กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๓ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการสัมมนาเรื่อง “บทบาท สหประชาชาติในศตวรรษที่ ๒๑” ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายงาน Millennium Report ซึ่งจัดทำโดยนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งพิจารณาบทบาทของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของประชากรโลกและการ ปรับปรุงการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ ๒๑ โดย ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเปิดการสัมมนาโดยกล่าวถึงภูมิหลังของการจัดทำรายงาน Millennium Report ซึ่งจะมีการพิจารณากันระหว่างการประชุมระดับประมุขของรัฐ/หัวหน้ารัฐบาล (Millennium Summit) ที่นครนิวยอร์กระหว่างวันที่ ๖ - ๘ กันยายน ๒๕๔๓ โดยชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่เลขาธิการฯ นำเสนอคือการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัฒน์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรโลกอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พร้อมกันนั้น ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความชอบธรรมของการแทรกแซงทางมนุษยธรรม (humanitarian intervention) โดยสหประชาชาติซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนว่า สหประชาชาติจะเข้าไปแทรกแซงในกรณีใด
จากนั้น ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะองค์ปาฐกได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับสหประชาชาติว่า ปัจจุบันสหประชาชาติยังเป็นองค์กรของรัฐบาลและดูแลผลประโยชน์ของรัฐบาลมากกว่าประชาชน การปฏิรูปสหประชาชาติจึงต้องเน้นที่ความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตย มากขึ้นเพื่อมิให้ประเทศมหาอำนาจเพียงไม่กี่ประเทศสามารถครอบงำการดำเนินงานของสหประชาชาติได้ ในส่วนของไทย รัฐบาลจะต้องเพิ่มบทบาทในทางบวกต่อสหประชาชาติ เช่น การเข้าร่วมการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ สหประชาชาติต่อสาธารณชนให้มากขึ้น
คณะผู้อภิปรายซึ่งมาจากสาขาต่าง ๆ จำนวน ๔ ท่านได้แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติในแง่มุมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและเห็นพ้องกันว่า องค์กรประชาสังคมจะต้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมของสหประชาชาติมากขึ้นเพื่อให้สหประชาชาติเป็นตัวแทนของประชาชนแต่ละกลุ่มอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจะต้องมีบทบาทในการติดตามผลเพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตามผลการประชุม สำหรับการส่งเสริมบทบาทของไทยในสหประชาชาตินั้นจะต้องสอดคล้องกับค่านิยมและอุดมคติของสังคมไทยด้วย
การจัดสัมมนาครั้งนี้มีบุคคลต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมากทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง นักวิชาการ สื่อมวลชน และองค์กรประชาสังคม รวมผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ ๑๕๐ คน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของคนไทยต่อกิจการสหประชาชาติมากขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินงานของสหประชาชาติได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนในทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะได้นำผลการสัมมนาไปประกอบการกำหนดท่าทีไทยในการประชุม Millennium Summit ต่อไป กระทรวงการต่างประเทศ 23 สิงหาคม 2543--จบ--
-ยก-
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๓ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการสัมมนาเรื่อง “บทบาท สหประชาชาติในศตวรรษที่ ๒๑” ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับรายงาน Millennium Report ซึ่งจัดทำโดยนายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งพิจารณาบทบาทของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของประชากรโลกและการ ปรับปรุงการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ ๒๑ โดย ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเปิดการสัมมนาโดยกล่าวถึงภูมิหลังของการจัดทำรายงาน Millennium Report ซึ่งจะมีการพิจารณากันระหว่างการประชุมระดับประมุขของรัฐ/หัวหน้ารัฐบาล (Millennium Summit) ที่นครนิวยอร์กระหว่างวันที่ ๖ - ๘ กันยายน ๒๕๔๓ โดยชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่เลขาธิการฯ นำเสนอคือการจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัฒน์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรโลกอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พร้อมกันนั้น ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความชอบธรรมของการแทรกแซงทางมนุษยธรรม (humanitarian intervention) โดยสหประชาชาติซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนว่า สหประชาชาติจะเข้าไปแทรกแซงในกรณีใด
จากนั้น ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะองค์ปาฐกได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับสหประชาชาติว่า ปัจจุบันสหประชาชาติยังเป็นองค์กรของรัฐบาลและดูแลผลประโยชน์ของรัฐบาลมากกว่าประชาชน การปฏิรูปสหประชาชาติจึงต้องเน้นที่ความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตย มากขึ้นเพื่อมิให้ประเทศมหาอำนาจเพียงไม่กี่ประเทศสามารถครอบงำการดำเนินงานของสหประชาชาติได้ ในส่วนของไทย รัฐบาลจะต้องเพิ่มบทบาทในทางบวกต่อสหประชาชาติ เช่น การเข้าร่วมการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ สหประชาชาติต่อสาธารณชนให้มากขึ้น
คณะผู้อภิปรายซึ่งมาจากสาขาต่าง ๆ จำนวน ๔ ท่านได้แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติในแง่มุมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและเห็นพ้องกันว่า องค์กรประชาสังคมจะต้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมของสหประชาชาติมากขึ้นเพื่อให้สหประชาชาติเป็นตัวแทนของประชาชนแต่ละกลุ่มอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจะต้องมีบทบาทในการติดตามผลเพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตามผลการประชุม สำหรับการส่งเสริมบทบาทของไทยในสหประชาชาตินั้นจะต้องสอดคล้องกับค่านิยมและอุดมคติของสังคมไทยด้วย
การจัดสัมมนาครั้งนี้มีบุคคลต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมากทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง นักวิชาการ สื่อมวลชน และองค์กรประชาสังคม รวมผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ ๑๕๐ คน ซึ่งเป็นแนวโน้มที่แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของคนไทยต่อกิจการสหประชาชาติมากขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินงานของสหประชาชาติได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนในทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะได้นำผลการสัมมนาไปประกอบการกำหนดท่าทีไทยในการประชุม Millennium Summit ต่อไป กระทรวงการต่างประเทศ 23 สิงหาคม 2543--จบ--
-ยก-