แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9-18 กพ. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,978.73 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 912.91 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,063.82 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 105.27 1.2 ปลาช่อน 10.34 1.3 กุ้งทะเล 95.52 1.4 ปลาทู 173.44 1.5 ปลาหมึก 74.02
2. สถานการณ์การตลาด
ประเมินสถานการณ์การส่งออกปี 2544
คุณจินดา วงกมานนท์ อุปนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้กล่าวถึงแนวโน้มของสถานการณ์การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในปี 2544 ว่า ปริมาณการส่งออกและมูลค่าจะเพิ่มขึ้นจากในปี 2543 โดยเฉพาะกุ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกกุ้งประมาณ 180,000 ตัน มูลค่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 80,000 ล้านบาท) ทั้งนี้เนื่องจากประเทศคู่แข่งในตลาดหลักยังไม่สามารถแก้ปัญหาด้านการเพาะเลี้ยงได้ ซึ่งขณะนี้ผู้เพาะฟักลูกกุ้งไทย ได้มีการรวมตัวกันวางแผนในการจับพ่อแม่พันธุ์กุ้ง เพื่อนำมาเพาะฟักให้เป็นระบบมากขึ้น ประกอบกับราคากุ้งเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาเริ่มเลี้ยงกุ้งให้เป็นระบบมากขึ้น โดยผู้ส่งออกได้พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตมาเป็นสินค้าที่พร้อมบริโภค รวมทั้งหาแนวทางในการผลิตกุ้งขนาดใหญ่ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคใน
ตลาดญี่ปุ่น ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีคู่แข่งที่สำคัญคือ ประเทศเอกวาดอร์ แต่ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศเอกวาดอร์ประสบกับปัญหาการเพาะเลี้ยงอย่างหนัก ทำให้สหรัฐอเมริกาหันมานำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น
ส่วนปลาหมึกแช่แข็ง คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกประมาณ 88,000 ตัน มูลค่า 273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มจากปี 2543 ประมาณ 3.6% และ 1 % ตามลำดับ ซึ่งปลาหมึกไม่สามารถขยายปริมาณการส่งออกได้มากกว่านี้ เนื่องจากปริมาณการจับภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อปริมาณการผลิต จึงต้องพึ่งพาปลาหมึกที่ได้จากการทำประมงร่วมและการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยตลาดหลักในการส่งออกปลาหมึกของไทย คือ ประเทศญี่ปุ่นและบางประเทศในสหภาพยุโรป เช่น อิตาลี และออสเตรเลีย
สำหรับปลาสดและเนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็งยังจะคงมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเท่ากับปี 2543 เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบที่เริ่มน้อยลง แม้ว่าไทยจะมีการทำประมงร่วมก็ยังได้ผลผลิตที่ไม่เพียงพอนัก
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 339.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 328.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ493.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 490.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.05 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
15.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.55 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.46 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 19 -23กพ.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 19-25 ก.พ. 2544--
-สส-
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 105.27 1.2 ปลาช่อน 10.34 1.3 กุ้งทะเล 95.52 1.4 ปลาทู 173.44 1.5 ปลาหมึก 74.02
2. สถานการณ์การตลาด
ประเมินสถานการณ์การส่งออกปี 2544
คุณจินดา วงกมานนท์ อุปนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้กล่าวถึงแนวโน้มของสถานการณ์การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในปี 2544 ว่า ปริมาณการส่งออกและมูลค่าจะเพิ่มขึ้นจากในปี 2543 โดยเฉพาะกุ้ง ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกกุ้งประมาณ 180,000 ตัน มูลค่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 80,000 ล้านบาท) ทั้งนี้เนื่องจากประเทศคู่แข่งในตลาดหลักยังไม่สามารถแก้ปัญหาด้านการเพาะเลี้ยงได้ ซึ่งขณะนี้ผู้เพาะฟักลูกกุ้งไทย ได้มีการรวมตัวกันวางแผนในการจับพ่อแม่พันธุ์กุ้ง เพื่อนำมาเพาะฟักให้เป็นระบบมากขึ้น ประกอบกับราคากุ้งเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาเริ่มเลี้ยงกุ้งให้เป็นระบบมากขึ้น โดยผู้ส่งออกได้พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตมาเป็นสินค้าที่พร้อมบริโภค รวมทั้งหาแนวทางในการผลิตกุ้งขนาดใหญ่ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคใน
ตลาดญี่ปุ่น ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีคู่แข่งที่สำคัญคือ ประเทศเอกวาดอร์ แต่ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศเอกวาดอร์ประสบกับปัญหาการเพาะเลี้ยงอย่างหนัก ทำให้สหรัฐอเมริกาหันมานำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น
ส่วนปลาหมึกแช่แข็ง คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกประมาณ 88,000 ตัน มูลค่า 273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 11,000 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มจากปี 2543 ประมาณ 3.6% และ 1 % ตามลำดับ ซึ่งปลาหมึกไม่สามารถขยายปริมาณการส่งออกได้มากกว่านี้ เนื่องจากปริมาณการจับภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อปริมาณการผลิต จึงต้องพึ่งพาปลาหมึกที่ได้จากการทำประมงร่วมและการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยตลาดหลักในการส่งออกปลาหมึกของไทย คือ ประเทศญี่ปุ่นและบางประเทศในสหภาพยุโรป เช่น อิตาลี และออสเตรเลีย
สำหรับปลาสดและเนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็งยังจะคงมีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเท่ากับปี 2543 เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบที่เริ่มน้อยลง แม้ว่าไทยจะมีการทำประมงร่วมก็ยังได้ผลผลิตที่ไม่เพียงพอนัก
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.62 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 339.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 328.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ493.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 490.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.05 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
15.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.55 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.46 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 19 -23กพ.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 19-25 ก.พ. 2544--
-สส-