นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP (Generalized System of Preference) ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออก ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ซึ่งได้รวบรวมจากสำเนาฟอร์ม เอ ที่ออกให้กับผู้ส่งออก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ ภายใต้สิทธิพิเศษฯ GSP ในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค. — ส.ค.) ของปี 2544 ประมาณ 86.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 104.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 17.32 ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่ามากที่สุดได้ลดลงอย่างมาก เพราะสินค้าหลักที่ใช้สิทธิพิเศษฯ GSP คือ น้ำตาลอื่น ๆ น้ำตาลที่ได้จากอ้อยมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 162 .77 และ 150 โดยมีมูลค่าส่งออกปี 2544 (ม.ค. — ส.ค.) เท่ากับ 5.48 และ 5.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 14.4 และ 13.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกทั่วไปของกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ ในปี 2544 (ม.ค. — ส.ค.) มีมูลค่า 227.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 207.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.67 สำหรับอัตราส่วนการใช้สิทธิ GSP ของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกทั่วไป เท่ากับร้อยละ 38.04 ซึ่งต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2543 มีอัตราส่วนร้อยละ 50.46
สินค้าส่งออกภายใต้ GSP ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ ในปี 2544 (ม.ค. — ส.ค.) มีทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่าสินค้าเกษตร สัดส่วนสินค้าเกษตรต่อสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 1 : 1.06
สินค้าหลักที่ไทยใช้สิทธิ GSP ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ 5 อันดับแรก เป็นสินค้าเกษตรทั้งหมด ได้แก่ ปลาทูนา ปลาสคิปแจ็กและปลาแอตแลนติกโบนิโตปรุงแต่ง น้ำตาลอื่น ๆ น้ำตาลที่ได้จากอ้อย สับปะรดปรุงแต่ง และข้าวที่สีบ้างแล้ว
ไทยใช้สิทธิ GSP ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ มีมูลค่า 86.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้สิทธิ GSP จากระบบอื่น ๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.79 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้พิเศษฯ GSP ทั้งหมด ( 3,091.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ มีปัญหาและอุปสรรค ดังนี้
- รัสเซีย มีปัญหาสภาพคล่องของผู้ส่งออกไทย ผู้ส่งออกไทยขาดความมั่นใจในระบบการโอนเงินชำระค่าสินค้าของรัสเซีย และการไม่ยืดหยุ่นในเรื่องการให้เครดิตนำเข้ารัสเซีย
- สาธารณรัฐเช็ค ผู้นำเข้าหันมานำเข้าสินค้าจากเมืองท่าของเยอรมันซึ่งมีอยู่หลายแห่ง
เนื่องจากทำให้ลดต้นทุนและค่าขนส่ง ซึ่งจากการนำเข้าสินค้าไทยโดยผ่านประเทศใกล้เคียงนี้ มีผลกระทบให้ตัวเลขการนำเข้าจากไทยคลาดเคลื่อนต่ำกว่าการนำเข้าจริงได้
- ฮังการี ยังคงควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภค — บริโภค ภายใต้โควตา (Global Import Quotas) มีรายการสินค้าควบคุมสำหรับประเทศสมาชิก WTO ในปี 2543 จำนวน 7 สินค้า ได้แก่ เคมีภัณฑ์สำหรับครัวเรือน รองเท้า รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่นที่ทำด้วยไม้ เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า รถยนต์เก่า รถยนต์ใหม่ และปลากระป๋อง ซึ่งกำหนดมูลค่านำเข้าไว้สูงสุดไม่เกิน 322 .32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543
นายธรรมนูญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคต มีหลายประเทศในกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ กำลังจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ก็อาจจะส่งผลให้มีการค้าระหว่างกลุ่มประเทศนี้มากขึ้น เพราะประเทศดังกล่าวต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ตลาดการค้าขยายตัวและอำนาจซื้อมากขึ้น ทำให้มีช่องทางในการที่ไทยจะขยายตลาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
--กรมการค้าต่างประเทศ เดือนธันวาคม 2544--
-อน-
มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ ภายใต้สิทธิพิเศษฯ GSP ในช่วง 8 เดือนแรก (ม.ค. — ส.ค.) ของปี 2544 ประมาณ 86.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 104.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 17.32 ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมีมูลค่ามากที่สุดได้ลดลงอย่างมาก เพราะสินค้าหลักที่ใช้สิทธิพิเศษฯ GSP คือ น้ำตาลอื่น ๆ น้ำตาลที่ได้จากอ้อยมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 162 .77 และ 150 โดยมีมูลค่าส่งออกปี 2544 (ม.ค. — ส.ค.) เท่ากับ 5.48 และ 5.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 14.4 และ 13.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกทั่วไปของกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ ในปี 2544 (ม.ค. — ส.ค.) มีมูลค่า 227.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 207.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.67 สำหรับอัตราส่วนการใช้สิทธิ GSP ของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกทั่วไป เท่ากับร้อยละ 38.04 ซึ่งต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2543 มีอัตราส่วนร้อยละ 50.46
สินค้าส่งออกภายใต้ GSP ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ ในปี 2544 (ม.ค. — ส.ค.) มีทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่าสินค้าเกษตร สัดส่วนสินค้าเกษตรต่อสินค้าอุตสาหกรรม เท่ากับ 1 : 1.06
สินค้าหลักที่ไทยใช้สิทธิ GSP ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ 5 อันดับแรก เป็นสินค้าเกษตรทั้งหมด ได้แก่ ปลาทูนา ปลาสคิปแจ็กและปลาแอตแลนติกโบนิโตปรุงแต่ง น้ำตาลอื่น ๆ น้ำตาลที่ได้จากอ้อย สับปะรดปรุงแต่ง และข้าวที่สีบ้างแล้ว
ไทยใช้สิทธิ GSP ไปกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ มีมูลค่า 86.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการใช้สิทธิ GSP จากระบบอื่น ๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.79 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้พิเศษฯ GSP ทั้งหมด ( 3,091.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ มีปัญหาและอุปสรรค ดังนี้
- รัสเซีย มีปัญหาสภาพคล่องของผู้ส่งออกไทย ผู้ส่งออกไทยขาดความมั่นใจในระบบการโอนเงินชำระค่าสินค้าของรัสเซีย และการไม่ยืดหยุ่นในเรื่องการให้เครดิตนำเข้ารัสเซีย
- สาธารณรัฐเช็ค ผู้นำเข้าหันมานำเข้าสินค้าจากเมืองท่าของเยอรมันซึ่งมีอยู่หลายแห่ง
เนื่องจากทำให้ลดต้นทุนและค่าขนส่ง ซึ่งจากการนำเข้าสินค้าไทยโดยผ่านประเทศใกล้เคียงนี้ มีผลกระทบให้ตัวเลขการนำเข้าจากไทยคลาดเคลื่อนต่ำกว่าการนำเข้าจริงได้
- ฮังการี ยังคงควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภค — บริโภค ภายใต้โควตา (Global Import Quotas) มีรายการสินค้าควบคุมสำหรับประเทศสมาชิก WTO ในปี 2543 จำนวน 7 สินค้า ได้แก่ เคมีภัณฑ์สำหรับครัวเรือน รองเท้า รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่นที่ทำด้วยไม้ เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า รถยนต์เก่า รถยนต์ใหม่ และปลากระป๋อง ซึ่งกำหนดมูลค่านำเข้าไว้สูงสุดไม่เกิน 322 .32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543
นายธรรมนูญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคต มีหลายประเทศในกลุ่มประเทศสังคมนิยมฯ กำลังจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ก็อาจจะส่งผลให้มีการค้าระหว่างกลุ่มประเทศนี้มากขึ้น เพราะประเทศดังกล่าวต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ตลาดการค้าขยายตัวและอำนาจซื้อมากขึ้น ทำให้มีช่องทางในการที่ไทยจะขยายตลาดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
--กรมการค้าต่างประเทศ เดือนธันวาคม 2544--
-อน-