตต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ประจำการในประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 27 เมษายน 2544 เพื่อแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวม BIBF) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ทราบว่า การรับซื้อ เงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทที่มี value same day และ value tomorrow จากสถานทูต ต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงชำนัญพิเศษ แห่งองค์การสหประชาชาติ หรือสถาบันระหว่างประเทศที่ประจำการในประเทศไทยนั้น ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือที่ ธปท. สกง.(14)ว.462/2544 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 เรื่อง วิธีปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ง. มาตรการสินเชื่อ
1. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 12 มกราคม 2544 เพื่อแจ้งแก่สถาบันการเงิน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามระเบียบว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบ อุทกภัยในภาคใต้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ทั้งรายใหม่และรายเก่า โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินที่รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และให้ธนาคารพาณิชย์ คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราดอกเบี้ย MLR ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี ส่วนสถาบันการเงิน ที่ขายตั๋วซึ่งมิใช่ธนาคารพาณิชย์ ให้ใช้อัตรา ดอกเบี้ย MLR ตามประกาศของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (ได้แก่ ธ. กรุงเทพ ธ. กรุงไทย ธ. กสิกรไทย และ ธ. ไทยพาณิชย์) โดยเฉลี่ยลบด้วย ร้อยละ 2.75 ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากเดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เหลือร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 12 มกราคม 2544
2. การกำหนดเป้าสินเชื่อปี 2544 แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 1 มีนาคม 2544 เพื่อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศส่งแบบรายงาน เป้าหมายการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สำหรับปี 2544 ภายในวันที่ 15มีนาคม 2544 โดยให้ตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งเป้าหมายให้สามารถปฎิบัติได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพื่อจัดให้มีระบบการติดตามผลการให้สินเชื่อจริงเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกครึ่งปี ทั้งนี้ ขอให้ รายงานข้อมูลในแบบรายงานติดตามผลการให้สินเชื่อแก่ SMEs มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21 เดือนกรกฎาคม 2544 สำหรับงวดครึ่งแรกของปี 2544 และวันที่ 21 มกราคม 2545 สำหรับงวด ครึ่งหลังของปี 2544
จ. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
1. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 24 มกราคม 2544 เพื่อแจ้งแก่สถาบันการเงิน สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้ทราบว่า กรมสรรพากรได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินที่ได้รับโอนมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น เพื่อนำไปชำระหนี้แก่ เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินนั้น
2. ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ให้สำนักงานวิเทศธนกิจถือปฏิบัติเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ ตามหนังสือเวียนที่ ธปท. สนส.(12) ว.4411/2542 เรื่อง การขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2542 เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยให้กิจการวิเทศธนกิจ ถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้เกินกว่า ระยะเวลาที่กำหนด เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และต้องขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายใน 10 ปี นับจากวันที่รับโอน
3. การกำหนดให้บริษัทบริหาร สินทรัพย์ยื่นรายงาน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ยื่นรายงานซึ่งประกอบ ไปด้วย รายงานที่เกี่ยวข้องกับ Non Performing Loans รายงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ รายงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เงินให้สินเชื่อที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมาย และรายงานที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดลูกค้าผู้ประกอบการ
(หนังสือเวียนเพื่อนำส่งประกาศธนาคารลงวันที่ 25 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544)
4. การเลิกบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออมทรัพย์ จำกัด
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศข่าว ธปท. ฉบับที่ 35/2544 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ตามที่กระทรวงการคลังได้มี คำสั่งแต่งตั้งให้สำนักงานปิติเสวีทำหน้าที่เป็น ผู้ชำระบัญชีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด เพื่อแจ้งแก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทให้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะช่วยเหลือทางการเงินแก่ ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของบริษัท ตามข้อบังคับ ว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โดยกองทุนฯ จะจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ซึ่งได้ไปติดต่อแสดงเจตนาขอรับเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ระหว่างเวลา 9.30 | 15.30 น. ณ ที่ทำการของบริษัท
2) ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่ครบกำหนดแล้วรวมทั้งบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับเช็คสั่งจ่ายจากบริษัท แต่ยังมิได้นำเช็คเข้าฝาก ให้นำเช็ค ดังกล่าวไปแสดง ณ ที่ทำการของบริษัท กรณีเป็นเช็คจ่ายชำระคืนเงินฝากและเงินกู้ยืมให้ยื่นขอรับเงินจากเจ้าหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ไปประจำที่บริษัท กรณีเป็นเช็คสั่งจ่ายเพื่อการอื่นๆ ให้นำไปยื่นต่อผู้ชำระบัญชี
3) สำหรับลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินจากบริษัท จะขอไถ่ถอนหลักประกันที่จำนองไว้ได้ เมื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยครบตามสัญญา
5. การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ Escrow Account
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เพื่อขยายขอบเขตการ
ประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยอนุญาตให้บริการรับฝากเงินในรูปแบบ Escrow Account จาก ผู้ฝากที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ กับผู้ขายได้ โดยที่ธนาคารพาณิชย์ จะดูแลให้มีการเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เมื่อ ผู้ซื้อและผู้ขายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีครบถ้วนแล้ว และต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ ธนาคารพาณิชย์สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการเปิดบัญชี ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ใช้บริการได้ แต่ต้องกำหนดไว้ในสัญญาอย่างชัดเจน และในสัญญาการเปิดบัญชี Escrow ต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ของคู่สัญญา ข้อมูล สินทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปิดบัญชี การฝาก การถอน และการปิดบัญชี ตลอดจนค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการ เปิดบัญชี วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการเปิดบัญชี Escrow
อนึ่ง การประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน มิฉะนั้น อาจถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ Escrow Account
ฉ. มาตรการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
1. การกำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติในเรื่องการกู้ยืม หรือรับเงิน หรือจัดหาเงินทุนจาก ประชาชน
ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 29 ธันวาคม 2543 เพื่อกำหนดให้บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมหรือรับฝากเงินจากประชาชน โดยต้องจัดให้ลูกค้าแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียด และ ลงลายมือชื่อ รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐานด้วย เช่น บุคคลธรรมดา อย่างน้อยต้องมี เอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลนั้น เป็นต้น และให้เก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือสำเนาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ชำระเงินคืนแก่ลูกค้า เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ นอกจากนี้ ลูกค้าจะปกปิดชื่อจริงโดยใช้ชื่อแฝงหรือ ชื่อปลอมมิได้ สำหรับลูกค้าที่มีเงินให้กู้ยืมหรือ เงินฝากอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้บริษัทเงินทุนดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่บังคับใช้ เว้นแต่ลูกค้าที่ติดต่อไม่ได้และบริษัทได้แจ้งทาง จดหมายลงทะเบียนให้ลูกค้าดำเนินการแล้ว
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544
2. การดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 11 มกราคม 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการดำรง สินทรัพย์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ โดยประกาศยกเลิกการอนุญาตให้นับเงินลงทุนที่สาขาธนาคารต่างประเทศใช้เงินกองทุนไปลงทุนในหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งในที่สุดจะนำไปลงทุนในหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่จดทะเบียนในประเทศไทยตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร แห่งประเทศไทย หรือเป็นสินทรัพย์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
(หนังสือเวียนเพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และมีผลบังคับใช้วันที่ 19 ธันวาคม 2543)
3. การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดย
1) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 27 มกราคม 2543 เรื่อง การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
2) ขยายประเภทและขอบเขตธุรกรรม ที่บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในธุรกรรมทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตจากธนาคาร แห่งประเทศไทย
สำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาต ตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2543 ในเรื่องเดียวกันไปแล้วนั้น ให้ดำเนินการภายใต้ ข้อกำหนดของประกาศฉบับนี้ได้ทันที
3) ในการเชื่อมโยง WebSite ของบริษัท กับธุรกิจอื่นจะต้องไม่แสดงเครื่องหมายการค้าหรือข้อความของธุรกิจอื่นบนหน้าจอภาพแรกของบริษัท และไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ลูกค้าไปใช้บริการใน WebSite ของธุรกิจอื่น และห้ามทำการซื้อขายสินค้าระหว่างลูกค้ากับธุรกิจอื่นบน WebSite ของบริษัท นอกจากนี้ ให้บริษัทคิดค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) จากลูกค้าผู้ใช้บริการและธุรกิจอื่นตามกลไกตลาด โดยต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อลูกค้าผู้ใช้บริการ
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544
4. การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณี พิเศษ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544 แก่บริษัท เงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ให้ยกเลิกหนังสือที่ ธปท. งฟ.(ว) 849/2539 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2539 เรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารเป็นกรณีพิเศษ และ ที่ สนส.(02)ว. 995/2543 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2543 เรื่องการนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฎิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
2) ดำเนินการให้ผู้สอบบัญชีของบริษัท ปฎิบัติงานเพิ่มเติม โดยให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและการควบคุมภายในของบริษัท เงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543 และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้ต้องปฏิบัติในเรื่อง การรับเงินและการจ่ายเงิน การให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน โดยให้ ตรวจสอบและจัดทำรายงานในประเด็นที่ว่าระบบควบคุมภายในตามระเบียบดังกล่าวในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร และบริษัทมีการละเว้นการดำเนินการตามระเบียบพิธีปฏิบัติดังกล่าวทุกเรื่องหรือไม่
ทั้งนี้ ให้บริษัทเงินทุนฯ จัดให้ผู้สอบบัญชีดำเนินการและจัดทำรายงานดังกล่าว ส่งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมกับ งบการเงินงวดประจำปี โดยเริ่มตั้งแต่งวดประจำปีบัญชีที่เริ่มต้นหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
5. การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ยกเลิกหนังสือที่ ธปท. สนส. (21)ว.4291/2542 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุน ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2542 และหนังสือที่ ธปท. สนส. (21)ว.1324/2543 เรื่อง เส้น Yield Curve ที่ใช้คำนวณหาอัตรา ผลตอบแทน ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2543 เพื่อให้การบันทึกบัญชีของสถาบันการเงินเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชี เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 และซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกรายการเงินลงทุนด้วย
6. การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้สถาบันการเงินถือปฎิบัติในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าลูกหนี้เข้าข่ายจะต้องถูกจัดชั้นหรือไม่ โดยซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การจัดชั้นลูกหนี้ที่ดำเนินธุรกิจขาดทุน การจัดชั้นเป็นรายลูกหนี้ การจัดชั้นตามคุณภาพของผู้ค้ำประกัน และการจัดชั้นลูกหนี้เป็นกลุ่ม
7. การจ่ายชดเชยความเสียหายแก่ลูกค้าเงินฝากอันเนื่องมาจากการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 29 มิถุนายน 2544 เพื่อแจ้งแก่ธนาคารพาณิชย์ไทยทุกธนาคาร โดยเพิ่ม หลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะปิดสาขาต้องปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
1) มิให้ธนาคารพาณิชย์คิดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินฝากของลูกค้าที่นำไปฝากต่อยังธนาคารพาณิชย์อื่นตามความประสงค์ที่ลูกค้าแจ้ง
2) กรณีเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลา ถ้าการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ลูกค้าต้องถอนเงินหรือโอนเงินฝากไปยังธนาคารพาณิชย์อื่นก่อนครบกำหนด ธนาคารพาณิชย์ที่จะปิดสาขาต้องจ่ายชดเชยดอกเบี้ย ส่วนที่ขาดแก่ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนเสมือนหนึ่งฝากเงินจนครบกำหนด
ทั้งนี้ กรณีที่เป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นและลูกค้าได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากใหม่ที่สูงขึ้น จำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ที่จะปิดสาขา ต้องจ่ายชดเชย คือ ดอกเบี้ยเงินฝากตามระยะเวลาที่ฝากจริงก่อนวันโอนเงินฝากไปยังธนาคารอื่นหรือวันปิดสาขาแล้วแต่กรณี
3) สำหรับอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากใหม่ ที่ธนาคารพาณิชย์จะใช้เทียบเคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเดิมเพื่อการจ่ายชดเชยนั้น ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ลูกค้าไม่ประสงค์จะฝากเงินต่อยังธนาคารอื่นใด ส่วนในกรณีที่ลูกค้าให้โอนเงินไปฝากยังธนาคารอื่น ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนเงินฝากประกาศ จ่ายสำหรับประเภทเงินฝากที่ลูกค้าโอนไป
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-