กรุงเทพฯ--23 พ.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ร่วมกับรัฐมนตรีเอเปค 21 ประเทศ ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน
ผลการประชุมในประเด็นด้านเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
เอเปคตกลงจะผลักดัน WTO ให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยเร็วที่สุดมีวาระการ เจรจาที่สมดุลและครอบคลุมความสนใจของสมาชิก WTO ทั้งหมด และเรียกร้องให้ผู้แทน WTO ที่เจนีวาเร่งตกลงเรื่องวาระการประชุม รวมทั้งแสดงความตั้งใจทางการเมือง และมี ความยืดหยุ่นนอกจากนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้มีการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างรวมถึง การเพิ่มขีดความสามารถและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่สมาชิกกำลังพัฒนาในการ ปฏิบัติตามพันธกรณี WTO
ที่ประชุมตกลงว่าการทำข้อตกลงทางการค้าภูมิภาคและแบบสองฝ่ายควรสนับสนุนการเปิดเสรีแบบหลายฝ่ายและสอดคล้องกับกฎระเบียบบของ WTO
ที่ประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในประเด็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน และได้ตกลงที่จะเริ่มดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ ในปีหน้าที่จะลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยี (Digital Divide) โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสมาชิกการเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาบุคลากรของสมาชิกกำลังพัฒนา ตลอดจนความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในเรื่องนี้
สมาชิกตกลงจะเสนอให้จัดตั้ง Task Force เป็นคณะทำงานชั่วคราวใน WTO เพื่อพิจารณาว่ากฎระเบียบขององค์การการค้าโลกเกี่ยวเนื่องอย่างไรกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ด้านภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมเห็นควรให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพ เน้นการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาพลังงานทดแทนและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
ในเรื่องแผนปฏิบัติการรายประเทศ (Individual Action Plan: IAP) ที่ประชุมเห็นชอบให้เอเปคเริ่มโครงการ e-IAP ที่เน้นความโปร่งใส และความชัดเจน ในการนำเสนอ IAP ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น
ที่ประชุมเห็นชอบการจัดตั้ง APEC Chemical Dialogue เป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสมาชิกเอเปค เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการกำหนดกรอบนโยบายและเพิ่มความสามารถในการแข่ง ขันของอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนั้น ได้รับทราบเกี่ยวกับการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัด Automotive Dialogue ในเดือนเมษายน ปีหน้า
ออสเตรเลียได้พัฒนาเว็บไซต์ BizAPEC.com เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจและกฎระเบียบของสมาชิกเอเปค ในรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจของภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง ในการค้นหาข้อมูลด้านการตลาดของสมาชิกเอเปค
ขณะนี้คณะทำงานเฉพาะกิจของเอเปคอยู่ระหว่างจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อประเทศสมาชิกใช้อ้างอิงในการจัดทำมาตรการทางการค้าและการลงทุนที่เอื้อต่อภาคธุรกิจและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน WTO ทั้งนี้คาดว่าการจัดทำหลักการดังกล่าวจะแล้วเสร็จกลางปีหน้า
ที่ประชุมเห็นชอบกรอบความร่วมมือ (Cooperation Framework) ระหว่างสมาชิกเอเปค ในการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดย ในชั้นแรกจะให้ความสำคัญกับกฎหมายบริษัทกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายการแข่งขัน
ประเด็นที่ไทยผลักดัน ในการประชุมครั้งนี้ไทยได้ผลักดันประเด็นต่อไป
ให้เอเปคเร่งดำเนินการโครงการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO โดยเร็วที่สุด
กระตุ้นที่ประชุมให้หาหนทางในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยให้ลองพิจารณาว่าแทนที่จะตกลงเรื่อง
(issues) ทั้งหมดในวาระการประชุมให้ได้ก่อนที่จะเปิดการเจรจา (comprehensive approach) เป็นเริ่มจากเรื่องที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าควรมีการเจรจาได้ 2-3 เรื่อง แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (incremental approach)
เสนอให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ในสิ้นปี 2544
เสนอให้รวบรวมสิ่งที่ดำเนินการอยู่ในเอเปคเกี่ยวกับ New Economy เพื่อให้เห็นภาพจัดลำดับความสำคัญและสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไปโดยเฉพาะให้เริ่มดำเนินงานในโครงการ Transforming the Digital Divide into a Digital Opportunity" และขอให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ร่วมกับรัฐมนตรีเอเปค 21 ประเทศ ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน
ผลการประชุมในประเด็นด้านเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
เอเปคตกลงจะผลักดัน WTO ให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยเร็วที่สุดมีวาระการ เจรจาที่สมดุลและครอบคลุมความสนใจของสมาชิก WTO ทั้งหมด และเรียกร้องให้ผู้แทน WTO ที่เจนีวาเร่งตกลงเรื่องวาระการประชุม รวมทั้งแสดงความตั้งใจทางการเมือง และมี ความยืดหยุ่นนอกจากนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้มีการปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างรวมถึง การเพิ่มขีดความสามารถและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่สมาชิกกำลังพัฒนาในการ ปฏิบัติตามพันธกรณี WTO
ที่ประชุมตกลงว่าการทำข้อตกลงทางการค้าภูมิภาคและแบบสองฝ่ายควรสนับสนุนการเปิดเสรีแบบหลายฝ่ายและสอดคล้องกับกฎระเบียบบของ WTO
ที่ประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในประเด็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน และได้ตกลงที่จะเริ่มดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ ในปีหน้าที่จะลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยี (Digital Divide) โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสมาชิกการเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาบุคลากรของสมาชิกกำลังพัฒนา ตลอดจนความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในเรื่องนี้
สมาชิกตกลงจะเสนอให้จัดตั้ง Task Force เป็นคณะทำงานชั่วคราวใน WTO เพื่อพิจารณาว่ากฎระเบียบขององค์การการค้าโลกเกี่ยวเนื่องอย่างไรกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ด้านภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมเห็นควรให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพ เน้นการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาพลังงานทดแทนและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
ในเรื่องแผนปฏิบัติการรายประเทศ (Individual Action Plan: IAP) ที่ประชุมเห็นชอบให้เอเปคเริ่มโครงการ e-IAP ที่เน้นความโปร่งใส และความชัดเจน ในการนำเสนอ IAP ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น
ที่ประชุมเห็นชอบการจัดตั้ง APEC Chemical Dialogue เป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสมาชิกเอเปค เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการกำหนดกรอบนโยบายและเพิ่มความสามารถในการแข่ง ขันของอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนั้น ได้รับทราบเกี่ยวกับการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัด Automotive Dialogue ในเดือนเมษายน ปีหน้า
ออสเตรเลียได้พัฒนาเว็บไซต์ BizAPEC.com เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจและกฎระเบียบของสมาชิกเอเปค ในรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจของภาคธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง ในการค้นหาข้อมูลด้านการตลาดของสมาชิกเอเปค
ขณะนี้คณะทำงานเฉพาะกิจของเอเปคอยู่ระหว่างจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อประเทศสมาชิกใช้อ้างอิงในการจัดทำมาตรการทางการค้าและการลงทุนที่เอื้อต่อภาคธุรกิจและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ใน WTO ทั้งนี้คาดว่าการจัดทำหลักการดังกล่าวจะแล้วเสร็จกลางปีหน้า
ที่ประชุมเห็นชอบกรอบความร่วมมือ (Cooperation Framework) ระหว่างสมาชิกเอเปค ในการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดย ในชั้นแรกจะให้ความสำคัญกับกฎหมายบริษัทกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายการแข่งขัน
ประเด็นที่ไทยผลักดัน ในการประชุมครั้งนี้ไทยได้ผลักดันประเด็นต่อไป
ให้เอเปคเร่งดำเนินการโครงการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO โดยเร็วที่สุด
กระตุ้นที่ประชุมให้หาหนทางในการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยให้ลองพิจารณาว่าแทนที่จะตกลงเรื่อง
(issues) ทั้งหมดในวาระการประชุมให้ได้ก่อนที่จะเปิดการเจรจา (comprehensive approach) เป็นเริ่มจากเรื่องที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่าควรมีการเจรจาได้ 2-3 เรื่อง แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (incremental approach)
เสนอให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ 2 ครั้ง ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ในสิ้นปี 2544
เสนอให้รวบรวมสิ่งที่ดำเนินการอยู่ในเอเปคเกี่ยวกับ New Economy เพื่อให้เห็นภาพจัดลำดับความสำคัญและสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไปโดยเฉพาะให้เริ่มดำเนินงานในโครงการ Transforming the Digital Divide into a Digital Opportunity" และขอให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-