ข่าวในประเทศ
1. บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร วิเคราะห์ว่าการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร เผยแพร่บทวิเคราะห์ที่เป็นประเด็นการถกเถียงระหว่างรัฐบาลและ ธปท. เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ย ที่ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพของไทย โดยประเมินท่าทีของรัฐบาลและ ธปท.แล้วเชื่อว่า ธปท.จะยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำไว้ ซึ่งบทวิจัยนี้ได้สนับสนุนนโยบายดอกเบี้ยต่ำ พร้อมทั้งเสนอแนะให้ ธปท.ยึดแนวทางสำคัญตามลำดับ คือ ช่วยฟื้นฟู ธพ.โดยคงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไว้นานกว่า 1 ปี, สนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวด้วยนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีก 6-9 เดือนข้างหน้า, จับตาดูการไหลออกของเงินทุน, ดำเนินนโยบายการเงินโดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นหลัก และรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแนวทางสำคัญอันดับสุดท้าย สำหรับค่าเงินบาทนั้น บทวิจัยเชื่อว่าจะอ่อนตัวลงจากปัจจุบันที่ระดับ 42 บาท/ดอลลาร์ เป็น 43 บาท/ดอลลาร์ ภายในปี 43 และธปท.จะอดกลั้นการเข้าไปแทรกแซงอย่างเต็มที่ในตลาดเงินเพื่อพยุงค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ธปท.จะมีความกังวลเมื่อค่าเงินอ่อนลงต่ำกว่า 42 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากค่าเงินบาทที่ระดับปัจจุบัน เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าร้อยละ 3.5 ภายในเวลา 12 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ 9)
2. ก.พาณิชย์เปิดเผยยอดการส่งออกในเดือน ส.ค.และช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 รมช.พาณิชย์เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศในเดือน ส.ค.43 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 6,282 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 การนำเข้ามีมูลค่า 5,833 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 เป็นการเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในต่างประเทศ แต่ไทยยังเกินดุลการค้า 449 ล.ดอลลาร์ สำหรับช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 (ม.ค.-ส.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 45,284 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.9 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 39,904 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 5,380 ล.ดอลลาร์ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในเดือน ส.ค.ขยายตัวในอัตราสูง เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก การอ่อนตัวของค่าเงินบาท รวมทั้งการที่บริษัทแม่ในต่างประเทศให้ความช่วยเหลือในการขยายตลาด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ก็ได้ดำเนินการขยายตลาดอย่างจริงจัง (ไทยโพสต์ 9)
3. ยอดการเบิกถอนเงินจาก ธพ.ในเดือน ส.ค.43 แหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ในช่วงเดือน ส.ค.43 ปริมาณเงินที่มีการถอนจากสาขา ธพ.แต่ละภูมิภาคทั่วประเทศมีจำนวนสูงขึ้นอย่างชัดเจน จากตัวเลขที่ ธพ.แจ้งยอดการเบิกธนบัตรจาก ธปท.เพื่อรองรับการเบิกถอนจากลูกค้าโดยแยกเป็นรายภาคระบุว่า ภาคเหนือมีจำนวน 5,000 ล.บาท เพิ่มขึ้นจาก 4,500 ล.บาท ในเดือน ก.ค.43 ภาคกลาง (รวม กทม.) มีจำนวน 66,000 ล.บาท เพิ่มจากระดับ 60,000 ล.บาท ส่วนภาคใต้มีจำนวน 4,500 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.43 ที่มีจำนวน 4,200 ล.บาท ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเบิกถอนลดลงจาก 2,800 ล.บาท เหลือเพียง 2,700 ล.บาท (แนวหน้า 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.52 แสนคนในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 อัตราการว่างงาน ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9 จากที่ลดลงร้อยละ 4.1 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 43 ที่เคยอยู่ในอัตราต่ำสุดตั้งแต่ปี 13 ขณะเดียวกัน การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นจำนวน 2.52 แสนคน ฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงจำนวน 9.1 หมื่นคน จากตัวเลขเบื้องต้นที่ลดลงจำนวน 1.05 แสนคน ในเดือน ส.ค. 43 ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานในเดือน ก.ย. 43 สอดคล้องกับผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์ ที่คาดว่า จะมีจำนวน 2.32 แสนคน แต่อัตราการว่างงานที่ลดลงต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ว่าจะทรงตัวที่อัตราร้อยละ 4.1 บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังตึงตัวอย่างไม่คาดคิด (รอยเตอร์ 6)
2. คำสั่งซื้อผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 6 ต.ค.43 ก.คลังเยอรมนีรายงานว่า เดือน ส.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยรวมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ค.43 เป็นการเพิ่มสูงเกินความคาดหมายของตลาดที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 โดยในเดือน ส.ค.43 คำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค.43 ส่วนคำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ค.43 นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่คำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าความต้องการจากเอเชียและ สรอ. ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนคำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศที่แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญ เนื่องจากเป็นการฟื้นตัวจากที่อยู่ในภาวะอ่อนตัวมาตลอดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อฯ เป็นผลจากคำสั่งซื้อฯ ในเยอรมนีตะวันตก ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค.43 ขณะที่ คำสั่งซื้อฯ ของเยอรมนีตะวันออกลดลงร้อยละ 10.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ค.43 (รอยเตอร์ 6)
3. เงินเฟ้อ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนตัว รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 6 ต.ค.43 The Economic Cycle Research Institute (ECRI) รายงานดัชนีเงินเฟ้อล่วงหน้าของ สรอ. (U.S. future inflation index = USFIG)ในเดือน ก.ย.43 ลดลงอยู่ที่ระดับ 120.2 จากระดับ 121.3 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการปรับใหม่ให้สูงขึ้น ส่วนอัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปี ลดลงอยู่ที่ร้อยละ -1.1 จากร้อยละ 1.7 ในเดือน ส.ค.43 อยู่ในระดับเป็นลบเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 41 ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงถึงการอ่อนตัวของเงินเฟ้อที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน The Foundation for International Business and Economic Research (FIBER) รายงานผลการสำรวจดัชนีชี้นำเงินเฟ้อ (Leading inflation index) ในเดือน ก.ย. 43 ว่า ยังคงอยู่ในระดับ 101.2 เท่ากับเดือน ส.ค.43 สำหรับอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 6 เดือน ลดลงอยู่ที่ร้อยละ -4.6 จากตัวเลขปรับใหม่ที่ระดับร้อยละ -4.4 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งแสดงถึงการทรงตัวของเงินเฟ้อ (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ต.ค. 43 42.379 (42.598) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ต.ค. 43ซื้อ 42.1963 (42.4192) ขาย 42.5052 (42.7253)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,350) ขาย 5,000 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.43 (29.71)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร วิเคราะห์ว่าการคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ บล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร เผยแพร่บทวิเคราะห์ที่เป็นประเด็นการถกเถียงระหว่างรัฐบาลและ ธปท. เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ย ที่ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพของไทย โดยประเมินท่าทีของรัฐบาลและ ธปท.แล้วเชื่อว่า ธปท.จะยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำไว้ ซึ่งบทวิจัยนี้ได้สนับสนุนนโยบายดอกเบี้ยต่ำ พร้อมทั้งเสนอแนะให้ ธปท.ยึดแนวทางสำคัญตามลำดับ คือ ช่วยฟื้นฟู ธพ.โดยคงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไว้นานกว่า 1 ปี, สนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวด้วยนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไปอีก 6-9 เดือนข้างหน้า, จับตาดูการไหลออกของเงินทุน, ดำเนินนโยบายการเงินโดยกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นหลัก และรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแนวทางสำคัญอันดับสุดท้าย สำหรับค่าเงินบาทนั้น บทวิจัยเชื่อว่าจะอ่อนตัวลงจากปัจจุบันที่ระดับ 42 บาท/ดอลลาร์ เป็น 43 บาท/ดอลลาร์ ภายในปี 43 และธปท.จะอดกลั้นการเข้าไปแทรกแซงอย่างเต็มที่ในตลาดเงินเพื่อพยุงค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ธปท.จะมีความกังวลเมื่อค่าเงินอ่อนลงต่ำกว่า 42 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากค่าเงินบาทที่ระดับปัจจุบัน เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าร้อยละ 3.5 ภายในเวลา 12 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ 9)
2. ก.พาณิชย์เปิดเผยยอดการส่งออกในเดือน ส.ค.และช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 รมช.พาณิชย์เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศในเดือน ส.ค.43 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 6,282 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 การนำเข้ามีมูลค่า 5,833 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 เป็นการเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในต่างประเทศ แต่ไทยยังเกินดุลการค้า 449 ล.ดอลลาร์ สำหรับช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 (ม.ค.-ส.ค.) การส่งออกมีมูลค่า 45,284 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.9 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 39,904 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 5,380 ล.ดอลลาร์ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.7 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกในเดือน ส.ค.ขยายตัวในอัตราสูง เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก การอ่อนตัวของค่าเงินบาท รวมทั้งการที่บริษัทแม่ในต่างประเทศให้ความช่วยเหลือในการขยายตลาด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ก็ได้ดำเนินการขยายตลาดอย่างจริงจัง (ไทยโพสต์ 9)
3. ยอดการเบิกถอนเงินจาก ธพ.ในเดือน ส.ค.43 แหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ในช่วงเดือน ส.ค.43 ปริมาณเงินที่มีการถอนจากสาขา ธพ.แต่ละภูมิภาคทั่วประเทศมีจำนวนสูงขึ้นอย่างชัดเจน จากตัวเลขที่ ธพ.แจ้งยอดการเบิกธนบัตรจาก ธปท.เพื่อรองรับการเบิกถอนจากลูกค้าโดยแยกเป็นรายภาคระบุว่า ภาคเหนือมีจำนวน 5,000 ล.บาท เพิ่มขึ้นจาก 4,500 ล.บาท ในเดือน ก.ค.43 ภาคกลาง (รวม กทม.) มีจำนวน 66,000 ล.บาท เพิ่มจากระดับ 60,000 ล.บาท ส่วนภาคใต้มีจำนวน 4,500 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.43 ที่มีจำนวน 4,200 ล.บาท ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเบิกถอนลดลงจาก 2,800 ล.บาท เหลือเพียง 2,700 ล.บาท (แนวหน้า 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.52 แสนคนในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 อัตราการว่างงาน ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9 จากที่ลดลงร้อยละ 4.1 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 43 ที่เคยอยู่ในอัตราต่ำสุดตั้งแต่ปี 13 ขณะเดียวกัน การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นจำนวน 2.52 แสนคน ฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงจำนวน 9.1 หมื่นคน จากตัวเลขเบื้องต้นที่ลดลงจำนวน 1.05 แสนคน ในเดือน ส.ค. 43 ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานในเดือน ก.ย. 43 สอดคล้องกับผลการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์ ที่คาดว่า จะมีจำนวน 2.32 แสนคน แต่อัตราการว่างงานที่ลดลงต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ว่าจะทรงตัวที่อัตราร้อยละ 4.1 บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังตึงตัวอย่างไม่คาดคิด (รอยเตอร์ 6)
2. คำสั่งซื้อผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 6 ต.ค.43 ก.คลังเยอรมนีรายงานว่า เดือน ส.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยรวมที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ค.43 เป็นการเพิ่มสูงเกินความคาดหมายของตลาดที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 โดยในเดือน ส.ค.43 คำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค.43 ส่วนคำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ค.43 นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่คำสั่งซื้อฯ จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าความต้องการจากเอเชียและ สรอ. ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนคำสั่งซื้อฯ ภายในประเทศที่แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญ เนื่องจากเป็นการฟื้นตัวจากที่อยู่ในภาวะอ่อนตัวมาตลอดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อฯ เป็นผลจากคำสั่งซื้อฯ ในเยอรมนีตะวันตก ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน ก.ค.43 ขณะที่ คำสั่งซื้อฯ ของเยอรมนีตะวันออกลดลงร้อยละ 10.8 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ค.43 (รอยเตอร์ 6)
3. เงินเฟ้อ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนตัว รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 6 ต.ค.43 The Economic Cycle Research Institute (ECRI) รายงานดัชนีเงินเฟ้อล่วงหน้าของ สรอ. (U.S. future inflation index = USFIG)ในเดือน ก.ย.43 ลดลงอยู่ที่ระดับ 120.2 จากระดับ 121.3 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการปรับใหม่ให้สูงขึ้น ส่วนอัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปี ลดลงอยู่ที่ร้อยละ -1.1 จากร้อยละ 1.7 ในเดือน ส.ค.43 อยู่ในระดับเป็นลบเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 41 ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงถึงการอ่อนตัวของเงินเฟ้อที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน The Foundation for International Business and Economic Research (FIBER) รายงานผลการสำรวจดัชนีชี้นำเงินเฟ้อ (Leading inflation index) ในเดือน ก.ย. 43 ว่า ยังคงอยู่ในระดับ 101.2 เท่ากับเดือน ส.ค.43 สำหรับอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 6 เดือน ลดลงอยู่ที่ร้อยละ -4.6 จากตัวเลขปรับใหม่ที่ระดับร้อยละ -4.4 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งแสดงถึงการทรงตัวของเงินเฟ้อ (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 ต.ค. 43 42.379 (42.598) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 ต.ค. 43ซื้อ 42.1963 (42.4192) ขาย 42.5052 (42.7253)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,350) ขาย 5,000 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.43 (29.71)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-