วันที่ 24 ตุลาคม 2544 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก เปิดเผยเกี่ยวกับการเตรียมการของไทยสำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ว่าได้เชิญประชุมคณะอนุกรรมการฯซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากำหนดท่าทีไทยสำหรับการประชุมดังกล่าว ซึ่ง WTO ได้กำหนดจัดระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะนำไปสู่การเจรจารอบใหม่หรือไม่ก็ขึ้นกับท่าทีและการตัดสินใจของประเทศสมาชิก
ในส่วนของไทยนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมการในเรื่องการเจรจารอบใหม่โดยประสานกับหน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่และรวบรวมความเห็นจากการประชุมต่างๆทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
ส่วนมติที่ประชุมของคณะอนุกรรมการฯนั้น ให้ความเห็นชอบในท่าทีของไทยในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ในกรอบกว้าง คือ สนับสนุนให้มีการเจรจารอบใหม่ และกรอบการเจรจาควรเป็น Balance และ sufficiently broad-based อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไทยให้ความสำคัญและต้องการผลักดันในการประชุมนั้น คือ เรื่อง เกษตร ซึ่งไทยเห็นว่า ความตกลงเกษตรในปัจจุบันยังมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม
“เราได้ร่วมมือกับกลุ่มเคร์นส์เพื่อผลักดันให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก การลดการอุดหนุนภายใน และให้มีการเปิดตลาดเกษตรมากขึ้น คาดว่าการเจรจารอบใหม่ หากเป็นไปตามที่ไทยผลักดันจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยมีโอกาสแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และสามารถส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
ขณะเดียวกันการเจรจาปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาดและการตอบโต้การอุดหนุน เพื่อให้มีกฏเกณฑ์ที่เป็นธรรมนั้น ยังมีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในการใช้มาตรการเก็บภาษีทุ่มตลาดและภาษีตอบโต้การอุดหนุนได้ง่าย และมีการใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ไทยจึงต้องการผลักดันให้มีการปรับปรุงให้เป็นธรรมมากขึ้น และให้มีการคำนึงถึงปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาด้วย
ส่วน กระบวนการระงับข้อพิพาท การอุดหนุนและตอบโต้การอุดหนุน ได้จัดทำข้อเสนอให้มีการแก้ไขในการเจรจารอบใหม่ ซึ่งไทยสนับสนุนให้มีการเจรจาปรับปรุงกฏเกณฑ์ในความตกลงให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่สมาชิกโดยรวมยิ่งขึ้น ในขณะที่เรื่องของสิ่งทอ มาตรการสุขอนามัย มาตรการปกป้อง อุปสรรคทางเทคนิคการค้าและการทุ่มตลาด ไทยได้ร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ จัดทำข้อเสนอเพื่อให้มีการแก้ไข ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ควรมีการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
“สำหรับเรื่องที่ต้องการให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วนั้นก็คือ เรื่องของการปฏิบัติเป็นพิเศษ และแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ส่วนเรื่อง TRIPS & Public Health ประเทศไทยได้ร่วมกับประเทศอื่นๆ กว่า 50 ประเทศ ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐมนตรีมีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหายาราคาแพงภายใต้ความตกลง TRIPS และเรื่องการทบทวน TRIPS ให้รวมถึงการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาชาวบ้านด้วย” ส่วนเรื่องใหม่จากการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ เกี่ยวกับเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มีการเจรจาเพื่อให้ความกระจ่าง และเสริมสร้างกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว เรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ไทยควรเข้าร่วมในความตกลงนี้ภายใต้เงื่อนไขว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรมีเวลาในการปรับตัว สำหรับเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ซึ่งเห็นว่า WTO ควรทำการศึกษาต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการให้ความเห็นชอบในการขยายเวลาการยกเว้น การเก็บภาษีพาณิชย์ อิเลคทรอนิกส์เป็นการชั่วคราว สนับสนุนการเจรจาลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม โดยผลักดันให้มีเงื่อนไขหรือแต้มต่อสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องระยะเวลาและอัตราภาษีที่จะลดลง รวมทั้งคัดค้านการนำเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงานไว้ในการเจรจาในรอบใหม่ ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญข้างต้นไทยได้ผลักดันให้ทำไว้เป็นส่วนหนึ่งในร่างปฏิญญาสำหรับประเด็นที่ยังไม่ปรากฎ เช่น เรื่อง TRIPS เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน เรื่องสิ่งแวดล้อม จะมีการพิจารณาให้ผลักดันที่เจนีวาต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
ในส่วนของไทยนั้น กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมการในเรื่องการเจรจารอบใหม่โดยประสานกับหน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่และรวบรวมความเห็นจากการประชุมต่างๆทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
ส่วนมติที่ประชุมของคณะอนุกรรมการฯนั้น ให้ความเห็นชอบในท่าทีของไทยในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ในกรอบกว้าง คือ สนับสนุนให้มีการเจรจารอบใหม่ และกรอบการเจรจาควรเป็น Balance และ sufficiently broad-based อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไทยให้ความสำคัญและต้องการผลักดันในการประชุมนั้น คือ เรื่อง เกษตร ซึ่งไทยเห็นว่า ความตกลงเกษตรในปัจจุบันยังมีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรม
“เราได้ร่วมมือกับกลุ่มเคร์นส์เพื่อผลักดันให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก การลดการอุดหนุนภายใน และให้มีการเปิดตลาดเกษตรมากขึ้น คาดว่าการเจรจารอบใหม่ หากเป็นไปตามที่ไทยผลักดันจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยมีโอกาสแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และสามารถส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
ขณะเดียวกันการเจรจาปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาดและการตอบโต้การอุดหนุน เพื่อให้มีกฏเกณฑ์ที่เป็นธรรมนั้น ยังมีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในการใช้มาตรการเก็บภาษีทุ่มตลาดและภาษีตอบโต้การอุดหนุนได้ง่าย และมีการใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ไทยจึงต้องการผลักดันให้มีการปรับปรุงให้เป็นธรรมมากขึ้น และให้มีการคำนึงถึงปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาด้วย
ส่วน กระบวนการระงับข้อพิพาท การอุดหนุนและตอบโต้การอุดหนุน ได้จัดทำข้อเสนอให้มีการแก้ไขในการเจรจารอบใหม่ ซึ่งไทยสนับสนุนให้มีการเจรจาปรับปรุงกฏเกณฑ์ในความตกลงให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่สมาชิกโดยรวมยิ่งขึ้น ในขณะที่เรื่องของสิ่งทอ มาตรการสุขอนามัย มาตรการปกป้อง อุปสรรคทางเทคนิคการค้าและการทุ่มตลาด ไทยได้ร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ จัดทำข้อเสนอเพื่อให้มีการแก้ไข ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ควรมีการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
“สำหรับเรื่องที่ต้องการให้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็วนั้นก็คือ เรื่องของการปฏิบัติเป็นพิเศษ และแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ส่วนเรื่อง TRIPS & Public Health ประเทศไทยได้ร่วมกับประเทศอื่นๆ กว่า 50 ประเทศ ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐมนตรีมีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหายาราคาแพงภายใต้ความตกลง TRIPS และเรื่องการทบทวน TRIPS ให้รวมถึงการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาชาวบ้านด้วย” ส่วนเรื่องใหม่จากการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ เกี่ยวกับเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มีการเจรจาเพื่อให้ความกระจ่าง และเสริมสร้างกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว เรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ไทยควรเข้าร่วมในความตกลงนี้ภายใต้เงื่อนไขว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรมีเวลาในการปรับตัว สำหรับเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ซึ่งเห็นว่า WTO ควรทำการศึกษาต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการให้ความเห็นชอบในการขยายเวลาการยกเว้น การเก็บภาษีพาณิชย์ อิเลคทรอนิกส์เป็นการชั่วคราว สนับสนุนการเจรจาลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม โดยผลักดันให้มีเงื่อนไขหรือแต้มต่อสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องระยะเวลาและอัตราภาษีที่จะลดลง รวมทั้งคัดค้านการนำเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงานไว้ในการเจรจาในรอบใหม่ ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญข้างต้นไทยได้ผลักดันให้ทำไว้เป็นส่วนหนึ่งในร่างปฏิญญาสำหรับประเด็นที่ยังไม่ปรากฎ เช่น เรื่อง TRIPS เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน เรื่องสิ่งแวดล้อม จะมีการพิจารณาให้ผลักดันที่เจนีวาต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-