1. สถานการณ์การผลิต
กรมพัฒนาที่ดินทำโครงการนำร่องฟื้นฟูสภาพดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
นายไชยสิทธิ์ เอนกสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงการฟื้นฟู พื้นที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำว่า
ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนจากการทำนากุ้งกุลาดำ เป็นการทำการเกษตรอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นการ
ทำนา ปลูกข้าวหรือไร่นาสวนผสม หรือปรับเปลี่ยนทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา หรือกุ้งก้ามกราม ซึ่งไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและยังเป็นที่ต้องการของตลาด
ทั้งนี้ ในปี 2543 กรมพัฒนา ดินได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการนำร่องพื้นฟูสภาพดินที่ผ่านมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวน
700 ไร่ ในพื้นที่หลายจังหวัดที่มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เช่น นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นครนายก สุพรรณบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
และนครปฐม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมประมง พยายามที่จะควบคุมไม่ให้มีการขยาย พื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำเพิ่ม
โดยห้ามผู้ประกอบการรายใหม่ทำการเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืดอย่างเด็ดขาด ส่วนผู้ที่เลี้ยงอยู่แล้วก็ห้ามขยายพื้นที่และจะต้องเลี้ยงตามวิธีการของกรมประมงคือ
จะต้องเลี้ยงในระบบปิด ซึ่งระบบดังกล่าวกรมประมงจะกำหนดให้ทำบ่อเลี้ยงกุ้ง เพียงแค่ 40% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น
จึงไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำ การเกษตรน้อย คือจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 15 - 20 ไร่ จึงจะสามารถทำการเลี้ยงระบบ ปิดได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12-19 มิย. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,559.24 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 687.26 ตัน สัตว์น้ำจืด 871.98 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.97 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 97.10 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.59 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.53 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
3 เดือนแรกของปี 43 ญี่ปุ่นนำกุ้งลดลงและนำเข้าจากไทยลดลงด้วย
Infofish Trade News รายงานการนำเข้ากุ้งของญี่ปุ่นในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น
55,063 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนำเข้า 56,626 เมตริกตัน ร้อยละ 2.76 โดยยังคงนำเข้าจากอินเดียมากเป็นอันดับหนึ่งคือ
12,822 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.86 รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย 12,759 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 1.89 เวียดนาม 7,056 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.86 และนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับ 4 คือ
มีปริมาณ 3,662 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.01 และมีการนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญอื่น ๆ เช่น จีน ฟิลิปปินส์
บังคลาเทศ ลดลงเช่นกัน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน
0.68 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
37.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน
5.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 320.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 318.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 457.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
453.33 บาท ของสัปดาห์ 4.17 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
18.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
45.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
87.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.95 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเบอร์ 3 (ระหว่างวันที่ 26-30 มิย.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.70 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2543--
-สส-
กรมพัฒนาที่ดินทำโครงการนำร่องฟื้นฟูสภาพดินที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
นายไชยสิทธิ์ เอนกสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงการฟื้นฟู พื้นที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำว่า
ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนจากการทำนากุ้งกุลาดำ เป็นการทำการเกษตรอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นการ
ทำนา ปลูกข้าวหรือไร่นาสวนผสม หรือปรับเปลี่ยนทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา หรือกุ้งก้ามกราม ซึ่งไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและยังเป็นที่ต้องการของตลาด
ทั้งนี้ ในปี 2543 กรมพัฒนา ดินได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการนำร่องพื้นฟูสภาพดินที่ผ่านมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำจำนวน
700 ไร่ ในพื้นที่หลายจังหวัดที่มีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เช่น นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นครนายก สุพรรณบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
และนครปฐม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมประมง พยายามที่จะควบคุมไม่ให้มีการขยาย พื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำเพิ่ม
โดยห้ามผู้ประกอบการรายใหม่ทำการเลี้ยงในพื้นที่น้ำจืดอย่างเด็ดขาด ส่วนผู้ที่เลี้ยงอยู่แล้วก็ห้ามขยายพื้นที่และจะต้องเลี้ยงตามวิธีการของกรมประมงคือ
จะต้องเลี้ยงในระบบปิด ซึ่งระบบดังกล่าวกรมประมงจะกำหนดให้ทำบ่อเลี้ยงกุ้ง เพียงแค่ 40% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น
จึงไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำ การเกษตรน้อย คือจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 15 - 20 ไร่ จึงจะสามารถทำการเลี้ยงระบบ ปิดได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12-19 มิย. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,559.24 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 687.26 ตัน สัตว์น้ำจืด 871.98 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.97 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 97.10 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.59 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.53 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
3 เดือนแรกของปี 43 ญี่ปุ่นนำกุ้งลดลงและนำเข้าจากไทยลดลงด้วย
Infofish Trade News รายงานการนำเข้ากุ้งของญี่ปุ่นในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น
55,063 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนำเข้า 56,626 เมตริกตัน ร้อยละ 2.76 โดยยังคงนำเข้าจากอินเดียมากเป็นอันดับหนึ่งคือ
12,822 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.86 รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย 12,759 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 1.89 เวียดนาม 7,056 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 42.86 และนำเข้าจากประเทศไทยมากเป็นอันดับ 4 คือ
มีปริมาณ 3,662 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 24.01 และมีการนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตที่สำคัญอื่น ๆ เช่น จีน ฟิลิปปินส์
บังคลาเทศ ลดลงเช่นกัน
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน
0.68 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
37.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน
5.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย
กิโลกรัมละ 320.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 318.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 457.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
453.33 บาท ของสัปดาห์ 4.17 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
18.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.81 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
45.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.88 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
87.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.83 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.95 บาท
ของสัปดาห์ก่อน 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเบอร์ 3 (ระหว่างวันที่ 26-30 มิย.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.70 บาท
สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2543--
-สส-