กรุงเทพฯ--6 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานข่าวกรณีแรงงานไทยจำนวนมากถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรกรรมที่จอร์แดน โดยไม่ได้รับค่าจ้างนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศจอร์แดนว่า ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว และขอเรียนชี้แจง ดังนี้
1. คนไทยรายหนึ่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นได้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณแม่น้ำจอร์แดนจากเจ้าของที่ดินชาวจอร์แดนประมาณ 50 ราย รวมเนื้อที่ประมาณ 2000 ไร่ อายุสัญญาเช่า 1 ปี ในอัตราค่าเช่าแตกต่างกันไป ซึ่งสัญญาเช่าส่วนใหญ่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2543 ถึง 1 มกราคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเกษตรต่าง ๆ เช่น ปลูกพืช เลี้ยงไก่และเลี้ยงปลา และ การเช่าที่ดินได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายจอร์แดนทุกประการ โดยที่นายทุนที่แท้จริงเป็นชาวต่างชาติ
2. ขณะที่มีคนไทยที่ทำงานอยู่ในบริเวณดังกล่าวทั้งสิ้นประมาณ 800 คน โดยคนงานชุดแรกเดินทางไปยังจอร์แดน ประมาณวันที่ 11 กันยายน 2543 และขณะนี้คนงานทั้งหมดกระจายอยู่ตามแหล่งงาน (site) ต่าง ๆ 12 แห่ง ส่วนอีก 8 แห่งซึ่งรับคนงานได้ประมาณ 500 คนนั้นยังไม่มีคนงานนอกจากนี้ในแต่ละแหล่งงานจะแบ่งแรงงานเป็นตำแหน่งต่าง ๆ เช่น แม่ครัว ช่างควบคุมเครื่องยนต์สูบน้ำ พนักงานขับรถส่งอาหารและเอกสาร ฯลฯ เป็นต้น
3. จาการตรวจสอบกับนายเสรี อินธิสาร คนงานไทยที่เคยทำงานอยู่ในจอร์แดนและเป็นผู้ร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ กรณีมีคนไทยประมาณ 600 คน ถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรกรรมในจอร์แดน ทราบว่า คนงานทุกคนมีงานทำจริง แต่ปัญหาคือไม่ได้รับค่าจ้าง หรือค่าจ้างไม่แน่นอน รวมทั้งอาหารและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดี
4. การจ้างแรงงานไทยดังกล่าวข้างต้น กระทำโดยไม่มีการทำสัญญาว่าจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกลงอัตราค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ เป็นเพียงการตกลงด้วยวาจา นอกจากนี้ ยังถูกเรียกเก็บค่านายหน้าสูงถึงคนละ 180,000-200,000 บาทอีกด้วย
5. ทางการจอร์แดนให้ความสนใจต่อเรื่องดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากสื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ในแง่มุมต่าง ๆ ติดต่อกันหลายวัน ซึ่งหากกรณีนี้ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของจอร์แดน ทางการจอร์แดนก็อาจไม่อนุญาตให้คนไทยอยู่ต่อและไม่อนุญาตให้ทำงานซึ่งจะมีผลให้คนไทยอาจถูกลอยแพได้
6. กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ขอให้ผู้เกี่ยวข้องทำสัญญาจ้างกับแรงงานไทย โดยมีเงื่อนไขที่ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างสามารถรับได้ รวมทั้งขอให้นายจ้างรับผิดชอบส่งแรงงานไทยกลับประเทศ หากทางจอร์แดนระงับการขยายการอยู่ต่อ และปฏิเสธที่จะออกใบอนุญาตทำงานให้
7. ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศใคร่ขอแจ้งให้คนไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานดังกล่าวข้างต้นที่จอร์แดนยกเลิกความตั้งใจ จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม และขอให้ติดตามาการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมอย่างใกล้ชิดต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานข่าวกรณีแรงงานไทยจำนวนมากถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรกรรมที่จอร์แดน โดยไม่ได้รับค่าจ้างนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศจอร์แดนว่า ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว และขอเรียนชี้แจง ดังนี้
1. คนไทยรายหนึ่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นได้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณแม่น้ำจอร์แดนจากเจ้าของที่ดินชาวจอร์แดนประมาณ 50 ราย รวมเนื้อที่ประมาณ 2000 ไร่ อายุสัญญาเช่า 1 ปี ในอัตราค่าเช่าแตกต่างกันไป ซึ่งสัญญาเช่าส่วนใหญ่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2543 ถึง 1 มกราคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการเกษตรต่าง ๆ เช่น ปลูกพืช เลี้ยงไก่และเลี้ยงปลา และ การเช่าที่ดินได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายจอร์แดนทุกประการ โดยที่นายทุนที่แท้จริงเป็นชาวต่างชาติ
2. ขณะที่มีคนไทยที่ทำงานอยู่ในบริเวณดังกล่าวทั้งสิ้นประมาณ 800 คน โดยคนงานชุดแรกเดินทางไปยังจอร์แดน ประมาณวันที่ 11 กันยายน 2543 และขณะนี้คนงานทั้งหมดกระจายอยู่ตามแหล่งงาน (site) ต่าง ๆ 12 แห่ง ส่วนอีก 8 แห่งซึ่งรับคนงานได้ประมาณ 500 คนนั้นยังไม่มีคนงานนอกจากนี้ในแต่ละแหล่งงานจะแบ่งแรงงานเป็นตำแหน่งต่าง ๆ เช่น แม่ครัว ช่างควบคุมเครื่องยนต์สูบน้ำ พนักงานขับรถส่งอาหารและเอกสาร ฯลฯ เป็นต้น
3. จาการตรวจสอบกับนายเสรี อินธิสาร คนงานไทยที่เคยทำงานอยู่ในจอร์แดนและเป็นผู้ร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ กรณีมีคนไทยประมาณ 600 คน ถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรกรรมในจอร์แดน ทราบว่า คนงานทุกคนมีงานทำจริง แต่ปัญหาคือไม่ได้รับค่าจ้าง หรือค่าจ้างไม่แน่นอน รวมทั้งอาหารและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดี
4. การจ้างแรงงานไทยดังกล่าวข้างต้น กระทำโดยไม่มีการทำสัญญาว่าจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกลงอัตราค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ เป็นเพียงการตกลงด้วยวาจา นอกจากนี้ ยังถูกเรียกเก็บค่านายหน้าสูงถึงคนละ 180,000-200,000 บาทอีกด้วย
5. ทางการจอร์แดนให้ความสนใจต่อเรื่องดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากสื่อมวลชนได้วิพากษ์วิจารณ์ในแง่มุมต่าง ๆ ติดต่อกันหลายวัน ซึ่งหากกรณีนี้ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของจอร์แดน ทางการจอร์แดนก็อาจไม่อนุญาตให้คนไทยอยู่ต่อและไม่อนุญาตให้ทำงานซึ่งจะมีผลให้คนไทยอาจถูกลอยแพได้
6. กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ขอให้ผู้เกี่ยวข้องทำสัญญาจ้างกับแรงงานไทย โดยมีเงื่อนไขที่ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างสามารถรับได้ รวมทั้งขอให้นายจ้างรับผิดชอบส่งแรงงานไทยกลับประเทศ หากทางจอร์แดนระงับการขยายการอยู่ต่อ และปฏิเสธที่จะออกใบอนุญาตทำงานให้
7. ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศใคร่ขอแจ้งให้คนไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานดังกล่าวข้างต้นที่จอร์แดนยกเลิกความตั้งใจ จนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม และขอให้ติดตามาการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมอย่างใกล้ชิดต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-