1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นโยบายของธปท. จากร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วง ครึ่งแรกของปี 2544 ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ สภาพคล่องได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเป็นระยะสั้นๆ ในช่วงเทศกาลและ วันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกัน เนื่องจากภาคเอกชนมีความ ต้องการถือเงินสดเพื่อการใช้จ่ายมากขึ้น
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สภาพคล่องในตลาดเงินปรับตึงตัวขึ้น โดยเป็นผลจากการคาดการณ์ของตลาดว่า จะมีการ ปรับเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการ ธปท. ประกอบกับเป็นช่วงชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดประจำปี 2543 สถาบันการเงิน จึงต้องสำรองเงินสดไว้เผื่อการเบิกถอน ของธุรกิจเอกชนจำนวนหนึ่ง
สภาพคล่องปรับดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นเดือน มิถุนายน และยังคงอยู่ในระดับสูงหลังการประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันจากร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินโดยเฉลี่ย เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่ยังคงมีอยู่สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.24 และ 1.68 ต่อปี ในช่วงไตรมาสแรก และ ร้อยละ 1.46 และ 1.75 ต่อปี ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2544 ตามลำดับ
อนึ่ง หลังจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนระยะ 14 วันของธปท. อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.06 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Interbank Overnight เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.13 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ในตลาดซื้อคืน และฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 138 พันล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2543 เป็น 145 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องของระบบที่มีอยู่ค่อนข้างมากในช่วงดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ในช่วงครึ่งแรก ของปี 2544 ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามภาวะสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บางแห่งประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เงินฝากและเงินให้กู้ยืม เพื่อเป็นการปรับต้นทุนและโครงสร้างการระดมทุนให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ปรับตัวลดลงตลอดช่วง 5 เดือนแรกของปี จากการที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ -0.30 และ 4.575 ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน อัตราเงินเฟ้อลดลงมา อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปี 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 0.20 และ 5.075 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย อยู่ที่ร้อยละ 2.14 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรก ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากระดับร้อยละ 2.10 ต่อปี ณ สิ้นปี 2543 ทั้งนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยของการให้สินเชื่อ (Effective Returns on Lending) และต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย (Effective Deposit Rate) ปรับลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปี
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อยู่ที่ร้อยละ 4.08 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.32 ต่อปี เมื่อสิ้นปี 2543
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์ เงินฝากมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ลดลงเล็กน้อย
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ มีอัตราการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกของปี 2544 เงินฝากเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 ส่วนหนึ่งเนื่องจากเม็ดเงินที่ภาค เอกชนเบิกถอนเพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่และตรุษจีนได้กลับเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม เงินฝาก มียอดคงค้าง 4,904.7 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ต่อปี
ในช่วงไตรมาสที่ 2 เงินฝากยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน เงินฝากมียอดคงค้าง 4,926.2 พันล้านบาท ลดลง 35 พันล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนมีการเบิกถอนเงิน จำนวนหนึ่ง อนึ่ง เงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มีแนวโน้มลดลงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ภาคธุรกิจเอกชนมีการชำระคืนสินเชื่อ และธนาคารพาณิชย์มีการตัด หนี้สูญในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน สินเชื่อรวมมียอดคงค้าง 4,295.6 พันล้านบาท คิดเป็นการ ลดลงร้อยละ 6.6 ต่อปี
อนึ่ง ในเดือนมิถุนายน ธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหาร สินทรัพย์เพชรบุรี รวมจำนวนประมาณ 260 พันล้านบาท
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มียอดคงค้าง 5,064.4 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 1.0 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 ยอดคงค้างของฐานเงินมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณเงินยังคงเพิ่มขึ้น ฐานเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีแนวโน้มยอด คงค้างลดลงจากสิ้นปี 2543 ซึ่งเป็นไปตามความต้องการถือเงินสดที่ลดลงตามปกติในช่วงต้นปีและกลางปี โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ฐานเงินมียอดคงค้าง 484.7 พันล้านบาท ลดลง 42.5 พันล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2543 สำหรับปัจจัยสำคัญด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงินลดลง ส่วนใหญ่เพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เนื่องจากสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่ค่อนข้างมาก อนึ่ง เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 105 พันล้านบาท ประกอบกับ ได้รับชำระคืนเงินที่ให้ความช่วงเหลือแก่สถาบันการเงินจำนวนหนึ่ง จึงลดยอดการกู้ยืมจากตลาดเงินและตลาดซื้อคืนลงในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากธปท.มีการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ยังคงปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงินเป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,390.3 พันล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,064.4 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปริมาณเงิน M2A และ M3 ลดลงจำนวน 21.7 และ 21.5 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของ เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวนมากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราผลตอบแทนทุกระยะปรับตัวสูงขึ้น จากการปรับเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูงโดยในช่วง 2 เดือนแรก อัตราผลตอบแทนปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี 2543 เนื่องจากความต้องการซื้อพันธบัตรเพิ่มขึ้น จากการที่ตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะลดลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงต่ำสุดเมื่อประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อุปทานของพันธบัตรในตลาดเริ่มมีมากขึ้นโดยเฉพาะพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้นมาสูงสุดในวันที่ 13 มีนาคม และต่อมาสภาพคล่องของระบบที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการลงทุนในพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง
ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2544 อัตรา ผลตอบแทนในตลาดรองมีความผันผวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรก และปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน
อนึ่ง ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการธปท. และตลาดคาดการณ์ว่า ทางการมีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ย ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้นมาก และนักลงทุนมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้ เมื่อธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน จากร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในตลาดรองได้ปรับสูงขึ้นอีก ขณะที่มีความต้องการลงทุนในพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาวเพิ่มขึ้น จึงทำให้อัตราผลตอบแทนในระยะดังกล่าวลดลงเล็กน้อย ส่งผลให้ Yield curve ปรับลดลง อย่างไรก็ดี Yield curve ได้ปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นโยบายของธปท. จากร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วง ครึ่งแรกของปี 2544 ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ สภาพคล่องได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยเป็นระยะสั้นๆ ในช่วงเทศกาลและ วันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกัน เนื่องจากภาคเอกชนมีความ ต้องการถือเงินสดเพื่อการใช้จ่ายมากขึ้น
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สภาพคล่องในตลาดเงินปรับตึงตัวขึ้น โดยเป็นผลจากการคาดการณ์ของตลาดว่า จะมีการ ปรับเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการ ธปท. ประกอบกับเป็นช่วงชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดประจำปี 2543 สถาบันการเงิน จึงต้องสำรองเงินสดไว้เผื่อการเบิกถอน ของธุรกิจเอกชนจำนวนหนึ่ง
สภาพคล่องปรับดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นเดือน มิถุนายน และยังคงอยู่ในระดับสูงหลังการประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันจากร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินโดยเฉลี่ย เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่ยังคงมีอยู่สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.24 และ 1.68 ต่อปี ในช่วงไตรมาสแรก และ ร้อยละ 1.46 และ 1.75 ต่อปี ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2544 ตามลำดับ
อนึ่ง หลังจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนระยะ 14 วันของธปท. อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.06 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Interbank Overnight เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.13 ต่อปี
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ในตลาดซื้อคืน และฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 138 พันล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2543 เป็น 145 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องของระบบที่มีอยู่ค่อนข้างมากในช่วงดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ในช่วงครึ่งแรก ของปี 2544 ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามภาวะสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บางแห่งประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เงินฝากและเงินให้กู้ยืม เพื่อเป็นการปรับต้นทุนและโครงสร้างการระดมทุนให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ปรับตัวลดลงตลอดช่วง 5 เดือนแรกของปี จากการที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ -0.30 และ 4.575 ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน อัตราเงินเฟ้อลดลงมา อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส 2 ของปี 2544 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย ร้อยละ 0.20 และ 5.075 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย อยู่ที่ร้อยละ 2.14 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรก ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากระดับร้อยละ 2.10 ต่อปี ณ สิ้นปี 2543 ทั้งนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยของการให้สินเชื่อ (Effective Returns on Lending) และต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย (Effective Deposit Rate) ปรับลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปี
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อยู่ที่ร้อยละ 4.08 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.32 ต่อปี เมื่อสิ้นปี 2543
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์ เงินฝากมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ลดลงเล็กน้อย
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ มีอัตราการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกของปี 2544 เงินฝากเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 ส่วนหนึ่งเนื่องจากเม็ดเงินที่ภาค เอกชนเบิกถอนเพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่และตรุษจีนได้กลับเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม เงินฝาก มียอดคงค้าง 4,904.7 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ต่อปี
ในช่วงไตรมาสที่ 2 เงินฝากยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน เงินฝากมียอดคงค้าง 4,926.2 พันล้านบาท ลดลง 35 พันล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนมีการเบิกถอนเงิน จำนวนหนึ่ง อนึ่ง เงินฝาก ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มีแนวโน้มลดลงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ภาคธุรกิจเอกชนมีการชำระคืนสินเชื่อ และธนาคารพาณิชย์มีการตัด หนี้สูญในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน สินเชื่อรวมมียอดคงค้าง 4,295.6 พันล้านบาท คิดเป็นการ ลดลงร้อยละ 6.6 ต่อปี
อนึ่ง ในเดือนมิถุนายน ธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหาร สินทรัพย์เพชรบุรี รวมจำนวนประมาณ 260 พันล้านบาท
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มียอดคงค้าง 5,064.4 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 1.0 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 ยอดคงค้างของฐานเงินมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณเงินยังคงเพิ่มขึ้น ฐานเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 มีแนวโน้มยอด คงค้างลดลงจากสิ้นปี 2543 ซึ่งเป็นไปตามความต้องการถือเงินสดที่ลดลงตามปกติในช่วงต้นปีและกลางปี โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ฐานเงินมียอดคงค้าง 484.7 พันล้านบาท ลดลง 42.5 พันล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2543 สำหรับปัจจัยสำคัญด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงินลดลง ส่วนใหญ่เพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เนื่องจากสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่ค่อนข้างมาก อนึ่ง เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประมูลขายพันธบัตรจำนวน 105 พันล้านบาท ประกอบกับ ได้รับชำระคืนเงินที่ให้ความช่วงเหลือแก่สถาบันการเงินจำนวนหนึ่ง จึงลดยอดการกู้ยืมจากตลาดเงินและตลาดซื้อคืนลงในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากธปท.มีการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ยังคงปรับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงินเป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,390.3 พันล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,064.4 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปริมาณเงิน M2A และ M3 ลดลงจำนวน 21.7 และ 21.5 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของ เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวนมากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราผลตอบแทนทุกระยะปรับตัวสูงขึ้น จากการปรับเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองมีความผันผวนสูงโดยในช่วง 2 เดือนแรก อัตราผลตอบแทนปรับลดลงจากช่วงสิ้นปี 2543 เนื่องจากความต้องการซื้อพันธบัตรเพิ่มขึ้น จากการที่ตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะลดลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงต่ำสุดเมื่อประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อุปทานของพันธบัตรในตลาดเริ่มมีมากขึ้นโดยเฉพาะพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้นมาสูงสุดในวันที่ 13 มีนาคม และต่อมาสภาพคล่องของระบบที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการลงทุนในพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนปรับลดลง
ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2544 อัตรา ผลตอบแทนในตลาดรองมีความผันผวนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรก และปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน
อนึ่ง ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการธปท. และตลาดคาดการณ์ว่า ทางการมีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนทิศทางอัตราดอกเบี้ย ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพิ่มสูงขึ้นมาก และนักลงทุนมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้ เมื่อธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน จากร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 2.50 ต่อปี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในตลาดรองได้ปรับสูงขึ้นอีก ขณะที่มีความต้องการลงทุนในพันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาวเพิ่มขึ้น จึงทำให้อัตราผลตอบแทนในระยะดังกล่าวลดลงเล็กน้อย ส่งผลให้ Yield curve ปรับลดลง อย่างไรก็ดี Yield curve ได้ปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-