กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2544 นายนรชิต สิงหเสนี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงกับผู้สื่อข่าว ดังนี้
1. ในวันนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับเอกอัครราชทูตประเทศอาเซียน 9 ประเทศในประเทศไทย โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับท่าทีร่วมกันของอาเซียนต่อกรณีเหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐฯ ตามที่ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะประธานคณะกรรมประจำอาเซียน ได้มีหนังสือไปถึงพลเอกคอลิน เพาเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2544 ดังปรากฏตามข่าวสารนิเทศ ที่ 564/2544
2. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก ว่าพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้ประทานการ์ดไปเยี่ยมข้าราชการไทยที่บาดเจ็บและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในนิวยอร์ก ได้แก่ นางวาสนา มุทุตานนท์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจด้านการลงทุน ณ นครนิวยอร์ก และนางน้ำฝน บุญยะวัฒน์ รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนิวยอร์ก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์กได้อัญเชิญการ์ดเยี่ยมไปมอบให้แก่บุคคลทั้งสองแล้ว
3. ความคืบหน้าการติดตามคนไทย ตามที่มีรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์บางฉบับว่าได้พบคนไทย 2 คนที่คาด ว่าสูญหายไปในตึก World Trade Center คือ นางสาวอรศรี เลียงธนสาร และนางสาว ศรันยา ศรีนวล นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้สอบถามไปยังสถานกงสุลใหญ่ ณ นคร นิวยอร์กได้รับการยืนยันว่ายังไม่พบตัวบุคคลทั้งสอง ล่าสุดสถานกงสุลใหญ่ ณ นคร นิวยอร์ก ได้จัดรถตู้พร้อมคนขับให้ญาติของนางสาวอรศรีฯ ไปค้นหาตามโรงพยาบาล ต่าง ๆ เป็นวันที่สี่ (วันที่ 20 กันยายน 2544) ผลการตรวจสอบโรงพยาบาล 6 แห่งบนเกาะ Staten โรงพยาบาลใน Brooklyn 8 แห่งและใน Queens กับมลรัฐ New Jersey บางแห่งยังไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับนางอรศรีฯ แต่อย่างใด
4. ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือและติดตามคนไทย
4.1 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากญาติให้ช่วยติดตามคนไทยที่คาดว่าอาจสูญหายไปในเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ จนกระทั่งเวลา 12.00 น. ของ วันที่ 21 กันยายน 2544 มีจำนวน 144 ราย พบว่าปลอดภัยดี 107 รายและอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ 37 ราย
4.2 นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้จัดทำ Webpage เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลรายชื่อคนไทยที่สหรัฐฯ โดยจะสามารถเข้าไปดูได้ที่ Website: www. thaiembdc.org นอกจากนี้ นายเตช บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ได้มีสารไปถึงนาย Rudolf Guiliani นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอบคุณต่อความพยายามของนครนิวยอร์กในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ค้นหาผู้สูญหายที่มีคนไทยรวมอยู่ด้วยและยืนยันความพร้อมของคนไทยที่จะให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ต่อทางการของรัฐนิวยอร์ก
5. สถานการณ์ทั่วไปในนครนิวยอร์ก
5.1 สถานกงสุลใหญ่รายงานสถานการณ์ทั่วไปในนครนิวยอร์กว่า บริเวณ World Trade Center ได้ถูกกำหนดให้เป็นเขต Hot Zone หรือเขตวิกฤต ยังปิดอยู่ และตำรวจนครนิวยอร์กประกาศเตือนห้ามใช้เขตดังกล่าวเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) และห้ามการถ่ายรูปที่ระลึกหรือการกระทำอื่น ๆ ที่กีดขวางการค้นหาผู้สูญหาย ประชาชนที่จะเข้าไปในเขตนั้น ต้องใช้วิธีเดินเท้าเท่านั้น
5.2 หลังเปิดตลาดหุ้นที่นิวยอร์ก ผู้ที่จะเข้าไปทำงานในเขต Wall Street จะต้องมีบัตรประจำตัวหรือหนังสือจากบริษัทรับรองว่าทำงานอยู่ที่ใดจึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตดังกล่าวได้และจะต้องเดินเท้าเข้าไปเท่านั้น
5.3 สภาพทั่วไปในนครนิวยอร์กเงียบเหงา ผู้คนสัญจรไปมาน้อยกว่าปกติโรงละคอนบรอดเวย์หลายแห่งยังไม่เปิดการแสดง ร้านอาหารไทยที่ตั้งอยู่บริเวณ World Trade Center เริมเปิดบริการแล้วแต่มีลูกค้าน้อยมาก
5.4 วัดไทยในนิวยอร์กจะมีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตใน วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2544 และจะเปิดรับบริจาคเงินเพื่อนำไปช่วยเหลือสภากาชาดอเมริกันและผู้ที่สูญหายในเหตุการณ์ในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2544 นายนรชิต สิงหเสนี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงกับผู้สื่อข่าว ดังนี้
1. ในวันนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับเอกอัครราชทูตประเทศอาเซียน 9 ประเทศในประเทศไทย โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับท่าทีร่วมกันของอาเซียนต่อกรณีเหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐฯ ตามที่ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะประธานคณะกรรมประจำอาเซียน ได้มีหนังสือไปถึงพลเอกคอลิน เพาเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2544 ดังปรากฏตามข่าวสารนิเทศ ที่ 564/2544
2. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก ว่าพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้ประทานการ์ดไปเยี่ยมข้าราชการไทยที่บาดเจ็บและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในนิวยอร์ก ได้แก่ นางวาสนา มุทุตานนท์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจด้านการลงทุน ณ นครนิวยอร์ก และนางน้ำฝน บุญยะวัฒน์ รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนิวยอร์ก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์กได้อัญเชิญการ์ดเยี่ยมไปมอบให้แก่บุคคลทั้งสองแล้ว
3. ความคืบหน้าการติดตามคนไทย ตามที่มีรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์บางฉบับว่าได้พบคนไทย 2 คนที่คาด ว่าสูญหายไปในตึก World Trade Center คือ นางสาวอรศรี เลียงธนสาร และนางสาว ศรันยา ศรีนวล นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้สอบถามไปยังสถานกงสุลใหญ่ ณ นคร นิวยอร์กได้รับการยืนยันว่ายังไม่พบตัวบุคคลทั้งสอง ล่าสุดสถานกงสุลใหญ่ ณ นคร นิวยอร์ก ได้จัดรถตู้พร้อมคนขับให้ญาติของนางสาวอรศรีฯ ไปค้นหาตามโรงพยาบาล ต่าง ๆ เป็นวันที่สี่ (วันที่ 20 กันยายน 2544) ผลการตรวจสอบโรงพยาบาล 6 แห่งบนเกาะ Staten โรงพยาบาลใน Brooklyn 8 แห่งและใน Queens กับมลรัฐ New Jersey บางแห่งยังไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับนางอรศรีฯ แต่อย่างใด
4. ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือและติดตามคนไทย
4.1 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากญาติให้ช่วยติดตามคนไทยที่คาดว่าอาจสูญหายไปในเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ จนกระทั่งเวลา 12.00 น. ของ วันที่ 21 กันยายน 2544 มีจำนวน 144 ราย พบว่าปลอดภัยดี 107 รายและอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ 37 ราย
4.2 นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้จัดทำ Webpage เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลรายชื่อคนไทยที่สหรัฐฯ โดยจะสามารถเข้าไปดูได้ที่ Website: www. thaiembdc.org นอกจากนี้ นายเตช บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ได้มีสารไปถึงนาย Rudolf Guiliani นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและขอบคุณต่อความพยายามของนครนิวยอร์กในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ค้นหาผู้สูญหายที่มีคนไทยรวมอยู่ด้วยและยืนยันความพร้อมของคนไทยที่จะให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ต่อทางการของรัฐนิวยอร์ก
5. สถานการณ์ทั่วไปในนครนิวยอร์ก
5.1 สถานกงสุลใหญ่รายงานสถานการณ์ทั่วไปในนครนิวยอร์กว่า บริเวณ World Trade Center ได้ถูกกำหนดให้เป็นเขต Hot Zone หรือเขตวิกฤต ยังปิดอยู่ และตำรวจนครนิวยอร์กประกาศเตือนห้ามใช้เขตดังกล่าวเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) และห้ามการถ่ายรูปที่ระลึกหรือการกระทำอื่น ๆ ที่กีดขวางการค้นหาผู้สูญหาย ประชาชนที่จะเข้าไปในเขตนั้น ต้องใช้วิธีเดินเท้าเท่านั้น
5.2 หลังเปิดตลาดหุ้นที่นิวยอร์ก ผู้ที่จะเข้าไปทำงานในเขต Wall Street จะต้องมีบัตรประจำตัวหรือหนังสือจากบริษัทรับรองว่าทำงานอยู่ที่ใดจึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตดังกล่าวได้และจะต้องเดินเท้าเข้าไปเท่านั้น
5.3 สภาพทั่วไปในนครนิวยอร์กเงียบเหงา ผู้คนสัญจรไปมาน้อยกว่าปกติโรงละคอนบรอดเวย์หลายแห่งยังไม่เปิดการแสดง ร้านอาหารไทยที่ตั้งอยู่บริเวณ World Trade Center เริมเปิดบริการแล้วแต่มีลูกค้าน้อยมาก
5.4 วัดไทยในนิวยอร์กจะมีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตใน วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2544 และจะเปิดรับบริจาคเงินเพื่อนำไปช่วยเหลือสภากาชาดอเมริกันและผู้ที่สูญหายในเหตุการณ์ในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-