เศรษฐกิจจังหวัดอุตรดิตถ์ปี 2542 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นหลังจากหดตัวเมื่อปีก่อน โดยภาคการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งภาคเกษตร จากปริมาณน้ำที่มากเพียงพอรวมทั้ง นอกภาคเกษตร จากภาคอุตสาหกรรม ตามการผลิตน้ำตาลทราย และการใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ตามการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ แม้ว่าภาคการลงทุนจะซบเซา แต่ภาคการก่อสร้างเริ่มดีขึ้นจากการก่อสร้างภาคเอกชนประเภทอาคารพาณิชย์ ภาคการเงิน เงินฝากกลับเพิ่มขึ้นแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะต่ำลงจากเงินฝากของเกษตรกร ขณะที่สินเชื่อยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน สำหรับเงินในงบประมาณขาดดุลใกล้เคียงกับปีก่อน
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลายชนิดส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำที่มากเพียงพอได้แก่ ผลผลิต ข้าวนาปรัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 81,744 เมตริกตัน ผลผลิต อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เป็น 686,597 เมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็น 41,402 เมตริกตัน ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เป็น 17,888 เมตริกตัน หอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เป็น 14,630 เมตริกตัน ถั่วเขียวผิวมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เป็น 4,099 เมตริกตัน และลางสาด เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เป็น 29,000 เมตริกตัน แต่สำหรับผลผลิตข้าวนาปีลดลงจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เหลือ 199,344 เมตริกตัน ทางด้านรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 19.6 เทียบกับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 ปีก่อน เนื่องจากราคาพืชสำคัญหลายชนิดต่ำกว่าปีก่อน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
นอกภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรม สำคัญของจังหวัด ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.7 เป็น 178,474 เมตริกตัน ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรมของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,234 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดการผลิตมากในปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 เป็น 186,000 เมตริกตัน ส่วนผลผลิตหินอ่อนและดินขาวลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.9 และร้อยละ1.2 เหลือ 255 เมตริกตัน และ 46,995 เมตริกตัน ตามลำดับ การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นจากเครื่องชี้หลายตัว ได้แก่ ยอดการจดทะเบียนรถยนต์เป็น 793 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 86.5 ปีก่อน แต่สำหรับยอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 28.0 เหลือเพียง 4,387 คัน แต่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 44.1 ปีก่อน และจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตนมีจำนวน 14,178 คน เทียบกับจำนวน 12,699 คนปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.3 เป็น 107 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 23.0 ปีก่อน เมื่อพิจารณาสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,009 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.0 เนื่องจากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และมีธุรกิจเช่าซื้อให้บริการทดแทน
ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังซบเซา โดยไม่มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติ การส่งเสริมการลงทุนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แต่มีการจดทะเบียนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่จำนวน 21 ราย วงเงินลงทุน 34 ล้านบาท เทียบกับ 3 ราย เงินลงทุน 9 ล้านบาท ปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโรงสีข้าว ผลิตวัสดุก่อสร้าง โรงงานบรรจุเคมีภัณฑ์ ทางด้าน การก่อสร้าง กลับดีขึ้นจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 เป็น 15,518 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างเพื่อการพาณิชยกรรม สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง มียอดคงค้างทั้งสิ้น 276 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.4
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดอุตรดิตถ์) จำนวน 15,926 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากเงินนำฝากที่ผู้แทนฯ ร้อยละ 0.3 ขณะที่เงินเบิกถอนที่ผู้แทนฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อรองรับปัญหา Y2K
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากมียอดคงค้างทั้งสิ้น 7,613 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 เท่ากับที่ลดลงร้อยละ 2.3 ปีก่อน แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะต่ำลงและมีการถอนเงินมากในช่วงเดือนธันวาคม แต่ปีนี้เกษตรกรและชาวไร่อ้อยมีรายได้จากผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น เงินฝากลดลงในเขตอำเภอรอบนอก ร้อยละ 14.8 แต่เขตอำเภอเมืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.7 ส่วน สินเชื่อ ยอดคงค้างทั้งสิ้น 5,287 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.4 ปีก่อน ส่วนใหญ่ลดลงจากสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ปริมาณการใช้เช็ค ปีนี้ ปริมาณเช็คเรียกเก็บมีจำนวน 109,430 ฉบับ มูลค่ารวม ทั้งสิ้น 6,103 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 และร้อยละ 30.7 ตามลำดับ ส่วนปริมาณเช็คคืนมีจำนวน 2,078 ฉบับ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 91 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.5 และร้อยละ 69.8 ตามลำดับ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 850 ราย วงเงิน 2,288.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 831 ราย วงเงิน 1,366.9 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 62 ราย วงเงิน 701.8 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 788 ราย เป็นเงิน 1,586.9 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,935 ล้านบาท ใกล้เคียงกับที่ขาดดุล 3,971 ล้านบาทปีก่อน โดยรายจ่ายมีจำนวน 4,317 ล้านบาท ใกล้เคียงกับ 4,369 ล้านบาท ปีก่อน ขณะที่รายได้จำนวน 382 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.0 จากการลดลงของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บ จากเงินได้ดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณเกินดุล 4,562 ล้านบาท ส่งผลให้เงินสดเกินดุล 627 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,281 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดอุตรดิตถ์วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 298 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 261 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.6 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงานเกือบร้อยละ 53 ของเงินทั้งหมด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลายชนิดส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำที่มากเพียงพอได้แก่ ผลผลิต ข้าวนาปรัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เป็น 81,744 เมตริกตัน ผลผลิต อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เป็น 686,597 เมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็น 41,402 เมตริกตัน ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เป็น 17,888 เมตริกตัน หอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เป็น 14,630 เมตริกตัน ถั่วเขียวผิวมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เป็น 4,099 เมตริกตัน และลางสาด เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 เป็น 29,000 เมตริกตัน แต่สำหรับผลผลิตข้าวนาปีลดลงจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เหลือ 199,344 เมตริกตัน ทางด้านรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 19.6 เทียบกับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 ปีก่อน เนื่องจากราคาพืชสำคัญหลายชนิดต่ำกว่าปีก่อน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
นอกภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรม สำคัญของจังหวัด ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.7 เป็น 178,474 เมตริกตัน ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรมของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,234 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดการผลิตมากในปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 เป็น 186,000 เมตริกตัน ส่วนผลผลิตหินอ่อนและดินขาวลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.9 และร้อยละ1.2 เหลือ 255 เมตริกตัน และ 46,995 เมตริกตัน ตามลำดับ การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นจากเครื่องชี้หลายตัว ได้แก่ ยอดการจดทะเบียนรถยนต์เป็น 793 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 86.5 ปีก่อน แต่สำหรับยอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 28.0 เหลือเพียง 4,387 คัน แต่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 44.1 ปีก่อน และจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตนมีจำนวน 14,178 คน เทียบกับจำนวน 12,699 คนปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.3 เป็น 107 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.5 ปีก่อน แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 23.0 ปีก่อน เมื่อพิจารณาสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,009 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.0 เนื่องจากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และมีธุรกิจเช่าซื้อให้บริการทดแทน
ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังซบเซา โดยไม่มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติ การส่งเสริมการลงทุนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แต่มีการจดทะเบียนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่จำนวน 21 ราย วงเงินลงทุน 34 ล้านบาท เทียบกับ 3 ราย เงินลงทุน 9 ล้านบาท ปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโรงสีข้าว ผลิตวัสดุก่อสร้าง โรงงานบรรจุเคมีภัณฑ์ ทางด้าน การก่อสร้าง กลับดีขึ้นจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 เป็น 15,518 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างเพื่อการพาณิชยกรรม สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง มียอดคงค้างทั้งสิ้น 276 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.4
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดอุตรดิตถ์) จำนวน 15,926 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นจากเงินนำฝากที่ผู้แทนฯ ร้อยละ 0.3 ขณะที่เงินเบิกถอนที่ผู้แทนฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อรองรับปัญหา Y2K
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากมียอดคงค้างทั้งสิ้น 7,613 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 เท่ากับที่ลดลงร้อยละ 2.3 ปีก่อน แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะต่ำลงและมีการถอนเงินมากในช่วงเดือนธันวาคม แต่ปีนี้เกษตรกรและชาวไร่อ้อยมีรายได้จากผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น เงินฝากลดลงในเขตอำเภอรอบนอก ร้อยละ 14.8 แต่เขตอำเภอเมืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.7 ส่วน สินเชื่อ ยอดคงค้างทั้งสิ้น 5,287 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.4 ปีก่อน ส่วนใหญ่ลดลงจากสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ปริมาณการใช้เช็ค ปีนี้ ปริมาณเช็คเรียกเก็บมีจำนวน 109,430 ฉบับ มูลค่ารวม ทั้งสิ้น 6,103 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.2 และร้อยละ 30.7 ตามลำดับ ส่วนปริมาณเช็คคืนมีจำนวน 2,078 ฉบับ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 91 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.5 และร้อยละ 69.8 ตามลำดับ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 850 ราย วงเงิน 2,288.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 831 ราย วงเงิน 1,366.9 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 62 ราย วงเงิน 701.8 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 788 ราย เป็นเงิน 1,586.9 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 3,935 ล้านบาท ใกล้เคียงกับที่ขาดดุล 3,971 ล้านบาทปีก่อน โดยรายจ่ายมีจำนวน 4,317 ล้านบาท ใกล้เคียงกับ 4,369 ล้านบาท ปีก่อน ขณะที่รายได้จำนวน 382 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.0 จากการลดลงของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บ จากเงินได้ดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ตามการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณเกินดุล 4,562 ล้านบาท ส่งผลให้เงินสดเกินดุล 627 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,281 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดอุตรดิตถ์วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 298 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 261 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.6 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงานเกือบร้อยละ 53 ของเงินทั้งหมด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-