จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คือมากกว่า 1,200 ล้านคน จึงเป็นตลาดการค้าที่มีขนาดใหญ่มาก การที่จีนกำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO นับเป็น มิติใหม่ของระบบการค้าเสรีของโลก ซึ่งปัจจุบันขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีนในส่วนของการเจรจาสองฝ่ายกับประเทศสมาชิกต่างๆ ได้ ข้อตกลงแล้วกับ 36 ประเทศ ขาดเพียงเม็กซิโกและปานามาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยจากนี้ไปคงเหลือขั้นตอนการจัดทำ Protocol of Accession ซึ่งเป็นกรอบข้อผูกพันที่จีนจะต้องดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบของตน ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO เท่านั้น ทำให้คาดได้ว่าจีนจะสามารถเข้าเป็นสมาชิก WTO ภายในปี 2544 นี้ ซึ่งหากจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO จะก่อให้เกิดทั้งผลประโยชน์และผลกระทบต่อจีนเองและต่อเศรษฐกิจโลก จีนจะกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของหลายประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งการค้า การลงทุน และแหล่งวัตถุดิบที่หลายประเทศสนใจเข้ามา ดำเนินธุรกิจ สำหรับประเทศไทยแล้วคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน -ผลกระทบด้านบวก
ด้านการค้า จีนต้องปรับลดอัตราภาษีขาเข้าแก่สินค้าต่างประเทศ ยกเลิกมาตรการจำกัดโควตาการนำเข้า ซึ่งการเปิดตลาดของจีนทำให้ไทยจะมีโอกาสในการขายสินค้าในตลาดจีนเพิ่มมากขึ้น ไทยจะได้รับการลดภาษี สินค้านำเข้ากว่า 100 รายการ ประกอบด้วยสินค้าเกษตร 39 รายการ สินค้าประมง 12 รายการ และสินค้าอุตสาหกรรม 85 รายการ โดยสินค้าที่สำคัญ ได้แก่
ข้าว : จีนจะขยายโควตานำเข้าข้าวจาก 2.66 ล้านตันในปี 2544 เป็น 5.37 ล้านตันในปี 2547
น้ำตาล : จีนจะขยายโควตานำเข้าน้ำตาลจาก 1.6 ล้านตันในปี 2544 เป็น 1.95 ล้านตันในปี 2547
ยางพารา : จีนจะลดภาษีนำเข้ายางพาราลงจากปัจจุบันเหลือร้อยละ 20 และขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ทุกปี จาก 0.43 ล้านตันในปี 2544 และจะยกเลิกการกำหนด โควตานำเข้ายางพาราในปี 2547
ผัก ผลไม้ : จีนจะลดอัตราภาษีนำเข้าจากปัจจุบันซึ่ง เก็บในอัตรา ร้อยละ 30 - 40 เป็นร้อยละ 10
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง : จีนจะลดอัตราภาษีนำเข้าจากปัจจุบันซึ่งเก็บ ในอัตราร้อยละ 30-35 เป็นร้อยละ 10-20 ภายในปี 2004
ด้านการลงทุน การเข้าเป็นสมาชิก WTO นอกจากจีนจะเปิดเสรีทางการค้าแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการลงทุนด้วยเช่นกัน จีนจะผ่อนปรนกฎระเบียบด้านการลงทุนให้แก่ต่างชาติ และจะเปิดตลาดเสรีทางด้านการบริการหลายสาขา เช่น ธุรกิจโรงแรม กิจการธนาคาร การบริการท่องเที่ยว และภัตตาคาร ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับนักลงทุนไทยที่สามารถเข้าไปลงทุนในจีนได้มากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับผลกระทบด้านบวกทางอ้อมในฐานะประเทศกำลังพัฒนา กล่าวคือหากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จะเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านอำนาจต่อรองให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาด้วย เนื่องจากปัจจุบันประเทศมหาอำนาจพยายามที่จะกดดันขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนา โดยการนำเสนอเพิ่มเติมหลักการเรื่องการค้าที่เป็นธรรม และผลักดันให้สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านสังคม แรงงาน ตลอดจนมาตรฐาน ด้านกระบวนการผลิตและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขในการกีดกัน ทางการค้า -ผลกระทบด้านลบ
ด้านการค้า จีนจะเป็นคู่แข่งการค้าที่สำคัญของไทย เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถสูงในการแข่งขันการผลิตสินค้าประเภทใช้แรงงาน อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ประกอบกับได้รับการพัฒนาทางด้าน การผลิตจากฮ่องกงเป็นแนวทาง จึงยิ่งทำให้ศักยภาพทางการแข่งขันมีมากกว่าไทย ทำให้ไทยอาจเสียส่วนแบ่งตลาดของสินค้าบางรายการให้แก่จีน โดยเฉพาะ ในตลาดหลักของไทย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา
กลุ่มสินค้าที่ไทยอาจเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับจีน เช่น อาหารทะเลแปรรูป ปลาปรุงแต่ง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็กเล็ก ถุงมือยาง เครื่องประดับอัญมณี เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสินค้าส่งออกเหล่านี้ไทยครองส่วนแบ่ง ตลาดสหรัฐฯ สูงกว่าจีน
กลุ่มสินค้าที่ไทยอาจประสบปัญหาเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟ สายเคเบิล รองเท้าหนัง เป็นต้น เนื่องจากสินค้าส่งออกเหล่านี้ไทยเป็นรองจีนอยู่แล้วในตลาดสหรัฐฯ เพราะไม่สามารถขายแข่งขันสู้กับสินค้าของจีนที่มีราคาต่ำกว่าได้
ด้านการลงทุน การผ่อนปรนกฎระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศของจีนเป็นสิ่งจูงใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปประกอบกิจการ เนื่องจากจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีพื้นที่ว่างสำหรับลงทุนอยู่มาก ประกอบกับจีนได้ เปรียบด้านแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากกว่าไทย
การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน นอกจากไทยจะได้รับประโยชน์ในฐานะคู่ค้าแล้ว จีนยังจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญประเทศหนึ่งของไทย ดังนั้นนักลงทุนและผู้ผลิตไทยจึงต้องปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก อีกทั้งต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติเพื่อให้หันมาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 902ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2544 ข้อมูลจาก : ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนมิถุนายน 2544--
-อน-
ด้านการค้า จีนต้องปรับลดอัตราภาษีขาเข้าแก่สินค้าต่างประเทศ ยกเลิกมาตรการจำกัดโควตาการนำเข้า ซึ่งการเปิดตลาดของจีนทำให้ไทยจะมีโอกาสในการขายสินค้าในตลาดจีนเพิ่มมากขึ้น ไทยจะได้รับการลดภาษี สินค้านำเข้ากว่า 100 รายการ ประกอบด้วยสินค้าเกษตร 39 รายการ สินค้าประมง 12 รายการ และสินค้าอุตสาหกรรม 85 รายการ โดยสินค้าที่สำคัญ ได้แก่
ข้าว : จีนจะขยายโควตานำเข้าข้าวจาก 2.66 ล้านตันในปี 2544 เป็น 5.37 ล้านตันในปี 2547
น้ำตาล : จีนจะขยายโควตานำเข้าน้ำตาลจาก 1.6 ล้านตันในปี 2544 เป็น 1.95 ล้านตันในปี 2547
ยางพารา : จีนจะลดภาษีนำเข้ายางพาราลงจากปัจจุบันเหลือร้อยละ 20 และขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ทุกปี จาก 0.43 ล้านตันในปี 2544 และจะยกเลิกการกำหนด โควตานำเข้ายางพาราในปี 2547
ผัก ผลไม้ : จีนจะลดอัตราภาษีนำเข้าจากปัจจุบันซึ่ง เก็บในอัตรา ร้อยละ 30 - 40 เป็นร้อยละ 10
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง : จีนจะลดอัตราภาษีนำเข้าจากปัจจุบันซึ่งเก็บ ในอัตราร้อยละ 30-35 เป็นร้อยละ 10-20 ภายในปี 2004
ด้านการลงทุน การเข้าเป็นสมาชิก WTO นอกจากจีนจะเปิดเสรีทางการค้าแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการลงทุนด้วยเช่นกัน จีนจะผ่อนปรนกฎระเบียบด้านการลงทุนให้แก่ต่างชาติ และจะเปิดตลาดเสรีทางด้านการบริการหลายสาขา เช่น ธุรกิจโรงแรม กิจการธนาคาร การบริการท่องเที่ยว และภัตตาคาร ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับนักลงทุนไทยที่สามารถเข้าไปลงทุนในจีนได้มากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ ไทยยังได้รับผลกระทบด้านบวกทางอ้อมในฐานะประเทศกำลังพัฒนา กล่าวคือหากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จะเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านอำนาจต่อรองให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาด้วย เนื่องจากปัจจุบันประเทศมหาอำนาจพยายามที่จะกดดันขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนา โดยการนำเสนอเพิ่มเติมหลักการเรื่องการค้าที่เป็นธรรม และผลักดันให้สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านสังคม แรงงาน ตลอดจนมาตรฐาน ด้านกระบวนการผลิตและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขในการกีดกัน ทางการค้า -ผลกระทบด้านลบ
ด้านการค้า จีนจะเป็นคู่แข่งการค้าที่สำคัญของไทย เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถสูงในการแข่งขันการผลิตสินค้าประเภทใช้แรงงาน อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ประกอบกับได้รับการพัฒนาทางด้าน การผลิตจากฮ่องกงเป็นแนวทาง จึงยิ่งทำให้ศักยภาพทางการแข่งขันมีมากกว่าไทย ทำให้ไทยอาจเสียส่วนแบ่งตลาดของสินค้าบางรายการให้แก่จีน โดยเฉพาะ ในตลาดหลักของไทย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา
กลุ่มสินค้าที่ไทยอาจเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับจีน เช่น อาหารทะเลแปรรูป ปลาปรุงแต่ง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเด็กเล็ก ถุงมือยาง เครื่องประดับอัญมณี เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสินค้าส่งออกเหล่านี้ไทยครองส่วนแบ่ง ตลาดสหรัฐฯ สูงกว่าจีน
กลุ่มสินค้าที่ไทยอาจประสบปัญหาเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เครื่องทำความร้อนไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟ สายเคเบิล รองเท้าหนัง เป็นต้น เนื่องจากสินค้าส่งออกเหล่านี้ไทยเป็นรองจีนอยู่แล้วในตลาดสหรัฐฯ เพราะไม่สามารถขายแข่งขันสู้กับสินค้าของจีนที่มีราคาต่ำกว่าได้
ด้านการลงทุน การผ่อนปรนกฎระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศของจีนเป็นสิ่งจูงใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปประกอบกิจการ เนื่องจากจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีพื้นที่ว่างสำหรับลงทุนอยู่มาก ประกอบกับจีนได้ เปรียบด้านแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากกว่าไทย
การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน นอกจากไทยจะได้รับประโยชน์ในฐานะคู่ค้าแล้ว จีนยังจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญประเทศหนึ่งของไทย ดังนั้นนักลงทุนและผู้ผลิตไทยจึงต้องปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก อีกทั้งต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติเพื่อให้หันมาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 902ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2544 ข้อมูลจาก : ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนมิถุนายน 2544--
-อน-