กรุงเทพฯ--12 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการตรวจเยี่ยมชมกระทรวงการต่างประเทศและมอบนโยบายโดย พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยสรุปได้ ดังนี้
1. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะได้ให้การสนับสนุนเรื่องบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากในขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศ มีจำนวนข้าราชการทั้งสิ้นประมาณ 1,400 คน ทั้งในประเทศและที่ประจำการในต่างประเทศ กอรปกับ การที่กระทรวงการต่างประเทศต้องรับผิดชอบดูแลทั้งเรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ซึ่งจำนวนข้าราชการที่มีอยู่ไม่เพียงพอ อาทิเช่น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ที่มีข้าราชการประจำอยู่ประมาณ 10 กว่าคน แต่ต้องดูแลรับผิดชอบประเทศจีนที่มีประชากรเป็นพันล้านคน และจากการที่กระทรวงการต่างประเทศต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งระบุว่าเมื่อ ข้าราชการเกษียณแล้ว ต้องส่งมอบตำแหน่งคืน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ส่งมอบคืนไปแล้วประมาณ 45 ตำแหน่ง ซึ่งเทียบเท่าได้กับจำนวนข้าราชการในกรม 1 กรม ดังนั้น พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ จึงได้เสนอที่จะหารือเรื่องดังกล่าวกับคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
2. พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว และในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ประสานงานอย่างตลอดและต่อเนื่องกับพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและความมั่นคง ดังนั้น เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับมอบหมายให้ดูแลกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะทำให้มีความใกล้ชิดกันในการประสานงานมากยิ่งขึ้น
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้บรรยายสรุปแก่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ก้าวไปข้างหน้า (Forward Engagement) กับนานาประเทศ ซึ่งสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว อาทิ ริเริ่มให้มีความร่วมมือไทย-พม่า-อินเดีย โดยให้สอดคล้องไปกับเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-อินเดีย ซึ่งเป็นนโยบายที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน รวมทั้ง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับภูมิภาคลาตินอเมริกา เป็นต้น
3. นอกจากนี้ พล. อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้หารือเกี่ยวกับการเตรียมการเยือนไทยของ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยเฉพาะประเด็นการเจรจาเปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงว่าเนื่องจากในขณะนี้ ยังมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ไปในทางเดียวกันในเรื่องการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและความมั่นคง ซึ่งฝ่ายไทยก็ได้ตั้งคณะทำงานไว้แล้ว ซึ่งหากฝ่ายกัมพูชาตั้งคณะทำงานเช่นกัน ก็จะได้ร่วมกันทำงานในเรื่องดังกล่าวต่อไป สำหรับเรื่องความร่วมมือในเขตทับซ้อนทางทะเล นั้น เมื่อครั้งที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เยือนกัมพูชา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่าย ก็ได้มีการลงนามในความตกลงการเจรจา และได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมโดยมี ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นประธานร่วมกับนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในอนาคต อันใกล้นี้จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ในเรื่องความร่วมมือด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในเขตทับซ้อนทางทะเล ซึ่งเป็นการเริ่มการเจรจาเป็นครั้งแรก
4. นอกจากนี้ พล. อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ให้การสนับสนุนภาระกิจของกระทรวง การต่างประเทศด้วย เช่น การที่กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของไทย-ลาว- เวียดนาม เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่และการคมนาคมตามเส้นทางหมายเลข 9 และการใช้ประโยชน์จากสะพานข้าม แม่น้ำโขง มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2544 โดยจะมีการประชุมระหว่างอาหารเช้าที่จังหวัดมุกดาหาร และสำรวจจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่แขวง สะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสำรวจเส้นทางหมายเลข 9 ที่เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยการเดินทางของคณะนั้นจะใช้เครื่องบิน C 130 ของกองทัพอากาศ ซึ่งพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ขอให้กองทัพอากาศสนับสนุนภาระกิจการเดินทางของคณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการตรวจเยี่ยมชมกระทรวงการต่างประเทศและมอบนโยบายโดย พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยสรุปได้ ดังนี้
1. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะได้ให้การสนับสนุนเรื่องบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากในขณะนี้ กระทรวงการต่างประเทศ มีจำนวนข้าราชการทั้งสิ้นประมาณ 1,400 คน ทั้งในประเทศและที่ประจำการในต่างประเทศ กอรปกับ การที่กระทรวงการต่างประเทศต้องรับผิดชอบดูแลทั้งเรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ซึ่งจำนวนข้าราชการที่มีอยู่ไม่เพียงพอ อาทิเช่น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ที่มีข้าราชการประจำอยู่ประมาณ 10 กว่าคน แต่ต้องดูแลรับผิดชอบประเทศจีนที่มีประชากรเป็นพันล้านคน และจากการที่กระทรวงการต่างประเทศต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งระบุว่าเมื่อ ข้าราชการเกษียณแล้ว ต้องส่งมอบตำแหน่งคืน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ส่งมอบคืนไปแล้วประมาณ 45 ตำแหน่ง ซึ่งเทียบเท่าได้กับจำนวนข้าราชการในกรม 1 กรม ดังนั้น พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ จึงได้เสนอที่จะหารือเรื่องดังกล่าวกับคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
2. พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว และในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ประสานงานอย่างตลอดและต่อเนื่องกับพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและความมั่นคง ดังนั้น เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับมอบหมายให้ดูแลกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะทำให้มีความใกล้ชิดกันในการประสานงานมากยิ่งขึ้น
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้บรรยายสรุปแก่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ก้าวไปข้างหน้า (Forward Engagement) กับนานาประเทศ ซึ่งสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว อาทิ ริเริ่มให้มีความร่วมมือไทย-พม่า-อินเดีย โดยให้สอดคล้องไปกับเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-อินเดีย ซึ่งเป็นนโยบายที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน รวมทั้ง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับภูมิภาคลาตินอเมริกา เป็นต้น
3. นอกจากนี้ พล. อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้หารือเกี่ยวกับการเตรียมการเยือนไทยของ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน ศกนี้ โดยเฉพาะประเด็นการเจรจาเปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงว่าเนื่องจากในขณะนี้ ยังมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ไปในทางเดียวกันในเรื่องการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและความมั่นคง ซึ่งฝ่ายไทยก็ได้ตั้งคณะทำงานไว้แล้ว ซึ่งหากฝ่ายกัมพูชาตั้งคณะทำงานเช่นกัน ก็จะได้ร่วมกันทำงานในเรื่องดังกล่าวต่อไป สำหรับเรื่องความร่วมมือในเขตทับซ้อนทางทะเล นั้น เมื่อครั้งที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เยือนกัมพูชา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่าย ก็ได้มีการลงนามในความตกลงการเจรจา และได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมโดยมี ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นประธานร่วมกับนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในอนาคต อันใกล้นี้จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ในเรื่องความร่วมมือด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในเขตทับซ้อนทางทะเล ซึ่งเป็นการเริ่มการเจรจาเป็นครั้งแรก
4. นอกจากนี้ พล. อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ให้การสนับสนุนภาระกิจของกระทรวง การต่างประเทศด้วย เช่น การที่กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของไทย-ลาว- เวียดนาม เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่และการคมนาคมตามเส้นทางหมายเลข 9 และการใช้ประโยชน์จากสะพานข้าม แม่น้ำโขง มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2544 โดยจะมีการประชุมระหว่างอาหารเช้าที่จังหวัดมุกดาหาร และสำรวจจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ที่แขวง สะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสำรวจเส้นทางหมายเลข 9 ที่เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยการเดินทางของคณะนั้นจะใช้เครื่องบิน C 130 ของกองทัพอากาศ ซึ่งพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ขอให้กองทัพอากาศสนับสนุนภาระกิจการเดินทางของคณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-