คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542 อนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น
(OECF) 250 ล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศญี่ปุ่น (J. EXIM Bank) 600 ล้านเหรียญดอลลาร์
สรอ. และจากธนาคารโลก ภายใต้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเงินครั้งที่ 2 (EFAL II) 600 ล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ.
เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเน้นการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลผลิตและการสร้างงานภายในประเทศ บรรเทาผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากวิกฤต
เศรษฐกิจ โดยเน้นพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน หรือได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งในเมืองและในชนบท และ ส่งเสริมการสร้างราก
ฐานในการพัฒนาประเทศ ในระยะต่อไป
ในส่วนของภาคเหนือได้รับอนุมัติวงเงินตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในปี 2542 รวม
8,272.9 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 18 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งประเทศ รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับอนุมัติร้อยละ 26
ของวงเงินอนุมัติทั้งประเทศ วงเงินที่ได้รับอนุมัติจำแนกเป็น 15 แนวทาง 1,603 โครงการ โดยโครงการตามแนวทางสร้างงานได้รับอนุมัติ
สูงสุดร้อยละ 57.7 ของวงเงินอนุมัติรวม รองลงมาคือโครงการตามแนวทางสุขภาพอนามัย และโครงการแก้ไขปัญหาการศึกษาวิกฤตเศรษฐกิจ
ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 6.4 ของวงเงินอนุมัติตามลำดับ จังหวัดที่ได้รับอนุมัติสูงสุดได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก และลำปาง รวม 1,396.9
ล้านบาท 1,063.8 ล้านบาท และ 742.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.9 ร้อยละ 12.9 และร้อยละ 9.0 ของวงเงินอนุมัติทั้งภาคเหนือ ตาม
ลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ภาคเหนือได้เบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 6,793.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.1 ของวงเงินอนุมัติ เป็นการเบิกจ่าย
ตามโครงการตามแนวทาง สร้างงานร้อยละ 63.3 ของการเบิกจ่ายรวม รองลงมาคือ โครงการตามแนวทางสุขอนามัย และโครงการแก้ไขปัญหา
จากวิกฤตเศรษฐกิจร้อยละ 8.6 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่ ลำพูน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ร้อยละ
93.7 ร้อยละ 90.4 และร้อยละ 89.9 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ สำหรับวงเงินที่เหลืออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการก่อสร้าง
คาดว่าเบิกจ่ายได้หมดประมาณกลางปี 2543
ผลของมาตรการ
1. มาตรการเพื่อการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคเหนือที่เบิกจ่ายไปแล้ว 6,793.4 ล้านบาท เมื่อรวมเงิน
ส่วนนี้กับรายจ่ายของภาครัฐในปี 2542 ในเขตภาคเหนือมีการใช้ของรัฐบาลรวม 112,721.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากปีก่อน การ
ขยายตัวของการใช้จ่ายดังกล่าว เป็นปัจจัยเสริมสำคัญที่ช่วยในการสร้างรายได้ในเขตภาคเหนือ
2. ผลด้านการจ้างงานได้รับประโยชน์ค่อนข้างมาก สามารถจ้างงาน ในส่วนของผู้มีการศึกษาได้ตามเป้าหมาย ที่กำหนดรวม 29,492
คน ส่วนการจ้างแรงงานทั่วไปได้ใช้จ่ายไปแล้วกว่าร้อยละ 90 ของเป้าหมาย
3. ผลด้านการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มผู้ยากจนในเมืองและชนบท แม้จะเบิกจ่ายไปใช้ในโครงการเกือบร้อยละ 100 ของวงเงิน
อนุมัติแล้ว แต่วงเงินที่ได้รับอนุมัติมีเพียงร้อยละ 3.7 ของวงเงินอนุมัติทั้งภาค
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในโครงการตามมาตรการฯ ที่ให้ผลดีและรวดเร็ว ได้แก่ โครงการที่อนุมัติให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล
เนื่องจากมีการเบิกจ่าย ไปใช้ในโครงการที่ตรงกับความต้องการของประชากรในท้องถิ่นและกระจายถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบ
เทียบกับโครงการที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ
ข้อจำกัดการดำเนินงาน
1. โครงการต้องดำเนินการเร่งด่วน ส่วนราชการนำโครงการเดิมที่ไม่ผ่านการอนุมัติมาเสนอใหม่ ทำให้หลายโครงการจ้างงาน
ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่เน้นการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินอนุมัติในแต่ละโครงการ
2. ขาดความคล่องตัว โดยเฉพาะโครงการการก่อสร้าง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการต้องได้รับอนุมัติจาก
สำนักงบประมาณ
3. ขาดความต่อเนื่องของโครงการ เช่น ขาดแผนงานรองรับผู้ผ่านโครงการฝึกอบรมด้านอาชีพ
โครงการตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคเหนือ ปี 2542
แนวทางของโครงการ วงเงินอนุมัติ การเบิกจ่าย อัตราการเบิกจ่าย สัดส่วน (ร้อยละ)
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ร้อยละ) วงเงินอนุมัติ การเบิกจ่าย
การสร้างงาน 4,776.30 4297.7 90 57.7 63.3
สุขภาพอนามัย 912.8 587.2 64.3 11 8.6
แก้ไขปัญหาการศึกษาจากวิกฤตเศรษฐกิจ 532.4 479.8 90.1 6.4 7.1
สิ่งแวดล้อมชุมชน 315.3 91.1 28.9 3.8 1.3
การบรรเทาผลกระทบต่อผู้ยากจน 306 304.2 99.4 3.7 4.5
เงินชดเชยค่างานก่อสร้าง 276.4 272.9 98.7 3.3 4
งานเวนคืนที่ดิน 261.3 199.5 76.3 3.2 2.9
การขยายเงินทุน 256.4 185.2 72.2 3.1 2.7
บริหารทรัพยากรน้ำ 154.1 33.4 21.7 1.9 0.5
เพิ่มศักยภาพการผลิต 145.2 143 98.5 1.8 2.1
อื่นๆ 336.7 199.4 59.2 4.1 2.9
รวม 8272.9 6793.4 82.1 100 100
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
(OECF) 250 ล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ. จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศญี่ปุ่น (J. EXIM Bank) 600 ล้านเหรียญดอลลาร์
สรอ. และจากธนาคารโลก ภายใต้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเงินครั้งที่ 2 (EFAL II) 600 ล้านเหรียญดอลลาร์ สรอ.
เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเน้นการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลผลิตและการสร้างงานภายในประเทศ บรรเทาผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากวิกฤต
เศรษฐกิจ โดยเน้นพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน หรือได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งในเมืองและในชนบท และ ส่งเสริมการสร้างราก
ฐานในการพัฒนาประเทศ ในระยะต่อไป
ในส่วนของภาคเหนือได้รับอนุมัติวงเงินตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในปี 2542 รวม
8,272.9 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 18 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งประเทศ รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับอนุมัติร้อยละ 26
ของวงเงินอนุมัติทั้งประเทศ วงเงินที่ได้รับอนุมัติจำแนกเป็น 15 แนวทาง 1,603 โครงการ โดยโครงการตามแนวทางสร้างงานได้รับอนุมัติ
สูงสุดร้อยละ 57.7 ของวงเงินอนุมัติรวม รองลงมาคือโครงการตามแนวทางสุขภาพอนามัย และโครงการแก้ไขปัญหาการศึกษาวิกฤตเศรษฐกิจ
ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 6.4 ของวงเงินอนุมัติตามลำดับ จังหวัดที่ได้รับอนุมัติสูงสุดได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก และลำปาง รวม 1,396.9
ล้านบาท 1,063.8 ล้านบาท และ 742.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.9 ร้อยละ 12.9 และร้อยละ 9.0 ของวงเงินอนุมัติทั้งภาคเหนือ ตาม
ลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ภาคเหนือได้เบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 6,793.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.1 ของวงเงินอนุมัติ เป็นการเบิกจ่าย
ตามโครงการตามแนวทาง สร้างงานร้อยละ 63.3 ของการเบิกจ่ายรวม รองลงมาคือ โครงการตามแนวทางสุขอนามัย และโครงการแก้ไขปัญหา
จากวิกฤตเศรษฐกิจร้อยละ 8.6 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่ ลำพูน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ร้อยละ
93.7 ร้อยละ 90.4 และร้อยละ 89.9 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ สำหรับวงเงินที่เหลืออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการก่อสร้าง
คาดว่าเบิกจ่ายได้หมดประมาณกลางปี 2543
ผลของมาตรการ
1. มาตรการเพื่อการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคเหนือที่เบิกจ่ายไปแล้ว 6,793.4 ล้านบาท เมื่อรวมเงิน
ส่วนนี้กับรายจ่ายของภาครัฐในปี 2542 ในเขตภาคเหนือมีการใช้ของรัฐบาลรวม 112,721.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากปีก่อน การ
ขยายตัวของการใช้จ่ายดังกล่าว เป็นปัจจัยเสริมสำคัญที่ช่วยในการสร้างรายได้ในเขตภาคเหนือ
2. ผลด้านการจ้างงานได้รับประโยชน์ค่อนข้างมาก สามารถจ้างงาน ในส่วนของผู้มีการศึกษาได้ตามเป้าหมาย ที่กำหนดรวม 29,492
คน ส่วนการจ้างแรงงานทั่วไปได้ใช้จ่ายไปแล้วกว่าร้อยละ 90 ของเป้าหมาย
3. ผลด้านการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มผู้ยากจนในเมืองและชนบท แม้จะเบิกจ่ายไปใช้ในโครงการเกือบร้อยละ 100 ของวงเงิน
อนุมัติแล้ว แต่วงเงินที่ได้รับอนุมัติมีเพียงร้อยละ 3.7 ของวงเงินอนุมัติทั้งภาค
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในโครงการตามมาตรการฯ ที่ให้ผลดีและรวดเร็ว ได้แก่ โครงการที่อนุมัติให้กับองค์การบริหารส่วนตำบล
เนื่องจากมีการเบิกจ่าย ไปใช้ในโครงการที่ตรงกับความต้องการของประชากรในท้องถิ่นและกระจายถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบ
เทียบกับโครงการที่ดำเนินการโดยส่วนราชการ
ข้อจำกัดการดำเนินงาน
1. โครงการต้องดำเนินการเร่งด่วน ส่วนราชการนำโครงการเดิมที่ไม่ผ่านการอนุมัติมาเสนอใหม่ ทำให้หลายโครงการจ้างงาน
ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่เน้นการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของวงเงินอนุมัติในแต่ละโครงการ
2. ขาดความคล่องตัว โดยเฉพาะโครงการการก่อสร้าง เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการต้องได้รับอนุมัติจาก
สำนักงบประมาณ
3. ขาดความต่อเนื่องของโครงการ เช่น ขาดแผนงานรองรับผู้ผ่านโครงการฝึกอบรมด้านอาชีพ
โครงการตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคเหนือ ปี 2542
แนวทางของโครงการ วงเงินอนุมัติ การเบิกจ่าย อัตราการเบิกจ่าย สัดส่วน (ร้อยละ)
(ล้านบาท) (ล้านบาท) (ร้อยละ) วงเงินอนุมัติ การเบิกจ่าย
การสร้างงาน 4,776.30 4297.7 90 57.7 63.3
สุขภาพอนามัย 912.8 587.2 64.3 11 8.6
แก้ไขปัญหาการศึกษาจากวิกฤตเศรษฐกิจ 532.4 479.8 90.1 6.4 7.1
สิ่งแวดล้อมชุมชน 315.3 91.1 28.9 3.8 1.3
การบรรเทาผลกระทบต่อผู้ยากจน 306 304.2 99.4 3.7 4.5
เงินชดเชยค่างานก่อสร้าง 276.4 272.9 98.7 3.3 4
งานเวนคืนที่ดิน 261.3 199.5 76.3 3.2 2.9
การขยายเงินทุน 256.4 185.2 72.2 3.1 2.7
บริหารทรัพยากรน้ำ 154.1 33.4 21.7 1.9 0.5
เพิ่มศักยภาพการผลิต 145.2 143 98.5 1.8 2.1
อื่นๆ 336.7 199.4 59.2 4.1 2.9
รวม 8272.9 6793.4 82.1 100 100
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-