1. ผลการประชุมคณะกรรมการฯ นโยบายการเงิน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 สรุปได้ดังนี้
1) กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อที่หักหมวดอาหารสดและพลังงาน) สำหรับปี 2543 - 2545 ไว้ที่ร้อยละ 0 - 3.5 โดยดูจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของประเทศ คู่แข่งคู่ค้าของไทยและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป้าหมายดังกล่าวจะช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันในด้านการส่งออกได้ทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2) สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) จะใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันเป็นตัวส่งสัญญาณทางการเงิน โดยช่วงแรกจะกำหนดเป้าหมายให้อัตราปิดณ สิ้นวันไม่เกินบวกลบ 1/16 ซึ่งครั้งนี้คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราไว้เท่าเดิมคือร้อยละ 1.5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนในระยะเวลาอื่นๆ อาทิ 1 วัน 7 วัน 1 - 6 เดือนนั้น จะปล่อยให้เคลื่อนไหวตามภาวะตลาด
3) คณะกรรมการฯ จะมีการประชุมเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทุก 6 สัปดาห์ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 และจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มนโยบายเงินเฟ้อฉบับแรกในวันที่ 25 กรกฎาคม 2543
2. คณะกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1 ปี 2543 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเล็กน้อย โดย (1) ภาคการผลิตเป็นการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรเป็นหลัก อาทิ สาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ขยายตัวตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การเงินการธนาคาร และเกษตร (2) ภาคการใช้จ่าย ส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาล รายจ่ายสะสมทุนซึ่งนับว่าสูงขึ้นอย่างมากทั้งในส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์และยานพาหนะ ขณะเดียวกันการลงทุนด้านก่อสร้าง ได้ส่งสัญญาณการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรก สำหรับการใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัวเทียบกับปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย ส่วนการส่งออกยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
3. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2543 ประเทศไทยได้ผ่านเงื่อนไขการเผยแพร่ข้อมูลตามมาตรฐานระดับสูง (SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นประเทศที่ 21 จากจำนวนประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 47 ประเทศ โดยมีข้อกำหนดในการเผยแพร่ข้อมูล 5 ประเภทคือ ข้อมูลเศรษฐกิจภาคการผลิต การเงิน การคลัง ข้อมูลด้านต่างประเทศ และข้อมูลประชากร รวม 17 รายการ ซึ่งมี หลักเกณฑ์ครอบคลุม 4 ประการ ได้แก่ (1) กำหนดเงื่อนไขความถี่ และความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลแต่ละรายการ (2) จัดทำปฏิทินการเผยแพร่ข้อมูลล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ไตรมาส และเปิดให้ สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงและพร้อมเพรียงกัน (3) ระบุหลักเกณฑ์รองรับการจัดทำ ข้อมูล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล (4) เผยแพร่วิธีการจัดทำและแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งจะช่วยตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของข้อมูล
4. ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งสถาบันการเงินเป็น Primary Dealers โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 16 มิถุนายน 2543 ดังนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ ธนาคารดอยช์แบงก์ เอจี สาขากรุงเทพฯ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร เอ็น.วี. สาขากรุงเทพฯ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด สาขากรุงเทพฯ บริษัทหลักทรัพย์เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด วัตถุประสงค์ของการมี Primary Dealers คือ (1) เพื่อให้การประมูลตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรกเป็นไปตามเป้าหมาย (2) เป็นคู่ค้าในการซื้อขายตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (3) เพื่อทำหน้าที่เสริมสร้างสภาพคล่องและเพิ่มประสิทธิภาพในตลาดรองโดยมีการเสนออัตราผลตอบแทนรับซื้อขายให้ผู้ร่วมตลาดทราบอย่างต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์การคัดเลือก Primary Dealers คือ (1) หลักเกณฑ์ขั้นต่ำ สถาบันการเงินต้องมี ใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าตราสารหนี้จากกระทรวงการคลัง มีฐานะการเงินที่มั่นคง และมีฐานลูกค้า ที่หลากหลาย (2) แสดงผลการดำเนินงานในตลาดตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรก ตลาดรอง และการทำ ธุรกรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ปัจจัยอื่นๆ อาทิ กระบวนการทำงาน การควบคุมภายในและการควบคุมความเสี่ยงในการทำธุรกรรมซื้อขายตราสารหนี้การให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย และการจัดทำบทวิเคราะห์ตลาดตราสารหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดการประเมินผลงานของแต่ละสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ ข้างต้นเป็นระยะๆ และจะมีการปรับเปลี่ยนรายชื่อของ Primary Dealers เพื่อกระตุ้นการแข่งขันและศักยภาพของสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
5. ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ว่ามียอดคงค้าง NPL ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 ทั้งสิ้น 1,954.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.47 ของสินเชื่อรวม ซึ่งลดลงสุทธิ 40.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 2.02 จากสิ้นเดือนมีนาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
NPL คงค้าง ณ สิ้น มีนาคม 2543 1,995
NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน เมษายน 2543
- รายใหม่ 18.3 18.3
- รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 17.8 36.1
NPL ที่ลดลงในเดือน เมษายน 2543
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (54.5)
- เหตุผลอื่น* (22.0) (76.5)
NPL ลดลงสุทธิในเดือน เมษายน 2543 (40.4)
NPL คงค้าง ณ สิ้น เมษายน 2543 1,954.7
* การลดลงของ NPL ในกรณีเหตุผลอื่นประกอบด้วย (1) NPL ที่ชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 11.7 ล้านบาท (2) การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญ และสงสัยจะสูญที่สำรองครบร้อยละ 100 แล้ว จำนวนประมาณ 1.7 พันล้านบาท (3) อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้อง การขายหนี้ เป็นต้น รวม 8.6 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1) กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อที่หักหมวดอาหารสดและพลังงาน) สำหรับปี 2543 - 2545 ไว้ที่ร้อยละ 0 - 3.5 โดยดูจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของประเทศ คู่แข่งคู่ค้าของไทยและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป้าหมายดังกล่าวจะช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันในด้านการส่งออกได้ทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2) สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) จะใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันเป็นตัวส่งสัญญาณทางการเงิน โดยช่วงแรกจะกำหนดเป้าหมายให้อัตราปิดณ สิ้นวันไม่เกินบวกลบ 1/16 ซึ่งครั้งนี้คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราไว้เท่าเดิมคือร้อยละ 1.5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนในระยะเวลาอื่นๆ อาทิ 1 วัน 7 วัน 1 - 6 เดือนนั้น จะปล่อยให้เคลื่อนไหวตามภาวะตลาด
3) คณะกรรมการฯ จะมีการประชุมเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทุก 6 สัปดาห์ โดยการประชุมครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 และจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มนโยบายเงินเฟ้อฉบับแรกในวันที่ 25 กรกฎาคม 2543
2. คณะกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1 ปี 2543 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเล็กน้อย โดย (1) ภาคการผลิตเป็นการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรเป็นหลัก อาทิ สาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ขยายตัวตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ การเงินการธนาคาร และเกษตร (2) ภาคการใช้จ่าย ส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาล รายจ่ายสะสมทุนซึ่งนับว่าสูงขึ้นอย่างมากทั้งในส่วนเครื่องจักรอุปกรณ์และยานพาหนะ ขณะเดียวกันการลงทุนด้านก่อสร้าง ได้ส่งสัญญาณการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรก สำหรับการใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัวเทียบกับปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย ส่วนการส่งออกยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
3. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2543 ประเทศไทยได้ผ่านเงื่อนไขการเผยแพร่ข้อมูลตามมาตรฐานระดับสูง (SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นประเทศที่ 21 จากจำนวนประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 47 ประเทศ โดยมีข้อกำหนดในการเผยแพร่ข้อมูล 5 ประเภทคือ ข้อมูลเศรษฐกิจภาคการผลิต การเงิน การคลัง ข้อมูลด้านต่างประเทศ และข้อมูลประชากร รวม 17 รายการ ซึ่งมี หลักเกณฑ์ครอบคลุม 4 ประการ ได้แก่ (1) กำหนดเงื่อนไขความถี่ และความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลแต่ละรายการ (2) จัดทำปฏิทินการเผยแพร่ข้อมูลล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ไตรมาส และเปิดให้ สาธารณชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงและพร้อมเพรียงกัน (3) ระบุหลักเกณฑ์รองรับการจัดทำ ข้อมูล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล (4) เผยแพร่วิธีการจัดทำและแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งจะช่วยตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของข้อมูล
4. ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งสถาบันการเงินเป็น Primary Dealers โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 16 มิถุนายน 2543 ดังนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ ธนาคารดอยช์แบงก์ เอจี สาขากรุงเทพฯ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สาขากรุงเทพฯ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร เอ็น.วี. สาขากรุงเทพฯ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด สาขากรุงเทพฯ บริษัทหลักทรัพย์เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด วัตถุประสงค์ของการมี Primary Dealers คือ (1) เพื่อให้การประมูลตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรกเป็นไปตามเป้าหมาย (2) เป็นคู่ค้าในการซื้อขายตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (3) เพื่อทำหน้าที่เสริมสร้างสภาพคล่องและเพิ่มประสิทธิภาพในตลาดรองโดยมีการเสนออัตราผลตอบแทนรับซื้อขายให้ผู้ร่วมตลาดทราบอย่างต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์การคัดเลือก Primary Dealers คือ (1) หลักเกณฑ์ขั้นต่ำ สถาบันการเงินต้องมี ใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าตราสารหนี้จากกระทรวงการคลัง มีฐานะการเงินที่มั่นคง และมีฐานลูกค้า ที่หลากหลาย (2) แสดงผลการดำเนินงานในตลาดตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรก ตลาดรอง และการทำ ธุรกรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (3) ปัจจัยอื่นๆ อาทิ กระบวนการทำงาน การควบคุมภายในและการควบคุมความเสี่ยงในการทำธุรกรรมซื้อขายตราสารหนี้การให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย และการจัดทำบทวิเคราะห์ตลาดตราสารหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดการประเมินผลงานของแต่ละสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ ข้างต้นเป็นระยะๆ และจะมีการปรับเปลี่ยนรายชื่อของ Primary Dealers เพื่อกระตุ้นการแข่งขันและศักยภาพของสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง
5. ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานความคืบหน้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ว่ามียอดคงค้าง NPL ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 ทั้งสิ้น 1,954.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.47 ของสินเชื่อรวม ซึ่งลดลงสุทธิ 40.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 2.02 จากสิ้นเดือนมีนาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
NPL คงค้าง ณ สิ้น มีนาคม 2543 1,995
NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน เมษายน 2543
- รายใหม่ 18.3 18.3
- รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 17.8 36.1
NPL ที่ลดลงในเดือน เมษายน 2543
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (54.5)
- เหตุผลอื่น* (22.0) (76.5)
NPL ลดลงสุทธิในเดือน เมษายน 2543 (40.4)
NPL คงค้าง ณ สิ้น เมษายน 2543 1,954.7
* การลดลงของ NPL ในกรณีเหตุผลอื่นประกอบด้วย (1) NPL ที่ชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 11.7 ล้านบาท (2) การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญ และสงสัยจะสูญที่สำรองครบร้อยละ 100 แล้ว จำนวนประมาณ 1.7 พันล้านบาท (3) อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้อง การขายหนี้ เป็นต้น รวม 8.6 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-