กรุงเทพ--25 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อสื่อมวลชน ว่า ตามที่การประชุม International Buddhist Conference ณ กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ 9—14 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก เข้าร่วม อาทิ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฐาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถานและไทย ได้ตกลงที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติที่จะประกาศให้ วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติ
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่
54 ได้พิจารณาว่าเนื่องจากวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของสหประชาชาติ ที่ประชุมจึงให้การรับรองโดยฉันทามติว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม--จบ--
-สส-
นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อสื่อมวลชน ว่า ตามที่การประชุม International Buddhist Conference ณ กรุงโคลัมโบ ระหว่างวันที่ 9—14 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก เข้าร่วม อาทิ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฐาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถานและไทย ได้ตกลงที่จะเสนอให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติที่จะประกาศให้ วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติ
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่
54 ได้พิจารณาว่าเนื่องจากวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางของสหประชาชาติ ที่ประชุมจึงให้การรับรองโดยฉันทามติว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม--จบ--
-สส-